ภาพรวมอุตสาหกรรม
ไตรมาส 1 ปี 2548 ราคาเม็ดพลาสติกที่เป็นต้นทุนหลักสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกเริ่มมี
ราคาสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และราคาน้ำมันในตลาดโลกมีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม
เผชิญกับปัญหาต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เผชิญปัญหาไม่
สามารถขึ้นราคาสินค้าได้เนื่องจากผู้ผลิตสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่สามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ทำให้ไม่สามารถ
เพิ่มต้นทุนสำหรับบรรจุภัณฑ์ได้รวมทั้งผู้ผลิตสินค้าต่างๆกลับหาวิธีที่จะลดต้นทุนในด้านบรรจุภัณฑ์ลงทำให้ผู้ผลิตใน
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกประสบปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยไม่มีมีความสามารถเก็บสต๊อกวัตถุดิบได้
จำต้องลดการผลิตหรือหยุดการผลิตชั่วคราว ซึ่งถ้าปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่สามารถแก้ไขได้ผู้ผลิตรายย่อยอาจจะ
ต้องปิดกิจการได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างแน่นอน
การตลาด
การส่งออก
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 422.4 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน
และออสเตรเลีย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และ
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.33 , 26.44 และ 4.52 ของมูลค่าส่งออก
รวม เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ถุงและ
กระสอบพลาสติก กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก และแผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ
48.54 , 31.58 และ 20.29 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมี
เพียง เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยพลาสติก โดยลดลงร้อยละ 51.46 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก
หลอดและท่อพลาสติก กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.53 , 34.21 และ 25.00 ตาม
ลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีเพียงเครื่องแต่งกายและของ
ใช้ประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยพลาสติก โดยลดลงร้อยละ 37.50
ประเภท มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2546 2547 Q12547 Q42547 Q12548
ถุงและกระสอบพลาสติก 385 372.9 74.7 75.2 111.7
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 354.2 466.1 106.8 103 123.9
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 34.1 25.8 8 10.3 5
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 21.1 26.3 6 5.7 7.5
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 33.4 21.8 5.6 5.6 5.6
หลอดและท่อพลาสติก 26.7 32.7 7.6 8.4 10.2
พลาสติกปูพื้นและผนัง 39.1 40.1 9.7 10.4 10.6
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 63.2 68.9 16.5 16.9 19.1
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 344.4 493.2 100.2 92.7 128.8
รวมทั้งสิ้น 1,301.20 1,406.60 335.1 328 422.4
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 492.75 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 11 และไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.13 แหล่งนำเข้าที่
สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน โดยแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วน
การนำเข้าสูงถึงร้อยละ 35.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีมูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก และ แผ่นฟิล์ม
ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 และ 5.74 ตามลำดับ
ประเภท มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2546 2547 Q12547 Q42547 Q12548
หลอดและท่อพลาสติก 66.8 80.5 20.1 21.6 21.6
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 586 668.9 167.2 160.4 176.8
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1006.4 1,174.00 272 277.9 294.3
รวมทั้งสิ้น 1,659.20 1,923.40 477.9 459.9 492.7
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
แนวโน้ม
ในภาวะที่ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงมีอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกขวดเพต
(PET) มีอัตราการเติบโตที่ดีมาก มีความต้องการใช้สูงอย่างต่อเนื่องทั่วโลกโดยมีอัตราการเติบโตต่อปีไม่ต่ำกว่า 8-
10% เพราะมีน้ำหนักเบากว่าการใช้แก้วหรืออะลูมิเนียม และทนต่อแรงกระแทก ขณะที่ตลาดเมืองไทยขวดดังกล่าวมี
อัตราการเติบโตสูงกว่า 10%
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ไตรมาส 1 ปี 2548 ราคาเม็ดพลาสติกที่เป็นต้นทุนหลักสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกเริ่มมี
ราคาสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และราคาน้ำมันในตลาดโลกมีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม
เผชิญกับปัญหาต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เผชิญปัญหาไม่
สามารถขึ้นราคาสินค้าได้เนื่องจากผู้ผลิตสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่สามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ทำให้ไม่สามารถ
เพิ่มต้นทุนสำหรับบรรจุภัณฑ์ได้รวมทั้งผู้ผลิตสินค้าต่างๆกลับหาวิธีที่จะลดต้นทุนในด้านบรรจุภัณฑ์ลงทำให้ผู้ผลิตใน
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกประสบปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยไม่มีมีความสามารถเก็บสต๊อกวัตถุดิบได้
จำต้องลดการผลิตหรือหยุดการผลิตชั่วคราว ซึ่งถ้าปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่สามารถแก้ไขได้ผู้ผลิตรายย่อยอาจจะ
ต้องปิดกิจการได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างแน่นอน
การตลาด
การส่งออก
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 422.4 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน
และออสเตรเลีย สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และ
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.33 , 26.44 และ 4.52 ของมูลค่าส่งออก
รวม เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่าผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ถุงและ
กระสอบพลาสติก กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก และแผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ
48.54 , 31.58 และ 20.29 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมี
เพียง เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยพลาสติก โดยลดลงร้อยละ 51.46 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 3 ลำดับแรกได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก
หลอดและท่อพลาสติก กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.53 , 34.21 และ 25.00 ตาม
ลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีเพียงเครื่องแต่งกายและของ
ใช้ประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยพลาสติก โดยลดลงร้อยละ 37.50
ประเภท มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2546 2547 Q12547 Q42547 Q12548
ถุงและกระสอบพลาสติก 385 372.9 74.7 75.2 111.7
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 354.2 466.1 106.8 103 123.9
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 34.1 25.8 8 10.3 5
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 21.1 26.3 6 5.7 7.5
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 33.4 21.8 5.6 5.6 5.6
หลอดและท่อพลาสติก 26.7 32.7 7.6 8.4 10.2
พลาสติกปูพื้นและผนัง 39.1 40.1 9.7 10.4 10.6
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 63.2 68.9 16.5 16.9 19.1
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 344.4 493.2 100.2 92.7 128.8
รวมทั้งสิ้น 1,301.20 1,406.60 335.1 328 422.4
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 492.75 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 11 และไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.13 แหล่งนำเข้าที่
สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน โดยแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วน
การนำเข้าสูงถึงร้อยละ 35.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีมูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก และ แผ่นฟิล์ม
ฟอยล์และแถบพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 และ 5.74 ตามลำดับ
ประเภท มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ 2546 2547 Q12547 Q42547 Q12548
หลอดและท่อพลาสติก 66.8 80.5 20.1 21.6 21.6
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 586 668.9 167.2 160.4 176.8
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1006.4 1,174.00 272 277.9 294.3
รวมทั้งสิ้น 1,659.20 1,923.40 477.9 459.9 492.7
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
แนวโน้ม
ในภาวะที่ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงมีอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกขวดเพต
(PET) มีอัตราการเติบโตที่ดีมาก มีความต้องการใช้สูงอย่างต่อเนื่องทั่วโลกโดยมีอัตราการเติบโตต่อปีไม่ต่ำกว่า 8-
10% เพราะมีน้ำหนักเบากว่าการใช้แก้วหรืออะลูมิเนียม และทนต่อแรงกระแทก ขณะที่ตลาดเมืองไทยขวดดังกล่าวมี
อัตราการเติบโตสูงกว่า 10%
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-