นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯได้ประกาศอัตราขั้นสุดท้ายของอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) และการอุดหนุน (CVD) สำหรับสินค้าเม็ดพลาสติก (PET Resin) ชนิดใช้ทำขวดจากไทยและประเทศอื่นๆอีก 3 ประเทศแล้ว โดยไทยจะไม่ถูกสหรัฐฯเรียกเก็บอากร CVD เนื่องจากสหรัฐฯ พบการอุดหนุนในระดับต่ำมากไม่ถึงร้อยละ 2 ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ที่ WTO กำหนดว่าไม่ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้
อย่างไรก็ตาม สินค้าดังกล่าวของไทยจะถูกเรียกเก็บอากร AD ในอัตราร้อยละ 24.83-41.28 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราที่แตกต่างไป ดังนี้ ประเทศ AD (%) CVD (%) ไทย 24.83 - 41.28 0.31 - 0.73 (de minimis) อินเดีย 21.05 - 52.54 6.15 - 20.26 อินโดนีเซีย 18.41 - 27.61 - ไต้หวัน 0.10 (de minimis) -
หมายเหตุ 1. ไทยและอินเดียถูกไต่สวนทั้ง AD และ CVD ส่วนไต้หวันและอินโดนีเซียถูกไต่สวนเฉพาะ AD
2. de minimis หมายถึง ส่วนเหลื่อม AD/CVD ต่ำกว่าร้อยละ 2 ตามเกณฑ์ที่ WTO กำหนด ซึ่งจะไม่ถูกเก็บอากรตอบโต้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเสริมว่าการที่ไทย ไม่ถูกเรียกเก็บ CVD เป็นผลมาจากการที่ กรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการต่อสู้ โดยการเตรียมความพร้อมแก่ ผู้ส่งออกไทย การจัดเตรียมข้อมูลและข้อเท็จจริงให้พร้อมต่อการตรวจสอบ ตลอดจนการวางกลยุทธ์ร่วมกับทุกฝ่าย
คาดว่าคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของสหรัฐฯ จะประกาศผลการพิจารณาความ เสียหายขั้นสุดท้ายประมาณปลายเดือนเมษายน ศกนี้ และหากITC ยืนยันว่าอุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯได้ รับความเสียหายจากการนำเข้าสินค้าของประเทศดังกล่าว สหรัฐฯ จะใช้มาตรการ AD และCVD อย่างเป็น ทางการกับสินค้า PET Resin ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 2548
นายราเชนทร์ฯ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าไทยส่งออกสินค้าดังกล่าว ในมูลค่าที่สูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2545-2547) มูลค่าการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 46 ต่อปี โดยมูลค่าการส่งออกปี 2547 อยู่ที่ 10,602 ล้านบาท ตลาดหลักได้แก่ ญี่ปุ่น ร้อยละ 21 สหรัฐฯ ร้อยละ 19 นอกนั้นเป็นการส่งออกกระจายไปหลายประเทศในหลายภูมิภาคทั่วโลก
ทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าสินค้าดังกล่าวของไทยเป็นสินค้าหนึ่งในหลายรายการที่ถูกหลายประเทศใช้ มาตรการ AD แล้ว และอยู่ระหว่างถูกไต่สวน AD ด้วย จึงขอให้ผู้ส่งออกให้ความสนใจการกำหนดปริมาณส่งออก ในตลาดต่าง ๆ ที่เหมาะสมและราคาส่งออกที่ไม่ตามภาวะการตัดราคาในตลาดมากเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกไต่สวนเพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ กับสินค้าไทย ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกและ/หรือเสียตลาดในอนาคต
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
อย่างไรก็ตาม สินค้าดังกล่าวของไทยจะถูกเรียกเก็บอากร AD ในอัตราร้อยละ 24.83-41.28 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราที่แตกต่างไป ดังนี้ ประเทศ AD (%) CVD (%) ไทย 24.83 - 41.28 0.31 - 0.73 (de minimis) อินเดีย 21.05 - 52.54 6.15 - 20.26 อินโดนีเซีย 18.41 - 27.61 - ไต้หวัน 0.10 (de minimis) -
หมายเหตุ 1. ไทยและอินเดียถูกไต่สวนทั้ง AD และ CVD ส่วนไต้หวันและอินโดนีเซียถูกไต่สวนเฉพาะ AD
2. de minimis หมายถึง ส่วนเหลื่อม AD/CVD ต่ำกว่าร้อยละ 2 ตามเกณฑ์ที่ WTO กำหนด ซึ่งจะไม่ถูกเก็บอากรตอบโต้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเสริมว่าการที่ไทย ไม่ถูกเรียกเก็บ CVD เป็นผลมาจากการที่ กรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการต่อสู้ โดยการเตรียมความพร้อมแก่ ผู้ส่งออกไทย การจัดเตรียมข้อมูลและข้อเท็จจริงให้พร้อมต่อการตรวจสอบ ตลอดจนการวางกลยุทธ์ร่วมกับทุกฝ่าย
คาดว่าคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของสหรัฐฯ จะประกาศผลการพิจารณาความ เสียหายขั้นสุดท้ายประมาณปลายเดือนเมษายน ศกนี้ และหากITC ยืนยันว่าอุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯได้ รับความเสียหายจากการนำเข้าสินค้าของประเทศดังกล่าว สหรัฐฯ จะใช้มาตรการ AD และCVD อย่างเป็น ทางการกับสินค้า PET Resin ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 2548
นายราเชนทร์ฯ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าไทยส่งออกสินค้าดังกล่าว ในมูลค่าที่สูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2545-2547) มูลค่าการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 46 ต่อปี โดยมูลค่าการส่งออกปี 2547 อยู่ที่ 10,602 ล้านบาท ตลาดหลักได้แก่ ญี่ปุ่น ร้อยละ 21 สหรัฐฯ ร้อยละ 19 นอกนั้นเป็นการส่งออกกระจายไปหลายประเทศในหลายภูมิภาคทั่วโลก
ทั้งนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าสินค้าดังกล่าวของไทยเป็นสินค้าหนึ่งในหลายรายการที่ถูกหลายประเทศใช้ มาตรการ AD แล้ว และอยู่ระหว่างถูกไต่สวน AD ด้วย จึงขอให้ผู้ส่งออกให้ความสนใจการกำหนดปริมาณส่งออก ในตลาดต่าง ๆ ที่เหมาะสมและราคาส่งออกที่ไม่ตามภาวะการตัดราคาในตลาดมากเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกไต่สวนเพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ กับสินค้าไทย ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกและ/หรือเสียตลาดในอนาคต
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-