สศอ.เผยดัชนีอุตฯ ก.ย. ขึ้นยกชุด ชี้ปิคอัพแข่งดุ ผุดรุ่นใหม่ลุยตลาดเพียบ พร้อมเร่งผลิตตามแรงซื้อทั้งในและนอก การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำตามติด ดันภาคอุตฯท้ายปีไปลิ่ว
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนกันยายน 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 134.89 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 จากเดือนก่อนที่ระดับ 134.54 และยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 130.18 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 68.18
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกันยายนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนทุกตัว โดยดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 147.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 จากระดับ 145.74 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 142.91 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 จากระดับ 141.47 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 151.09 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 จากระดับ 151.08 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 133.94 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63 จากระดับ 131.80 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 109.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากระดับ 107.69 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 156.92 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73 จากระดับ 155.79
นางอรรชกา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิตรวมประจำเดือนกันยายนปรับเพิ่มขึ้นมีหลายด้าน ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ ซึ่งมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.22 และ 9.35 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออก รวมทั้งปัจจัยจากการเปิดตัวรถปิคอัพรุ่นใหม่และการปรับรูปลักษณ์เพื่อความหลากหลายในการแข่งขัน และความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทย ที่มียอดผลิตเกิน 1 ล้านคันแล้วใน 9 เดือนแรก เหล่านี้จึงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวร้อยละ 39.2 ซึ่งรถปิคอัพยังเป็นตัวนำตลาด
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ในเดือนกันยายนมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.3 และ 2.5 ตามลำดับ โดยเป็นการเร่งผลิต เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในหมวดการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งโดยเฉพาะ การผลิตปลาหมึกแช่แข็งและการผลิตเนื้อปลาบดแช่แข็ง ทั้งนี้การผลิตปลาทูน่ากระป๋องมีทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นผลมาจากคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดไข้หวัดนกระบาดในไก่เนื้อเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุให้ลูกค้าจากต่างประเทศหันมาบริโภคปลาทูน่ากระป๋องมากขึ้น
ส่วนการจำหน่ายปรับเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมียอดส่งมอบสินค้าในเดือนนี้เพิ่มขึ้น โดยสินค้าหลักคือปลาทูน่ากระป๋อง รองลงมาเป็นปลาและปลาหมึกแช่เย็น โดยคาดว่าช่วงก่อนคริสต์มาสจะเป็นช่วงที่จำหน่ายได้ดีในต่างประเทศ ส่วนในประเทศจะจำหน่ายได้ดีในช่วงเทศกาลปีใหม่และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่า อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาให้อัตราภาษี (AD) แก่ไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่งและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ ส่งผลให้ยอดการส่งออกกุ้งแช่แข็งและปลาทูน่ากระป๋องสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นางอรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ถือเป็นปัจจัยหนุนอีกตัวหนึ่งที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีภาวะการผลิตปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 11 โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อย เนื่องจากช่วงเดือนที่ผ่านมาตลาดค่อนข้างซบเซามีการจำหน่ายได้น้อย ผู้ผลิตจึงเร่งผลิตเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้ โดยคาดการณ์ว่ากลุ่มลูกค้าจะเริ่มทยอยส่งคำสั่งซื้อเข้ามา ส่วนการจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นในเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อล่วงหน้าที่มีเข้ามาจากเดือนก่อน
นอกจากนี้ เหล็กทรงแบน มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็น เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่ชะลอคำสั่งซื้อเมื่อช่วงที่ผ่านมา มีการนำสินค้าในคงคลังมาใช้จนเหลือน้อย จึงเริ่มส่งคำสั่งซื้อเข้ามาอีกครั้ง ผู้ผลิตจึงปรับเพิ่มปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการส่งผลให้ภาวะการผลิตเหล็กทรงแบนทั้ง 2 ชนิดเพิ่มขึ้น ส่วนภาวะการจำหน่ายเหล็กแผ่นรีดร้อนปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยปริมาณสินค้าในสต็อกที่เหลือน้อย ในขณะที่เหล็กแผ่นรีดเย็นภาวะการจำหน่ายปรับลดลงเล็กน้อยเนื่องจากความต้องการมีน้อยและมีเหล็กจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดซึ่งจะส่งผลให้ขายได้น้อยและมีแนวโน้มของราคาลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนกันยายน 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 134.89 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 จากเดือนก่อนที่ระดับ 134.54 และยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 130.18 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 68.18
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกันยายนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนทุกตัว โดยดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 147.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 จากระดับ 145.74 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 142.91 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 จากระดับ 141.47 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 151.09 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 จากระดับ 151.08 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 133.94 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63 จากระดับ 131.80 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 109.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 จากระดับ 107.69 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 156.92 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73 จากระดับ 155.79
นางอรรชกา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิตรวมประจำเดือนกันยายนปรับเพิ่มขึ้นมีหลายด้าน ที่สำคัญคือ การผลิตยานยนต์ ซึ่งมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.22 และ 9.35 ตามลำดับ เนื่องจากมีการเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออก รวมทั้งปัจจัยจากการเปิดตัวรถปิคอัพรุ่นใหม่และการปรับรูปลักษณ์เพื่อความหลากหลายในการแข่งขัน และความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทย ที่มียอดผลิตเกิน 1 ล้านคันแล้วใน 9 เดือนแรก เหล่านี้จึงเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวร้อยละ 39.2 ซึ่งรถปิคอัพยังเป็นตัวนำตลาด
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ในเดือนกันยายนมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.3 และ 2.5 ตามลำดับ โดยเป็นการเร่งผลิต เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในหมวดการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งโดยเฉพาะ การผลิตปลาหมึกแช่แข็งและการผลิตเนื้อปลาบดแช่แข็ง ทั้งนี้การผลิตปลาทูน่ากระป๋องมีทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นผลมาจากคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดไข้หวัดนกระบาดในไก่เนื้อเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุให้ลูกค้าจากต่างประเทศหันมาบริโภคปลาทูน่ากระป๋องมากขึ้น
ส่วนการจำหน่ายปรับเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมียอดส่งมอบสินค้าในเดือนนี้เพิ่มขึ้น โดยสินค้าหลักคือปลาทูน่ากระป๋อง รองลงมาเป็นปลาและปลาหมึกแช่เย็น โดยคาดว่าช่วงก่อนคริสต์มาสจะเป็นช่วงที่จำหน่ายได้ดีในต่างประเทศ ส่วนในประเทศจะจำหน่ายได้ดีในช่วงเทศกาลปีใหม่และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่า อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาให้อัตราภาษี (AD) แก่ไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่งและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ ส่งผลให้ยอดการส่งออกกุ้งแช่แข็งและปลาทูน่ากระป๋องสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นางอรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ถือเป็นปัจจัยหนุนอีกตัวหนึ่งที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีภาวะการผลิตปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 11 โดยเหล็กทรงยาวมีปริมาณการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อย เนื่องจากช่วงเดือนที่ผ่านมาตลาดค่อนข้างซบเซามีการจำหน่ายได้น้อย ผู้ผลิตจึงเร่งผลิตเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนนี้ โดยคาดการณ์ว่ากลุ่มลูกค้าจะเริ่มทยอยส่งคำสั่งซื้อเข้ามา ส่วนการจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นในเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อล่วงหน้าที่มีเข้ามาจากเดือนก่อน
นอกจากนี้ เหล็กทรงแบน มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็น เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่ชะลอคำสั่งซื้อเมื่อช่วงที่ผ่านมา มีการนำสินค้าในคงคลังมาใช้จนเหลือน้อย จึงเริ่มส่งคำสั่งซื้อเข้ามาอีกครั้ง ผู้ผลิตจึงปรับเพิ่มปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการส่งผลให้ภาวะการผลิตเหล็กทรงแบนทั้ง 2 ชนิดเพิ่มขึ้น ส่วนภาวะการจำหน่ายเหล็กแผ่นรีดร้อนปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยปริมาณสินค้าในสต็อกที่เหลือน้อย ในขณะที่เหล็กแผ่นรีดเย็นภาวะการจำหน่ายปรับลดลงเล็กน้อยเนื่องจากความต้องการมีน้อยและมีเหล็กจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดซึ่งจะส่งผลให้ขายได้น้อยและมีแนวโน้มของราคาลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-