ในเดือนธันวาคม 2547 อุปสงค์ภาคเอกชนอ่อนตัวลง สะท้อนจากการลดลงของปริมาณการนำเข้าสินค้าทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุน ขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศชะลอตัว
ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักลดลงจากภาวะภัยแล้งในหลายพื้นที่แต่ราคาสินค้าเกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัว ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงในเดือนเดียวกันปีก่อน อุปสงค์ที่อ่อนตัว และการระบายสต็อกที่ได้สะสมไว้ในช่วงที่ผ่านมา ในภาคบริการการท่องเที่ยวยังขยายตัวดี ทั้งนี้ เหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ยังไม่ส่งผลกระทบชัดเจนในเดือนนี้เพราะเกิดเหตุในช่วงปลายเดือน แต่น่าจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2548
เสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับทั้งปี 2547 เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะชะลอตัวบ้างในช่วงครึ่งหลังของปีส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นทั้งของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความไม่แน่นอนต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนธันวาคมและทั้งปี 2547 มีดังนี้
1.การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้น แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงมากโดยอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเร่งการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด และหมวดปิโตรเลียมมีการผลิตเพื่อชดเชยการปิดซ่อมโรงงานในช่วงก่อนหน้านั้น ประกอบกับในเดือนนี้การผลิตหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหดตัวจากการอ่อนตัวของอุปสงค์แผงวงจรรวมในตลาดโลก และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดการผลิตระหว่างการระบายสต็อกสินค้าซึ่งอยู่ในระดับสูง สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 75.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
สำหรับปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.1 ชะลอตัวจากร้อยละ 12.3 ในปี 2546 แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยทุกหมวดอุตสาหกรรมขยายตัวดียกเว้นหมวดอาหารซึ่งผลผลิตลดลงเนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 72.7 สูงขึ้นมาจากร้อยละ 66.3 ในปี 2546
2.การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนธันวาคม ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อน ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซินยังอยู่ในระดับสูง และประชาชนลดการฉลองและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ภายหลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งก็สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงในเดือนนี้ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ลดลงร้อยละ 7.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 ในเดือนพฤศจิกายนทั้งนี้ เป็นการลดลงของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเป็นหลักขณะที่เครื่องชี้ตัวอื่นๆโดยเฉพาะด้านการก่อสร้างยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
สำหรับปี 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากร้อยละ5.4ในปี 2546 โดยเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ชะลอลง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่แนวโน้มลดลง ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 12.9 ใกล้เคียงกับร้อยละ 13.6 ในปี 2546 ทั้งนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นจากปีก่อนมากบ่งชี้ว่าน่าจะมีความต้องการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรม แต่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลงจากปีก่อน ทั้งจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก น่าจะมีส่วนทำให้นักลงทุนบางส่วนเลื่อนการลงทุนออกไประยะหนึ่ง
3.ภาคการคลัง ในเดือนธันวาคมรัฐบาลมีรายได้จัดเก็บลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 แต่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงถึงร้อยละ 74.2 เนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้แก่กองทุนวายุภักษ์(หนึ่ง)จำนวน 25,075 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษดังกล่าวการจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จะขยายตัวร้อยละ 7.2 สำหรับดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 17.9 พันล้านบาทในเดือนนี้
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2548 รายได้จัดเก็บของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 และรัฐบาลขาดดุลเงินสด 46.7 พันล้านบาท
4.ภาคต่างประเทศ ในเดือนธันวาคมมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 8,378 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 16.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ได้แก่ ยานพาหนะและชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้มูลค่าการส่งออกแผงวงจรรวมลดลงค่อนข้างมากจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกเริ่มเข้าสู่วัฎจักรขาลง ส่วนมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 7,565 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 7.0 ชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 33.5ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนเป็นสำคัญขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและน้ำมันยังมีมูลค่าสูงทั้งจากปัจจัยราคาและปริมาณ ทั้งนี้ การนำเข้าที่ชะลอตัวมากส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลถึง 813 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้ และแม้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนจะเกินดุล 556 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งต่ำกว่าในเดือนก่อนเนื่องจากมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติตามฤดูกาล แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดก็เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเป็น 1,369 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นการเกินดุลรายเดือนที่สูงที่สุดในปี 2547 ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุลมากที่สุดในรอบปีเช่นกันที่ 1,135 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคมอยู่ที่ 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับปี 2547 มูลค่าการส่งออกรวมเท่ากับ 96,064 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 23.0 จากปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 18.2 ในปี 2546 ส่วนมูลค่าการนำเข้ารวมเท่ากับ 94,382 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 27.0 จากปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 17.4 ในปี 2546 การนำเข้าที่เร่งตัวสูงกว่าการส่งออกทำให้ดุลการค้าเกินดุลต่ำลงในปีนี้ โดยเกินดุล 1,682 ล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับที่เกินดุล 3,759 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 แต่เมื่อรวมกับดุลบริการรายได้และเงินโอนซึ่งเกินดุล 5,607 ล้านดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าที่เกินดุล 4,206 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง(SARS)ผ่านรายได้จากการท่องเที่ยว ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงยังเกินดุลสูงต่อเนื่องที่ 7,289 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขณะที่ดุลการชำระเงินเกินดุล 5,735 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5.ระดับราคา ในเดือนธันวาคมดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 3.0 ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ2.0ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.0 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่ปรับลดลง 5 ครั้งรวม 1.90 บาทต่อลิตร ส่วนราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เร่งตัวขึ้นมาจากร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อนตามราคาผักและผลไม้ และราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมที่สูงขึ้นเพราะความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เท่ากับในเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ใกล้เคียงกับร้อยละ 10.2 ในเดือนก่อน โดยราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชะลอตัว แต่ราคาผลผลิตเกษตรกรรมเร่งตัวขึ้น
สำหรับปี 2547 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.7 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวเล็กน้อยจากร้อยละ 0.2 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 0.4 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เทียบกับร้อยละ 4.0 ในปี 2546
6.ภาวะการเงิน ในเดือนธันวาคม ปริมาณเงิน M2 M2a และM3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.4 6.3 และ6.2 ตามลำดับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 2.6 ขณะที่สินเชื่อภาคเอกชน(รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับปี 2547 สินเชื่อภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 9.8 ณ สิ้นปี 2547 เทียบกับสิ้นปีก่อนที่ร้อยละ 4.8 แม้ไตรมาสที่ 4 ชะลอลงเล็กน้อยตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่เงินฝากชะลอลงจากสิ้นปีก่อนที่ร้อยละ 4.4 เป็นร้อยละ 2.6 เนื่องจากการถอนไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์และลงทุนในรูปแบบอื่น
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนเนื่องจาก ธปท. ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม เป็นสำคัญ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 1.79 ต่อปี
ในปี 2547 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักจากสภาพคล่องในระบบที่ตึงตัวขึ้น และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.3ครั้งในปีนี้ จากร้อยละ 1.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 1.21 และ 1.23 ต่อปี ตามลำดับ
7.เงินบาท ในเดือนธันวาคม ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายนจากปัจจัยการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ.เพราะปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯเป็นสำคัญ ประกอบกับข่าวลือว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงระยะสั้นๆในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเพราะนักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.แข็งขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงปลายเดือนภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในภาคใต้
สำหรับปี 2547 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 38.87-41.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 40.28 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.0 จากปีก่อน อนึ่ง แม้ว่าค่าเงินบาทจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบภายในประเทศทั้งการระบาดของโรคไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และปัจจัยภายนอก เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และsentimentของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ดีขึ้นในช่วงต้นปีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯแต่ค่าเงินบาทโดยรวมยังคงปรับตัวแข็งขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญได้แก่ (1)Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ยังเปราะบางจากปัญหาเรื้อรังด้านความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ (2)การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. (3)การลงทุนเพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์ไทยและ (4)ข่าวลือการปรับค่าเงินหยวน
ในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 38.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากผู้ส่งออกและกองทุนต่างชาติต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ.ส่วนหนึ่งเพื่อมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย นอกจากนี้ยังเป็นการแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักลดลงจากภาวะภัยแล้งในหลายพื้นที่แต่ราคาสินค้าเกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัว ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงในเดือนเดียวกันปีก่อน อุปสงค์ที่อ่อนตัว และการระบายสต็อกที่ได้สะสมไว้ในช่วงที่ผ่านมา ในภาคบริการการท่องเที่ยวยังขยายตัวดี ทั้งนี้ เหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ยังไม่ส่งผลกระทบชัดเจนในเดือนนี้เพราะเกิดเหตุในช่วงปลายเดือน แต่น่าจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2548
เสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับทั้งปี 2547 เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้จะชะลอตัวบ้างในช่วงครึ่งหลังของปีส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นทั้งของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความไม่แน่นอนต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนธันวาคมและทั้งปี 2547 มีดังนี้
1.การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้น แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงมากโดยอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเร่งการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด และหมวดปิโตรเลียมมีการผลิตเพื่อชดเชยการปิดซ่อมโรงงานในช่วงก่อนหน้านั้น ประกอบกับในเดือนนี้การผลิตหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหดตัวจากการอ่อนตัวของอุปสงค์แผงวงจรรวมในตลาดโลก และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดการผลิตระหว่างการระบายสต็อกสินค้าซึ่งอยู่ในระดับสูง สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 75.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
สำหรับปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.1 ชะลอตัวจากร้อยละ 12.3 ในปี 2546 แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยทุกหมวดอุตสาหกรรมขยายตัวดียกเว้นหมวดอาหารซึ่งผลผลิตลดลงเนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 72.7 สูงขึ้นมาจากร้อยละ 66.3 ในปี 2546
2.การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนธันวาคม ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อน ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซินยังอยู่ในระดับสูง และประชาชนลดการฉลองและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ภายหลังเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งก็สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงในเดือนนี้ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ลดลงร้อยละ 7.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 ในเดือนพฤศจิกายนทั้งนี้ เป็นการลดลงของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเป็นหลักขณะที่เครื่องชี้ตัวอื่นๆโดยเฉพาะด้านการก่อสร้างยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
สำหรับปี 2547 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากร้อยละ5.4ในปี 2546 โดยเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่ชะลอลง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่แนวโน้มลดลง ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน(เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 12.9 ใกล้เคียงกับร้อยละ 13.6 ในปี 2546 ทั้งนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นจากปีก่อนมากบ่งชี้ว่าน่าจะมีความต้องการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรม แต่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลงจากปีก่อน ทั้งจากความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก น่าจะมีส่วนทำให้นักลงทุนบางส่วนเลื่อนการลงทุนออกไประยะหนึ่ง
3.ภาคการคลัง ในเดือนธันวาคมรัฐบาลมีรายได้จัดเก็บลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 แต่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงถึงร้อยละ 74.2 เนื่องจากในเดือนเดียวกันปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้แก่กองทุนวายุภักษ์(หนึ่ง)จำนวน 25,075 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษดังกล่าวการจัดเก็บรายได้ในเดือนนี้จะขยายตัวร้อยละ 7.2 สำหรับดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 17.9 พันล้านบาทในเดือนนี้
ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2548 รายได้จัดเก็บของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 และรัฐบาลขาดดุลเงินสด 46.7 พันล้านบาท
4.ภาคต่างประเทศ ในเดือนธันวาคมมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 8,378 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 16.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ได้แก่ ยานพาหนะและชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้มูลค่าการส่งออกแผงวงจรรวมลดลงค่อนข้างมากจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกเริ่มเข้าสู่วัฎจักรขาลง ส่วนมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 7,565 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 7.0 ชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 33.5ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนเป็นสำคัญขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและน้ำมันยังมีมูลค่าสูงทั้งจากปัจจัยราคาและปริมาณ ทั้งนี้ การนำเข้าที่ชะลอตัวมากส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลถึง 813 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนนี้ และแม้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนจะเกินดุล 556 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งต่ำกว่าในเดือนก่อนเนื่องจากมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติตามฤดูกาล แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดก็เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเป็น 1,369 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นการเกินดุลรายเดือนที่สูงที่สุดในปี 2547 ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุลมากที่สุดในรอบปีเช่นกันที่ 1,135 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคมอยู่ที่ 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับปี 2547 มูลค่าการส่งออกรวมเท่ากับ 96,064 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 23.0 จากปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 18.2 ในปี 2546 ส่วนมูลค่าการนำเข้ารวมเท่ากับ 94,382 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 27.0 จากปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 17.4 ในปี 2546 การนำเข้าที่เร่งตัวสูงกว่าการส่งออกทำให้ดุลการค้าเกินดุลต่ำลงในปีนี้ โดยเกินดุล 1,682 ล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับที่เกินดุล 3,759 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2546 แต่เมื่อรวมกับดุลบริการรายได้และเงินโอนซึ่งเกินดุล 5,607 ล้านดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าที่เกินดุล 4,206 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง(SARS)ผ่านรายได้จากการท่องเที่ยว ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงยังเกินดุลสูงต่อเนื่องที่ 7,289 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขณะที่ดุลการชำระเงินเกินดุล 5,735 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5.ระดับราคา ในเดือนธันวาคมดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 3.0 ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ2.0ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.0 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่ปรับลดลง 5 ครั้งรวม 1.90 บาทต่อลิตร ส่วนราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เร่งตัวขึ้นมาจากร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อนตามราคาผักและผลไม้ และราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมที่สูงขึ้นเพราะความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เท่ากับในเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ใกล้เคียงกับร้อยละ 10.2 ในเดือนก่อน โดยราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชะลอตัว แต่ราคาผลผลิตเกษตรกรรมเร่งตัวขึ้น
สำหรับปี 2547 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.7 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวเล็กน้อยจากร้อยละ 0.2 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 0.4 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เทียบกับร้อยละ 4.0 ในปี 2546
6.ภาวะการเงิน ในเดือนธันวาคม ปริมาณเงิน M2 M2a และM3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.4 6.3 และ6.2 ตามลำดับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 2.6 ขณะที่สินเชื่อภาคเอกชน(รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับปี 2547 สินเชื่อภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 9.8 ณ สิ้นปี 2547 เทียบกับสิ้นปีก่อนที่ร้อยละ 4.8 แม้ไตรมาสที่ 4 ชะลอลงเล็กน้อยตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่เงินฝากชะลอลงจากสิ้นปีก่อนที่ร้อยละ 4.4 เป็นร้อยละ 2.6 เนื่องจากการถอนไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์และลงทุนในรูปแบบอื่น
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนเนื่องจาก ธปท. ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม เป็นสำคัญ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 1.79 ต่อปี
ในปี 2547 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักจากสภาพคล่องในระบบที่ตึงตัวขึ้น และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.3ครั้งในปีนี้ จากร้อยละ 1.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 1.21 และ 1.23 ต่อปี ตามลำดับ
7.เงินบาท ในเดือนธันวาคม ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายนจากปัจจัยการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ.เพราะปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯเป็นสำคัญ ประกอบกับข่าวลือว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงระยะสั้นๆในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเพราะนักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.แข็งขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงปลายเดือนภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในภาคใต้
สำหรับปี 2547 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 38.87-41.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 40.28 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.0 จากปีก่อน อนึ่ง แม้ว่าค่าเงินบาทจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบภายในประเทศทั้งการระบาดของโรคไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และปัจจัยภายนอก เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และsentimentของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่ดีขึ้นในช่วงต้นปีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯแต่ค่าเงินบาทโดยรวมยังคงปรับตัวแข็งขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญได้แก่ (1)Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ยังเปราะบางจากปัญหาเรื้อรังด้านความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ (2)การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. (3)การลงทุนเพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์ไทยและ (4)ข่าวลือการปรับค่าเงินหยวน
ในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 38.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากผู้ส่งออกและกองทุนต่างชาติต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ.ส่วนหนึ่งเพื่อมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย นอกจากนี้ยังเป็นการแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--