หลังจากไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เมื่อเดือนมกราคม 2545 ไต้หวันได้ทยอยเปิดเสรีตลาดสินค้าเกษตรหลายรายการ รวมถึงน้ำตาลทราย โดยเริ่มจากอนุญาตให้เอกชนรายอื่น ๆ นอกเหนือจาก Taiwan Sugar Corporation1/ นำเข้าน้ำตาลทรายภายใต้ระบบโควตานำเข้าที่ผูกพันไว้กับ WTO 2/ (Tariff Rate Quota : TRQ) นอกจากนี้ ล่าสุดรัฐบาลไต้หวันได้ยกเลิกระบบโควตานำเข้าดังกล่าว และปรับลดอัตราภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายดิบลงเหลือร้อยละ 6.25 จากอัตราเดิมร้อยละ 12.5 ขณะที่ยังคงเรียกเก็บภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายขาวในอัตราเดิมที่ร้อยละ 17.5 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งส่งผลให้ตลาดน้ำตาลทรายของไต้หวันในปัจจุบันมีระดับของการเปิดเสรีสูงกว่าที่ได้ผูกพันไว้กับ WTO ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อเรียกร้องของผู้ผลิตอาหารแปรรูปของไต้หวันที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีนำเข้าน้ำตาลทรายเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตลดลง
แม้การเปิดเสรีนำเข้าน้ำตาลทรายของไต้หวัน จะเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยในการขยาย การส่งออกน้ำตาลทรายไปไต้หวัน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 4 ของไทย ด้วยมูลค่าส่งออกเฉลี่ย44.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 109.7 ต่อปี ระหว่างปี 2545-2547 เนื่องจากความต้องการบริโภค น้ำตาลทรายของไต้หวันอยู่ในระดับสูงถึงปีละกว่า 600,000 ตัน ขณะที่ปริมาณการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จากการลดพื้นที่เพาะปลูกและการหยุดผลิตน้ำตาลทรายของหลายโรงงานเพราะประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งไทยมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับไต้หวันมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปไต้หวันในระยะข้างหน้าอาจมีอุปสรรคบางประการ เนื่องจาก
* ปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของไทยลดลงมาก ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตน้ำตาลทรายของไทย ในปีการผลิต 2547/48 จะมีเพียง 5.2 ล้านตัน ลดลงถึงร้อยละ 25.6 เทียบกับปีการผลิต 2546/47 ตามปริมาณ ผลผลิตอ้อยที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ประสบปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับราคาอ้อยในปีการผลิต
1/ Taiwan Sugar Corporation เดิมเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงรายเดียวที่ดำเนินการทั้งการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายน้ำตาลทรายในไต้หวัน แต่ปัจจุบันได้แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน
2/ ระบบโควตานำเข้าน้ำตาลทรายของไต้หวันตามข้อผูกพันเดิมที่ให้ไว้กับ WTO มีรายละเอียด ดังนี้
ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 เป็นต้นไป
ชนิดของน้ำตาลทราย ปริมาณ(ตัน) อัตราภาษี(%) ปริมาณ(ตัน) อัตราภาษี(%) ปริมาณ(ตัน) อัตราภาษี(%)
น้ำตาลทรายดิบ 120,000 12.5 162,500 12.5 205,000 12.5
น้ำตาลทรายขาว 120,000 17.5 162,500 17.5 205,000 17.5
ที่มา : Report on the Impact of Taiwan's Accession to the WTO and Policies in Response, www.cepd.gov.tw
2546/47 ค่อนข้างต่ำ ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ มันสำปะหลัง ยางพารา และยูคาลิปตัส ซึ่งมีราคาดีกว่าแทน สำหรับปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของไทยในปีการผลิต 2548/49 คาดว่าจะยังคงลดลง ต่อเนื่องจากปีการผลิต 2547/48 ทำให้อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปไต้หวัน
* การแข่งขันจากประเทศคู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะออสเตรเลีย ซึ่งผลิตน้ำตาลทรายคุณภาพดีกว่าไทย ประกอบกับปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของออสเตรเลียในปีการผลิต 2547/48 คาดว่าจะสูงราว 5.3 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3) นอกจากนี้ กัวเตมาลา ซึ่งเป็นประเทศที่ไต้หวันนำเข้าน้ำตาลทรายมากเป็นอันดับ 4 ของมูลค่านำเข้าน้ำตาลทรายทั้งหมดของไต้หวัน ยังได้ประโยชน์จากการได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายปริมาณ 70,000 ตันต่อปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไต้หวันกับกัวเตมาลา
* มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard : SSG) เป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปไต้หวัน ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากไต้หวันสามารถใช้มาตรการ SSG เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายในประเทศได้ หากพบว่าปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายจากประเทศหนึ่งประเทศใดสูงกว่าที่กำหนด หรือพบว่าราคานำเข้าน้ำตาลทรายต่ำกว่าที่กำหนด สำหรับรูปแบบของมาตรการ SSG ที่ไต้หวันบังคับใช้อาจเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ จากสินค้านำเข้า การจำกัดปริมาณนำเข้า หรือการขึ้นอัตราภาษีนำเข้า ทั้งนี้ ภายใต้มาตรการ SSG ในปี 2549 ไต้หวันกำหนดปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายไว้ 426,395 ตัน ราคากิโลกรัมละ 8.45 ดอลลาร์ไต้หวัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-
แม้การเปิดเสรีนำเข้าน้ำตาลทรายของไต้หวัน จะเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยในการขยาย การส่งออกน้ำตาลทรายไปไต้หวัน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกน้ำตาลทรายสำคัญอันดับ 4 ของไทย ด้วยมูลค่าส่งออกเฉลี่ย44.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 109.7 ต่อปี ระหว่างปี 2545-2547 เนื่องจากความต้องการบริโภค น้ำตาลทรายของไต้หวันอยู่ในระดับสูงถึงปีละกว่า 600,000 ตัน ขณะที่ปริมาณการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จากการลดพื้นที่เพาะปลูกและการหยุดผลิตน้ำตาลทรายของหลายโรงงานเพราะประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งไทยมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับไต้หวันมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปไต้หวันในระยะข้างหน้าอาจมีอุปสรรคบางประการ เนื่องจาก
* ปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของไทยลดลงมาก ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตน้ำตาลทรายของไทย ในปีการผลิต 2547/48 จะมีเพียง 5.2 ล้านตัน ลดลงถึงร้อยละ 25.6 เทียบกับปีการผลิต 2546/47 ตามปริมาณ ผลผลิตอ้อยที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ประสบปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับราคาอ้อยในปีการผลิต
1/ Taiwan Sugar Corporation เดิมเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงรายเดียวที่ดำเนินการทั้งการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายน้ำตาลทรายในไต้หวัน แต่ปัจจุบันได้แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน
2/ ระบบโควตานำเข้าน้ำตาลทรายของไต้หวันตามข้อผูกพันเดิมที่ให้ไว้กับ WTO มีรายละเอียด ดังนี้
ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 เป็นต้นไป
ชนิดของน้ำตาลทราย ปริมาณ(ตัน) อัตราภาษี(%) ปริมาณ(ตัน) อัตราภาษี(%) ปริมาณ(ตัน) อัตราภาษี(%)
น้ำตาลทรายดิบ 120,000 12.5 162,500 12.5 205,000 12.5
น้ำตาลทรายขาว 120,000 17.5 162,500 17.5 205,000 17.5
ที่มา : Report on the Impact of Taiwan's Accession to the WTO and Policies in Response, www.cepd.gov.tw
2546/47 ค่อนข้างต่ำ ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ มันสำปะหลัง ยางพารา และยูคาลิปตัส ซึ่งมีราคาดีกว่าแทน สำหรับปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของไทยในปีการผลิต 2548/49 คาดว่าจะยังคงลดลง ต่อเนื่องจากปีการผลิต 2547/48 ทำให้อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปไต้หวัน
* การแข่งขันจากประเทศคู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะออสเตรเลีย ซึ่งผลิตน้ำตาลทรายคุณภาพดีกว่าไทย ประกอบกับปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายของออสเตรเลียในปีการผลิต 2547/48 คาดว่าจะสูงราว 5.3 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3) นอกจากนี้ กัวเตมาลา ซึ่งเป็นประเทศที่ไต้หวันนำเข้าน้ำตาลทรายมากเป็นอันดับ 4 ของมูลค่านำเข้าน้ำตาลทรายทั้งหมดของไต้หวัน ยังได้ประโยชน์จากการได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายปริมาณ 70,000 ตันต่อปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไต้หวันกับกัวเตมาลา
* มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard : SSG) เป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายของไทยไปไต้หวัน ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากไต้หวันสามารถใช้มาตรการ SSG เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายในประเทศได้ หากพบว่าปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายจากประเทศหนึ่งประเทศใดสูงกว่าที่กำหนด หรือพบว่าราคานำเข้าน้ำตาลทรายต่ำกว่าที่กำหนด สำหรับรูปแบบของมาตรการ SSG ที่ไต้หวันบังคับใช้อาจเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ จากสินค้านำเข้า การจำกัดปริมาณนำเข้า หรือการขึ้นอัตราภาษีนำเข้า ทั้งนี้ ภายใต้มาตรการ SSG ในปี 2549 ไต้หวันกำหนดปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายไว้ 426,395 ตัน ราคากิโลกรัมละ 8.45 ดอลลาร์ไต้หวัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-