กรุงเทพ--20 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2548 กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสำนักงานอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) ของไทย ได้ทดลองจัดการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Test Run Video-Conference) เป็นครั้งแรกกับสำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ณ Situation Room ชั้น 5 กระทรวงการต่างประเทศ นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาไปสู่การจัดประชุมทางไกลฯ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศกับสำนักเลขาธิการอาเซียน ตามแนวทางที่ประเทศสมาชิกพยายามผลักดัน เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยปรับปรุงการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของอาเซียน ซึ่งได้หารือกันในระหว่างการประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee — ASC) ครั้งที่ 3 สมัยที่ 38 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2548 ณ กรุงจาการ์ตา
เป้าหมายระยะยาวของการจัดทำ Video Conference เพื่อดำเนินการประชุมอาเซียนต่างๆ คือการช่วยปรับปรุงและลดจำนวนการประชุมอาเซียน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและการ เดินทางเข้าร่วมการประชุมอาเซียน (ปัจจุบันมีการประชุมประมาณ 500 กว่าการประชุมต่อปี) นอกจากนี้ การมีระบบ Video Conference น่าจะช่วยเกื้อกูลต่อการพัฒนาก้าวไปสู่ Paperless ASEAN ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความพยายามอาเซียนที่จะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีก และการปฏิรูปกลไกอาเซียนใน ระยะยาว
ในการประชุมนี้มีผู้เข้าร่วมจากสามฝ่ายกล่าวคือ ฝ่ายไทยนำโดยนายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมอาเซียน ฝ่ายสำนักเลขาธิการอาเซียนนำโดยนาย Ong Keng Yong เลขาธิการอาเซียน และกลุ่ม ผู้ประสานงานอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา (Jakarta ASEAN Contact Group —JACG) ซึ่งนับเป็นการประชุมทางไกลผ่านจอภาพครั้งแรกระหว่างฝ่ายเลขานุการอาเซียนแห่งชาติกับสำนักเลขาธิการอาเซียนที่มีผู้แทน รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ( JACG) เข้าร่วมด้วย
อนึ่ง JACG ประกอบด้วยผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศที่กรุงจาการ์ตา และได้เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 จากข้อเสนอของไทยเพื่อทำหน้าที่ ช่วยประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานต่างๆ ในกรอบอาเซียน ตลอดจนเป็นผู้แทนของประเทศสมาชิกที่กรุงจาการ์ตาอันเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการอาเซียน
ที่ประชุม Video Conference ครั้งนี้ได้หารือกันในเรื่องการเตรียมการและปัญหาอุปสรรคต่างๆ สำหรับการจัด Video Conference ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศกับสำนักเลขาธิการอาเซียนในอนาคต รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพของอาเซียนโดยพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้นแทนการใช้กระดาษ(Paperless ASEAN) การเตรียมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 38 ที่ เวียงจันทน์ ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ โดยเฉพาะในการเสนอรายงานต่างๆ ของเลขาธิการอาเซียนต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน และแผนปฏิบัติการ เวียงจันทน์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2548 กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสำนักงานอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) ของไทย ได้ทดลองจัดการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Test Run Video-Conference) เป็นครั้งแรกกับสำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ณ Situation Room ชั้น 5 กระทรวงการต่างประเทศ นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาไปสู่การจัดประชุมทางไกลฯ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศกับสำนักเลขาธิการอาเซียน ตามแนวทางที่ประเทศสมาชิกพยายามผลักดัน เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยปรับปรุงการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของอาเซียน ซึ่งได้หารือกันในระหว่างการประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee — ASC) ครั้งที่ 3 สมัยที่ 38 ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2548 ณ กรุงจาการ์ตา
เป้าหมายระยะยาวของการจัดทำ Video Conference เพื่อดำเนินการประชุมอาเซียนต่างๆ คือการช่วยปรับปรุงและลดจำนวนการประชุมอาเซียน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและการ เดินทางเข้าร่วมการประชุมอาเซียน (ปัจจุบันมีการประชุมประมาณ 500 กว่าการประชุมต่อปี) นอกจากนี้ การมีระบบ Video Conference น่าจะช่วยเกื้อกูลต่อการพัฒนาก้าวไปสู่ Paperless ASEAN ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความพยายามอาเซียนที่จะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีก และการปฏิรูปกลไกอาเซียนใน ระยะยาว
ในการประชุมนี้มีผู้เข้าร่วมจากสามฝ่ายกล่าวคือ ฝ่ายไทยนำโดยนายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมอาเซียน ฝ่ายสำนักเลขาธิการอาเซียนนำโดยนาย Ong Keng Yong เลขาธิการอาเซียน และกลุ่ม ผู้ประสานงานอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา (Jakarta ASEAN Contact Group —JACG) ซึ่งนับเป็นการประชุมทางไกลผ่านจอภาพครั้งแรกระหว่างฝ่ายเลขานุการอาเซียนแห่งชาติกับสำนักเลขาธิการอาเซียนที่มีผู้แทน รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ( JACG) เข้าร่วมด้วย
อนึ่ง JACG ประกอบด้วยผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศที่กรุงจาการ์ตา และได้เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 จากข้อเสนอของไทยเพื่อทำหน้าที่ ช่วยประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานต่างๆ ในกรอบอาเซียน ตลอดจนเป็นผู้แทนของประเทศสมาชิกที่กรุงจาการ์ตาอันเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการอาเซียน
ที่ประชุม Video Conference ครั้งนี้ได้หารือกันในเรื่องการเตรียมการและปัญหาอุปสรรคต่างๆ สำหรับการจัด Video Conference ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศกับสำนักเลขาธิการอาเซียนในอนาคต รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพของอาเซียนโดยพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้นแทนการใช้กระดาษ(Paperless ASEAN) การเตรียมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 38 ที่ เวียงจันทน์ ในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ โดยเฉพาะในการเสนอรายงานต่างๆ ของเลขาธิการอาเซียนต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน และแผนปฏิบัติการ เวียงจันทน์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-