กรุงเทพ--3 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจสอบข้อมูลกับบริษัทจันทน์วาณิชย์ฯ ทันที ที่ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวและขอชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวดังนี้
1. นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ได้มายื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางราชการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 และกระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำหนังสือเดินทางให้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 โดยมีกำหนดรับเล่มหนังสือเดินทางได้ในวันที่ 30 มิถุนายน 2548
2. ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ได้เดินทางมารับหนังสือเดินทางเล่มดังกล่าวด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ในขั้นตอนการรับเล่มจะมีการตรวจสอบคุณภาพของไมโครชิป ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทางอีกครั้ง โดยจะจัดเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ที่มารับเล่มด้วยตนเองเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในไมโครชิปอีกครั้งหนึ่ง หากพบว่าไมโครชิปชำรุดเสียหาย หรือข้อมูลชีวภาพไม่ตรงกับเจ้าของหนังสือเดินทาง ระบบจะปฏิเสธการจ่ายเล่มทันที ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวเป็นการตรวจสอบเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ตรวจสอบระบบของหนังสือเดินทางทุกขั้นตอน ทั้งใน การผลิตและก่อนมอบเล่ม
การรับเล่มของ ส.ส. อรรถสิทธิ์ฯ ไม่พบปัญหาหรือขัดข้องทางเทคนิคแต่อย่างใด หรืออีกนัยหนึ่ง หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของนายอรรถสิทธิ์ฯ มีความสมบูรณ์
3. ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ได้เดินทางมาที่ อาคารกรมการกงสุลอีกครั้งหนึ่งเพื่อมารับหนังสือเดินทางของภรรยา ในโอกาสนี้ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ได้นำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของตนที่รับไปตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ติดตัวมาด้วย และได้ทดลองใช้งานกับเครื่อง Automatic Gate ที่ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคารกรมการกงสุล แต่ปรากฏว่าเครื่อง Automatic Gate ไม่สามารถอ่านไมโครชิปในเล่มหนังสือเดินทางดังกล่าวได้
เจ้าหน้าที่ได้ขอรับหนังสือเดินทางดังกล่าวไว้เพื่อทำการวิเคราะห์หาจุดบกพร่อง แต่ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ แจ้งว่ามีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ จึงยังไม่สามารถมอบหนังสือเดินทางดังกล่าว ให้ได้ และแจ้งว่าเมื่อเสร็จภารกิจในต่างประเทศแล้ว จะส่งมอบหนังสือเดินทางดังกล่าวเพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่อไป
4. ตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากบริษัทฯ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นวันที่ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ มารับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเองนั้น ไมโครชิปในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของ ส.ส. อรรถสิทธิ์ฯ ยังสามารถใช้งานได้ถูกต้องสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การที่เครื่อง Automatic Gate ไม่สามารถอ่านไมโครชิปได้ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 นั้น กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า เพื่อความกระจ่าง ควรมีการนำหนังสือเดินทางเล่มดังกล่าวมาตรวจสอบทางเทคนิคโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุของการชำรุดต่อไป
5. อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พิสูจน์พบว่า ไมโครชิปชำรุดโดยกระบวนการผลิตเล่ม หรือพบว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับไมโครชิปภายใต้การใช้งานปกติ บริษัทฯ จะต้องรับผิดชอบ จัดหนังสือเดินทางเล่มใหม่ขึ้นทดแทนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เป็นไปตามสัญญาที่กระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามไว้กับบริษัทฯ
6. นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า ในกรณีที่ไม่สามารถอ่าน ไมโครชิปได้ มิได้หมายความว่าหนังสือเดินทางเล่มดังกล่าวจะใช้ไม่ได้ เพราะยังมีคุณลักษณะ ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศต่างๆ สามารถตรวจสอบ ความถูกต้องได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organisation — ICAO) ซึ่งเป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของหนังสือเดินทาง ที่ระบุว่ากรณีที่ไมโครชิปไม่สามารถใช้ได้ ไม่ถือเป็นการทำให้หนังสือเดินทางดังกล่าวใช้ไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากกรณีของ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ว่า ยังสามารถนำหนังสือเดินทางดังกล่าวไปใช้เข้า-ออกประเทศต่างๆ ได้
7. กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่า มีการควบคุมตรวจสอบคุณภาพของระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับคำร้อง การตรวจสอบประวัติ การผลิตเล่ม ไปจนถึงการรับเล่ม เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัยสูงสุด และสามารถนำไปใช้เดินทางไปประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างมั่นใจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจสอบข้อมูลกับบริษัทจันทน์วาณิชย์ฯ ทันที ที่ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวและขอชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวดังนี้
1. นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ได้มายื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางราชการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 และกระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำหนังสือเดินทางให้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 โดยมีกำหนดรับเล่มหนังสือเดินทางได้ในวันที่ 30 มิถุนายน 2548
2. ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ได้เดินทางมารับหนังสือเดินทางเล่มดังกล่าวด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ในขั้นตอนการรับเล่มจะมีการตรวจสอบคุณภาพของไมโครชิป ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทางอีกครั้ง โดยจะจัดเก็บข้อมูลชีวภาพของผู้ที่มารับเล่มด้วยตนเองเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในไมโครชิปอีกครั้งหนึ่ง หากพบว่าไมโครชิปชำรุดเสียหาย หรือข้อมูลชีวภาพไม่ตรงกับเจ้าของหนังสือเดินทาง ระบบจะปฏิเสธการจ่ายเล่มทันที ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวเป็นการตรวจสอบเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ตรวจสอบระบบของหนังสือเดินทางทุกขั้นตอน ทั้งใน การผลิตและก่อนมอบเล่ม
การรับเล่มของ ส.ส. อรรถสิทธิ์ฯ ไม่พบปัญหาหรือขัดข้องทางเทคนิคแต่อย่างใด หรืออีกนัยหนึ่ง หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของนายอรรถสิทธิ์ฯ มีความสมบูรณ์
3. ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ได้เดินทางมาที่ อาคารกรมการกงสุลอีกครั้งหนึ่งเพื่อมารับหนังสือเดินทางของภรรยา ในโอกาสนี้ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ได้นำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของตนที่รับไปตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ติดตัวมาด้วย และได้ทดลองใช้งานกับเครื่อง Automatic Gate ที่ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคารกรมการกงสุล แต่ปรากฏว่าเครื่อง Automatic Gate ไม่สามารถอ่านไมโครชิปในเล่มหนังสือเดินทางดังกล่าวได้
เจ้าหน้าที่ได้ขอรับหนังสือเดินทางดังกล่าวไว้เพื่อทำการวิเคราะห์หาจุดบกพร่อง แต่ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ แจ้งว่ามีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ จึงยังไม่สามารถมอบหนังสือเดินทางดังกล่าว ให้ได้ และแจ้งว่าเมื่อเสร็จภารกิจในต่างประเทศแล้ว จะส่งมอบหนังสือเดินทางดังกล่าวเพื่อให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่อไป
4. ตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากบริษัทฯ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นวันที่ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ มารับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเองนั้น ไมโครชิปในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของ ส.ส. อรรถสิทธิ์ฯ ยังสามารถใช้งานได้ถูกต้องสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การที่เครื่อง Automatic Gate ไม่สามารถอ่านไมโครชิปได้ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 นั้น กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า เพื่อความกระจ่าง ควรมีการนำหนังสือเดินทางเล่มดังกล่าวมาตรวจสอบทางเทคนิคโดยละเอียด เพื่อหาสาเหตุของการชำรุดต่อไป
5. อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พิสูจน์พบว่า ไมโครชิปชำรุดโดยกระบวนการผลิตเล่ม หรือพบว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับไมโครชิปภายใต้การใช้งานปกติ บริษัทฯ จะต้องรับผิดชอบ จัดหนังสือเดินทางเล่มใหม่ขึ้นทดแทนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เป็นไปตามสัญญาที่กระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามไว้กับบริษัทฯ
6. นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนว่า ในกรณีที่ไม่สามารถอ่าน ไมโครชิปได้ มิได้หมายความว่าหนังสือเดินทางเล่มดังกล่าวจะใช้ไม่ได้ เพราะยังมีคุณลักษณะ ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศต่างๆ สามารถตรวจสอบ ความถูกต้องได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organisation — ICAO) ซึ่งเป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของหนังสือเดินทาง ที่ระบุว่ากรณีที่ไมโครชิปไม่สามารถใช้ได้ ไม่ถือเป็นการทำให้หนังสือเดินทางดังกล่าวใช้ไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากกรณีของ ส.ส.อรรถสิทธิ์ฯ ว่า ยังสามารถนำหนังสือเดินทางดังกล่าวไปใช้เข้า-ออกประเทศต่างๆ ได้
7. กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่า มีการควบคุมตรวจสอบคุณภาพของระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับคำร้อง การตรวจสอบประวัติ การผลิตเล่ม ไปจนถึงการรับเล่ม เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัยสูงสุด และสามารถนำไปใช้เดินทางไปประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างมั่นใจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-