พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 3 - 9 ต.ค. พ.ศ. 2548

ข่าวทั่วไป Monday October 3, 2005 12:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
วัน จันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 118 /2548
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 3- 9 ตุลาคม 2548
ในช่วงวันที่ 3 — 5 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนฟ้าคะนองลดน้อยลง สำหรับร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนจะพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับในช่วงวันที่ 6 — 9 ต.ค. ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนลดลง
ข้อควรระวัง
ในระยะนี้ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งจะมีลักษณะอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วย
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่างๆในระยะ7วันข้างหน้ามีดังนี้
เหนือ
ลักษณอากาศ
# ในช่วงวันที่ 3 — 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 40-50 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในระหว่างบ่ายและค่ำ ส่วน ในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง 30 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# พื้นที่ซึ่งประสบอุทกภัยประชาชนควรเร่งฟื้นฟูสภาพบ้านเรือน ไร่สวน และโรงเรือน นอกจากนี้ควรจัดเตรียมเครื่องกันหนาวไว้ใช้ในระยะต่อไปด้วย
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 3-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 20-40 % ของพื้นที่ ระหว่างบ่ายและค่ำ ในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 30 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพไร่สวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดี ดังเดิม นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้ด้วยเนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง
กลาง
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 3-5 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 50-70 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 30-50 % ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# สำหรับบริเวณพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่มใกล้แม่น้ำ เกษตรกรควรทำคันกั้นน้ำและจัดเตรียมการระบายน้ำเพื่อรองรับน้ำเหนือที่อาจไหลบ่าลงมา ส่วนผู้ที่ปลูกมะลิควรระวังการระบาดของหนอนเจาะดอกและหนอนกินใบ
ตะวันออก
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 3-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 60-70 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 30-50 % ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# เนื่องจากระยะนี้อากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งของไม้ผลให้โปร่ง แสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น เพื่อป้องกันโรคพืชจากเชื้อราและทาแผลรอยตัดด้วยปูนแดง ส่วนผู้ที่ปลูกพริกไทควรระวังการระบาดของ โรครากเน่าด้วย
ใต้
ลักษณะอากาศ
# ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 3-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทาง ตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. มีฝน ฟ้าคะนอง 30 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
# ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง 30 — 40 % ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคยอดเน่าในสับปะรด โรคราสีชมพูในลองกอง นอกจากนี้ควรขุดลอกทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ