แท็ก
กะลามะพร้าว
จับกะลามาแปลงโฉม ขึ้นแท่นกระเป๋าไฮโซ
คนไทยรู้จักนำกะลามะพร้าว มาทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่อดีต ซึ่งในปัจจุบันกะลามะพร้าว ได้ถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ในรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น อาทิ ทำเป็นภาชนะ หรือของใช้ตกแต่งบ้าน ไม่เว้นแม้แต่แฟชั่นของสุภาพสตรี ก็สามารถนำกะลามะพร้าวมาแปลงโฉมให้เป็นกระเป๋าสุดหรูได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของ “สรณรัตน์ รัตนาภรณ์”
เจ้าของผลงาน เล่าว่า เดิมทำเครื่องประดับจำพวก หินสี พลอย มุก มากว่า 5 ปีแล้ว แต่ในระยะหลัง กระแสความนิยมของเครื่องประดับประเภทนี้ลดลง จึงพยายามคิดนำสินค้าเหลือใช้ใกล้ๆ ตัว มาผสมกับวัตถุดิบเดิมที่ตัวเองมีความชำนาญ ให้เกิดเป็นสินค้าชนิดใหม่
“ไอเดียแรก อยากทำสินค้าสักชิ้นที่ฉีกแนวออกไป และน่าจะเป็นสินค้าที่เข้ามาเสริมในธุรกิจเดิมของเราด้วย ดิฉันมองว่า กะลาเป็นวัสดุธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยมีเยอะ น่าจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่าแค่ทำเชื้อเพลิงหุงต้ม เลยลองมาปรับให้เป็นกระเป๋า ด้วยการใช้หินประดับ มุก พลอย ใส่เข้าไป และให้ใช้งานได้ด้วย”
เธอ บอกว่า สาเหตุที่เลือกกะลามาทำกระเป๋าสตรี เพราะกะลาเป็นวัสดุธรรมชาติ มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่แล้ว แต่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า กะลาเป็นสินค้าพื้นเมืองระดับชาวบ้าน การนำเครื่องประดับมาผสมผสานเป็นการเพิ่มค่าให้กะลามะพร้าวกลายเป็นสินค้าเกรดเอ ประกอบกับมองการตลาด ในการเข้าร่วมโครงการสินค้าโอทอปด้วย หากจะส่งเครื่องประดับเข้าประกวด คงไม่โดดเด่น การนำกะลามะพร้าวมาทำกระเป๋า จะเรียกความสนใจจากผู้พบเห็นได้มากกว่า
ในด้านการออกแบบเริ่มแรก เธอเล่าว่า จะคิดค้น และลงมือประดิษฐ์ด้วยตัวเองทุกขั้นตอน โดยส่วนยากที่สุด คือ ความไม่แน่นอนของรูปทรงกะลา จำเป็นต้องลงไปคัดขนาดด้วยตัวเอง เน้นให้เป็นลูกใหญ่ และได้รูปทรงเหมาะสม นอกจากนั้น ต้องนำตัดแต่งบางส่วนออก เพื่อให้ได้รูป สามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ซึ่งวัตถุดิบกะลามะพร้าว ส่วนใหญ่นำมาจาก จ.สมุทรสาคร ส่วนเครื่องประดับต่างๆ นำเข้าจากประเทศบราซิล อัฟกานิสถาน และจีน เป็นต้น
“ปัญหาสำคัญที่สุดในการทำ คือ หากะลา ต้องคัดขนาดให้ตรงกัน เพราะส่วนหน้า กับส่วนหลังที่มาประกบกัน ต้องใช้กะลาคนละลูก เพราะถ้านำมาจากลูกเดียวกัน จะไม่ได้ทรงที่ต้องการ ดังนั้น เราต้องลงไปคัดด้วยตัวเองเลย”
ขั้นตอนการทำ หลังจากได้กะลามะพร้าวขนาดที่ต้องการแล้ว ต้องนำมาขัด และเจียรให้ประกบเข้ากันได้พอดี และติดด้วยกาว จากนั้น นำหนังสัตว์มาติดทับรอยต่อ ตามด้วยใช้เชือกเย็บถัก เพื่อเพิ่มความสวยงามและแข็งแรง
นอกจากนี้ ภายในยังบุด้วยผ้ากำมะหยี่ ส่วนภายนอกลงด้วยสีแบบเดโคพาร์ท ซึ่งเป็นสีนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคุณสมบัติของสีชนิดนี้ จะเข้ากับเครื่องประดับตกแต่งได้ดี ทำให้กะลามะพร้าวธรรมดาดูหรูหราขึ้นมาทันตา
ในขณะที่ การนำเครื่องประดับมาร้อยติด และประกอบเข้าเป็นหูกระเป๋า หรือตกแต่งตัวกระเป๋า จะแล้วแต่ไอเดีย แต่ละใบมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เฉลี่ยจะใช้เวลาทำประมาณ 1 วันต่อกระเป๋า 1 ใบ ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 — 1,500 บาท แล้วแต่แบบ และวัตถุดิบเครื่องประดับที่ใส่เข้าไปด้วย แต่ทั้งนี้ ราคาอาจจะสูงกว่านี้ ตามสถานที่จำหน่าย เนื่องจากสินค้าบางส่วนถูกซื้อไปวางบนศูนย์การค้า , โรงแรม และสนามบิน ทำให้ราคาขยับสูงขึ้นถึงใบละ 3,000 - 4,000 บาท =>คลิก เพื่อชมตัวอย่างสินค้า “กระเป๋ากะลา”
“กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ เพราะคนไทยไม่ค่อยเห็นคุณค่าของกะลา และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับงานแฮนด์เมด ต่างกับชาวต่างชาติ นอกจากนั้น กลุ่มคุณหญิง คุณนาย ส่วนหนึ่งก็ชอบงานนี้เช่นกัน เพราะเขาไม่ต้องการใช้ของซ้ำกับใคร”
สรณรัตน์ เผยต่อว่า แม้จะมีผู้ให้ความสนใจในสินค้ามาก แต่เนื่องจาก ที่แล้วมา ยังไม่พร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้า และเวลา ที่ยังปลีกตัวจากธุรกิจเดิมไม่ได้ จึงยังไม่กล้าทำตลาดมากนัก เพราะเกรงว่า หากมีออเดอร์เข้ามามาก จะไม่สามารถทำได้ทัน ทำให้ช่องทางการขาย มีแค่ไปออกงานแสดงสินค้าโอทอป หรือลูกค้าซื้อไปขายต่อเท่านั้น ไม่มีหน้าร้านขายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี จากกระแสตอบรับของตลาด เชื่อว่า ธุรกิจนี้มีอนาคต พร้อมยังช่วยเพิ่มช่องทางการขายเครื่องประดับได้อีกทาง ดังนั้น กำลังจะบุกตลาดอย่างจริงจัง เริ่มจากจะไปจดเป็นสิทธิบัตร และทำเว็บไซต์ของตัวเอง
และในอนาคตพยายามคิดงานกะลาที่เป็นแฟชั่นของคุณสุภาพสตรีออกมาอีก เช่น การนำเครื่องหนังมาตกแต่งกะลากระเป๋า แทนเครื่องประดับ หรือการทำภาชนะกะลาชุดสปาขายควบคู่ไปกับผลิตภัณฑ์สบู่ใยไหมที่เริ่มออกวางตลาดในเร็วๆ นี้ด้วย ส่วนจุดที่อยากจะปรับปรุง คือ ต้องการเพิ่มเนื้อที่ใช้สอยของกระเป๋า ให้สามารถใช้บรรจุของได้เหมือนกระเป๋าสตรีทั่วไป
“ที่ผ่านมา ดิฉันยังยุ่งอยู่กับธุรกิจเดิม ทำให้ไม่มีเวลาจะไปจัดการด้านเอกสารลิขสิทธิ์ แต่ไม่นานนี้ เตรียมจะไปจดเป็นสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ที่แล้วมา ยังไม่มีคนทำมาเลียนแบบ ส่วนหนึ่งที่ไม่กังวลใจว่า จะโดนเลียนแบบ เพราะถ้าใครลงมาทำดูจะรู้ว่า การทำมันยากมาก ไม่คุ้มที่จะมาลงแรง ขณะตัวเราเอง ยังพยายามปรับวิธีการ เพื่อให้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น”
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
คนไทยรู้จักนำกะลามะพร้าว มาทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่อดีต ซึ่งในปัจจุบันกะลามะพร้าว ได้ถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ในรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น อาทิ ทำเป็นภาชนะ หรือของใช้ตกแต่งบ้าน ไม่เว้นแม้แต่แฟชั่นของสุภาพสตรี ก็สามารถนำกะลามะพร้าวมาแปลงโฉมให้เป็นกระเป๋าสุดหรูได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของ “สรณรัตน์ รัตนาภรณ์”
เจ้าของผลงาน เล่าว่า เดิมทำเครื่องประดับจำพวก หินสี พลอย มุก มากว่า 5 ปีแล้ว แต่ในระยะหลัง กระแสความนิยมของเครื่องประดับประเภทนี้ลดลง จึงพยายามคิดนำสินค้าเหลือใช้ใกล้ๆ ตัว มาผสมกับวัตถุดิบเดิมที่ตัวเองมีความชำนาญ ให้เกิดเป็นสินค้าชนิดใหม่
“ไอเดียแรก อยากทำสินค้าสักชิ้นที่ฉีกแนวออกไป และน่าจะเป็นสินค้าที่เข้ามาเสริมในธุรกิจเดิมของเราด้วย ดิฉันมองว่า กะลาเป็นวัสดุธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยมีเยอะ น่าจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่าแค่ทำเชื้อเพลิงหุงต้ม เลยลองมาปรับให้เป็นกระเป๋า ด้วยการใช้หินประดับ มุก พลอย ใส่เข้าไป และให้ใช้งานได้ด้วย”
เธอ บอกว่า สาเหตุที่เลือกกะลามาทำกระเป๋าสตรี เพราะกะลาเป็นวัสดุธรรมชาติ มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่แล้ว แต่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า กะลาเป็นสินค้าพื้นเมืองระดับชาวบ้าน การนำเครื่องประดับมาผสมผสานเป็นการเพิ่มค่าให้กะลามะพร้าวกลายเป็นสินค้าเกรดเอ ประกอบกับมองการตลาด ในการเข้าร่วมโครงการสินค้าโอทอปด้วย หากจะส่งเครื่องประดับเข้าประกวด คงไม่โดดเด่น การนำกะลามะพร้าวมาทำกระเป๋า จะเรียกความสนใจจากผู้พบเห็นได้มากกว่า
ในด้านการออกแบบเริ่มแรก เธอเล่าว่า จะคิดค้น และลงมือประดิษฐ์ด้วยตัวเองทุกขั้นตอน โดยส่วนยากที่สุด คือ ความไม่แน่นอนของรูปทรงกะลา จำเป็นต้องลงไปคัดขนาดด้วยตัวเอง เน้นให้เป็นลูกใหญ่ และได้รูปทรงเหมาะสม นอกจากนั้น ต้องนำตัดแต่งบางส่วนออก เพื่อให้ได้รูป สามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ซึ่งวัตถุดิบกะลามะพร้าว ส่วนใหญ่นำมาจาก จ.สมุทรสาคร ส่วนเครื่องประดับต่างๆ นำเข้าจากประเทศบราซิล อัฟกานิสถาน และจีน เป็นต้น
“ปัญหาสำคัญที่สุดในการทำ คือ หากะลา ต้องคัดขนาดให้ตรงกัน เพราะส่วนหน้า กับส่วนหลังที่มาประกบกัน ต้องใช้กะลาคนละลูก เพราะถ้านำมาจากลูกเดียวกัน จะไม่ได้ทรงที่ต้องการ ดังนั้น เราต้องลงไปคัดด้วยตัวเองเลย”
ขั้นตอนการทำ หลังจากได้กะลามะพร้าวขนาดที่ต้องการแล้ว ต้องนำมาขัด และเจียรให้ประกบเข้ากันได้พอดี และติดด้วยกาว จากนั้น นำหนังสัตว์มาติดทับรอยต่อ ตามด้วยใช้เชือกเย็บถัก เพื่อเพิ่มความสวยงามและแข็งแรง
นอกจากนี้ ภายในยังบุด้วยผ้ากำมะหยี่ ส่วนภายนอกลงด้วยสีแบบเดโคพาร์ท ซึ่งเป็นสีนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งคุณสมบัติของสีชนิดนี้ จะเข้ากับเครื่องประดับตกแต่งได้ดี ทำให้กะลามะพร้าวธรรมดาดูหรูหราขึ้นมาทันตา
ในขณะที่ การนำเครื่องประดับมาร้อยติด และประกอบเข้าเป็นหูกระเป๋า หรือตกแต่งตัวกระเป๋า จะแล้วแต่ไอเดีย แต่ละใบมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เฉลี่ยจะใช้เวลาทำประมาณ 1 วันต่อกระเป๋า 1 ใบ ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 — 1,500 บาท แล้วแต่แบบ และวัตถุดิบเครื่องประดับที่ใส่เข้าไปด้วย แต่ทั้งนี้ ราคาอาจจะสูงกว่านี้ ตามสถานที่จำหน่าย เนื่องจากสินค้าบางส่วนถูกซื้อไปวางบนศูนย์การค้า , โรงแรม และสนามบิน ทำให้ราคาขยับสูงขึ้นถึงใบละ 3,000 - 4,000 บาท =>คลิก เพื่อชมตัวอย่างสินค้า “กระเป๋ากะลา”
“กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ เพราะคนไทยไม่ค่อยเห็นคุณค่าของกะลา และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับงานแฮนด์เมด ต่างกับชาวต่างชาติ นอกจากนั้น กลุ่มคุณหญิง คุณนาย ส่วนหนึ่งก็ชอบงานนี้เช่นกัน เพราะเขาไม่ต้องการใช้ของซ้ำกับใคร”
สรณรัตน์ เผยต่อว่า แม้จะมีผู้ให้ความสนใจในสินค้ามาก แต่เนื่องจาก ที่แล้วมา ยังไม่พร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้า และเวลา ที่ยังปลีกตัวจากธุรกิจเดิมไม่ได้ จึงยังไม่กล้าทำตลาดมากนัก เพราะเกรงว่า หากมีออเดอร์เข้ามามาก จะไม่สามารถทำได้ทัน ทำให้ช่องทางการขาย มีแค่ไปออกงานแสดงสินค้าโอทอป หรือลูกค้าซื้อไปขายต่อเท่านั้น ไม่มีหน้าร้านขายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี จากกระแสตอบรับของตลาด เชื่อว่า ธุรกิจนี้มีอนาคต พร้อมยังช่วยเพิ่มช่องทางการขายเครื่องประดับได้อีกทาง ดังนั้น กำลังจะบุกตลาดอย่างจริงจัง เริ่มจากจะไปจดเป็นสิทธิบัตร และทำเว็บไซต์ของตัวเอง
และในอนาคตพยายามคิดงานกะลาที่เป็นแฟชั่นของคุณสุภาพสตรีออกมาอีก เช่น การนำเครื่องหนังมาตกแต่งกะลากระเป๋า แทนเครื่องประดับ หรือการทำภาชนะกะลาชุดสปาขายควบคู่ไปกับผลิตภัณฑ์สบู่ใยไหมที่เริ่มออกวางตลาดในเร็วๆ นี้ด้วย ส่วนจุดที่อยากจะปรับปรุง คือ ต้องการเพิ่มเนื้อที่ใช้สอยของกระเป๋า ให้สามารถใช้บรรจุของได้เหมือนกระเป๋าสตรีทั่วไป
“ที่ผ่านมา ดิฉันยังยุ่งอยู่กับธุรกิจเดิม ทำให้ไม่มีเวลาจะไปจัดการด้านเอกสารลิขสิทธิ์ แต่ไม่นานนี้ เตรียมจะไปจดเป็นสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ที่แล้วมา ยังไม่มีคนทำมาเลียนแบบ ส่วนหนึ่งที่ไม่กังวลใจว่า จะโดนเลียนแบบ เพราะถ้าใครลงมาทำดูจะรู้ว่า การทำมันยากมาก ไม่คุ้มที่จะมาลงแรง ขณะตัวเราเอง ยังพยายามปรับวิธีการ เพื่อให้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น”
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-