อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายราเชนทร์ พจนสุนทร ได้เปิดเผยผลการติดตามและประเมินการใช้มาตรการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยส่งตรวจพันธุกรรม (DNA)ในขณะทำการตรวจปล่อยสินค้าออกต่างประเทศ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้า ว่า นับตั้งแต่ ช่วงมกราคม 2548 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคม ศกนี้ ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยทั้งหมดจำนวน 179 ตัวอย่างหรือร้อยละ 21 จากผู้ส่งออกที่มีอยู่ประมาณเดือนละร้อยกว่าราย ส่งตรวจพันธุกรรม ณ ศูนย์พันธุ์วิศวกรรม ดี เอ็น เอ ที่กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งผลการวิเคราะห์จะทราบภายใน 24 ชั่วโมง พบว่าตัวอย่างจำนวน 167 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 93 มีคุณภาพและมาตรฐานส่งออกตามเกณฑ์กำหนด คือเป็นข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ/หรือ กข.15 ความบริสุทธ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 92 และเป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนตัวอย่างข้าวส่งออกที่สุ่มตรวจพบว่าความบริสุทธ์ระหว่าง 95-99 มีถึงร้อยละ 85 ของข้าวที่ได้มาตรฐานทั้งหมด ส่วนอีกจำนวน 12 ตัวอย่างหรือร้อยละ 7 ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานสินค้าได้สั่งระงับไม่ให้ทำการส่งออก และให้นำมาปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐาน โดยส่งคนไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมเก็บตัวอย่างตรวจซ้ำเพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐานก่อนจะส่งออกต่อไป
กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยส่งออก ตั้งแต่ ปี 2545 กำหนดกระบวนการตรวจสอบคุณภาพข้าวทางกายภาพ และทางเคมี อาทิ การต้มตรวจหาไตข้าวแข็ง การหาอะไมโลส หรือการละลายในด่าง เป็นต้น ซึ่งสามารถตรวจพบว่ามีการปลอมปนข้าวชนิดอื่นๆที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือ กข.15 ได้ โดยก่อนส่งออกข้าวหอมมะลิไทยทุกล๊อต จะต้องมีบริษัทเซอร์เวย์ส่งคนไปตรวจสอบคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ส่วนสำนักงานมาตรฐานสินค้า จะสุ่มส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานเซอร์เวย์ในการตรวจสอบและคุณภาพสินค้าให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ แต่ต่อมามีข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งมีคุณสมบัติด้านกายภาพและทางเคมี เช่น อาทิ ความหอม นุ่ม หรือ อะไมโลส อยู่ในระดับใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งวิธีการตรวจสอบตามเกณฑ์กติกาที่ใช้อยู่ ไม่สามารถจำแนกความแตกต่างได้เลย จึงมีแนวโน้มสูงในการนำข้าวดังกล่าวปลอมปนเข้าไปในข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออก
เพื่อที่จะรักษาคุณภาพมาตรฐานและชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลกไว้ให้ได้ สำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ จึงนำวิธีการตรวจสอบพันธุกรรม (DNA) มาใช้ วิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าที่สุ่มเก็บในขั้นการตรวจปล่อย โดยผลการวิเคราะห์สามารถชี้บอกความแตกต่างของเมล็ดข้าวได้ว่าเป็นพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105/กข.15 หรือปทุมธานีหรือข้าวอื่น ๆ อย่างชัดเจนแม่นยำ และเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยุติข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกอย่างได้ผล
ในปี 2547 (มค.- ธค.) พบว่าตัวอย่างส่งวิเคราะห์จำนวน 110 ตัวอย่าง มีตัวอย่างที่คุณภาพได้มาตรฐานจำนวน 72 ตัวอย่างหรือร้อยละ 65 และไม่ได้มาตรฐานจำนวน 38 หรือร้อยละ 34 ยังมีการปลอมปนข้าวพันธุ์อื่นเข้าไป โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม — มีนาคม ซึ่งสำนักงานมาตรฐานได้ริเริ่มทดสอบนำวิธีการ วิเคราะห์ทางพันธุกรรมมาใช้อย่างเงียบ ๆ เมื่อพบคุณภาพไม่ได้มาตรฐานก็จะสั่งให้ผู้ส่งออกทำการ ปรับปรุง และตรวจสอบคุณภาพซ้ำ เพื่อให้ได้มาตรฐานก่อนการตรวจปล่อยทั้งสิ้น ต่อมาได้ทำความเข้าใจกับผู้ส่งออก และผู้เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกันที่จะใช้กระบวนการสุ่มตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานข้าวด้วย DNA เพื่อแก้ไขปัญหาการปลอมปนข้าว และนับตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2547 เป็นต้นมา พบว่าการปลอมปนข้าวพันธุ์อื่นในข้าวหอมมะลิไทยลดน้อยลง อีกทั้งได้กำหนดมาตรการลงโทษ ผู้ส่งออกที่ปลอมปนข้าวสายพันธุ์อื่น จนเป็นเหตุให้ข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นขั้นตอน กล่าวคือ อายัดสินค้า และให้นำสินค้ามาปรับปรุงคุณภาพให้ถูกต้องก่อนการส่งออก และจะมีโทษตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต ตลอดจนเพิกถอนใบทะเบียนผู้ส่งออก ซึ่งเป็นโทษขั้นสูงสุด ตามลำดับชั้นของการกระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวสรุป โดยเชื่อว่าข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวชั้นเลิศของโลกปลูกได้เฉพาะที่คือทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์และมีการจดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อผู้ขายดูแลรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าได้ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ผู้ขายก็ไม่ควรขายสินค้าในราคาต่ำ ในอดีตอาจมีการขายต่ำตัดราคา แล้วมีการปลอมปนข้าวพันธุ์อื่นเข้าไปเพื่อลดต้นทุน แต่หลังจากนำวิธีการตรวจสอบทางพันธุกรรมมาใช้แล้ว สามารถยืนยันผลการตรวจสอบได้อย่างเที่ยงตรงและชัดเจนที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลสูงในปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเป็นผู้ดำเนินการสุ่มตรวจ DNA ข้าว ผู้ส่งออกไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่าย แต่เมื่อผลออกมาจะเป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกอีกทางหนึ่งด้วยเพราะสามารถชี้ชัดได้ว่าข้าวที่ตนซื้อมาจากหยงหรือโรงสี คุณภาพมาตรฐานได้หรือไม่ ในขณะเดียวกันก็สามารถยืนยันมาตรฐานสินค้าหรือแบรนด์ของตนกับผู้ซื้อในต่างประเทศได้
การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในปี 2548(มค.-กค.) 2547 (มค.-ธค.)และ 2546(มค.-ธค.) มีปริมาณ 1.18 2.25 และ 2.25 ล้านตัน และ มูลค่า 17,795.6 35,810.3 และ 32,318.8 ล้านบาท ตามลำดับ หรือเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8, 32.4 และ 42.3 ของมูลค่าการส่งออกข้าวโดยรวมในแต่ละปี ตามลำดับ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยส่งออก ตั้งแต่ ปี 2545 กำหนดกระบวนการตรวจสอบคุณภาพข้าวทางกายภาพ และทางเคมี อาทิ การต้มตรวจหาไตข้าวแข็ง การหาอะไมโลส หรือการละลายในด่าง เป็นต้น ซึ่งสามารถตรวจพบว่ามีการปลอมปนข้าวชนิดอื่นๆที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือ กข.15 ได้ โดยก่อนส่งออกข้าวหอมมะลิไทยทุกล๊อต จะต้องมีบริษัทเซอร์เวย์ส่งคนไปตรวจสอบคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ส่วนสำนักงานมาตรฐานสินค้า จะสุ่มส่งเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแลการปฏิบัติงานของพนักงานเซอร์เวย์ในการตรวจสอบและคุณภาพสินค้าให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ แต่ต่อมามีข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งมีคุณสมบัติด้านกายภาพและทางเคมี เช่น อาทิ ความหอม นุ่ม หรือ อะไมโลส อยู่ในระดับใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งวิธีการตรวจสอบตามเกณฑ์กติกาที่ใช้อยู่ ไม่สามารถจำแนกความแตกต่างได้เลย จึงมีแนวโน้มสูงในการนำข้าวดังกล่าวปลอมปนเข้าไปในข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออก
เพื่อที่จะรักษาคุณภาพมาตรฐานและชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลกไว้ให้ได้ สำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ จึงนำวิธีการตรวจสอบพันธุกรรม (DNA) มาใช้ วิเคราะห์ตัวอย่างสินค้าที่สุ่มเก็บในขั้นการตรวจปล่อย โดยผลการวิเคราะห์สามารถชี้บอกความแตกต่างของเมล็ดข้าวได้ว่าเป็นพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105/กข.15 หรือปทุมธานีหรือข้าวอื่น ๆ อย่างชัดเจนแม่นยำ และเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยุติข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกอย่างได้ผล
ในปี 2547 (มค.- ธค.) พบว่าตัวอย่างส่งวิเคราะห์จำนวน 110 ตัวอย่าง มีตัวอย่างที่คุณภาพได้มาตรฐานจำนวน 72 ตัวอย่างหรือร้อยละ 65 และไม่ได้มาตรฐานจำนวน 38 หรือร้อยละ 34 ยังมีการปลอมปนข้าวพันธุ์อื่นเข้าไป โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม — มีนาคม ซึ่งสำนักงานมาตรฐานได้ริเริ่มทดสอบนำวิธีการ วิเคราะห์ทางพันธุกรรมมาใช้อย่างเงียบ ๆ เมื่อพบคุณภาพไม่ได้มาตรฐานก็จะสั่งให้ผู้ส่งออกทำการ ปรับปรุง และตรวจสอบคุณภาพซ้ำ เพื่อให้ได้มาตรฐานก่อนการตรวจปล่อยทั้งสิ้น ต่อมาได้ทำความเข้าใจกับผู้ส่งออก และผู้เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกันที่จะใช้กระบวนการสุ่มตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานข้าวด้วย DNA เพื่อแก้ไขปัญหาการปลอมปนข้าว และนับตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2547 เป็นต้นมา พบว่าการปลอมปนข้าวพันธุ์อื่นในข้าวหอมมะลิไทยลดน้อยลง อีกทั้งได้กำหนดมาตรการลงโทษ ผู้ส่งออกที่ปลอมปนข้าวสายพันธุ์อื่น จนเป็นเหตุให้ข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นขั้นตอน กล่าวคือ อายัดสินค้า และให้นำสินค้ามาปรับปรุงคุณภาพให้ถูกต้องก่อนการส่งออก และจะมีโทษตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต ตลอดจนเพิกถอนใบทะเบียนผู้ส่งออก ซึ่งเป็นโทษขั้นสูงสุด ตามลำดับชั้นของการกระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวสรุป โดยเชื่อว่าข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวชั้นเลิศของโลกปลูกได้เฉพาะที่คือทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์และมีการจดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อผู้ขายดูแลรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าได้ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ผู้ขายก็ไม่ควรขายสินค้าในราคาต่ำ ในอดีตอาจมีการขายต่ำตัดราคา แล้วมีการปลอมปนข้าวพันธุ์อื่นเข้าไปเพื่อลดต้นทุน แต่หลังจากนำวิธีการตรวจสอบทางพันธุกรรมมาใช้แล้ว สามารถยืนยันผลการตรวจสอบได้อย่างเที่ยงตรงและชัดเจนที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลสูงในปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเป็นผู้ดำเนินการสุ่มตรวจ DNA ข้าว ผู้ส่งออกไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่าย แต่เมื่อผลออกมาจะเป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกอีกทางหนึ่งด้วยเพราะสามารถชี้ชัดได้ว่าข้าวที่ตนซื้อมาจากหยงหรือโรงสี คุณภาพมาตรฐานได้หรือไม่ ในขณะเดียวกันก็สามารถยืนยันมาตรฐานสินค้าหรือแบรนด์ของตนกับผู้ซื้อในต่างประเทศได้
การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในปี 2548(มค.-กค.) 2547 (มค.-ธค.)และ 2546(มค.-ธค.) มีปริมาณ 1.18 2.25 และ 2.25 ล้านตัน และ มูลค่า 17,795.6 35,810.3 และ 32,318.8 ล้านบาท ตามลำดับ หรือเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.8, 32.4 และ 42.3 ของมูลค่าการส่งออกข้าวโดยรวมในแต่ละปี ตามลำดับ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-