กรุงเทพ--4 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement, JTEPA) รอบที่ 7 ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.-1 เม.ย.48 ที่ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยมีหัวหน้าคณะเจรจาของทั้งสองฝ่าย คือ นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย และนายมิโตจิ ยาบูนากะ รองปลักกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจ เป็นประธานร่วมกันในการประชุม ฯ โดยในวันนี้ (1 เม.ย. 48) นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1.ฝ่ายญี่ปุ่นพร้อมที่จะตอบสนองต่อไทยในการเปิดเสรีสินค้าเกษตร และความร่วมมือด้านเกษตร ซึ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร และความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ แม้ว่าทางกระทรวงเกษตร ฯ ของญี่ปุ่น จะไม่สามารถตอบสนองข้อเสนอของไทยได้ทุกข้อ แต่อย่างน้อยก็ได้ให้ไทยเท่ากับหรือมากกว่าที่เคยให้กับฟิลิปปินส์
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นได้ยอมตกลงความร่วมมือเกษตรที่เป็นสุขอนามัย และความร่วมมือด้านสหกรณ์ ซึ่งเป็นความตกลงที่ญี่ปุ่นไม่เคยทำกับประเทศใดมาก่อน โดยฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีชัดเจนที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยจะไม่เสนอสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น เช่น น้ำตาล สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว
2.บรรยากาศในการเจรจาดำเนินไปด้วยดี โดยฝ่ายไทยมีความมุ่งมั่น และเตรียมการเจรจามาเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถสรุปผลให้ได้มากที่สุด ซึ่งการเจรจาเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา และฝ่ายไทยได้แสดงความเข้าใจในความละเอียดอ่อนของฝ่ายญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ก็เรียกร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่นเข้าใจในประเด็นที่อ่อนไหวต่อฝ่ายไทยด้วยเช่นกัน ในการเจรจา ฯ ฝ่ายไทยยึดหลักปกป้องผลประโยชน์ของไทยแบบสมดุล คือ เปิดเสรีในส่วนที่เป็นประโยชน์ และปกป้องในส่วนที่อาจได้รับผลกระทบ
3.ไทยได้แสดงความพร้อมในการเจรจา หากญี่ปุ่นยอมรับข้อเสนอของไทยในเรื่องเหล็กและแผ่นเหล็กรีดร้อน โดยไทยจะคงภาษีไว้ที่อัตราฐาน ประมาณ 7-9.5% และจะลดลงจนถึง 0% ในปีที่ 15 นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมของไทยในบางสาขา เช่น ยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ดังเช่นที่ไทยพร้อมที่จะเข้าใจความละเอียดอ่อนของสินค้าภาคเกษตรของญี่ปุ่น
4.ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันในการเปิดเสรีทางด้านการบริการ และเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาในหลายสาขา ซึ่งไทยได้ผลักดันมาโดยตลอด เช่น พ่อครัวอาหารไทย แม้ว่าปัจจุบันคนไทยจะสามารถเข้าไปประกอบอาชีพในญี่ปุ่นได้อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงนี้ จะช่วยลดระยะเวลาของประสบการณ์การทำงานที่ต้องการจากกรณีทั่วไป นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้เปิดโอกาสให้คนไทยที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าไปทำงานในบางสาขาได้ เช่น สาขาโฆษณา การจัดประชุมและนิทรรศการ และในด้านของสปา ญี่ปุ่นได้ยอมรับให้คนไทยไปดำเนินกิจการ และเป็นผู้จัดการสปาหรือผู้อบรมฝึกอบรมการให้บริการได้
5. ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาความร่วมมือใน 9 สาขา ซึ่งประกอบด้วย
5.1 ความร่วมมือทางด้านการเกษตร
5.2 ความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการสร้างบุคลาการด้านแม่พิมพ์ (Mould and Die) ซึ่งมีความสำคัญต่อศักยภาพอุตสาหกรรมไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์
5.3 ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาร่วมกันทางเทคโนโลยีระดับสูงในสาขานาโนเทคโนโลยี material technology and engineering และ Biomass ตลอดจนร่วมมือกันในเรื่องระบบการเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ
5.4 ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ซึ่งเน้นเรื่องการร่วมกันพัฒนาเครือข่าย broadband ในชนบท รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
5.5 ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว แบบ longstay การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
(Eco-tourism) และไทยสปา
5.6 ความร่วมมือด้าน SME โดยจะสนับสนุนให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ การพัฒนาทางด้านการตลาดและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) ของ SME
5.7 ความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงการจัดตั้งกลไกร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน
5.8 ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนให้นักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้การสนับสนุนจากคณะกรรมาการส่งเสริการลงทุน (BOI) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร อุตสาห-กรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศและโทรคมนาคม อุตสาห-กรรมบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และพลังงานทดแทน
5.9 ความร่วมมือทางด้านบริการด้านการเงิน โดยเน้นความร่วมมือเสริมสร้างโครงสร้างตลาดการเงินทั้งในไทย ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนความร่วมมือในการจัดระเบียบการเงิน (financial regulatory cooperation)
6. ฝ่ายไทยพยายามปกป้องอุตสาหกรรมที่มีความละเอียดอ่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน ชิ้นส่วนยานยนต์ และยานยนต์ โดยไทยยินดีที่จะเปิดเสรีภาคอุตสาหกรรมในสาขาที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ก็ต้องคำนึงถึงผู้ประกอบการภายใน และการขาดดุลการค้า ซึ่งปัจจุบันไทยขาดดุลการค้าญี่ปุ่นอยู่มาก ไทยได้พยายามที่จะให้ข้อเสนอแก่ญี่ปุ่นบนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยจะยอมรับรายการสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น ถ้าญี่ปุ่นพร้อมที่จะยอมรับในสินค้าอุตสาหกรรมของไทยได้ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งถ้าหากกระทรวง METI ของญี่ปุ่นยังคงต้องการได้สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่ม ในด้านรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ การเปิดเสรีการลงทุน และการค้าบริการ ฝ่ายไทยก็คงจะต้องขอเปิดเจรจาสินค้าเกษตรหลัก ๆ เช่น น้ำตาล สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว และรองเท้าเช่นกัน
7. รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า การเจรจาในครั้งนี้ถือว่าสำเร็จไปแล้ว 90% เหลืออีก 10% ซึ่งขึ้นอยู่กับทางกระทรวง METI ของญี่ปุ่นว่าพร้อมยอมรับข้อเสนอหรือไม่ ซึ่งถ้าหากยังไม่สามารถตกลงกันได้ คงจะต้องหารือกันในระดับรัฐมนตรีต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement, JTEPA) รอบที่ 7 ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.-1 เม.ย.48 ที่ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยมีหัวหน้าคณะเจรจาของทั้งสองฝ่าย คือ นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย และนายมิโตจิ ยาบูนากะ รองปลักกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจ เป็นประธานร่วมกันในการประชุม ฯ โดยในวันนี้ (1 เม.ย. 48) นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1.ฝ่ายญี่ปุ่นพร้อมที่จะตอบสนองต่อไทยในการเปิดเสรีสินค้าเกษตร และความร่วมมือด้านเกษตร ซึ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร และความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ แม้ว่าทางกระทรวงเกษตร ฯ ของญี่ปุ่น จะไม่สามารถตอบสนองข้อเสนอของไทยได้ทุกข้อ แต่อย่างน้อยก็ได้ให้ไทยเท่ากับหรือมากกว่าที่เคยให้กับฟิลิปปินส์
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นได้ยอมตกลงความร่วมมือเกษตรที่เป็นสุขอนามัย และความร่วมมือด้านสหกรณ์ ซึ่งเป็นความตกลงที่ญี่ปุ่นไม่เคยทำกับประเทศใดมาก่อน โดยฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีชัดเจนที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยจะไม่เสนอสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น เช่น น้ำตาล สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว
2.บรรยากาศในการเจรจาดำเนินไปด้วยดี โดยฝ่ายไทยมีความมุ่งมั่น และเตรียมการเจรจามาเป็นอย่างดี เพื่อที่จะสามารถสรุปผลให้ได้มากที่สุด ซึ่งการเจรจาเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา และฝ่ายไทยได้แสดงความเข้าใจในความละเอียดอ่อนของฝ่ายญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ก็เรียกร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่นเข้าใจในประเด็นที่อ่อนไหวต่อฝ่ายไทยด้วยเช่นกัน ในการเจรจา ฯ ฝ่ายไทยยึดหลักปกป้องผลประโยชน์ของไทยแบบสมดุล คือ เปิดเสรีในส่วนที่เป็นประโยชน์ และปกป้องในส่วนที่อาจได้รับผลกระทบ
3.ไทยได้แสดงความพร้อมในการเจรจา หากญี่ปุ่นยอมรับข้อเสนอของไทยในเรื่องเหล็กและแผ่นเหล็กรีดร้อน โดยไทยจะคงภาษีไว้ที่อัตราฐาน ประมาณ 7-9.5% และจะลดลงจนถึง 0% ในปีที่ 15 นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนของการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมของไทยในบางสาขา เช่น ยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ดังเช่นที่ไทยพร้อมที่จะเข้าใจความละเอียดอ่อนของสินค้าภาคเกษตรของญี่ปุ่น
4.ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันในการเปิดเสรีทางด้านการบริการ และเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาในหลายสาขา ซึ่งไทยได้ผลักดันมาโดยตลอด เช่น พ่อครัวอาหารไทย แม้ว่าปัจจุบันคนไทยจะสามารถเข้าไปประกอบอาชีพในญี่ปุ่นได้อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงนี้ จะช่วยลดระยะเวลาของประสบการณ์การทำงานที่ต้องการจากกรณีทั่วไป นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้เปิดโอกาสให้คนไทยที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าไปทำงานในบางสาขาได้ เช่น สาขาโฆษณา การจัดประชุมและนิทรรศการ และในด้านของสปา ญี่ปุ่นได้ยอมรับให้คนไทยไปดำเนินกิจการ และเป็นผู้จัดการสปาหรือผู้อบรมฝึกอบรมการให้บริการได้
5. ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาความร่วมมือใน 9 สาขา ซึ่งประกอบด้วย
5.1 ความร่วมมือทางด้านการเกษตร
5.2 ความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการสร้างบุคลาการด้านแม่พิมพ์ (Mould and Die) ซึ่งมีความสำคัญต่อศักยภาพอุตสาหกรรมไทย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์
5.3 ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาร่วมกันทางเทคโนโลยีระดับสูงในสาขานาโนเทคโนโลยี material technology and engineering และ Biomass ตลอดจนร่วมมือกันในเรื่องระบบการเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ
5.4 ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ซึ่งเน้นเรื่องการร่วมกันพัฒนาเครือข่าย broadband ในชนบท รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
5.5 ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว แบบ longstay การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
(Eco-tourism) และไทยสปา
5.6 ความร่วมมือด้าน SME โดยจะสนับสนุนให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ การพัฒนาทางด้านการตลาดและแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) ของ SME
5.7 ความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงการจัดตั้งกลไกร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน
5.8 ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนให้นักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้การสนับสนุนจากคณะกรรมาการส่งเสริการลงทุน (BOI) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร อุตสาห-กรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศและโทรคมนาคม อุตสาห-กรรมบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และพลังงานทดแทน
5.9 ความร่วมมือทางด้านบริการด้านการเงิน โดยเน้นความร่วมมือเสริมสร้างโครงสร้างตลาดการเงินทั้งในไทย ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนความร่วมมือในการจัดระเบียบการเงิน (financial regulatory cooperation)
6. ฝ่ายไทยพยายามปกป้องอุตสาหกรรมที่มีความละเอียดอ่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน ชิ้นส่วนยานยนต์ และยานยนต์ โดยไทยยินดีที่จะเปิดเสรีภาคอุตสาหกรรมในสาขาที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ก็ต้องคำนึงถึงผู้ประกอบการภายใน และการขาดดุลการค้า ซึ่งปัจจุบันไทยขาดดุลการค้าญี่ปุ่นอยู่มาก ไทยได้พยายามที่จะให้ข้อเสนอแก่ญี่ปุ่นบนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยจะยอมรับรายการสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น ถ้าญี่ปุ่นพร้อมที่จะยอมรับในสินค้าอุตสาหกรรมของไทยได้ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งถ้าหากกระทรวง METI ของญี่ปุ่นยังคงต้องการได้สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่ม ในด้านรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ การเปิดเสรีการลงทุน และการค้าบริการ ฝ่ายไทยก็คงจะต้องขอเปิดเจรจาสินค้าเกษตรหลัก ๆ เช่น น้ำตาล สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว และรองเท้าเช่นกัน
7. รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า การเจรจาในครั้งนี้ถือว่าสำเร็จไปแล้ว 90% เหลืออีก 10% ซึ่งขึ้นอยู่กับทางกระทรวง METI ของญี่ปุ่นว่าพร้อมยอมรับข้อเสนอหรือไม่ ซึ่งถ้าหากยังไม่สามารถตกลงกันได้ คงจะต้องหารือกันในระดับรัฐมนตรีต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-