บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๓ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๐
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๖ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ....
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ....
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ....
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติมาตรา ชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรม ทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรม ทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ที่ประชุมได้มีมติให้รวมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระ เรื่องด่วนที่ ๑ และ ๒
พร้อมกันไปแต่ให้แยกลงมติรับหลักการ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
ทีละฉบับ ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
0๑. พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ 0๒. นายปัญจะ คุปรัตน์
0๓. นายมณเฑียร กุลธำรง 0๔. นายพงษ์ศักดิ์ สมใจ
0๕. นางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล 0๖. นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์
0๗. นายภิมุข สิมะโรจน์ 0๘. นายพ้อง ชีวานันท์
0๙. นายธารา ปิตุเตชะ ๑๐. นายอัมรินทร์ ตั้งประกอบ
๑๑. นายอัยยณัฐ ถินอภัย ๑๒. นายสามารถ แก้วมีชัย
๑๓. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๑๔. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
๑๕. นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ๑๖. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๗. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ๑๘. นายเอกธนัช อินทร์รอด
๑๙. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๒๐. นายปวีณ แซ่จึง
๒๑. นายประดุจ มั่นหมาย ๒๒. นายพิทยา บุญเฉลียว
๒๓. พันเอก วินัย สมพงษ์ ๒๔. นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง
๒๕. นายสุขวิช รังสิตพล ๒๖. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
๒๗. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ ๒๘. นายประพนธ์ นิลวัชรมณี
๒๙. นายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ ๓๐. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
๓๑. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๓๒. นายพร้อม พรหมพันธุ์
๓๓. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราช บัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
พ.ศ. .... เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช บัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
และนายนพดล พลเสน เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) และผู้เสนอ
ได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอา ร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี
เป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
0๑. นายสุวัช สิงหพันธุ์ 0๒. นายฉัตรชัย รัตโนภาส
0๓. นายธงชัย ประทุมสุวรรณ 0๔. นายวีระพล สุทธิพรพลางกูร
0๕. นางสาวณัฐภัทร ถวัลยโพธิ 0๖. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์
0๗. นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ 0๘. นายกฤษ ศรีฟ้า
0๙. นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร ๑๐. นายปราโมทย์ วีระพันธ์
๑๑. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๑๒. นางผณินทรา ภัคเกษม
๑๓. นายปัญญา จีนาคำ ๑๔. นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๕. นายหัสนัยน์ สอนสิทธิ์ ๑๖. นางบุญรื่น ศรีธเรศ
๑๗. นายฉลาด ขามช่วง ๑๘. นางมุกดา พงษ์สมบัติ
๑๙. นายทองดี มนิสสาร ๒๐. นายนิสิต สินธุไพร
๒๑. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์ ๒๒. นายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์
๒๓. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๒๔. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
๒๕. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๖. นายพิชญะ ยั่งยืน
๒๗. นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม ๒๘. นายนริศ ขำนุรักษ์
๒๙. นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ๓๐. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์
๓๑. นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ๓๒. นายวีระชัย คล้ายทอง
๓๓. พลตำรวจตรี ไพโรจน์ เกษตรสุนทร ๓๔. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๕. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
*********************************
ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๓ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๐
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘ ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๖ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ....
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ....
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ....
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติมาตรา ชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรม ทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรม ทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ที่ประชุมได้มีมติให้รวมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระ เรื่องด่วนที่ ๑ และ ๒
พร้อมกันไปแต่ให้แยกลงมติรับหลักการ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
ทีละฉบับ ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทย พ.ศ. .... และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
0๑. พลเอก ชัยนันท์ เจริญศิริ 0๒. นายปัญจะ คุปรัตน์
0๓. นายมณเฑียร กุลธำรง 0๔. นายพงษ์ศักดิ์ สมใจ
0๕. นางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล 0๖. นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์
0๗. นายภิมุข สิมะโรจน์ 0๘. นายพ้อง ชีวานันท์
0๙. นายธารา ปิตุเตชะ ๑๐. นายอัมรินทร์ ตั้งประกอบ
๑๑. นายอัยยณัฐ ถินอภัย ๑๒. นายสามารถ แก้วมีชัย
๑๓. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ๑๔. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
๑๕. นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ๑๖. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๗. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ๑๘. นายเอกธนัช อินทร์รอด
๑๙. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ๒๐. นายปวีณ แซ่จึง
๒๑. นายประดุจ มั่นหมาย ๒๒. นายพิทยา บุญเฉลียว
๒๓. พันเอก วินัย สมพงษ์ ๒๔. นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง
๒๕. นายสุขวิช รังสิตพล ๒๖. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
๒๗. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ ๒๘. นายประพนธ์ นิลวัชรมณี
๒๙. นายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ ๓๐. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
๓๑. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๓๒. นายพร้อม พรหมพันธุ์
๓๓. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายเกษม สรศักดิ์เกษม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราช บัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
พ.ศ. .... เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช บัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
และนายนพดล พลเสน เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง กับคณะ
เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) และผู้เสนอ
ได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอา ร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี
เป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
0๑. นายสุวัช สิงหพันธุ์ 0๒. นายฉัตรชัย รัตโนภาส
0๓. นายธงชัย ประทุมสุวรรณ 0๔. นายวีระพล สุทธิพรพลางกูร
0๕. นางสาวณัฐภัทร ถวัลยโพธิ 0๖. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์
0๗. นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ 0๘. นายกฤษ ศรีฟ้า
0๙. นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร ๑๐. นายปราโมทย์ วีระพันธ์
๑๑. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ๑๒. นางผณินทรา ภัคเกษม
๑๓. นายปัญญา จีนาคำ ๑๔. นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๕. นายหัสนัยน์ สอนสิทธิ์ ๑๖. นางบุญรื่น ศรีธเรศ
๑๗. นายฉลาด ขามช่วง ๑๘. นางมุกดา พงษ์สมบัติ
๑๙. นายทองดี มนิสสาร ๒๐. นายนิสิต สินธุไพร
๒๑. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์ ๒๒. นายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์
๒๓. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๒๔. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
๒๕. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๖. นายพิชญะ ยั่งยืน
๒๗. นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม ๒๘. นายนริศ ขำนุรักษ์
๒๙. นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ๓๐. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์
๓๑. นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ๓๒. นายวีระชัย คล้ายทอง
๓๓. พลตำรวจตรี ไพโรจน์ เกษตรสุนทร ๓๔. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๕. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
*********************************