สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากได้ผ่านช่วงเทศกาลกินเจ ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ
จากสภาพอากาศที่เย็นและมีฝนตกชุก ทำให้เกิดโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรมากในภาคกลาง เช่น จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก นครปฐม และราชบุรี ตั้งแต่เดือนกันยายน ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ควบคุมโรคโดยการห้ามเคลื่อนย้ายสุกรจากฟาร์มในพื้นที่ที่เกิดโรค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 42.85 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.87 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.71 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.88
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวการแพร่ระบาดไข้หวัดนกลามเข้าไปในทวีปยุโรป ทำให้สหภาพยุโรปสั่งซื้อไก่ไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการภายในประเทศทรงตัว ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกในไทยเป็นรายที่ 13 และรายงานการระบาดของโรคในจังหวัดที่เคยเกิดซ้ำซากในหลายพื้นที่ อาจทำให้ผู้บริโภค ไม่มั่นใจการบริโภคเนื้อไก่ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง
กระทรงเกษตรและสหกรณ์ออกมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกเชิงรุก โดยออกกฎกระทรวงคุมเข้มพื้นที่เลี้ยงสัตว์ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโรคดังกล่าว จะเข้มงวดในระยะ 2 เดือนต่อจากนี้ โดยจะมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด ดูแลการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกทุกชนิด สำหรับพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในบริเวณเดียวกัน และให้มีการจัดโรงเรือนเลี้ยงแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันปัญหาการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์ไปสู่สัตว์ชนิดอื่น
สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในปัจจุบัน พื้นที่ที่พบเชื้อซึ่งอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวัง 4 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี กำแพงเพชร และนครปฐม ซึ่งถือว่าอยู่ในสถานะที่ควบคุมโรคได้ และมีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ ในพื้นที่เสี่ยง 21 จังหวัด โดยมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในคน ให้เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยที่สงสัยทุกรายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคปอดบวมให้ส่งตรวจหาการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกทันที และพบเชื้อไข้หวัดนกในไก่พื้นเมืองที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตและได้ประกาศให้จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตพื้นที่สีแดง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 45.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.09 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.68 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.50 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.00 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 49.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.00 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.26
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติ แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 246 บาท สูงขึ้นจาก ร้อยฟองละ 242 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ1.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 264 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238.33 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 228.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.38
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 306 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 305 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 248 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 299 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 297 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.41 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.32 บาท ภาคตะวันออก เฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.56 จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.50 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 17-23 ต.ค.2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากได้ผ่านช่วงเทศกาลกินเจ ความต้องการของผู้บริโภคเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ
จากสภาพอากาศที่เย็นและมีฝนตกชุก ทำให้เกิดโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรมากในภาคกลาง เช่น จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก นครปฐม และราชบุรี ตั้งแต่เดือนกันยายน ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ควบคุมโรคโดยการห้ามเคลื่อนย้ายสุกรจากฟาร์มในพื้นที่ที่เกิดโรค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 42.85 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.87 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.71 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.88
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข่าวการแพร่ระบาดไข้หวัดนกลามเข้าไปในทวีปยุโรป ทำให้สหภาพยุโรปสั่งซื้อไก่ไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการภายในประเทศทรงตัว ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกในไทยเป็นรายที่ 13 และรายงานการระบาดของโรคในจังหวัดที่เคยเกิดซ้ำซากในหลายพื้นที่ อาจทำให้ผู้บริโภค ไม่มั่นใจการบริโภคเนื้อไก่ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง
กระทรงเกษตรและสหกรณ์ออกมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกเชิงรุก โดยออกกฎกระทรวงคุมเข้มพื้นที่เลี้ยงสัตว์ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโรคดังกล่าว จะเข้มงวดในระยะ 2 เดือนต่อจากนี้ โดยจะมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด ดูแลการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกทุกชนิด สำหรับพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในบริเวณเดียวกัน และให้มีการจัดโรงเรือนเลี้ยงแยกออกจากกัน เพื่อป้องกันปัญหาการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์ไปสู่สัตว์ชนิดอื่น
สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในปัจจุบัน พื้นที่ที่พบเชื้อซึ่งอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวัง 4 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี กำแพงเพชร และนครปฐม ซึ่งถือว่าอยู่ในสถานะที่ควบคุมโรคได้ และมีการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ ในพื้นที่เสี่ยง 21 จังหวัด โดยมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในคน ให้เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยที่สงสัยทุกรายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคปอดบวมให้ส่งตรวจหาการติดเชื้อโรคไข้หวัดนกทันที และพบเชื้อไข้หวัดนกในไก่พื้นเมืองที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตและได้ประกาศให้จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตพื้นที่สีแดง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 45.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.09 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.68 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.50 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.00 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 49.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.00 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.26
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติ แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 246 บาท สูงขึ้นจาก ร้อยฟองละ 242 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ1.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 264 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238.33 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 228.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.38
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 306 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 305 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 248 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 299 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 297 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.41 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.32 บาท ภาคตะวันออก เฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.56 จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.16 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.50 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 17-23 ต.ค.2548--
-พห-