สศอ.จับมือกลุ่มอุตฯ เคมี สอท. - กระทรวงพาณิชย์ เชิญผู้เชี่ยวชาญ REACH จาก "อียู" บรรยายพิเศษพร้อมไขข้อข้องใจหมดเปลือก เรียกความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ เร่งปรับทิศทางรับความเปลี่ยนแปลง ก่อนเริ่มบังคับใช้ ในปี 2550
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ในนามกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) กระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนกรรมาธิการยุโรป จัดสัมมนาครั้งใหญ่ เรื่อง "Doing Business With the Eu's REACH Policy, Is "REACH" reachable?" โดยได้เชิญ Dr.Ludwig Kramer ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎระเบียบการใช้สารเคมีของสหภาพยุโรป มาบรรยายถึงกฎระเบียบ REACH หรือมาตรการคุมเข้มเรื่องสารเคมีที่อียูเตรียมประกาศใช้ในปี 2550 เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องร่วมกัน ทั้งหน่วยงานภาครัฐของไทยรวมทั้งผู้ประกอบการที่มีกิจการส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนประเทศต่างๆ เช่น อาเซียน อเมริกา สหภาพยุโรป และไทย
"ระเบียบ REACH ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือสินค้าอื่นๆ ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ โดยสินค้าที่จะได้รับผลกระทบมีตั้งแต่ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีอัตราการส่งออกไปยัง อียู ในลำดับต้นๆ ด้วย หากไม่รีบปรับตัวผู้ประกอบการจะเสียโอกาสในการแข่งขันได้ในอนาคต สำหรับภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรมก็มิได้นิ่งนอนใจ ซึ่งในขณะนี้ได้เร่งผลักดันให้มีการยกระดับห้องแล็บและฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประกอบการยื่นจดทะเบียน รวมทั้งเร่งให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับขั้นตอนการส่งออกไปยังอียู"
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเด็นที่สำคัญและมีการพูดคุยคือเรื่องของรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานกลางในการจดทะเบียนที่อียูจัดตั้งขึ้น เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการได้รับทราบข้อมูลในภาพกว้าง แต่ในรายละเอียดขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ ยังเป็นข้อสงสัยอยู่มาก โดยข้อสงสัยต่างๆ นั้น ผู้เชี่ยวชาญจากอียู ได้อธิบายรายละเอียดให้เกิดภาพที่ชัดเจนขึ้น ถือว่าเป็นการสร้างความเข้าใจจากผู้เชี่ยวชาญสู่ผู้ประกอบการอย่างถูกต้องชัดเจน
"ก่อนหน้านั้น หลายฝ่ายเป็นกังวลที่ อียู เป็นผู้นำด้านมาตรการสิ่งแวดล้อม และจะขยายวงกว้างไปสู่ประเทศอื่นๆ ในการใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับอียู ซึ่งจะทำให้เกิดขั้นตอนต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ อียู ได้กล่าวให้ความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการของไทยว่า ระเบียบของ REACH เป็นข้อกำหนดขึ้นมา เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ในประเทศของสหภาพยุโรปเท่านั้น และจะไม่มีการผลักดันให้กลุ่มประเทศอื่นๆ ใช้ตามแต่อย่างใด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจและมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าว
สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป หรือ อียู เมื่อปี 2547 ที่ผ่านมามีมูลค่า 1.4 หมื่นล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 20 ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงนับได้ว่า อียู เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ในนามกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) กระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนกรรมาธิการยุโรป จัดสัมมนาครั้งใหญ่ เรื่อง "Doing Business With the Eu's REACH Policy, Is "REACH" reachable?" โดยได้เชิญ Dr.Ludwig Kramer ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎระเบียบการใช้สารเคมีของสหภาพยุโรป มาบรรยายถึงกฎระเบียบ REACH หรือมาตรการคุมเข้มเรื่องสารเคมีที่อียูเตรียมประกาศใช้ในปี 2550 เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องร่วมกัน ทั้งหน่วยงานภาครัฐของไทยรวมทั้งผู้ประกอบการที่มีกิจการส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนประเทศต่างๆ เช่น อาเซียน อเมริกา สหภาพยุโรป และไทย
"ระเบียบ REACH ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือสินค้าอื่นๆ ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ โดยสินค้าที่จะได้รับผลกระทบมีตั้งแต่ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีอัตราการส่งออกไปยัง อียู ในลำดับต้นๆ ด้วย หากไม่รีบปรับตัวผู้ประกอบการจะเสียโอกาสในการแข่งขันได้ในอนาคต สำหรับภาครัฐโดยกระทรวงอุตสาหกรรมก็มิได้นิ่งนอนใจ ซึ่งในขณะนี้ได้เร่งผลักดันให้มีการยกระดับห้องแล็บและฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประกอบการยื่นจดทะเบียน รวมทั้งเร่งให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับขั้นตอนการส่งออกไปยังอียู"
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเด็นที่สำคัญและมีการพูดคุยคือเรื่องของรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานกลางในการจดทะเบียนที่อียูจัดตั้งขึ้น เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการได้รับทราบข้อมูลในภาพกว้าง แต่ในรายละเอียดขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ ยังเป็นข้อสงสัยอยู่มาก โดยข้อสงสัยต่างๆ นั้น ผู้เชี่ยวชาญจากอียู ได้อธิบายรายละเอียดให้เกิดภาพที่ชัดเจนขึ้น ถือว่าเป็นการสร้างความเข้าใจจากผู้เชี่ยวชาญสู่ผู้ประกอบการอย่างถูกต้องชัดเจน
"ก่อนหน้านั้น หลายฝ่ายเป็นกังวลที่ อียู เป็นผู้นำด้านมาตรการสิ่งแวดล้อม และจะขยายวงกว้างไปสู่ประเทศอื่นๆ ในการใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับอียู ซึ่งจะทำให้เกิดขั้นตอนต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ อียู ได้กล่าวให้ความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการของไทยว่า ระเบียบของ REACH เป็นข้อกำหนดขึ้นมา เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ในประเทศของสหภาพยุโรปเท่านั้น และจะไม่มีการผลักดันให้กลุ่มประเทศอื่นๆ ใช้ตามแต่อย่างใด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจและมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าว
สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป หรือ อียู เมื่อปี 2547 ที่ผ่านมามีมูลค่า 1.4 หมื่นล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 20 ของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงนับได้ว่า อียู เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-