ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดรวมธนบัตรหมุนเวียนในตลาดในเดือน พ.ค.48 ลดลง 4.9 หมื่นล้านบาท ขณะที่สินเชื่อส่วน
บุคคลในไตรมาสแรกปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.37 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
เมื่อสิ้นเดือน ธ.ค.47 ยอดรวมธนบัตรหมุนเวียนในตลาดมีอยู่สูงถึง 7.14 แสนล้านบาท ขณะที่เดือน พ.ค.48 ลด
ลงเหลือ 6.65 แสนล้านบาท หรือลดลง 4.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ราคาสินค้าที่
ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนชะลอการใช้จ่าย ประกอบกับประชาชนหันไปใช้การใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
มากขึ้นแทนการถือเงินสดทำให้ยอดธนบัตรหมุนเวียนลดลงเล็กน้อย และการที่รัฐบาลเริ่มมีการกู้เงินจากตลาดเพื่อดูด
ซับสภาพคล่องทำให้การใช้จ่ายเงินสดในมือประชาชนลดลง สำหรับธนบัตรหมุนเวียนในระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ
ธนบัตรฉบับละ 1,000 500 100 20 50 และฉบับละ 10 บาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวเลขยอดคงค้าง
การปล่อยสินเชื่อบุคคลของระบบ ธพ.สิ้นไตรมาสแรกปี 48 มีจำนวน 8.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 11.37 ทั้งนี้ สินเชื่อบุคคลที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยและ
การซื้อที่ดิน ส่วนยอดสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ลดลงตามกำลังซื้อที่ลดลงจากผลจากผลของราคา
น้ำมันที่แพงขึ้นต่อเนื่องและการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ปริมาณเช็คเด้งครึ่งแรกปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เขตภูมิภาค และข้าม
เขตสำนักหักบัญชีของเดือน ม.ค.-มิ.ย.48 ว่า มีปริมาณเช็คเรียกเก็บรวม 43.86 ล้านรายการ มูลค่า 13.34
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.16 แสนรายการ 3.07 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 1.89 และ 29.96 ตามลำดับ เมื่อ
เทียบกับงวดเดียวกันของปี 47 โดยในจำนวนนี้เป็นเช็คคืน 1.08 ล้านรายการ มูลค่า 1.22 แสนล้านบาท เพิ่ม
ขึ้น 19,606 รายการ มูลค่า 18,859.57 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.84 และ 18.13 ตามลำดับ และจาก
ยอดเช็คคืนนั้นเป็นเช็คคืนไม่มีเงิน (เช็คเด้ง) 7.05 แสนรายการ มูลค่า 64,453.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
26,694 รายการ มูลค่า 9,300.52 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.93 และ 16.86 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 47 นับเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของเช็คเรียกเก็บรวม (เดลินิวส์)
3. ไมเคิล อี พอร์เตอร์ กระตุ้นไทยยกระดับการแข่งขันและเร่งปรับปรุงปัญหาคอร์รัปชั่น ไมเคิล อี.
พอร์เตอร์ นักเขียนและอาจารย์จาก ฮาร์วาร์ด บิซิเนส สคูล กล่าวระหว่างเดินทางมาไทยเพื่อบรรยายในงาน
สัมมนากลยุทธ์ด้านการแข่งขันในหัวข้อ “ขีดแข่งขันของไทย” ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญ
วิกฤติร้ายแรงหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการเงินเอเชีย โรคซาร์ส คลื่นยักษ์สึนามิ แต่ความรุ่งเรืองของไทย
ก็กระเตื้องขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่ปี 42 อย่างไรก็ตาม อันดับขีดแข่งขันของไทยที่ลดลงในรายงานขีดแข่งขันโลกปี
47 เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าไทยต้องยกระดับกระบวนการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดแข่งขัน และภารกิจสำคัญ โดยระบุว่า
ศักยภาพการผลิตของภาคแรงงานยังค่อนข้างต่ำ แต่ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในระยะหลังการไหลเข้าของเงินลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการจดสิทธิบัตรของไทยก็ยังมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ระดับ
ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยเป็นอุปสรรคสำคัญต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. เอสแอนด์พีปรับเพิ่มเรทติ้งแก่ 5 ธพ.ไทย สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี บริษัทจัด
อันดับชั้นนำของโลกจาก สรอ.เผยแพร่ผลการพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเรทติ้ง ธพ.ไทย 5 แห่ง โดย 4
แห่งแรก ประกอบด้วย ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา ได้รับการปรับเพิ่มเรทติ้ง
การติดต่อทำธุรกรรมกับคู่ค้า (counter-party rating) ซึ่งครอบคลุมเรทติ้งระยะยาวและสั้น รวมถึงแนวโน้ม
ธนาคารกับเรทติ้งแข็งแกร่งทางการเงิน ส่วน ธ.กรุงไทยยังคงอันดับเรทติ้งคู่ค้า โดยเอสแอนด์พีเพิ่มเรทติ้งระยะ
ยาวของ ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์จากเดิม BB+ เป็น BBB- และเรทติ้งระยะสั้นจากเดิม B
เป็น A-3 พร้อมให้เรทติ้งแนวโน้มกับความแข็งแกร่งทางการเงินแก่ธนาคารขนาดใหญ่ทั้ง 3 แห่งในระดับมี
เสถียรภาพ และ C ตามลำดับ สำหรับ ธ.กรุงศรีอยุธยา ได้รับการพิจารณาปรับเพิ่มอันดับเรทติ้งคู่ค้าเฉพาะเรทติ้ง
ระยะยาว จากเดิม BB เป็น BB+ ส่วนแนวโน้มกับความแข็งแกร่งทางการเงินอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ และ C
ตามลำดับ ขณะที่ ธ.กรุงไทยคงอันดับเรทติ้งระยะยาวกับสั้นไว้ที่ BB+ และ B เช่นเดิม ส่วนเรทติ้งแนวโน้มปรับ
เพิ่มจากมีเสถียรภาพมาเป็นบวก ขณะที่เรทติ้งแข็งแกร่งทางการเงินอยู่ระดับ D+ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
5. ก.คลังเตรียมออกพันธบัตรชดเชยกองทุนฟื้นฟูฯ แบบต่อเนื่อง ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
(สบน.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศมีมติให้ ก.คลังออกพันธบัตร
ออมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ชดเชยกองทุนฟื้นฟูฯ อย่างต่อเนื่อง โดยจะออกทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือน ส.
ค.48 วงเงินรวมประมาณ 20,000 ล้านบาท อายุพันธบัตร 5 ปี และ 7 ปี รุ่นละเดือน โดย 2 เดือนแรกจะออก
เดือนละ 5,000 ล้านบาท จากนั้นจะออกเดือนละ 2,000 ล้านบาท ส่วนอัตราผลตอบแทนจะพิจารณาความเหมาะ
สมตามภาวะตลาดจ่ายปีละ 2 ครั้ง และคาดว่าจะสูงกว่าปกติร้อยละ 0.75-1.5 นอกจากนี้ ก.คลังจะออกพันธบัตร
รัฐบาลเพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับพันธบัตรอายุ 7 และ 10 ปี ในวงเงินรุ่นละ 40,000 ล้านบาท โดย
จะทำการประมูลเดือนละ 3-4 พันล้านบาท เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ เริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.49 (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
6. ก.คลังเร่ง 4 รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบประมาณค้างจ่าย รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย
รัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจร่วมกับรัฐวิสาหกิจใน
สังกัด ก.คมนาคม 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) บ.ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) 2) การรถไฟแห่ง
ประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 3) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และ 4) การท่าเรือแห่งประเทศไทย
(กทท.) โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะ ร.ฟ.ท.ที่ยังมีงบประมาณค้างจ่ายอยู่มากให้ทบทวนตัวเลข
เพิ่มช่องทางเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้มากขึ้น และให้รายงานอีกครั้งก่อนรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้
(12 ก.ค.48) (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาขายส่งของญี่ปุ่นในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจากโตเกียวเมื่อ
วันที่ 12 ก.ค. 48 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย.ดัชนีราคาสินค้าในประเทศ (domestic corporate
goods price index — CGPI) ซึ่งใช้วัดแนวโน้มราคาขายส่งของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีที่
แล้ว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 แต่น้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
1.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วกลับลดลงร้อยละ 0.1 น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 สะท้อนถึง
ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ลดลงชั่วคราว โดยราคาน้ำมัน ถ่านหิน รวมทั้งแก๊สโซลีนลดลงร้อยละ 1.5 จากเดือนพ.ค. และ
ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอีกจะส่งผลกระทบ
มากขึ้นในเดือนต่อไป ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์ราคาน้ำมันดิบสรอ.เพิ่มสูงขึ้นเกือบบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ. เนื่อง
จากความวิตกในเรื่องผลผลิตน้ำมันของสรอ. ที่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน (รอยเตอร์)
2. จีนเกินดุลการค้าในเดือนมิ.ย. สูงถึง 9.68 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่
11 ก.ค. 48 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย. 48 จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.68 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเกินดุลเพียง 8.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และมากกว่าสถิติที่เคยทำไว้ในเดือนมิ.ย.ปีที่แล้วที่
เคยเกินดุล 1.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกขยายตัวอย่างรวดเร็วมากกว่าการนำเข้า ทำให้จีน
ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสรอ. และยุโรป ในเรื่องค่าเงินหยวนของจีนที่มีค่าต่ำ
กว่าความเป็นจริง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Daiwa Securities ในเซี่ยงไฮ้เห็นว่าจีนมีความจำเป็นที่จะต้องนำ
เข้าสินค้าและบริการให้มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้า อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ยากหากจีนไม่เปลี่ยนแปลง
นโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาค ซึ่งปัจจุบันจีนมีข้อขัดแย้งทางการค้ากับสรอ.ในเรื่องสินค้าสิ่งทอ และปัญหากับ
สหภาพยุโรปเรื่องรองเท้าและสตรอเบอรี่แช่แข็ง (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนในไตรมาส 2 ลดลงเหลือร้อยละ 8 รายงานจากกรุง
ปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 ก.ค.48 สำนักข่าว Xinhua อ้างข้อมูลจาก สนง.สถิติแห่งชาติของจีนว่า อัตรา
เงินเฟ้อของภาคอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศของจีนในไตรมาส 2 ปีนี้ ลดลงเหลือร้อยละ 8 โดยคาดว่าจะเป็นผลมา
จากมาตรการเข้มงวดของทางการที่เริ่มบังคับใช้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาที่พยายามควบคุมไม่ให้ราคาอสังหาริม
ทรัพย์พุ่งสูงเกินจริงจนอาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ได้ รวมถึงการขึ้นภาษีการขายบ้านและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนอง
และเงินดาวน์ ทั้งนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ใน 35 เมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่กำลังถูกจับตามองเพื่อเปรียบ
เทียบกับไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 จากปีก่อน และเพิ่มชึ้นร้อยละ 14.4 ในปี 47 โดยราคาอสังหาริม
ทรัพย์ใน 6 เมืองใหญ่ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 และเมืองที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ Hangzhou
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.5 (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.3 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนสูง
กว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11 ก.ค.48 รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะ
ขยายตัวร้อยละ 12.3 จากไตรมาสก่อนโดยประมาณการจากตัวเลขในเดือน เม.ย.และ พ.ค.48 ที่ผ่านมา สูง
กว่าเกือบ 2 เท่าจากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.6 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ หลังจากเศรษฐกิจหดตัวร้อย
ละ 5.5 ในไตรมาสแรกปีนี้และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดต่อไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 46 ซึ่งเศรษฐกิจขยาย
ตัวร้อยละ 15.0 โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 3.9 หลังจากขยายตัวร้อย
ละ 2.8 ในไตรมาสก่อน โดยนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขสุดท้ายจะอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผล
มาจากการขยายตัวของภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 3.5 ต่อปีตามลำดับ
นักวิเคราะห์คาดว่าภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 63 ของระบบเศรษฐกิจทั้งประเทศจะมีส่วนผลักดันให้
เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีที่เหลือของปีนี้ขยายตัว ในขณะที่คาดว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่ง
ของยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของราคาน้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.ค. 48 11 ก.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 42.019 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.8155/42.1022 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.59375-2.60 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 640.82/ 12.31 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.79 51.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48 25.74*/22.09 25.34*/21.69 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดรวมธนบัตรหมุนเวียนในตลาดในเดือน พ.ค.48 ลดลง 4.9 หมื่นล้านบาท ขณะที่สินเชื่อส่วน
บุคคลในไตรมาสแรกปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.37 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
เมื่อสิ้นเดือน ธ.ค.47 ยอดรวมธนบัตรหมุนเวียนในตลาดมีอยู่สูงถึง 7.14 แสนล้านบาท ขณะที่เดือน พ.ค.48 ลด
ลงเหลือ 6.65 แสนล้านบาท หรือลดลง 4.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ราคาสินค้าที่
ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนชะลอการใช้จ่าย ประกอบกับประชาชนหันไปใช้การใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
มากขึ้นแทนการถือเงินสดทำให้ยอดธนบัตรหมุนเวียนลดลงเล็กน้อย และการที่รัฐบาลเริ่มมีการกู้เงินจากตลาดเพื่อดูด
ซับสภาพคล่องทำให้การใช้จ่ายเงินสดในมือประชาชนลดลง สำหรับธนบัตรหมุนเวียนในระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ
ธนบัตรฉบับละ 1,000 500 100 20 50 และฉบับละ 10 บาท ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวเลขยอดคงค้าง
การปล่อยสินเชื่อบุคคลของระบบ ธพ.สิ้นไตรมาสแรกปี 48 มีจำนวน 8.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 11.37 ทั้งนี้ สินเชื่อบุคคลที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยและ
การซื้อที่ดิน ส่วนยอดสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ลดลงตามกำลังซื้อที่ลดลงจากผลจากผลของราคา
น้ำมันที่แพงขึ้นต่อเนื่องและการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ปริมาณเช็คเด้งครึ่งแรกปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.93 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยถึงภาวะการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เขตภูมิภาค และข้าม
เขตสำนักหักบัญชีของเดือน ม.ค.-มิ.ย.48 ว่า มีปริมาณเช็คเรียกเก็บรวม 43.86 ล้านรายการ มูลค่า 13.34
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.16 แสนรายการ 3.07 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 1.89 และ 29.96 ตามลำดับ เมื่อ
เทียบกับงวดเดียวกันของปี 47 โดยในจำนวนนี้เป็นเช็คคืน 1.08 ล้านรายการ มูลค่า 1.22 แสนล้านบาท เพิ่ม
ขึ้น 19,606 รายการ มูลค่า 18,859.57 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.84 และ 18.13 ตามลำดับ และจาก
ยอดเช็คคืนนั้นเป็นเช็คคืนไม่มีเงิน (เช็คเด้ง) 7.05 แสนรายการ มูลค่า 64,453.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
26,694 รายการ มูลค่า 9,300.52 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.93 และ 16.86 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปี 47 นับเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของเช็คเรียกเก็บรวม (เดลินิวส์)
3. ไมเคิล อี พอร์เตอร์ กระตุ้นไทยยกระดับการแข่งขันและเร่งปรับปรุงปัญหาคอร์รัปชั่น ไมเคิล อี.
พอร์เตอร์ นักเขียนและอาจารย์จาก ฮาร์วาร์ด บิซิเนส สคูล กล่าวระหว่างเดินทางมาไทยเพื่อบรรยายในงาน
สัมมนากลยุทธ์ด้านการแข่งขันในหัวข้อ “ขีดแข่งขันของไทย” ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญ
วิกฤติร้ายแรงหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการเงินเอเชีย โรคซาร์ส คลื่นยักษ์สึนามิ แต่ความรุ่งเรืองของไทย
ก็กระเตื้องขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่ปี 42 อย่างไรก็ตาม อันดับขีดแข่งขันของไทยที่ลดลงในรายงานขีดแข่งขันโลกปี
47 เป็นเครื่องย้ำเตือนว่าไทยต้องยกระดับกระบวนการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดแข่งขัน และภารกิจสำคัญ โดยระบุว่า
ศักยภาพการผลิตของภาคแรงงานยังค่อนข้างต่ำ แต่ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในระยะหลังการไหลเข้าของเงินลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการจดสิทธิบัตรของไทยก็ยังมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ระดับ
ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยเป็นอุปสรรคสำคัญต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. เอสแอนด์พีปรับเพิ่มเรทติ้งแก่ 5 ธพ.ไทย สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี บริษัทจัด
อันดับชั้นนำของโลกจาก สรอ.เผยแพร่ผลการพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเรทติ้ง ธพ.ไทย 5 แห่ง โดย 4
แห่งแรก ประกอบด้วย ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา ได้รับการปรับเพิ่มเรทติ้ง
การติดต่อทำธุรกรรมกับคู่ค้า (counter-party rating) ซึ่งครอบคลุมเรทติ้งระยะยาวและสั้น รวมถึงแนวโน้ม
ธนาคารกับเรทติ้งแข็งแกร่งทางการเงิน ส่วน ธ.กรุงไทยยังคงอันดับเรทติ้งคู่ค้า โดยเอสแอนด์พีเพิ่มเรทติ้งระยะ
ยาวของ ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์จากเดิม BB+ เป็น BBB- และเรทติ้งระยะสั้นจากเดิม B
เป็น A-3 พร้อมให้เรทติ้งแนวโน้มกับความแข็งแกร่งทางการเงินแก่ธนาคารขนาดใหญ่ทั้ง 3 แห่งในระดับมี
เสถียรภาพ และ C ตามลำดับ สำหรับ ธ.กรุงศรีอยุธยา ได้รับการพิจารณาปรับเพิ่มอันดับเรทติ้งคู่ค้าเฉพาะเรทติ้ง
ระยะยาว จากเดิม BB เป็น BB+ ส่วนแนวโน้มกับความแข็งแกร่งทางการเงินอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ และ C
ตามลำดับ ขณะที่ ธ.กรุงไทยคงอันดับเรทติ้งระยะยาวกับสั้นไว้ที่ BB+ และ B เช่นเดิม ส่วนเรทติ้งแนวโน้มปรับ
เพิ่มจากมีเสถียรภาพมาเป็นบวก ขณะที่เรทติ้งแข็งแกร่งทางการเงินอยู่ระดับ D+ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
5. ก.คลังเตรียมออกพันธบัตรชดเชยกองทุนฟื้นฟูฯ แบบต่อเนื่อง ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
(สบน.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศมีมติให้ ก.คลังออกพันธบัตร
ออมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ชดเชยกองทุนฟื้นฟูฯ อย่างต่อเนื่อง โดยจะออกทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือน ส.
ค.48 วงเงินรวมประมาณ 20,000 ล้านบาท อายุพันธบัตร 5 ปี และ 7 ปี รุ่นละเดือน โดย 2 เดือนแรกจะออก
เดือนละ 5,000 ล้านบาท จากนั้นจะออกเดือนละ 2,000 ล้านบาท ส่วนอัตราผลตอบแทนจะพิจารณาความเหมาะ
สมตามภาวะตลาดจ่ายปีละ 2 ครั้ง และคาดว่าจะสูงกว่าปกติร้อยละ 0.75-1.5 นอกจากนี้ ก.คลังจะออกพันธบัตร
รัฐบาลเพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับพันธบัตรอายุ 7 และ 10 ปี ในวงเงินรุ่นละ 40,000 ล้านบาท โดย
จะทำการประมูลเดือนละ 3-4 พันล้านบาท เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ เริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.49 (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
6. ก.คลังเร่ง 4 รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบประมาณค้างจ่าย รอง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย
รัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจร่วมกับรัฐวิสาหกิจใน
สังกัด ก.คมนาคม 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) บ.ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) 2) การรถไฟแห่ง
ประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 3) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และ 4) การท่าเรือแห่งประเทศไทย
(กทท.) โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะ ร.ฟ.ท.ที่ยังมีงบประมาณค้างจ่ายอยู่มากให้ทบทวนตัวเลข
เพิ่มช่องทางเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้มากขึ้น และให้รายงานอีกครั้งก่อนรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้
(12 ก.ค.48) (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาขายส่งของญี่ปุ่นในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจากโตเกียวเมื่อ
วันที่ 12 ก.ค. 48 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย.ดัชนีราคาสินค้าในประเทศ (domestic corporate
goods price index — CGPI) ซึ่งใช้วัดแนวโน้มราคาขายส่งของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีที่
แล้ว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 แต่น้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
1.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วกลับลดลงร้อยละ 0.1 น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 สะท้อนถึง
ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ลดลงชั่วคราว โดยราคาน้ำมัน ถ่านหิน รวมทั้งแก๊สโซลีนลดลงร้อยละ 1.5 จากเดือนพ.ค. และ
ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอีกจะส่งผลกระทบ
มากขึ้นในเดือนต่อไป ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์ราคาน้ำมันดิบสรอ.เพิ่มสูงขึ้นเกือบบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ. เนื่อง
จากความวิตกในเรื่องผลผลิตน้ำมันของสรอ. ที่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน (รอยเตอร์)
2. จีนเกินดุลการค้าในเดือนมิ.ย. สูงถึง 9.68 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่
11 ก.ค. 48 รัฐบาลจีนเปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย. 48 จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.68 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเกินดุลเพียง 8.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และมากกว่าสถิติที่เคยทำไว้ในเดือนมิ.ย.ปีที่แล้วที่
เคยเกินดุล 1.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกขยายตัวอย่างรวดเร็วมากกว่าการนำเข้า ทำให้จีน
ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสรอ. และยุโรป ในเรื่องค่าเงินหยวนของจีนที่มีค่าต่ำ
กว่าความเป็นจริง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Daiwa Securities ในเซี่ยงไฮ้เห็นว่าจีนมีความจำเป็นที่จะต้องนำ
เข้าสินค้าและบริการให้มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้า อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ยากหากจีนไม่เปลี่ยนแปลง
นโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาค ซึ่งปัจจุบันจีนมีข้อขัดแย้งทางการค้ากับสรอ.ในเรื่องสินค้าสิ่งทอ และปัญหากับ
สหภาพยุโรปเรื่องรองเท้าและสตรอเบอรี่แช่แข็ง (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนในไตรมาส 2 ลดลงเหลือร้อยละ 8 รายงานจากกรุง
ปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 ก.ค.48 สำนักข่าว Xinhua อ้างข้อมูลจาก สนง.สถิติแห่งชาติของจีนว่า อัตรา
เงินเฟ้อของภาคอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศของจีนในไตรมาส 2 ปีนี้ ลดลงเหลือร้อยละ 8 โดยคาดว่าจะเป็นผลมา
จากมาตรการเข้มงวดของทางการที่เริ่มบังคับใช้ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาที่พยายามควบคุมไม่ให้ราคาอสังหาริม
ทรัพย์พุ่งสูงเกินจริงจนอาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ได้ รวมถึงการขึ้นภาษีการขายบ้านและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนอง
และเงินดาวน์ ทั้งนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ใน 35 เมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่กำลังถูกจับตามองเพื่อเปรียบ
เทียบกับไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 จากปีก่อน และเพิ่มชึ้นร้อยละ 14.4 ในปี 47 โดยราคาอสังหาริม
ทรัพย์ใน 6 เมืองใหญ่ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 และเมืองที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ Hangzhou
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.5 (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.3 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนสูง
กว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11 ก.ค.48 รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะ
ขยายตัวร้อยละ 12.3 จากไตรมาสก่อนโดยประมาณการจากตัวเลขในเดือน เม.ย.และ พ.ค.48 ที่ผ่านมา สูง
กว่าเกือบ 2 เท่าจากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.6 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ หลังจากเศรษฐกิจหดตัวร้อย
ละ 5.5 ในไตรมาสแรกปีนี้และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดต่อไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 46 ซึ่งเศรษฐกิจขยาย
ตัวร้อยละ 15.0 โดยหากเทียบต่อปีแล้วเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 3.9 หลังจากขยายตัวร้อย
ละ 2.8 ในไตรมาสก่อน โดยนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขสุดท้ายจะอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผล
มาจากการขยายตัวของภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 3.5 ต่อปีตามลำดับ
นักวิเคราะห์คาดว่าภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 63 ของระบบเศรษฐกิจทั้งประเทศจะมีส่วนผลักดันให้
เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีที่เหลือของปีนี้ขยายตัว ในขณะที่คาดว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่ง
ของยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกจากผลกระทบของราคาน้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.ค. 48 11 ก.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 42.019 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.8155/42.1022 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.59375-2.60 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 640.82/ 12.31 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,400/8,500 8,400/8,500 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.79 51.7 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 12 ก.ค. 48 25.74*/22.09 25.34*/21.69 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--