สศอ. เตรียมแผนติวเข้มผู้ประกอบการไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รับกฎเหล็กด้านสิ่งแวดล้อมอียู เผย 4 แผนหลัก ปูทางผู้ประกอบการฝ่าผ่านความเปลี่ยนแปลง สู่ Green Society
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้ร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เร่งผลักดันโครงการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถปรับตัวได้ทันตามมาตรการคุมเข้มด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู เพราะหากไม่ปรับตัวจะเสียโอกาสและไม่สามารถแข่งขันได้ในที่สุด สศอ. จึงวางมาตรการรองรับ 4 แผนงาน คือ 1.สร้างการรับรู้และกระตุ้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นสิ่งแวดล้อม 2. ยกระดับความรู้ความสามารถของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ Green Society 3. พัฒนา Infrastructure ด้านสิ่งแวดล้อม 4. เสริมสร้างบทบาทไทยด้านการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบในเวทีโลก ซึ่งทั้ง 4 แผนงานนี้ สศอ. ได้ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้เร่งทำโครงการเพื่อรองรับไว้แล้ว
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า แผนงานที่
1. สร้างการรับรู้และกระตุ้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจถึงกระแสการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นทุกขณะ รวมทั้งจะเป็นการสร้างโอกาสให้สินค้าส่งออกของไทยสู่เวทีโลกได้ ด้วยการเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดส่งออกไปยังสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลัก
2. ยกระดับความรู้ความสามารถของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ Green Society เพื่อยกระดับบุคลากร รวมทั้งพัฒนาด้านเทคโนโลยีและให้คำปรึกษาแนะนำแก่โรงงานผู้ผลิตถึงกระบวนการที่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการบางแห่งอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจึงจะสามารถส่งออกสินค้าได้ โดยจะดำเนินการจัดทำโรงงานต้นแบบให้เป็นกรณีศึกษาถึงการยกระดับความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งจะมีการจัดอบรมและออกไปให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด
3. พัฒนา Infrastructure ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเตรียมการรองรับมาตรการด้านเคมีภัณฑ์ ได้แก่ สร้างห้องปฏิบัติการทดสอบ เตรียมฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Assessment) เนื่องจากสหภาพยุโรปได้ประกาศว่าจะบังคับใช้กฎระเบียบการห้ามใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (Restriction of the Use of Certain Hazardous Substances in Electrical and Electronic Equipment (ROHs) ซึ่งจะเริ่มมีผลในวันที่ 1 ก.ค.2549 และระเบียบว่าด้วยเคมีภัณฑ์จะต้องขึ้นทะเบียนตามระบบ REACH (Registration ,Evaluation ,Authorization and Restriction of Chemicals) ซึ่งมาตรการนี้ทำให้ผู้ผลิตต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการลดใช้สารอันตรายเพื่อผลิตสินค้าสำหรับส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นถึงขั้นแข่งขันลำบาก ดังนั้นโครงการนี้จะเร่งผลักดันให้เกิดศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์กลางทดสอบเคมีภัณฑ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป
4. เสริมสร้างบทบาทไทยด้านการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบในเวทีโลก จะมีโครงการที่มารองรับ เพื่อให้ประเทศไทยได้เข้าไปมีบทบาทในการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบต่างๆ ในเวทีโลก และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้อย่างใกล้ชิดและต่อรองปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้ต่อไป
"มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะจนกลายมาเป็นเงื่อนไขหนึ่งทางการค้า โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่ได้ออกกฎระเบียบมาใช้อย่างเข้มงวด ส่วนหนึ่งคือการสร้างความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มผู้ส่งออก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่จะต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยขณะนี้หลายประเทศได้ปรับตัวเพื่อเตรียมการตั้งรับแล้ว ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยไม่มีการปรับตัวจะเสียโอกาสทางการแข่งขัน โดย สศอ. พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เร่งดำเนินการให้ทุกแผนงานและโครงการต่างๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการใช้กฎระเบียบ เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยผลิตสินค้าที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดโลก และพร้อมตั้งรับและรุกตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรอบด้านต่อไป" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด.
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้ร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เร่งผลักดันโครงการเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถปรับตัวได้ทันตามมาตรการคุมเข้มด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู เพราะหากไม่ปรับตัวจะเสียโอกาสและไม่สามารถแข่งขันได้ในที่สุด สศอ. จึงวางมาตรการรองรับ 4 แผนงาน คือ 1.สร้างการรับรู้และกระตุ้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นสิ่งแวดล้อม 2. ยกระดับความรู้ความสามารถของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ Green Society 3. พัฒนา Infrastructure ด้านสิ่งแวดล้อม 4. เสริมสร้างบทบาทไทยด้านการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบในเวทีโลก ซึ่งทั้ง 4 แผนงานนี้ สศอ. ได้ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้เร่งทำโครงการเพื่อรองรับไว้แล้ว
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า แผนงานที่
1. สร้างการรับรู้และกระตุ้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจถึงกระแสการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นทุกขณะ รวมทั้งจะเป็นการสร้างโอกาสให้สินค้าส่งออกของไทยสู่เวทีโลกได้ ด้วยการเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดส่งออกไปยังสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลัก
2. ยกระดับความรู้ความสามารถของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ Green Society เพื่อยกระดับบุคลากร รวมทั้งพัฒนาด้านเทคโนโลยีและให้คำปรึกษาแนะนำแก่โรงงานผู้ผลิตถึงกระบวนการที่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการบางแห่งอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจึงจะสามารถส่งออกสินค้าได้ โดยจะดำเนินการจัดทำโรงงานต้นแบบให้เป็นกรณีศึกษาถึงการยกระดับความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งจะมีการจัดอบรมและออกไปให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด
3. พัฒนา Infrastructure ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเตรียมการรองรับมาตรการด้านเคมีภัณฑ์ ได้แก่ สร้างห้องปฏิบัติการทดสอบ เตรียมฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Assessment) เนื่องจากสหภาพยุโรปได้ประกาศว่าจะบังคับใช้กฎระเบียบการห้ามใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (Restriction of the Use of Certain Hazardous Substances in Electrical and Electronic Equipment (ROHs) ซึ่งจะเริ่มมีผลในวันที่ 1 ก.ค.2549 และระเบียบว่าด้วยเคมีภัณฑ์จะต้องขึ้นทะเบียนตามระบบ REACH (Registration ,Evaluation ,Authorization and Restriction of Chemicals) ซึ่งมาตรการนี้ทำให้ผู้ผลิตต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการลดใช้สารอันตรายเพื่อผลิตสินค้าสำหรับส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นถึงขั้นแข่งขันลำบาก ดังนั้นโครงการนี้จะเร่งผลักดันให้เกิดศูนย์กลางการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์กลางทดสอบเคมีภัณฑ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป
4. เสริมสร้างบทบาทไทยด้านการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบในเวทีโลก จะมีโครงการที่มารองรับ เพื่อให้ประเทศไทยได้เข้าไปมีบทบาทในการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบต่างๆ ในเวทีโลก และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้อย่างใกล้ชิดและต่อรองปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้ต่อไป
"มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะจนกลายมาเป็นเงื่อนไขหนึ่งทางการค้า โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่ได้ออกกฎระเบียบมาใช้อย่างเข้มงวด ส่วนหนึ่งคือการสร้างความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มผู้ส่งออก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีที่จะต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยขณะนี้หลายประเทศได้ปรับตัวเพื่อเตรียมการตั้งรับแล้ว ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยไม่มีการปรับตัวจะเสียโอกาสทางการแข่งขัน โดย สศอ. พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เร่งดำเนินการให้ทุกแผนงานและโครงการต่างๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการใช้กฎระเบียบ เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยผลิตสินค้าที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดโลก และพร้อมตั้งรับและรุกตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรอบด้านต่อไป" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด.
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-