บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๑ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเชิญ
พระบรมราชโองการให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๘
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศรัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี คือ
๑) นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
๒) ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การคลัง พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๒) พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทย พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๓) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๔) นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๕) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๖) นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๗) นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๘) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
คมนาคม พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๙) นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
คมนาคม พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๐) นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร พ้นจากความ
เป็นรัฐมนตรี
(๑๑) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์ พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๒) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๓) นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
แรงงาน พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๔) นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๑๕) นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการ พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๑๖) นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
๓) ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์
(๒) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม
(๓) พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม
(๔) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๕) นายเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี
(๖) นายทนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง
(๗) นายประชา มาลีนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา
(๘) นายวัฒนา เมืองสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
(๙) นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑๐) นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงคมนาคม
(๑๑) พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงคมนาคม
(๑๒) นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
(๑๓) นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงพาณิชย์
(๑๔) พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย
(๑๕) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงาน
(๑๖) นายประวิช รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
(๑๗) นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายปราโมทย์ โชติมงคล เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ เรื่อง ให้นางสาวธิรดา สนิทวงศ์ชัย ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้ง ที่ ๒ จังหวัดอุดรธานี พรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนนายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๘ (๒)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย และได้กล่าวนำนางสาวธิรดา สนิทวงศ์ชัย ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย
๒. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๑๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิกร จำนง และนายนพดล พลเสน เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองเกาะสมุย พ.ศ. …. ซึ่ง นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดนางรอง พ.ศ. …. ซึ่ง นายโสภณ เพชรสว่าง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอนุรักษ์ จุรีมาศ และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ
(๘) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม พ.ศ. ….
ซึ่ง คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๙) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …. ซึ่งนายสงกรานต์ คำพิไสย์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๑๐) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน พ.ศ. …. ซึ่ง นายวัลลภ สุปริยศิลป์ เป็นผู้เสนอ
(๑๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
(๑๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๑๓) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๑๔) ร่างพระราชบัญญัติเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติที่ราษฎรครอบครองที่ดินทำประโยชน์ที่กรมป่าไม้ประกาศทับที่ดินของราษฎร พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดชอบของเจ้าสำนักโรงแรมและอัตราค่าธรรมเนียม)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
๕. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่อง ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัวนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไปทำการ สอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ คดีอาญาที่ ๓๒/๒๕๔๘ และคดีอาญาที่ ๔๓/๒๕๔๘ เรื่อง หมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ออกจากระเบียบวาระการประชุม เนื่องจากเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยอนุโลมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
๖. เรื่องคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้นำเหตุผลที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร แก้ไขมาเป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. …. เพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
๗. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติเลือก นายปราโมทย์ โชติมงคล เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๙๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒
๘. เรื่องตั้งคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๒๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แถลงเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
เลิกประชุมเวลา ๐๑.๑๘ นาฬิกา ของวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาพระราชกำหนด
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
*************************
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๑ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเชิญ
พระบรมราชโองการให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๘
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศรัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี คือ
๑) นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
๒) ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การคลัง พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๒) พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทย พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๓) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๔) นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๕) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๖) นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๗) นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๘) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
คมนาคม พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๙) นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
คมนาคม พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๐) นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร พ้นจากความ
เป็นรัฐมนตรี
(๑๑) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์ พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๒) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๓) นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
แรงงาน พ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี
(๑๔) นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๑๕) นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการ พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
(๑๖) นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม พ้นจาก
ความเป็นรัฐมนตรี
๓) ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์
(๒) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม
(๓) พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม
(๔) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๕) นายเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี
(๖) นายทนง พิทยะ เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง
(๗) นายประชา มาลีนนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา
(๘) นายวัฒนา เมืองสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
(๙) นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(๑๐) นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงคมนาคม
(๑๑) พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงคมนาคม
(๑๒) นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร
(๑๓) นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงพาณิชย์
(๑๔) พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย
(๑๕) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงาน
(๑๖) นายประวิช รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
(๑๗) นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายปราโมทย์ โชติมงคล เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ เรื่อง ให้นางสาวธิรดา สนิทวงศ์ชัย ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้ง ที่ ๒ จังหวัดอุดรธานี พรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนนายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๑๘ (๒)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย และได้กล่าวนำนางสาวธิรดา สนิทวงศ์ชัย ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย
๒. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๑๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิกร จำนง และนายนพดล พลเสน เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองเกาะสมุย พ.ศ. …. ซึ่ง นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดนางรอง พ.ศ. …. ซึ่ง นายโสภณ เพชรสว่าง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๗) ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอนุรักษ์ จุรีมาศ และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ
(๘) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม พ.ศ. ….
ซึ่ง คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๙) ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …. ซึ่งนายสงกรานต์ คำพิไสย์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๑๐) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน พ.ศ. …. ซึ่ง นายวัลลภ สุปริยศิลป์ เป็นผู้เสนอ
(๑๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. …. ซึ่ง นายสฤต สันติเมทนีดล เป็นผู้เสนอ
(๑๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๑๓) ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๑๔) ร่างพระราชบัญญัติเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติที่ราษฎรครอบครองที่ดินทำประโยชน์ที่กรมป่าไม้ประกาศทับที่ดินของราษฎร พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย จำนวนเงินการกู้ยืม ความรับผิดชอบของเจ้าสำนักโรงแรมและอัตราค่าธรรมเนียม)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
๕. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่อง ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัวนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไปทำการ สอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ คดีอาญาที่ ๓๒/๒๕๔๘ และคดีอาญาที่ ๔๓/๒๕๔๘ เรื่อง หมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ออกจากระเบียบวาระการประชุม เนื่องจากเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยอนุโลมตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
๖. เรื่องคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้นำเหตุผลที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร แก้ไขมาเป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. …. เพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
๗. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติเลือก นายปราโมทย์ โชติมงคล เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๙๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒
๘. เรื่องตั้งคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๒๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แถลงเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
เลิกประชุมเวลา ๐๑.๑๘ นาฬิกา ของวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาพระราชกำหนด
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
*************************