วันนี้ (18 ตุลาคม 2548) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรายย่อยที่ยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาจากมาตรการของรัฐที่ผ่านมาซึ่งมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ บริษัทเงินทุน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรายย่อยที่ยังไม่ได้รับการดูแลดังกล่าว ให้ได้รับการดูแลตามสมควรในการปลดเปลื้องภาระหนี้สินเพื่อให้มีโอกาสได้ฟื้นฟูสภาพในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพหน้าที่การงานได้อย่างเป็นปกติสุขโดยปราศจากปัญหาหนี้สินและการถูกดำเนินคดีทางศาล รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนมีความคืบหน้าอย่างแท้จริง
เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการไปสู่กลุ่มเป้าหมาย กระทรวงการคลังโดยความร่วมมือ
ของสถาบันการเงินข้างต้น จึงได้กำหนดคุณสมบัติ และแนวทางดำเนินการตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ดังนี้
1. สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่อยู่ภายใต้มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 เป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้น สงสัย หรือ สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมสินทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อเกษตรกรรม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบัตรเครดิต
1.2 เป็นสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ บริษัทเงินทุน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เข้าร่วมโครงการ
1.3 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา
1.4 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้ถูกฟ้องดำเนินคดีแล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยมียอดหนี้เงินต้นคงค้างต่อรายลูกหนี้ไม่เกินสองแสนบาทต่อสถาบันการเงิน
2. ทางเลือกสำหรับลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
2.1 กรณีลูกหนี้สามารถชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างได้ครบถ้วนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยให้ลูกหนี้ได้รับการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1) ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียวระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2549
2) ลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วนแล้ว
3) หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นอันเลิกไป โดยภาระหนี้ทั้งหมดย้อนกลับไปยังมูลหนี้เดิมก่อนการปรับโครงสร้างหนี้
2.2 กรณีลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างเกินกว่าวันที่ 30 มิถุนายน 2549 แต่ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2549 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้โดยความยินยอมของลูกหนี้จัดส่งแบบฟอร์มข้อมูลลูกหนี้ตามที่ธนาคารออมสินกำหนดให้แก่ธนาคารออมสินภายใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549
2) ธนาคารออมสินจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกหนี้แต่ละราย โดยจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริงและข้อมูลลูกหนี้ ถูกต้องโดยจะแจ้งผลการพิจารณาแก่ลูกหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
3) หากลูกหนี้ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคารออมสินจะอำนวยสินเชื่อเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของมูลค่าเงินต้นคงค้างที่มีต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต่อไป
4) สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะมีเงื่อนไขให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียว โดยลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วน
5) ลูกหนี้จะต้องผ่อนชำระสินเชื่อใหม่ให้ครบถ้วนแก่ธนาคารออมสินตามระยะเวลาการกู้ที่จะตกลงกัน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยมีอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารออมสินกำหนด
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่
14 ตุลาคม 2548 โดยมีสถาบันการเงินบางแห่งที่ประสงค์จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ แต่เนื่องจากไม่มีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงมิได้เข้าร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลัง โดยมีรายชื่อสถาบันการเงินและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ตามรายชื่อที่แนบ
กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่า มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประชาชน สถาบันการเงิน และระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยจะเป็นการดำเนินการเพียงครั้งเดียว ซึ่งไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการเสียวินัยทางการเงิน นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน จึงมิต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ
รายชื่อสถาบันการเงิน
ที่เข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
ธนาคารพาณิชย์และธนาคารที่มีกฎหมาย หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ
1. ธนาคารออมสิน
“ศูนย์ตอบปัญหามาตรการปรับโครงสร้าง 1115, 0-2299-8000 ต่อ 100904-8
หนี้ภาคประชาชนของกระทรวงการคลัง”
2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 1333
3. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 0-2208-4427, 0-2208-4447, 0-2208-4477
4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 0-2296-3610, 0-2296-2320
5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 0-2470-2696
6. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 0-2230-6022
7. ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) 0-2638-8532
8. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 0-2544-3119, 0-2544-2963
9. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) 0-2253-0200
10. ธนาคารยูโอบี รัตนสิน จำกัด (มหาชน) 0-2620-3892, 0-2620-3891
11. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ นครธน จำกัด (มหาชน) 0-2724-6963
12. ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) 0-2620-3872, 02-620-3890
13. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 0-2655-9000
14. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 0-2633-6000
15. ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 0-2280-3131,0-2680-3133-4,0-2256-9122-3
16. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง 0-2201-3700 ต่อ 1095
และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
บริษัทเงินทุน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
1. บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) 0-2611-9345
2. บริษัทเงินทุน สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) 0-2663-9999
3. บริษัทเงินทุน แอ๊ดวานซ์ จำกัด (มหาชน) 0-2626-2300
บริษัทบริหารสินทรัพย์ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
1. บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 0-2619-5000
2. บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด 0-2267-1900
3. บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด 0-2296-4904
4. บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพทาย จำกัด 0-2694-5000
5. บริษัทบริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด 0-2617-8222
6. บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำกัด 0-2217-8177
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 89/2548 18 ตุลาคม 48--
เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการไปสู่กลุ่มเป้าหมาย กระทรวงการคลังโดยความร่วมมือ
ของสถาบันการเงินข้างต้น จึงได้กำหนดคุณสมบัติ และแนวทางดำเนินการตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ดังนี้
1. สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่อยู่ภายใต้มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 เป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้น สงสัย หรือ สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมสินทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อเกษตรกรรม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบัตรเครดิต
1.2 เป็นสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ บริษัทเงินทุน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เข้าร่วมโครงการ
1.3 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา
1.4 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้ถูกฟ้องดำเนินคดีแล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยมียอดหนี้เงินต้นคงค้างต่อรายลูกหนี้ไม่เกินสองแสนบาทต่อสถาบันการเงิน
2. ทางเลือกสำหรับลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
2.1 กรณีลูกหนี้สามารถชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างได้ครบถ้วนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยให้ลูกหนี้ได้รับการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1) ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียวระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2549
2) ลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วนแล้ว
3) หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นอันเลิกไป โดยภาระหนี้ทั้งหมดย้อนกลับไปยังมูลหนี้เดิมก่อนการปรับโครงสร้างหนี้
2.2 กรณีลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างเกินกว่าวันที่ 30 มิถุนายน 2549 แต่ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2549 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้โดยความยินยอมของลูกหนี้จัดส่งแบบฟอร์มข้อมูลลูกหนี้ตามที่ธนาคารออมสินกำหนดให้แก่ธนาคารออมสินภายใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549
2) ธนาคารออมสินจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกหนี้แต่ละราย โดยจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริงและข้อมูลลูกหนี้ ถูกต้องโดยจะแจ้งผลการพิจารณาแก่ลูกหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
3) หากลูกหนี้ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคารออมสินจะอำนวยสินเชื่อเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของมูลค่าเงินต้นคงค้างที่มีต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต่อไป
4) สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะมีเงื่อนไขให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียว โดยลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วน
5) ลูกหนี้จะต้องผ่อนชำระสินเชื่อใหม่ให้ครบถ้วนแก่ธนาคารออมสินตามระยะเวลาการกู้ที่จะตกลงกัน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยมีอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารออมสินกำหนด
ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่เข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่
14 ตุลาคม 2548 โดยมีสถาบันการเงินบางแห่งที่ประสงค์จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ แต่เนื่องจากไม่มีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงมิได้เข้าร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลัง โดยมีรายชื่อสถาบันการเงินและหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ตามรายชื่อที่แนบ
กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่า มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประชาชน สถาบันการเงิน และระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยจะเป็นการดำเนินการเพียงครั้งเดียว ซึ่งไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการเสียวินัยทางการเงิน นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน จึงมิต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ
รายชื่อสถาบันการเงิน
ที่เข้าร่วมมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
ธนาคารพาณิชย์และธนาคารที่มีกฎหมาย หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ
1. ธนาคารออมสิน
“ศูนย์ตอบปัญหามาตรการปรับโครงสร้าง 1115, 0-2299-8000 ต่อ 100904-8
หนี้ภาคประชาชนของกระทรวงการคลัง”
2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 1333
3. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 0-2208-4427, 0-2208-4447, 0-2208-4477
4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 0-2296-3610, 0-2296-2320
5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 0-2470-2696
6. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 0-2230-6022
7. ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) 0-2638-8532
8. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 0-2544-3119, 0-2544-2963
9. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) 0-2253-0200
10. ธนาคารยูโอบี รัตนสิน จำกัด (มหาชน) 0-2620-3892, 0-2620-3891
11. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ นครธน จำกัด (มหาชน) 0-2724-6963
12. ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) 0-2620-3872, 02-620-3890
13. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 0-2655-9000
14. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 0-2633-6000
15. ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 0-2280-3131,0-2680-3133-4,0-2256-9122-3
16. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง 0-2201-3700 ต่อ 1095
และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
บริษัทเงินทุน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
1. บริษัทเงินทุน ธนชาติ จำกัด (มหาชน) 0-2611-9345
2. บริษัทเงินทุน สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) 0-2663-9999
3. บริษัทเงินทุน แอ๊ดวานซ์ จำกัด (มหาชน) 0-2626-2300
บริษัทบริหารสินทรัพย์ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
1. บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 0-2619-5000
2. บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด 0-2267-1900
3. บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด 0-2296-4904
4. บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพทาย จำกัด 0-2694-5000
5. บริษัทบริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด 0-2617-8222
6. บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็น เอฟ เอส จำกัด 0-2217-8177
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 89/2548 18 ตุลาคม 48--