กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผมนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะสมาชิกรัฐสภาขอให้ความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอมาทั้ง 2 ด้าน ผมถือว่าการอภิปรายในวันนี้มีความสำคัญ ก็ไม่บ่อยนักที่รัฐสภาของเราจะมีโอกาสอภิปรายในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติเคยอนุมัติรัฐธรรมนูญของประเทศไทยไปแล้ว 16 ฉบับ แต่ผมแน่ใจว่าไม่บ่อยนักที่รัฐสภาจะได้มีโอกาสพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวกับท่านประธานไปแล้วเราใช้เวลานานถึง 8 ปีเต็มในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เรามีความตั้งใจที่จะรอคอยให้ผู้ที่มีหน้าที่เสนอความเห็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เสนอกลับเข้ามาเพื่อให้รัฐสภาได้พิจารณา เราก็ไม่เคยมีโอกาสนั้น
ผมได้ฟังคำแถลงของท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นผู้เสนอร่างแทนคณะรัฐมนตรี และได้ฟังความคิดเห็นของท่านผู้นำฝ่ายค้านได้เสนอร่างในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 2 ท่านได้บอกเป้าหมายของการแก้ไขในครั้งนี้อย่างชัดเจน นั่นก็คือท่านนายกได้บอกเป้าหมายของการแก้ไขด้วยว่าเพื่อให้เลือกกรรมการปปช.ได้ ส่วนท่านผู้นำฝ่ายค้านได้บอกว่าเหตุผลของการแก้ไขในครั้งนี้เพื่อที่จะให้เลือกกรรมการปปช.ได้ เพื่อให้องค์กรอิสระไม่ถูกแทรกแซงอำนาจทางการเมืองแล้วก็เสนอให้มีการแก้ไขไปเสียที่เดียวทั้ง 3 องค์กร ท่านประธานครับถ้าดูความแตกต่างเพียงแค่นี้ ดูเหมือนจะไม่ใช่เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะแก้หนึ่งหรือแก้สามก็ได้มีโอกาสแก้ไขไม่มากนัก
กระผมกราบเรียนท่านประธานว่าการเสนอความเห็นที่มีความแก้ต่างของเป้าหมายในการแก้ไขนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นประเด็นที่กำลังท้าทายเหล่าสมาชิกรัฐสภาแห่งนี้ทั้ง 700 คนว่าเราจะก้าวพ้นหรือไม่ เราจะก้าวไปสู่การตัดสินใจที่กล้าตัดอำนาจอันเป็นอำนาจของเราเองให้ไม่เข้าไปสรรหาในองค์กรอิสระหรือไม่ นี่เป็นปัญหาที่ท้าทายและปัญหาที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ผมถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การแก้ไขในครั้งนี้ที่ท่านบอกว่าเราแก้เพื่อให้เลือกกรรมการปปช.ได้ เป็นความจริงที่เดียวว่าขณะนี้เราไม่มีกรรมการ ปปช.อยู่ และเป็นความจริงอีกว่าเราต้องได้รับให้มีการแก้ไขโดยเร็วแล้วเราบอกว่าแก้ประเด็นเดียวก็พอเพื่อความรวดเร็ว
ท่านประธานพูดเหมือนกับว่าการแก้มาตราเดียวต้องใช้เวลา 15 วัน แล้วถ้าแก้ไข 3 มาตรา ไม่ได้แปรว่าต้องใช้เวลา 15 วัน แก้มาตราเดียวหรือ 3 มาตรามันก็ใช้เวลาเท่ากัน มันไม่ได้ถกเถียงกันที่ละ 15 ที่ละ 15 ปัญหาอยู่ตรงนี้ท่านประธานว่าเรากล้าหาญพอที่จะตัดตัวแทนของเราออกจากกรรมการสรรหาหรือไม่ เพราะเป็นที่ประจักษ์ว่ากรรมการสรรหาที่ไปจากเราที่ไปจากตัวแทนทางการเมืองไปแทรกแซงการแต่งตั้งองค์กรอิสระนี่ปัญหาที่สังคมมองเห็นปัญหาที่ท้าทาย ผมไม่ได้เรียนท่านประธานว่าพรรคการเมืองดีหรือไม่ดี ไม่ได้บอกว่าตัวแทนของประชาชนใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ วันนี้การเมืองในระบบตัวแทนเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การเมืองระบบตัวแทนไม่ใช่ทั้งหมดของระบอบประธิปไตยต่อไปอีกแล้ว การเมืองในระบบตัวแทนเป็นเพียงส่วนหนึ่งและการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง และก็มีบทบาทมีอำนาจในระดับใกล้เคียงกัน
เรามีองค์กรอิสระเกิดขึ้นด้วยเจนตนารมณ์ที่มีความสำคัญนั่นก็คือว่าการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน และการใช้อำนาจตรวจสอบขององค์กรอิสระนั่นถือว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอให้มีการแก้ไขที่เดียวทั้ง 3 องค์กร ท่านประธานครับที่ผมพูดประเด็นนี้ก่อนทั้ง 3 รัฐธรรมนูญ ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดกรรมการสรรหาไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนองค์กรอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งก็มีตัวแทนพรรคการเมืองสรรหา และรวมทั้งคณะกรรมการสิทธมนุษยชนก็มีตัวแทนของพรรคการเมืองเป็นผู้สรรหา เพียงแต่ว่า 3 องค์กรหลังนั้นเขาเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติเกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถพูดกันอยู่ได้ในขณะนี้ แต่สิ่งที่ถูกกำนหดไว้แล้วในรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งที่เราจะพูดรวมกันไปด้วย เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องอื่นไม่ใช่เรื่องที่ต้องฟังความเห็นของประชาชนอย่างที่มีการกล่าวอ้าง
ถ้าต้องฟังความเห็นประชาชนปปช.ก็ต้องฟัง มันไม่ใช่ปปช.ไม่ฟัง แต่เรื่องอื่นไว้รับฟังที่หลัง ท่านประธานก็พอมองเห็นว่าคนที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญก็มาจากหลักการเดียวกัน มาจากหลักการก็คือว่าผู้ที่สรรหามาจากประธานศาลฎีกา มาจากคณะบดี นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ตัวแทนพรรคการเมืองไม่ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นมาสรรหากรรมการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการเลือกตั้งก็ไม่ให้มีประธานกรรมการเลือกตั้งให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญให้ประธานศาลปกครองสูงสุด ให้อธิการบดี ให้พรรคการเมืองสรรหา กรรมการปปช.ก็ให้ประธานศาลฎีกาให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ปรานศาลปกครองสูงสุด ให้อธิการบดี ให้ตัวแทนพรรคการเมือง ท่านประธานครับนี่เป็นเรื่องหลักการเดียวกันแท้ ๆ ถ้าหลักการนี้ต้องถอดพรรคการเมืองออก ตัวศาลรัฐธรรมนูญ ตัวกรรมการเลือกตั้งก็ต้องถอดตัวแทนของพรรคการเมืองออกมันเป็นหลักการเดียวกันเป็นหลักการพื้นฐาน แล้วเรากำลังจะฟังความเห็นของประชาชน
ท่านประธานครับที่เรื่องต้องฟังเราไม่เคยฟังแต่เรื่องที่ไม่จำเป็นต้องฟังก็ทำได้ทันทีอยู่แล้ว เป็นความเห็นพ้อง ฟังดูได้มีตั้งแต่ต้นแล้วกลับไม่ทำ ผมประหลาดใจมากว่าเวลามีเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริต มีเรื่องเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน มีเรื่องเกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมขงอประชาชนเราลังเลเสมอครับ เรารู้สึกใช้อารมณ์เสนอ ท่านประธานครับสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สภาต้องก้าวให้พ้น ต้องกล้าตัดสินใจ การไม่มีตัวแทนพรรคการเมืองถูกหรอกเห็นแล้วตรงกันแล้ว อย่างที่ท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้กราบเรียนกับท่านประธานว่า วันนี้ถ้าเห็นแก่ตัวฝ่ายค้านควรภูมิใจ ฝ่ายค้านควรดีใจ เพราะอย่างน้อยที่สุดในชีวิตของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยมีโอกาสเป็นกรรมการสรรหากับเขาทั้งที่เป็นพรรคที่ 2 ของประเทศมีจำนวนสมาชิกเป็นที่ 2 ของประเทศ แต่วันนี้ให้ผู้นำฝ่ายค้านไป หลายคนคิดว่าประชาธิปัตย์จะดีใจ ไม่ครับเราต้องการให้ตัวแทนนี้ออกไป และที่สำคัญก็คือว่าในร่างที่เสนอเข้ามานี้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มาจากประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาซึ่งเลือกกันเอง และผู้นำฝ่ายค้าน อธิการบดีคนเหล่านี้เขาผ่านการจากการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งมาแล้วทั้งสิ้น
วันนี้เราเสนอหลักการใหม่ครับท่านประธานครับ ไม่ใช่เรื่องเล็กเลยที่เขียนว่าผู้นำเสียงข้างมาก ซึ่งกำหนดโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นมา ใครมาเป็นตัวแทนเป็นคนเดียวเท่านั้นและครับที่ไม่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง ท่านประธานครับเราพูดว่าบล็อกโหวตกันเมื่อสักครู่นี้ ถ้าท่านประธานได้อ่านหนังสือพิมพ์ในนี้คงรู้นะว่าเป็นใคร รู้ได้อย่างไรว่าร่างรัฐธรรมนูญยังแก้ไม่เสร็จ ประชุมยังไม่ได้ประชุมเลยว่าจะเลือกใครเป็นตัวแทน แต่ท่านประธานก็เห็นแล้วใช่ไหมครับถ้าอ่านหนังสือพิมพ์เมื่อเช้าก็เห็นชัดเจนว่าอย่างนี้ไม่ต้องใครไปสรรหาหรอกครับมันบล็อกโหวตตั้งแต่ร่างแก้รัฐธรรมนูญยังแก้ไม่เสร็จเลย นี่เป็นชุดความคิดที่ผมคิดว่าเราต้องเดินให้ได้ว่า
1.เราจะตัดตัวแทนของฝ่ายการเมืองออกไปจริงหรือไม่
2. เรากล้าหาญพอที่จะแก้ที่เดียว 3 มาตราหรือไม่
เพราะเป็นหลักการเดียวกัน นี่เป็นความแตกต่างระหว่าง 2 ร่าง ระหว่างสิ่งที่เรากำลังพิจารณา กระผมในฐานะที่เป็นสมาชิกรัฐสภาผมเห็นด้วยกับร่างที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่อาจที่จะรับร่างที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีได้ครับท่านประธานครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-
ผมได้ฟังคำแถลงของท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นผู้เสนอร่างแทนคณะรัฐมนตรี และได้ฟังความคิดเห็นของท่านผู้นำฝ่ายค้านได้เสนอร่างในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 2 ท่านได้บอกเป้าหมายของการแก้ไขในครั้งนี้อย่างชัดเจน นั่นก็คือท่านนายกได้บอกเป้าหมายของการแก้ไขด้วยว่าเพื่อให้เลือกกรรมการปปช.ได้ ส่วนท่านผู้นำฝ่ายค้านได้บอกว่าเหตุผลของการแก้ไขในครั้งนี้เพื่อที่จะให้เลือกกรรมการปปช.ได้ เพื่อให้องค์กรอิสระไม่ถูกแทรกแซงอำนาจทางการเมืองแล้วก็เสนอให้มีการแก้ไขไปเสียที่เดียวทั้ง 3 องค์กร ท่านประธานครับถ้าดูความแตกต่างเพียงแค่นี้ ดูเหมือนจะไม่ใช่เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะแก้หนึ่งหรือแก้สามก็ได้มีโอกาสแก้ไขไม่มากนัก
กระผมกราบเรียนท่านประธานว่าการเสนอความเห็นที่มีความแก้ต่างของเป้าหมายในการแก้ไขนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นประเด็นที่กำลังท้าทายเหล่าสมาชิกรัฐสภาแห่งนี้ทั้ง 700 คนว่าเราจะก้าวพ้นหรือไม่ เราจะก้าวไปสู่การตัดสินใจที่กล้าตัดอำนาจอันเป็นอำนาจของเราเองให้ไม่เข้าไปสรรหาในองค์กรอิสระหรือไม่ นี่เป็นปัญหาที่ท้าทายและปัญหาที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ผมถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การแก้ไขในครั้งนี้ที่ท่านบอกว่าเราแก้เพื่อให้เลือกกรรมการปปช.ได้ เป็นความจริงที่เดียวว่าขณะนี้เราไม่มีกรรมการ ปปช.อยู่ และเป็นความจริงอีกว่าเราต้องได้รับให้มีการแก้ไขโดยเร็วแล้วเราบอกว่าแก้ประเด็นเดียวก็พอเพื่อความรวดเร็ว
ท่านประธานพูดเหมือนกับว่าการแก้มาตราเดียวต้องใช้เวลา 15 วัน แล้วถ้าแก้ไข 3 มาตรา ไม่ได้แปรว่าต้องใช้เวลา 15 วัน แก้มาตราเดียวหรือ 3 มาตรามันก็ใช้เวลาเท่ากัน มันไม่ได้ถกเถียงกันที่ละ 15 ที่ละ 15 ปัญหาอยู่ตรงนี้ท่านประธานว่าเรากล้าหาญพอที่จะตัดตัวแทนของเราออกจากกรรมการสรรหาหรือไม่ เพราะเป็นที่ประจักษ์ว่ากรรมการสรรหาที่ไปจากเราที่ไปจากตัวแทนทางการเมืองไปแทรกแซงการแต่งตั้งองค์กรอิสระนี่ปัญหาที่สังคมมองเห็นปัญหาที่ท้าทาย ผมไม่ได้เรียนท่านประธานว่าพรรคการเมืองดีหรือไม่ดี ไม่ได้บอกว่าตัวแทนของประชาชนใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ วันนี้การเมืองในระบบตัวแทนเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การเมืองระบบตัวแทนไม่ใช่ทั้งหมดของระบอบประธิปไตยต่อไปอีกแล้ว การเมืองในระบบตัวแทนเป็นเพียงส่วนหนึ่งและการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง และก็มีบทบาทมีอำนาจในระดับใกล้เคียงกัน
เรามีองค์กรอิสระเกิดขึ้นด้วยเจนตนารมณ์ที่มีความสำคัญนั่นก็คือว่าการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน และการใช้อำนาจตรวจสอบขององค์กรอิสระนั่นถือว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอให้มีการแก้ไขที่เดียวทั้ง 3 องค์กร ท่านประธานครับที่ผมพูดประเด็นนี้ก่อนทั้ง 3 รัฐธรรมนูญ ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดกรรมการสรรหาไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนองค์กรอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งก็มีตัวแทนพรรคการเมืองสรรหา และรวมทั้งคณะกรรมการสิทธมนุษยชนก็มีตัวแทนของพรรคการเมืองเป็นผู้สรรหา เพียงแต่ว่า 3 องค์กรหลังนั้นเขาเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติเกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถพูดกันอยู่ได้ในขณะนี้ แต่สิ่งที่ถูกกำนหดไว้แล้วในรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งที่เราจะพูดรวมกันไปด้วย เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องอื่นไม่ใช่เรื่องที่ต้องฟังความเห็นของประชาชนอย่างที่มีการกล่าวอ้าง
ถ้าต้องฟังความเห็นประชาชนปปช.ก็ต้องฟัง มันไม่ใช่ปปช.ไม่ฟัง แต่เรื่องอื่นไว้รับฟังที่หลัง ท่านประธานก็พอมองเห็นว่าคนที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญก็มาจากหลักการเดียวกัน มาจากหลักการก็คือว่าผู้ที่สรรหามาจากประธานศาลฎีกา มาจากคณะบดี นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ตัวแทนพรรคการเมืองไม่ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นมาสรรหากรรมการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการเลือกตั้งก็ไม่ให้มีประธานกรรมการเลือกตั้งให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญให้ประธานศาลปกครองสูงสุด ให้อธิการบดี ให้พรรคการเมืองสรรหา กรรมการปปช.ก็ให้ประธานศาลฎีกาให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ปรานศาลปกครองสูงสุด ให้อธิการบดี ให้ตัวแทนพรรคการเมือง ท่านประธานครับนี่เป็นเรื่องหลักการเดียวกันแท้ ๆ ถ้าหลักการนี้ต้องถอดพรรคการเมืองออก ตัวศาลรัฐธรรมนูญ ตัวกรรมการเลือกตั้งก็ต้องถอดตัวแทนของพรรคการเมืองออกมันเป็นหลักการเดียวกันเป็นหลักการพื้นฐาน แล้วเรากำลังจะฟังความเห็นของประชาชน
ท่านประธานครับที่เรื่องต้องฟังเราไม่เคยฟังแต่เรื่องที่ไม่จำเป็นต้องฟังก็ทำได้ทันทีอยู่แล้ว เป็นความเห็นพ้อง ฟังดูได้มีตั้งแต่ต้นแล้วกลับไม่ทำ ผมประหลาดใจมากว่าเวลามีเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาทุจริต มีเรื่องเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน มีเรื่องเกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมขงอประชาชนเราลังเลเสมอครับ เรารู้สึกใช้อารมณ์เสนอ ท่านประธานครับสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สภาต้องก้าวให้พ้น ต้องกล้าตัดสินใจ การไม่มีตัวแทนพรรคการเมืองถูกหรอกเห็นแล้วตรงกันแล้ว อย่างที่ท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้กราบเรียนกับท่านประธานว่า วันนี้ถ้าเห็นแก่ตัวฝ่ายค้านควรภูมิใจ ฝ่ายค้านควรดีใจ เพราะอย่างน้อยที่สุดในชีวิตของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยมีโอกาสเป็นกรรมการสรรหากับเขาทั้งที่เป็นพรรคที่ 2 ของประเทศมีจำนวนสมาชิกเป็นที่ 2 ของประเทศ แต่วันนี้ให้ผู้นำฝ่ายค้านไป หลายคนคิดว่าประชาธิปัตย์จะดีใจ ไม่ครับเราต้องการให้ตัวแทนนี้ออกไป และที่สำคัญก็คือว่าในร่างที่เสนอเข้ามานี้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มาจากประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาซึ่งเลือกกันเอง และผู้นำฝ่ายค้าน อธิการบดีคนเหล่านี้เขาผ่านการจากการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งมาแล้วทั้งสิ้น
วันนี้เราเสนอหลักการใหม่ครับท่านประธานครับ ไม่ใช่เรื่องเล็กเลยที่เขียนว่าผู้นำเสียงข้างมาก ซึ่งกำหนดโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นมา ใครมาเป็นตัวแทนเป็นคนเดียวเท่านั้นและครับที่ไม่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่ง ท่านประธานครับเราพูดว่าบล็อกโหวตกันเมื่อสักครู่นี้ ถ้าท่านประธานได้อ่านหนังสือพิมพ์ในนี้คงรู้นะว่าเป็นใคร รู้ได้อย่างไรว่าร่างรัฐธรรมนูญยังแก้ไม่เสร็จ ประชุมยังไม่ได้ประชุมเลยว่าจะเลือกใครเป็นตัวแทน แต่ท่านประธานก็เห็นแล้วใช่ไหมครับถ้าอ่านหนังสือพิมพ์เมื่อเช้าก็เห็นชัดเจนว่าอย่างนี้ไม่ต้องใครไปสรรหาหรอกครับมันบล็อกโหวตตั้งแต่ร่างแก้รัฐธรรมนูญยังแก้ไม่เสร็จเลย นี่เป็นชุดความคิดที่ผมคิดว่าเราต้องเดินให้ได้ว่า
1.เราจะตัดตัวแทนของฝ่ายการเมืองออกไปจริงหรือไม่
2. เรากล้าหาญพอที่จะแก้ที่เดียว 3 มาตราหรือไม่
เพราะเป็นหลักการเดียวกัน นี่เป็นความแตกต่างระหว่าง 2 ร่าง ระหว่างสิ่งที่เรากำลังพิจารณา กระผมในฐานะที่เป็นสมาชิกรัฐสภาผมเห็นด้วยกับร่างที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่อาจที่จะรับร่างที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีได้ครับท่านประธานครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-