ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของตลาดเงินไว้แล้ว ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจโลกไว้
3-4 กรณี ซึ่งกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ กรณีที่ พอล ครุกแมน พูดถึงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใน สรอ. และลุกลาม
กระทบเศรษฐกิจทั้งโลก ซึ่งคิดว่ากรณีมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ก็ได้เตรียมมาตรการรับมือความผันผวนของค่า
เงินไว้ด้วย โดยหากพิจารณาจากมาตรการที่เตรียมไว้รองรับ เศรษฐกิจไทยต้องได้รับผลกระทบแน่และอยู่ได้ไม่ล้ม
เหมือนช่วงปี 40 อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทจะอยู่ที่เท่าไหร่ไม่สามารถตอบได้ หากเป็นกรณีที่จีนและ
ประเทศในเอเชียยอมรับค่าเงินของตัวให้แข็งขึ้น น่าจะเป็นผลทางบวกต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าผลทางลบ และคิด
ว่าโลกจะเปลี่ยนไปในแนวทางนี้มากกว่า ทั้งนี้ พอล ครุกแมน ชี้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกอาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งจาก
ความไม่สมดุลของระบบการเงินของ สรอ. และการปรับช่วงห่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน (Band) ของเงิน
ดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งสะท้อนการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีน ซึ่ง ธปท. ต้องจับตาการเคลื่อนไหวของ
เงินทุกสกุลในโลกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการปรับช่วงห่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลลาร์ฮ่องกงเป็น
เครื่องชี้ให้เห็นว่า ทางการจีนพร้อมที่จะปล่อยให้ค่าเงินฮ่องกงปรับตัวไปในทิศทางที่แข็งขึ้น รวมถึงการที่ ธ.
กลางเกาหลีใต้ประกาศจะไม่เข้าแทรกแซงให้เงินวอนเกาหลีใต้อ่อนค่าลง แต่จะปล่อยไปตามทิศทางของตลาด ซึ่ง
หมายถึงการยอมให้ค่าเงินวอนแข็งค่าขึ้นเพื่อตอบสนองการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. ดังนั้น ในอนาคตค่าเงิน
บาทก็มีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นด้วยตามทิศทางตลาด อย่างไรก็ตาม ธปท. จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างรวด
เร็ว โดยจะแทรกแซงตลาดอย่างนุ่มนวล เพื่อให้ผู้นำเข้าและส่งออกของไทยสามารถปรับตัวรับมือได้ (โพสต์ทู
เดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. ห่วงสินเชื่อบุคคลมากกว่าสินเชื่อบัตรเครดิต ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า หลังจากที่ ธปท. เข้ามาดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตตั้งแต่ปลายปี 45 อัตราการขยายตัวของยอดสินเชื่อ
คงค้างลดลงมาโดยตลอด จากร้อยละ 40 ในปี 45 ลดลงเหลือร้อยละ 25 ในปี 47 โดยยอดสินเชื่อที่เพิ่มในปี
47 เพิ่มขึ้นในส่วนของนอนแบงก์สูงกว่า ธ.พาณิชย์ และคาดว่ายอดการเพิ่มสินเชื่อบัตรเครดิตในปี 48 อาจจะลดลง
ต่ำกว่าร้อยละ 25 เล็กน้อย โดยในปี 48 จะมีผลเต็มที่ถ้าลงต่ำกว่านี้เหลือร้อยละ 18-20 ก็สบายใจได้ ในส่วน
ของเอ็นพีแอลของสินเชื่อบัตรเครดิตมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 45 มีสัดส่วนเอ็นพีแอลร้อยละ 5 ของสิน
เชื่อทั้งหมด แต่ในปี 47 ลดลงเหลือร้อยละ 3 เนื่องจาก ธปท. เข้าคุมการให้สินเชื่อบัตรเครดิตได้เร็ว อย่างไร
ก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือสินเชื่อบุคคล ซึ่งผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารบางรายเมื่อติดกฎเกณฑ์
บัตรเครดิตก็หันไปปล่อยสินเชื่อบุคคลแทน และมีการคิดอัตราดอกเบี้ยเพื่อการบริโภคอุปโภค โดยเฉพาะบริษัทและ
ธนาคารต่างชาติที่คิดอัตราดอกเบี้ยส่วนบุคคลสูงถึงร้อยละ 35-58.6 ส่วนบริษัทนอนแบงก์ของไทยถือว่าอัตรา
ดอกเบี้ยที่คิดอยู่ในอัตราที่สมเหตุสมผลประมาณร้อยละ 20-28 ต่อปี ทั้งนี้ บริษัทที่ปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของไทยไม่
ได้ทำธุรกิจเพื่อต้องการขูดรีดหรือมุ่งหากำไรทางการเงินมากเกินไป แต่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ในการ
บริการลูกค้าได้หลากหลายมากกว่า โดยจำนวนผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลในขณะนี้มีมากถึงประมาณ 200 แห่ง
แต่มีบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อจำนวนมากเพียง 10 แห่ง เท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, แนวหน้า)
3. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.8 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 48 จาก
เดิมร้อยละ 5.5 เหลือร้อยละ 4.8 โดยปัจจัยเสี่ยงคือ ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับสูง 50—55 ดอลลาร์
สรอ. ต่อบาร์เรล ซึ่งกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าที่ปรับขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะ
ปรับขึ้นอีกร้อยละ 0.5-0.75 รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์ทางภาคใต้ ภัยแล้ง และปัญหาไข้หวัดนกที่ยังมีอยู่ ซึ่ง
กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวก ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในช่วง
ขาขึ้น โดยไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.3 และการค้าโลกจะขยายตัวร้อยละ 7.4
ประกอบการที่รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนของภาครัฐในเมกะโปรเจ็ก
ต์ช่วง 5 ปี (2548-2552) วงเงิน 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจผ่าน
โครงการเมกะโปรเจ็กต์ประมาณ 20,00-50,000 ล้านบาท ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ
15.3 ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ร้อยละ 20 เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยจะมีมูลค่าการ
ส่งออกรวม 110,784 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่จะขาดดุลการค้า 4,125 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 7 ปี
นับตั้งแต่ปี 41 เนื่องจากคาดว่าการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 21.7 มูลค่า 114,909 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ดุล
บัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล 2,075 ล้านดอลลาร์ สรอ. อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.7
โดยในช่วงปลายปีอาจจะขึ้นไปถึงร้อยละ 4.2-4.5 (เดลินิวส์, มติชน)
4. สคบ. ขอความร่วมมือบริษัทที่ให้บริการเงินด่วนลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้า นางสุกัญญา
สันทัด ผอ.กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สนง.คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สคบ. ได้ขอ
ความร่วมมือให้บริษัทที่ให้บริการเงินด่วนร่วมกันหามาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้าลง เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบัน
มีผู้ประกอบการหลายแห่งคิดค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยรวมกันในอัตราที่สูง จนทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากเกิด
ความเดือนร้อน ซึ่งในเบื้องต้นหากไม่สามารถดำเนินการได้ ภาครัฐก็จะหามาตรการที่เกี่ยวข้องในการควบคุม
เพดานต่อไป ด้านผู้ประกอบการที่เข้าร่วมหารือชี้แจงว่า ปัจจุบันตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลมีการแข่งขันกันสูง ทุกราย
ต่างก็หามาตรการในการช่วยเหลือเพื่อลดภาระผู้บริโภคด้วยการจัดทำโปรโมชั่นต่าง ๆ รวมถึงการปล่อยสินเชื่อและ
รับชำระหนี้ถึงบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของลูกค้า ทั้งนี้ สคบ. และ ก.คลังได้เก็บข้อมูลเบื้องต้นของ
ทุกบริษัทมาคำนวณต้นทุนใหม่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อหามาตรการกำหนดเพดานการคิดเงินจากลูกค้าใหม่ เพราะปัจจุบัน
ผู้ประกอบการเลี่ยงอัตราดอกเบี้ยไปเป็นค่าอื่น ๆ แทน (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน เม.ย.48 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ
0.2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 19 พ.ค.48 The New York-base Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้
นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน เม.ย.48 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 0.2 อยู่ที่ระดับ 114.5
หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ 5
ใน 10 ตัวลดลง คือ ความคาดหวังของผู้บริโภค ปริมาณเงินหมุนเวียนที่แท้จริง ช่วงห่างของอัตราดอกเบี้ย (หรือ
ผลตอบแทนตั๋วเงินคลัง) ราคาหุ้น และ vendor performance โดยลดลงร้อยละ 0.13 0.13 0.11
0.07 และ 0.06 ตามลำดับ ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า การลดลงของดัชนีดังกล่าวอาจทำให้เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอ
ตัวในครึ่งหลังของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (The coincident index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัด
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของ สรอ. ในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อยู่ที่ระดับ 119.6 ไม่เปลี่ยน
แปลงจากเดือนก่อน ส่วนดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (The lagging index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจในอดีตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 อยู่ที่ระดับ 99.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน มี.ค.48 (รอยเตอร์)
2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของสรอ. ระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปี ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ค.
ลดต่ำลงอีก รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 48 บ.สินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า ณ
สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ค.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.71 และ
ร้อยละ 5.27 ลดลงจากร้อยละ 5.77 และร้อยละ 5.33 เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
30 ปีลดลงต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อเนื่องกันมาเป็นสัปดาห์ที่ 7 แล้ว อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้
(Adjustable rate mortgages-ARM )ระยะเวลา 1 ปี กลับปรับตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 4.26 จากร้อยละ 4.23
ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีและอัตราดอกเบี้ย ARM อยู่ที่
เฉลี่ยร้อยละ 6.30 , 5.67 และร้อยละ 3.99 ตามลำดับ ประธานบ.สินเชื่อจำนอง Freddie Mac กล่าวว่า
เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน แม้ว่าขณะนี้
ราคาน้ำมันจะสูงขึ้น แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังสามารถควบคุมได้ ดังนั้นจึงไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อหรือมีเพียง
เล็กน้อย ที่จะส่งผลต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองดังกล่าว โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคา
อาหารและพลังงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้จะส่งผลดีต่อ
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ คาดว่ายอดขายทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสองในเดือนเม.ย.จะอยู่ในระดับสูงเกือบใกล้
สถิติที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสรอ. มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขยอดขายบ้านมือ
สองในสัปดาห์หน้า ขณะที่ก.พาณิชย์จะเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ของเดือนที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้แต่
แนวโน้มยังคงลดลง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 19 พ.ค.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกของ
อังกฤษในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ หลังจากลดลงร้อยละ 0.3 ใน
เดือน มี.ค.48 แต่หากเทียบต่อปีแล้วยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย.48เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 2.4 ต่อปีในเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.46 ในขณะที่เมื่อเทียบต่อไตรมาสซึ่งนัก
วิเคราะห์อ้างว่าเป็นตัววัดแนวโน้มยอดค้าปลีกที่ดีที่สุด ยอดค้าปลีกช่วงเดือน ก.พ. ถึง เม.ย.48 เพิ่มขึ้นเพียงร้อย
ละ 0.2 อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือน ม.ค. ถึง มี.ค.48 โดยยอดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารในช่วงเดือน
ก.พ. ถึง เม.ย. 48 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อไตรมาสและเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน
ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ในบ้านก็ได้รับผลกระทบจากยอดขายบ้านที่ลดลง
ประมาณ 1 ใน 3 โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.0 ในช่วงเดือน ก.พ. ถึง เม.ย.48 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็น
อัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 36 และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวร้อยละ 13.2 ในเดือน ธ.
ค.44 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดบ้านกำลังขยายตัวอย่างร้อนแรง แนวโน้มยอดค้าปลีกที่ลดลงทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.
กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมาย รายงานจากโซ
ลเมื่อ 20 พ.ค.48 ทางการเกาหลีใต้เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หลังปรับฤดู
กาลของเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 0.7 และเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง
ของปี 46 ซึ่งจีดีพีขยายตัวร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ การที่จีดีพีขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมายดังกล่าว เป็นผลจากการ
ชะลอตัวของภาคการก่อสร้าง รวมถึงการชะลอตัวของการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของประเทศตลอดมา โดยการส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 11 ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ต่ำกว่ามากจาก
การขยายตัวถึงร้อยละ 21.2 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การที่ความต้องการภายในประเทศซึ่งมีสัด
ส่วนเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของจีดีพีเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยมีการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากที่
ขยายตัวร้อยละ 0.6 และ 0.2 ในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้า บ่งชี้ว่าความต้องการภายในประเทศอาจกลับมาเป็น
ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทดแทนการส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งทำให้มีการคาด
การณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้อาจจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 48 หลังจากที่ขยายตัว
ร้อยละ 2.7 ในช่วงไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน พ.ค.48
ไว้ที่ระดับเดิมเป็นเดือนที่ 6 เพื่อช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากยังคงมีความกังวลอยู่ว่าการฟื้นตัว
ของความต้องการภายในประเทศจะสามารถชดเชยภาวะชะลอตัวของการส่งออกได้หรือไม่ อนึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้
ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ไว้ที่ระดับร้อยละ 4.0 ต่ำกว่าปี 47 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.6
ขณะที่ ก.คลังได้ปรับประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ที่ระดับร้อยละ 5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 พ.ค. 48 19 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.879 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.6509/39.9396 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.34375 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 676.54/24.87 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.45 43.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.14*/18.19** 22.14*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของตลาดเงินไว้แล้ว ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจโลกไว้
3-4 กรณี ซึ่งกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ กรณีที่ พอล ครุกแมน พูดถึงการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใน สรอ. และลุกลาม
กระทบเศรษฐกิจทั้งโลก ซึ่งคิดว่ากรณีมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ก็ได้เตรียมมาตรการรับมือความผันผวนของค่า
เงินไว้ด้วย โดยหากพิจารณาจากมาตรการที่เตรียมไว้รองรับ เศรษฐกิจไทยต้องได้รับผลกระทบแน่และอยู่ได้ไม่ล้ม
เหมือนช่วงปี 40 อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทจะอยู่ที่เท่าไหร่ไม่สามารถตอบได้ หากเป็นกรณีที่จีนและ
ประเทศในเอเชียยอมรับค่าเงินของตัวให้แข็งขึ้น น่าจะเป็นผลทางบวกต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าผลทางลบ และคิด
ว่าโลกจะเปลี่ยนไปในแนวทางนี้มากกว่า ทั้งนี้ พอล ครุกแมน ชี้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกอาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งจาก
ความไม่สมดุลของระบบการเงินของ สรอ. และการปรับช่วงห่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน (Band) ของเงิน
ดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งสะท้อนการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีน ซึ่ง ธปท. ต้องจับตาการเคลื่อนไหวของ
เงินทุกสกุลในโลกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการปรับช่วงห่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลลาร์ฮ่องกงเป็น
เครื่องชี้ให้เห็นว่า ทางการจีนพร้อมที่จะปล่อยให้ค่าเงินฮ่องกงปรับตัวไปในทิศทางที่แข็งขึ้น รวมถึงการที่ ธ.
กลางเกาหลีใต้ประกาศจะไม่เข้าแทรกแซงให้เงินวอนเกาหลีใต้อ่อนค่าลง แต่จะปล่อยไปตามทิศทางของตลาด ซึ่ง
หมายถึงการยอมให้ค่าเงินวอนแข็งค่าขึ้นเพื่อตอบสนองการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. ดังนั้น ในอนาคตค่าเงิน
บาทก็มีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นด้วยตามทิศทางตลาด อย่างไรก็ตาม ธปท. จะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างรวด
เร็ว โดยจะแทรกแซงตลาดอย่างนุ่มนวล เพื่อให้ผู้นำเข้าและส่งออกของไทยสามารถปรับตัวรับมือได้ (โพสต์ทู
เดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. ห่วงสินเชื่อบุคคลมากกว่าสินเชื่อบัตรเครดิต ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ
ธปท. กล่าวว่า หลังจากที่ ธปท. เข้ามาดูแลสินเชื่อบัตรเครดิตตั้งแต่ปลายปี 45 อัตราการขยายตัวของยอดสินเชื่อ
คงค้างลดลงมาโดยตลอด จากร้อยละ 40 ในปี 45 ลดลงเหลือร้อยละ 25 ในปี 47 โดยยอดสินเชื่อที่เพิ่มในปี
47 เพิ่มขึ้นในส่วนของนอนแบงก์สูงกว่า ธ.พาณิชย์ และคาดว่ายอดการเพิ่มสินเชื่อบัตรเครดิตในปี 48 อาจจะลดลง
ต่ำกว่าร้อยละ 25 เล็กน้อย โดยในปี 48 จะมีผลเต็มที่ถ้าลงต่ำกว่านี้เหลือร้อยละ 18-20 ก็สบายใจได้ ในส่วน
ของเอ็นพีแอลของสินเชื่อบัตรเครดิตมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 45 มีสัดส่วนเอ็นพีแอลร้อยละ 5 ของสิน
เชื่อทั้งหมด แต่ในปี 47 ลดลงเหลือร้อยละ 3 เนื่องจาก ธปท. เข้าคุมการให้สินเชื่อบัตรเครดิตได้เร็ว อย่างไร
ก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือสินเชื่อบุคคล ซึ่งผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารบางรายเมื่อติดกฎเกณฑ์
บัตรเครดิตก็หันไปปล่อยสินเชื่อบุคคลแทน และมีการคิดอัตราดอกเบี้ยเพื่อการบริโภคอุปโภค โดยเฉพาะบริษัทและ
ธนาคารต่างชาติที่คิดอัตราดอกเบี้ยส่วนบุคคลสูงถึงร้อยละ 35-58.6 ส่วนบริษัทนอนแบงก์ของไทยถือว่าอัตรา
ดอกเบี้ยที่คิดอยู่ในอัตราที่สมเหตุสมผลประมาณร้อยละ 20-28 ต่อปี ทั้งนี้ บริษัทที่ปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของไทยไม่
ได้ทำธุรกิจเพื่อต้องการขูดรีดหรือมุ่งหากำไรทางการเงินมากเกินไป แต่ให้สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ในการ
บริการลูกค้าได้หลากหลายมากกว่า โดยจำนวนผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลในขณะนี้มีมากถึงประมาณ 200 แห่ง
แต่มีบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อจำนวนมากเพียง 10 แห่ง เท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, แนวหน้า)
3. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.8 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 48 จาก
เดิมร้อยละ 5.5 เหลือร้อยละ 4.8 โดยปัจจัยเสี่ยงคือ ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับสูง 50—55 ดอลลาร์
สรอ. ต่อบาร์เรล ซึ่งกระทบต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าที่ปรับขึ้น และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะ
ปรับขึ้นอีกร้อยละ 0.5-0.75 รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์ทางภาคใต้ ภัยแล้ง และปัญหาไข้หวัดนกที่ยังมีอยู่ ซึ่ง
กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวก ได้แก่ เศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในช่วง
ขาขึ้น โดยไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.3 และการค้าโลกจะขยายตัวร้อยละ 7.4
ประกอบการที่รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนของภาครัฐในเมกะโปรเจ็ก
ต์ช่วง 5 ปี (2548-2552) วงเงิน 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งปีนี้คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจผ่าน
โครงการเมกะโปรเจ็กต์ประมาณ 20,00-50,000 ล้านบาท ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ
15.3 ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ร้อยละ 20 เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยจะมีมูลค่าการ
ส่งออกรวม 110,784 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่จะขาดดุลการค้า 4,125 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดในรอบ 7 ปี
นับตั้งแต่ปี 41 เนื่องจากคาดว่าการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 21.7 มูลค่า 114,909 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ดุล
บัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล 2,075 ล้านดอลลาร์ สรอ. อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.7
โดยในช่วงปลายปีอาจจะขึ้นไปถึงร้อยละ 4.2-4.5 (เดลินิวส์, มติชน)
4. สคบ. ขอความร่วมมือบริษัทที่ให้บริการเงินด่วนลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้า นางสุกัญญา
สันทัด ผอ.กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สนง.คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สคบ. ได้ขอ
ความร่วมมือให้บริษัทที่ให้บริการเงินด่วนร่วมกันหามาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้าลง เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบัน
มีผู้ประกอบการหลายแห่งคิดค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยรวมกันในอัตราที่สูง จนทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากเกิด
ความเดือนร้อน ซึ่งในเบื้องต้นหากไม่สามารถดำเนินการได้ ภาครัฐก็จะหามาตรการที่เกี่ยวข้องในการควบคุม
เพดานต่อไป ด้านผู้ประกอบการที่เข้าร่วมหารือชี้แจงว่า ปัจจุบันตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลมีการแข่งขันกันสูง ทุกราย
ต่างก็หามาตรการในการช่วยเหลือเพื่อลดภาระผู้บริโภคด้วยการจัดทำโปรโมชั่นต่าง ๆ รวมถึงการปล่อยสินเชื่อและ
รับชำระหนี้ถึงบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของลูกค้า ทั้งนี้ สคบ. และ ก.คลังได้เก็บข้อมูลเบื้องต้นของ
ทุกบริษัทมาคำนวณต้นทุนใหม่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อหามาตรการกำหนดเพดานการคิดเงินจากลูกค้าใหม่ เพราะปัจจุบัน
ผู้ประกอบการเลี่ยงอัตราดอกเบี้ยไปเป็นค่าอื่น ๆ แทน (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน เม.ย.48 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ
0.2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 19 พ.ค.48 The New York-base Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้
นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน เม.ย.48 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 0.2 อยู่ที่ระดับ 114.5
หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ 5
ใน 10 ตัวลดลง คือ ความคาดหวังของผู้บริโภค ปริมาณเงินหมุนเวียนที่แท้จริง ช่วงห่างของอัตราดอกเบี้ย (หรือ
ผลตอบแทนตั๋วเงินคลัง) ราคาหุ้น และ vendor performance โดยลดลงร้อยละ 0.13 0.13 0.11
0.07 และ 0.06 ตามลำดับ ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า การลดลงของดัชนีดังกล่าวอาจทำให้เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอ
ตัวในครึ่งหลังของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (The coincident index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัด
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของ สรอ. ในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อยู่ที่ระดับ 119.6 ไม่เปลี่ยน
แปลงจากเดือนก่อน ส่วนดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (The lagging index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจในอดีตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 อยู่ที่ระดับ 99.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน มี.ค.48 (รอยเตอร์)
2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของสรอ. ระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปี ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ค.
ลดต่ำลงอีก รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 48 บ.สินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า ณ
สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ค.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และระยะ 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.71 และ
ร้อยละ 5.27 ลดลงจากร้อยละ 5.77 และร้อยละ 5.33 เมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
30 ปีลดลงต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อเนื่องกันมาเป็นสัปดาห์ที่ 7 แล้ว อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้
(Adjustable rate mortgages-ARM )ระยะเวลา 1 ปี กลับปรับตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 4.26 จากร้อยละ 4.23
ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีและอัตราดอกเบี้ย ARM อยู่ที่
เฉลี่ยร้อยละ 6.30 , 5.67 และร้อยละ 3.99 ตามลำดับ ประธานบ.สินเชื่อจำนอง Freddie Mac กล่าวว่า
เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน แม้ว่าขณะนี้
ราคาน้ำมันจะสูงขึ้น แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังสามารถควบคุมได้ ดังนั้นจึงไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อหรือมีเพียง
เล็กน้อย ที่จะส่งผลต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองดังกล่าว โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคา
อาหารและพลังงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้จะส่งผลดีต่อ
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ คาดว่ายอดขายทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสองในเดือนเม.ย.จะอยู่ในระดับสูงเกือบใกล้
สถิติที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสรอ. มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขยอดขายบ้านมือ
สองในสัปดาห์หน้า ขณะที่ก.พาณิชย์จะเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ของเดือนที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้แต่
แนวโน้มยังคงลดลง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 19 พ.ค.48 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกของ
อังกฤษในเดือน เม.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ หลังจากลดลงร้อยละ 0.3 ใน
เดือน มี.ค.48 แต่หากเทียบต่อปีแล้วยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย.48เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 2.4 ต่อปีในเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.46 ในขณะที่เมื่อเทียบต่อไตรมาสซึ่งนัก
วิเคราะห์อ้างว่าเป็นตัววัดแนวโน้มยอดค้าปลีกที่ดีที่สุด ยอดค้าปลีกช่วงเดือน ก.พ. ถึง เม.ย.48 เพิ่มขึ้นเพียงร้อย
ละ 0.2 อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือน ม.ค. ถึง มี.ค.48 โดยยอดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารในช่วงเดือน
ก.พ. ถึง เม.ย. 48 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อไตรมาสและเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน
ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ในบ้านก็ได้รับผลกระทบจากยอดขายบ้านที่ลดลง
ประมาณ 1 ใน 3 โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.0 ในช่วงเดือน ก.พ. ถึง เม.ย.48 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็น
อัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 36 และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวร้อยละ 13.2 ในเดือน ธ.
ค.44 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดบ้านกำลังขยายตัวอย่างร้อนแรง แนวโน้มยอดค้าปลีกที่ลดลงทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.
กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมาย รายงานจากโซ
ลเมื่อ 20 พ.ค.48 ทางการเกาหลีใต้เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หลังปรับฤดู
กาลของเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 0.7 และเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง
ของปี 46 ซึ่งจีดีพีขยายตัวร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ การที่จีดีพีขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมายดังกล่าว เป็นผลจากการ
ชะลอตัวของภาคการก่อสร้าง รวมถึงการชะลอตัวของการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของประเทศตลอดมา โดยการส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 11 ในช่วงไตรมาสแรกปี 48 ต่ำกว่ามากจาก
การขยายตัวถึงร้อยละ 21.2 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การที่ความต้องการภายในประเทศซึ่งมีสัด
ส่วนเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของจีดีพีเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยมีการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากที่
ขยายตัวร้อยละ 0.6 และ 0.2 ในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้า บ่งชี้ว่าความต้องการภายในประเทศอาจกลับมาเป็น
ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทดแทนการส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวในช่วงต้นปีนี้ ซึ่งทำให้มีการคาด
การณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้อาจจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 48 หลังจากที่ขยายตัว
ร้อยละ 2.7 ในช่วงไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน พ.ค.48
ไว้ที่ระดับเดิมเป็นเดือนที่ 6 เพื่อช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากยังคงมีความกังวลอยู่ว่าการฟื้นตัว
ของความต้องการภายในประเทศจะสามารถชดเชยภาวะชะลอตัวของการส่งออกได้หรือไม่ อนึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้
ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ไว้ที่ระดับร้อยละ 4.0 ต่ำกว่าปี 47 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.6
ขณะที่ ก.คลังได้ปรับประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 48 ที่ระดับร้อยละ 5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 พ.ค. 48 19 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.879 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.6509/39.9396 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.34375 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 676.54/24.87 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.45 43.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.14*/18.19** 22.14*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--