กรุงเทพ--30 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานการสัมมนาเกี่ยวกับพลังงานทดแทนระหว่างประเทศไทยกับบราซิล (Workshop on Thailand — Brazil Alternative Energy Cooperation) ซึ่งจัดโดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงพลังงาน ในวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2548 ณ โรงแรม Siam City กรุงเทพฯ
การสัมมนาฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทย-บราซิลในการพัฒนาเชื้อเพลิงเอทานอล และเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นด้านการพัฒนาเชื้อเพลิงเอทานอล รวมทั้ง เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและการนำเอทานอลมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ผู้เข้าร่วมจากฝ่ายบราซิล ได้แก่
- Professor Emanuel Nazareno, ผู้แทนบริษัท PETROBRAS ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมัน ที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล จะบรรยายในเรื่อง “Logistic System in Brazil’s Ethanol Industry”
- Mr. Alberto Costoya, Supervisor of Engineering of Development of Motors of Volkswagen of Brazil, Representative of ANFAVEA (Associacao Nacional dos Fabricantes de Veiculos) จะบรรยายในเรื่อง “Automobile Industry in Brazil” ผู้เข้าร่วมฝ่ายไทยจะประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล กลุ่มผู้ผลิตอ้อยและน้ำตาล กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน กลุ่มผู้ขายปลีกน้ำมัน และกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์
ในการเดินทางเยือนบราซิลอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 ไทยและบราซิลได้เห็นชอบที่จะกระชับความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลจากอ้อยและน้ำตาล เพื่อเป็นพลังงานงานทดแทนน้ำมันเครื่องยนต์ระหว่างกัน
การหารือดังกล่าว นำมาสู่ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างทั้งสองประเทศที่แน่นแฟ้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพลังงานได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศ (The Conference on Biofuel: Challenges for Asian Future) เมื่อ 30-31 สิงหาคม 2547 โดยบราซิล ได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเข้าร่วม การจัดการประชุมดังกล่าวนำมาซึ่งการลงนามในความตกลงระหว่างบริษัท ปตท. (มหาชน) จำกัดกับบริษัท Coimex Trading Company ของบราซิลเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและวิจัยพลังงานชีวภาพที่เป็นรูปธรรม และระหว่างสมาคมผู้ผลิตน้ำตาลบราซิล (UNICA) กับสมาคมโรงงานน้ำตาลไทย
กระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศขึ้น โดยกำหนดให้มีการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาเชื้อเพลิงเหลวชีวภาพ (Biofuel) ได้แก่ เอทานอล และไบโอดีเซลถือเป็นเป้าหมายหนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้กำหนดเป้าหมายให้มีการใช้เอทานอลในน้ำมันเบนซิน 95 วันละ 1 ล้านลิตรในปี 2549 และเพิ่มเป็นวันละ 3 ล้านลิตรเพื่อทดแทนน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ในปี 2554
อย่างไรก็ดี แม้รัฐบาลมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลเพื่อเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน แต่ขีดความสามารถในการพัฒนาของอุตสาหกรรมเอทานอลของไทยยังคงมีอยู่จำกัด ทั้งในเรื่องสัดส่วนการใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซิน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำ และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอล รวมทั้งผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในการใช้น้ำมันที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสมเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องยนต์ โดยเฉพาะในรถยนต์รุ่นที่มีระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเอทานอลในขณะนี้ ยังไม่เป็นที่ยอมรับและได้ความนิยมอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร
ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบการดำเนินนโยบายในเรื่องพลังงานทดแทนและเชื้อเพลิง เอทานอลของรัฐบาล และเพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของไทยในพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลจากอ้อยและน้ำตาลให้ได้ผลอย่างจริงจังและยั่งยืน การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนไทย-บราซิลจึงน่าจะเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการผลิตที่จะใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานการสัมมนาเกี่ยวกับพลังงานทดแทนระหว่างประเทศไทยกับบราซิล (Workshop on Thailand — Brazil Alternative Energy Cooperation) ซึ่งจัดโดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงพลังงาน ในวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2548 ณ โรงแรม Siam City กรุงเทพฯ
การสัมมนาฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทย-บราซิลในการพัฒนาเชื้อเพลิงเอทานอล และเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นด้านการพัฒนาเชื้อเพลิงเอทานอล รวมทั้ง เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและการนำเอทานอลมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ผู้เข้าร่วมจากฝ่ายบราซิล ได้แก่
- Professor Emanuel Nazareno, ผู้แทนบริษัท PETROBRAS ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมัน ที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล จะบรรยายในเรื่อง “Logistic System in Brazil’s Ethanol Industry”
- Mr. Alberto Costoya, Supervisor of Engineering of Development of Motors of Volkswagen of Brazil, Representative of ANFAVEA (Associacao Nacional dos Fabricantes de Veiculos) จะบรรยายในเรื่อง “Automobile Industry in Brazil” ผู้เข้าร่วมฝ่ายไทยจะประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล กลุ่มผู้ผลิตอ้อยและน้ำตาล กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน กลุ่มผู้ขายปลีกน้ำมัน และกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์
ในการเดินทางเยือนบราซิลอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 ไทยและบราซิลได้เห็นชอบที่จะกระชับความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลจากอ้อยและน้ำตาล เพื่อเป็นพลังงานงานทดแทนน้ำมันเครื่องยนต์ระหว่างกัน
การหารือดังกล่าว นำมาสู่ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างทั้งสองประเทศที่แน่นแฟ้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพลังงานได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศ (The Conference on Biofuel: Challenges for Asian Future) เมื่อ 30-31 สิงหาคม 2547 โดยบราซิล ได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเข้าร่วม การจัดการประชุมดังกล่าวนำมาซึ่งการลงนามในความตกลงระหว่างบริษัท ปตท. (มหาชน) จำกัดกับบริษัท Coimex Trading Company ของบราซิลเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและวิจัยพลังงานชีวภาพที่เป็นรูปธรรม และระหว่างสมาคมผู้ผลิตน้ำตาลบราซิล (UNICA) กับสมาคมโรงงานน้ำตาลไทย
กระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์พลังงานเพื่อการแข่งขันของประเทศขึ้น โดยกำหนดให้มีการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาเชื้อเพลิงเหลวชีวภาพ (Biofuel) ได้แก่ เอทานอล และไบโอดีเซลถือเป็นเป้าหมายหนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้กำหนดเป้าหมายให้มีการใช้เอทานอลในน้ำมันเบนซิน 95 วันละ 1 ล้านลิตรในปี 2549 และเพิ่มเป็นวันละ 3 ล้านลิตรเพื่อทดแทนน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ในปี 2554
อย่างไรก็ดี แม้รัฐบาลมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลเพื่อเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน แต่ขีดความสามารถในการพัฒนาของอุตสาหกรรมเอทานอลของไทยยังคงมีอยู่จำกัด ทั้งในเรื่องสัดส่วนการใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซิน ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำ และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอล รวมทั้งผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในการใช้น้ำมันที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสมเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเครื่องยนต์ โดยเฉพาะในรถยนต์รุ่นที่มีระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเอทานอลในขณะนี้ ยังไม่เป็นที่ยอมรับและได้ความนิยมอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร
ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบการดำเนินนโยบายในเรื่องพลังงานทดแทนและเชื้อเพลิง เอทานอลของรัฐบาล และเพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของไทยในพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลจากอ้อยและน้ำตาลให้ได้ผลอย่างจริงจังและยั่งยืน การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนไทย-บราซิลจึงน่าจะเป็นประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการผลิตที่จะใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-