แท็ก
เครื่องปั้นดินเผา
ศิลปหัตถกรรม
พรสวรรค์บวกประสบการณ์ สร้างสรรค์ธุรกิจ หัตถกรรมเบญจรงค์ไทย
ถ้าพูดถึงเครื่องเบญจรงค์ ทุกคนคงนึกถึงว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบแล้วเขียนลายด้วยน้ำทองพร้อมลงสี 5 สีหลัก อันได้แก่ สีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว (หรือคราม) หลังจากนั้น เมื่อเครื่องปั้นลงลวดลายและสีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ก็นำเข้าในเตาเผา เมื่อเผาได้เวลาที่กำหนด เราก็จะได้เครื่องโถโอชามที่มีลวดลายสีสันงดงามคงทน
กลวิธีการผลิตเครื่องเบญจรงค์มิใช่เรื่องง่าย มันเป็นงานศิลปะที่ละเอียดอ่อนต้องใช้ความมานะอดทนพอควรกว่าจะเนรมิตงานเบญจรงค์ให้งดงามซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยได้อีกประเภทหนึ่ง
คุณจำปี เหล็กสูงเนิน สาวชาวบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี วัย 42 ปี ได้มีโอกาสคลุกคลีกับงานเขียนลายเบญจรงค์มาตั้งแต่เล็ก และถึงแม้ว่าเธอจะเรียนแค่ประถม 4 ก็ตาม แต่มีใจรักในงานเขียนลายครามเป็นอย่างมาก
สาวจำปีเล่าถึงอดีตว่า ตอนนั้น เมื่อเธออายุได้ 16 ปี ได้ไปสมัครเขียนลายครามในโรงงานที่จังหวัดสมุทรสาคร แรกๆ มีคนมาช่วยสอนการเขียนลายครามให้เพียงครั้งสองครั้ง นอกนั้นเราต้องใส่ใจฝึกฝนการเขียนลายครามด้วยตนเองตลอด ไม่มีคนมาคอยชี้แนะ จึงต้องศึกษาหาประสบการณ์เอาเอง จนเกิดความชำนาญ
สาวสุพรรณฯ เน้นว่า บุคคลที่รักงานเขียนลายครามนี้ควรจะเป็นคนที่มีพรสวรรค์ มีศิลปะในตัวเอง งานที่ผลิตออกมาจึงจะได้ดูสวยงามและมีคุณภาพ
ประสบการณ์จากโรงงาน
สร้างธุรกิจแบบพี่ๆ น้องๆ
คุณจำปีได้หมุนเวียนทำงานเขียนลายเบญจรงค์ไปตามโรงงานหลายต่อหลายแห่งจากเด็กฝึกงานเขียนลาย ค่าแรงเพียงวันละ 10 บาท ต่อมาเมื่อมีความชำนาญเกิดขึ้นได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นตามกำลังความสามารถ มันไม่ใช่เพียงแค่ได้งาน ได้เงินเพิ่ม แต่สาวจำปีได้เพิ่มประสบการณ์และความสามารถขึ้นเป็นลำดับ
การเขียนลายเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นศิลปะเฉพาะตัวที่ต้องฝึกฝนหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง คุณจำปีภูมิใจว่า ถึงเธอจะมีความรู้แค่ประถม 4 แต่ด้วยใจรักงานศิลปะเขียนลายนี้ทำให้เธอได้มีประสบการณ์และความรู้ช่วยให้มีงานทำมาหากินมาตลอดระยะเวลาถึง 20 ปีเต็ม เธอไม่เคยตกงาน มีงานป้อนให้ทำตลอด
เมื่อคุณจำปีเห็นคุณค่าของงานผลิตเครื่องเบญจรงค์เลยทำให้เธอส่งเสริมสามีและญาติพี่น้องในครอบครัวลองมาฝึกฝนงานศิลปะเขียนลายเบญจรงค์ดู เธอมีแนวคิดว่า ศิลปะเขียนลายเบญจรงค์จะช่วยให้ทุกคนมีสมาธิ สามารถสร้างงานที่มีคุณค่า น่าภาคภูมิใจแถมได้เงินทองเป็นรายได้เลี้ยงชีพ ไม่ต้องดิ้นรนไปหางานอื่นทำให้เหนื่อยยาก
เมื่อญาติพี่น้องของคุณจำปีลองมาฝึกงานศิลปะเขียนลายเบญจรงค์ทำกันไป จนมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ทุกคนได้เข้าทำงานในโรงงานผลิตเครื่องเบญจรงค์พร้อมๆ กับคุณจำปีมาโดยตลอด
จากโรงงานที่สมุทรสาครหมุนไปทำที่ราชบุรี ไปต่อที่พระประแดงและโรงงานสุดท้ายที่ครอบครัวของคุณจำปีมาช่วยงานเป็นโรงงานผลิตเครื่องเบญจรงค์แถวถนนจรัลสนิทวงศ์อยู่หลายปี และแล้วเจ้านายของคุณจำปีที่ดูแลกิจการเครื่องเบญจรงค์นั้นได้ปิดกิจการลง ทำให้พนักงานทุกคนรวมทั้งคุณจำปีต้องตกงานและนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่สาวสุพรรณฯ อยู่เฉยไม่ได้ ต้องเดินหน้าหางานทำต่อ
ผลที่สุดสาวจำปีจึงได้ร่วมกับพี่ๆ น้องๆ ที่ชำนาญงานศิลปะผลิตเครื่องเบญจรงค์ประมาณ 5-6 คน ช่วยกันเปิดโรงงานขนาดย่อมขึ้นเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2537 ที่บ้านพักแถวถนนจรัญสนิทวงศ์นั่นเอง
เปิดตัวใหม่ด้วย "รูปภาพเบญจรงค์"
ได้โอท็อป "3 ดาว"
จากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดถึง 20 ปีเต็ม ทำให้สาวจำปีรู้ว่า การผลิตงานเบญจรงค์นั้นไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบอย่างแต่ก่อน สมัยนี้วิวัฒนาการด้านการผลิตรุดหน้าเธอเลยคิดลัดวงจรโดยไม่ต้องเริ่มการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีการซื้อจากโรงงานที่ผลิตแล้วโดยสั่งเครื่องปั้นดินเผาเคลือบจากโรงงานผลิตตามจำนวนที่ต้องการแล้วก็นำมาประกอบเป็นเครื่องลายเบญจรงค์ต่อได้เลย
โรงงานของคุณจำปีจะเริ่มการผลิตเครื่องเบญจรงค์ด้วยการจัดหาเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสำเร็จแล้วจากโรงงาน เช่น ถ้วย ชาม จาน แจกัน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีขาวตามที่ต้องการแล้วก็นำไปขึ้นลาย เขียนลาย ลงลายน้ำทอง และลงสี 5 สีหลัก จบด้วยการนำเอาเครื่องปั้นที่ลงลายลงสีนั้นนำไปเข้าเตาเผา ใช้ความร้อนระดับ 800 องศาเซลเซียส เผาอยู่ประมาณ 5 ชั่วโมง แล้วก็ปิดไฟทิ้งเครื่องปั้นที่เผาไว้ในเตาต่ออีกประมาณ 1 วัน หลังจากนั้น เมื่อนำออกมาเราก็จะได้เครื่องเบญจรงค์ที่มีลวดลายสวยงาม
เพราะฉะนั้น งานการผลิตเครื่องเบญจรงค์จึงไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ผลิตใหญ่โตมากนัก ทางคุณจำปีเลยคิดปรับเปลี่ยนบริเวณบ้านพักอาศัยที่มีเนื้อที่ประมาณ 40-50 ตารางวา แยกออกมาเป็นส่วนของโรงงานผลิตย่อย แยกห้องทำงานของพนักงานลงลาย ลงสี ใช้คนทำประมาณ 4-5 คน ในพื้นที่ปฏิบัติการขนาดประมาณ 4 คูณ 4 เมตร และยังจัดห้องขนาดเล็กๆ ไว้ใช้เก็บเตาเผาอีกหนึ่งห้อง แล้วโรงงานขนาดย่อมก็เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นลงทุนทำเตาเผาเอง ซื้ออุปกรณ์ในการลงลาย น้ำทองคำใช้สำหรับลงลาย ใช้งบประมาณ 2-3 แสนบาท เป็นอย่างน้อย
สำหรับจำนวนพนักงานจะใช้ญาติที่มีความชำนาญงานมาร่วมงานประมาณ 5-6 คน โดยจะแยกเป็นแผนกๆ เช่น แผนกวาดลาย จำนวน 2 คน แผนกลงสี จำนวน 4-5 คน
ส่วนในเรื่องการผลิตเตาเผาเครื่องเบญจรงค์เป็นหน้าที่ของ คุณศักดิ์ปรีชา สามีคุณจำปีเอง และเป็นที่น่ายินดีว่าสินค้าเครื่องเบญจรงค์ที่ผลิตจากเตาเผาของคุณศักดิ์ปรีชานั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ งดงามไม่แพ้ที่ผลิตจากโรงงานโดยตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิตเตาเผาประมาณ 7-8 หมื่นบาท ดูเหมือนจะมีราคาแพงแต่ถ้าเทียบกับเตาผลิตจากโรงงาน ราคาทำเองถูกกว่ามากและได้ผลคุ้มค่า ดังนั้น เตาเผาเลยกลายเป็นความภาคภูมิใจของคุณศักดิ์ปรีชาเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นความสำเร็จที่เกิดจากสมอง และฝีมือเขาเอง
เท่านั้นยังไม่พอ คุณศักดิ์ปรีชายังมีแนวคิดพัฒนาเกี่ยวกับสินค้าเครื่องเบญจรงค์ในรูปลักษณ์ใหม่โดยประยุกต์เอาระบบการทำเครื่องเบญจรงค์มาใช้ประดิษฐ์เป็นรูปภาพสวยงามในแบบลวดลายเบญจรงค์บนแผ่นกระเบื้องแทนการวาดรูปภาพธรรมดาทั่วๆ ไปที่เขาใช้สีน้ำมันและสีอะครีลิกกัน เพราะจุดเด่นของรูปภาพเบญจรงค์นั้นจะมีสภาพคงทน ดีกว่ารูปภาพที่วาดจากสีทั่วๆ ไป
การคิดพัฒนาทำรูปภาพเบญจรงค์ของคุณศักดิ์ปรีชากลายเป็นสิ่งแปลกใหม่ ได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก ดังนั้น ทางเขตบางกอกน้อยจึงได้พิจารณา "รูปภาพเบญจรงค์" เป็นสินค้าโอท็อป ระดับ 3 ดาว ซึ่งทำให้คุณศักดิ์ปรีชาและคุณจำปีดีใจมาก
คุณศักดิ์ปรีชาเล่าว่า อันที่จริงรูปภาพเบญจรงค์นี้ควรจะได้รับพิจารณาเป็นสินค้าโอท็อประดับสูงกว่านี้ แต่เป็นเพราะเขาไปนึกพัฒนาแค่ตัวสินค้าให้โดดเด่นอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงลักษณะการบรรจุหีบห่อสินค้าที่ควรทำให้ดูเหมาะและสวยงาม (Packaging) ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบอันสำคัญถ้าสินค้ามีทั้งคุณภาพดี มีการบรรจุหีบห่อที่สวยงาม สะดุดตาแล้วจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้านั้นให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น หากสินค้าที่มีหน้าตาแปลกใหม่ น่าสนใจ จะช่วยส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ได้เพิ่มปริมาณลูกค้า ช่วยเพิ่มการผลิตและรายได้เป็นอย่างดี
ส่วนการตลาด คุณจำปีจะรับหน้าที่ดูแลโดยตรง เธอจะนำสินค้าเครื่องเบญจรงค์ไปเปิดจำหน่ายที่ร้าน "เบญจรงค์บางกอกน้อย" ในดิโอลด์สยาม พลาซ่า ชั้น 2 (พาหุรัด) เป็นประจำ ซึ่งได้รับการต้อนรับจากลูกค้ามากพอสมควร เครื่องเบญจรงค์ของคุณจำปีมีคุณภาพ ไม่ทำให้ใครผิดหวัง มีสีสันสวยสดงดงามจนทำให้ลูกค้าทั้งหลายช่วยประชาสัมพันธ์จากปากต่อปาก อีกทั้งคุณจำปีก็เป็นแม่ค้าพูดจามีอัธยาศัย เป็นที่ติดใจของคนมาซื้อหา เลยทำให้สินค้าร้านคุณจำปีขายได้ มีคนมาอุดหนุนไม่ขาดสาย รายได้เดือนหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่าแสนบาทเป็นอย่างน้อย ทุกวันนี้คุณจำปีเลยกลายเป็นนักการตลาดไปโดยปริยาย คอยชี้ชวนลูกค้าที่มาเยือนที่ร้านเสมอ
ดังนั้น หากท่านที่รักและสนใจงานศิลปะเบญจรงค์ในรูปแบบของเครื่องโถโอชามตลอดจนรูปภาพเบญจรงค์ที่สวยงามก็เชิญติดต่อสอบถามจาก คุณศักดิ์ปรีชาและคุณจำปี ที่ ศักดิ์ปรีชาเซรามิค หัตถกรรมเบญจรงค์ไทย เลขที่ 543/211 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 หรือ เบญจรงค์บางกอกน้อย ที่ ดิโอลด์สยาม พลาซ่า ชั้น 2 (พาหุรัด) โทร. (02) 864-4729, (02) 811-2112 มือถือ (01) 341-3458
*กระบวนการผลิตเครื่องเบญจรงค์โดยสังเขป
1. นำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขาวมาล้างให้สะอาด (เครื่องปั้นเคลือบขาวอาจจะปั้นเองก็ดีหรือจะสั่งซื้อมาจากโรงงานที่ผลิตโดยตรงก็ได้)
2. ตั้งแป้นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขาวแล้ววนเส้นกำหนดลาย
3. ต่อมาเขียนลายด้วยน้ำทอง (คำ)
4. ลงสีตามลวดลายที่กำหนด ประกอบด้วย 5 สีหลักคือ ดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว (คราม) แต่อาจมีช่างบางแห่งเพิ่มสีสันด้วยเพิ่มการลงสีพิเศษ เช่น ม่วง ชมพู น้ำตาล แสด มาเสริมความงดงามมากยิ่งขึ้น
5. หลังจากลงลายและสีเรียบร้อยแล้วก็นำไปเข้าเตาเผาโดยเพิ่มความร้อนที่เตาจนถึงระดับ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง แล้วก็ปิดไฟทิ้งเครื่องเบญจรงค์ไว้ในเตาอีกประมาณ 1 วัน จึงยกออกมาได้
หมายเหตุ ลายยอดนิยมของเครื่องเบญจรงค์ ได้แก่ ลายกนก ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ ลายเทพนมนรสิงห์
วิธีการรักษาเครื่องเบญจรงค์
วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยการใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำบิดให้หมาดๆ เช็ดทำความสะอาด ก็จะสามารถขจัดความสกปรกให้หมดไปได้เป็นอย่างดี
ธุรกิจ หัตถกรรมเบญจรงค์ไทย (เครื่องเบญจรงค์ทุกชนิดรวมทั้งรูปภาพเบญจรงค์ "โอท็อป 3 ดาว")
สถานที่ (โรงงาน) ขนาดพื้นที่ ประมาณ 40-50 ตารางวา แบ่งเป็นห้องปฏิบัติงานของพนักงานใช้พื้นที่ขนาด 4 คูณ 4 เมตร และจัดทำห้องสำหรับตั้งเตาเผาในพื้นที่ 2 คูณ 2 เมตร (ส่วนมากอาจจะใช้บ้านพักแบ่งพื้นที่มาทำเป็นโรงงานขนาดย่อม)
การลงทุน เริ่มต้นทุนประมาณ 3-4 แสนบาท โดยนำไปปรับปรุงทำเป็นห้องปฏิบัติงานของพนักงาน เตาเผาปกติซื้อจากโรงงานจะเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสนบาทขึ้นไป แต่คุณศักดิ์ปรีชารู้จักประดิษฐ์ค้นคิดเองเลยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 7-8 หมื่นบาท นอกจากนั้น ต้องลงทุนซื้อเครื่องปั้นเคลือบ กระเบื้องทำรูปภาพจากโรงงานที่ผลิต ตัวน้ำยา (ทองคำ) ราคาขวดละ 1 หมื่นบาทเศษ
ค่าแรงงาน พนักงานส่วนมากจะเป็นญาติพี่น้องที่ชำนาญการผลิตเครื่องเบญจรงค์ซึ่งจะแยกเป็น แผนกวาดลาย 2 คน แผนกลงสี 4-5 คน ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าแรงทั้งหมดต่อเดือนประมาณ 4-5 หมื่นบาท
ค่าเช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้า เฉพาะที่ดิโอลด์สยาม พลาซ่า เดือนละประมาณ 7 พันบาท
รายจ่ายทั้งหมดประจำเดือนโดยประมาณ 9 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท
รายได้ประจำเดือน ประมาณ 1 แสน 5 หมื่นบาท เป็นอย่างต่ำ
กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการ พนักงานบริษัท บุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้าที่มาซื้อหน้าร้าน และสั่งซื้อตามต้องการ กรณีที่สั่งจำนวนมากทางคุณจำปีจะลดเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ 10-30% ของราคาสั่งซื้อ
ตามปกติสินค้าเครื่องเบญจรงค์ประเภท ถ้วย ชาม แจกัน จาน ฯลฯ จะมีราคาจำหน่ายตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่นบาท ส่วนรูปภาพเบญจรงค์ก็มีขนาดหลากหลาย จะมีราคาจำหน่ายตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นบาท และภาพแรกที่คุณศักดิ์ปรีชาได้ผลิตด้วยฝีมือตนเองจนได้รางวัล "โอท็อป" เป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ที่สวยงาม
การบรรจุหีบห่อ ตามปกติทางร้านจะจัดหาหีบห่อสินค้าให้ลูกค้าอยู่แล้ว แต่ถ้าลูกค้าบางคนอยากได้หีบห่อบรรจุสินค้าเป็นการบุด้วยผ้าไหมเพื่อให้ดูสวยงามและประทับใจแก่ผู้รับ ลูกค้าก็จะต้องสั่งทำพิเศษเพิ่มค่าใช้จ่ายชิ้นละประมาณ 300-500 บาท สุดแท้แต่ขนาดสินค้านั้นๆ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
พรสวรรค์บวกประสบการณ์ สร้างสรรค์ธุรกิจ หัตถกรรมเบญจรงค์ไทย
ถ้าพูดถึงเครื่องเบญจรงค์ ทุกคนคงนึกถึงว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบแล้วเขียนลายด้วยน้ำทองพร้อมลงสี 5 สีหลัก อันได้แก่ สีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว (หรือคราม) หลังจากนั้น เมื่อเครื่องปั้นลงลวดลายและสีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ก็นำเข้าในเตาเผา เมื่อเผาได้เวลาที่กำหนด เราก็จะได้เครื่องโถโอชามที่มีลวดลายสีสันงดงามคงทน
กลวิธีการผลิตเครื่องเบญจรงค์มิใช่เรื่องง่าย มันเป็นงานศิลปะที่ละเอียดอ่อนต้องใช้ความมานะอดทนพอควรกว่าจะเนรมิตงานเบญจรงค์ให้งดงามซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยได้อีกประเภทหนึ่ง
คุณจำปี เหล็กสูงเนิน สาวชาวบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี วัย 42 ปี ได้มีโอกาสคลุกคลีกับงานเขียนลายเบญจรงค์มาตั้งแต่เล็ก และถึงแม้ว่าเธอจะเรียนแค่ประถม 4 ก็ตาม แต่มีใจรักในงานเขียนลายครามเป็นอย่างมาก
สาวจำปีเล่าถึงอดีตว่า ตอนนั้น เมื่อเธออายุได้ 16 ปี ได้ไปสมัครเขียนลายครามในโรงงานที่จังหวัดสมุทรสาคร แรกๆ มีคนมาช่วยสอนการเขียนลายครามให้เพียงครั้งสองครั้ง นอกนั้นเราต้องใส่ใจฝึกฝนการเขียนลายครามด้วยตนเองตลอด ไม่มีคนมาคอยชี้แนะ จึงต้องศึกษาหาประสบการณ์เอาเอง จนเกิดความชำนาญ
สาวสุพรรณฯ เน้นว่า บุคคลที่รักงานเขียนลายครามนี้ควรจะเป็นคนที่มีพรสวรรค์ มีศิลปะในตัวเอง งานที่ผลิตออกมาจึงจะได้ดูสวยงามและมีคุณภาพ
ประสบการณ์จากโรงงาน
สร้างธุรกิจแบบพี่ๆ น้องๆ
คุณจำปีได้หมุนเวียนทำงานเขียนลายเบญจรงค์ไปตามโรงงานหลายต่อหลายแห่งจากเด็กฝึกงานเขียนลาย ค่าแรงเพียงวันละ 10 บาท ต่อมาเมื่อมีความชำนาญเกิดขึ้นได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นตามกำลังความสามารถ มันไม่ใช่เพียงแค่ได้งาน ได้เงินเพิ่ม แต่สาวจำปีได้เพิ่มประสบการณ์และความสามารถขึ้นเป็นลำดับ
การเขียนลายเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นศิลปะเฉพาะตัวที่ต้องฝึกฝนหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง คุณจำปีภูมิใจว่า ถึงเธอจะมีความรู้แค่ประถม 4 แต่ด้วยใจรักงานศิลปะเขียนลายนี้ทำให้เธอได้มีประสบการณ์และความรู้ช่วยให้มีงานทำมาหากินมาตลอดระยะเวลาถึง 20 ปีเต็ม เธอไม่เคยตกงาน มีงานป้อนให้ทำตลอด
เมื่อคุณจำปีเห็นคุณค่าของงานผลิตเครื่องเบญจรงค์เลยทำให้เธอส่งเสริมสามีและญาติพี่น้องในครอบครัวลองมาฝึกฝนงานศิลปะเขียนลายเบญจรงค์ดู เธอมีแนวคิดว่า ศิลปะเขียนลายเบญจรงค์จะช่วยให้ทุกคนมีสมาธิ สามารถสร้างงานที่มีคุณค่า น่าภาคภูมิใจแถมได้เงินทองเป็นรายได้เลี้ยงชีพ ไม่ต้องดิ้นรนไปหางานอื่นทำให้เหนื่อยยาก
เมื่อญาติพี่น้องของคุณจำปีลองมาฝึกงานศิลปะเขียนลายเบญจรงค์ทำกันไป จนมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ทุกคนได้เข้าทำงานในโรงงานผลิตเครื่องเบญจรงค์พร้อมๆ กับคุณจำปีมาโดยตลอด
จากโรงงานที่สมุทรสาครหมุนไปทำที่ราชบุรี ไปต่อที่พระประแดงและโรงงานสุดท้ายที่ครอบครัวของคุณจำปีมาช่วยงานเป็นโรงงานผลิตเครื่องเบญจรงค์แถวถนนจรัลสนิทวงศ์อยู่หลายปี และแล้วเจ้านายของคุณจำปีที่ดูแลกิจการเครื่องเบญจรงค์นั้นได้ปิดกิจการลง ทำให้พนักงานทุกคนรวมทั้งคุณจำปีต้องตกงานและนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่สาวสุพรรณฯ อยู่เฉยไม่ได้ ต้องเดินหน้าหางานทำต่อ
ผลที่สุดสาวจำปีจึงได้ร่วมกับพี่ๆ น้องๆ ที่ชำนาญงานศิลปะผลิตเครื่องเบญจรงค์ประมาณ 5-6 คน ช่วยกันเปิดโรงงานขนาดย่อมขึ้นเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2537 ที่บ้านพักแถวถนนจรัญสนิทวงศ์นั่นเอง
เปิดตัวใหม่ด้วย "รูปภาพเบญจรงค์"
ได้โอท็อป "3 ดาว"
จากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดถึง 20 ปีเต็ม ทำให้สาวจำปีรู้ว่า การผลิตงานเบญจรงค์นั้นไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบอย่างแต่ก่อน สมัยนี้วิวัฒนาการด้านการผลิตรุดหน้าเธอเลยคิดลัดวงจรโดยไม่ต้องเริ่มการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีการซื้อจากโรงงานที่ผลิตแล้วโดยสั่งเครื่องปั้นดินเผาเคลือบจากโรงงานผลิตตามจำนวนที่ต้องการแล้วก็นำมาประกอบเป็นเครื่องลายเบญจรงค์ต่อได้เลย
โรงงานของคุณจำปีจะเริ่มการผลิตเครื่องเบญจรงค์ด้วยการจัดหาเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสำเร็จแล้วจากโรงงาน เช่น ถ้วย ชาม จาน แจกัน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีขาวตามที่ต้องการแล้วก็นำไปขึ้นลาย เขียนลาย ลงลายน้ำทอง และลงสี 5 สีหลัก จบด้วยการนำเอาเครื่องปั้นที่ลงลายลงสีนั้นนำไปเข้าเตาเผา ใช้ความร้อนระดับ 800 องศาเซลเซียส เผาอยู่ประมาณ 5 ชั่วโมง แล้วก็ปิดไฟทิ้งเครื่องปั้นที่เผาไว้ในเตาต่ออีกประมาณ 1 วัน หลังจากนั้น เมื่อนำออกมาเราก็จะได้เครื่องเบญจรงค์ที่มีลวดลายสวยงาม
เพราะฉะนั้น งานการผลิตเครื่องเบญจรงค์จึงไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ผลิตใหญ่โตมากนัก ทางคุณจำปีเลยคิดปรับเปลี่ยนบริเวณบ้านพักอาศัยที่มีเนื้อที่ประมาณ 40-50 ตารางวา แยกออกมาเป็นส่วนของโรงงานผลิตย่อย แยกห้องทำงานของพนักงานลงลาย ลงสี ใช้คนทำประมาณ 4-5 คน ในพื้นที่ปฏิบัติการขนาดประมาณ 4 คูณ 4 เมตร และยังจัดห้องขนาดเล็กๆ ไว้ใช้เก็บเตาเผาอีกหนึ่งห้อง แล้วโรงงานขนาดย่อมก็เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นลงทุนทำเตาเผาเอง ซื้ออุปกรณ์ในการลงลาย น้ำทองคำใช้สำหรับลงลาย ใช้งบประมาณ 2-3 แสนบาท เป็นอย่างน้อย
สำหรับจำนวนพนักงานจะใช้ญาติที่มีความชำนาญงานมาร่วมงานประมาณ 5-6 คน โดยจะแยกเป็นแผนกๆ เช่น แผนกวาดลาย จำนวน 2 คน แผนกลงสี จำนวน 4-5 คน
ส่วนในเรื่องการผลิตเตาเผาเครื่องเบญจรงค์เป็นหน้าที่ของ คุณศักดิ์ปรีชา สามีคุณจำปีเอง และเป็นที่น่ายินดีว่าสินค้าเครื่องเบญจรงค์ที่ผลิตจากเตาเผาของคุณศักดิ์ปรีชานั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ งดงามไม่แพ้ที่ผลิตจากโรงงานโดยตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิตเตาเผาประมาณ 7-8 หมื่นบาท ดูเหมือนจะมีราคาแพงแต่ถ้าเทียบกับเตาผลิตจากโรงงาน ราคาทำเองถูกกว่ามากและได้ผลคุ้มค่า ดังนั้น เตาเผาเลยกลายเป็นความภาคภูมิใจของคุณศักดิ์ปรีชาเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นความสำเร็จที่เกิดจากสมอง และฝีมือเขาเอง
เท่านั้นยังไม่พอ คุณศักดิ์ปรีชายังมีแนวคิดพัฒนาเกี่ยวกับสินค้าเครื่องเบญจรงค์ในรูปลักษณ์ใหม่โดยประยุกต์เอาระบบการทำเครื่องเบญจรงค์มาใช้ประดิษฐ์เป็นรูปภาพสวยงามในแบบลวดลายเบญจรงค์บนแผ่นกระเบื้องแทนการวาดรูปภาพธรรมดาทั่วๆ ไปที่เขาใช้สีน้ำมันและสีอะครีลิกกัน เพราะจุดเด่นของรูปภาพเบญจรงค์นั้นจะมีสภาพคงทน ดีกว่ารูปภาพที่วาดจากสีทั่วๆ ไป
การคิดพัฒนาทำรูปภาพเบญจรงค์ของคุณศักดิ์ปรีชากลายเป็นสิ่งแปลกใหม่ ได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก ดังนั้น ทางเขตบางกอกน้อยจึงได้พิจารณา "รูปภาพเบญจรงค์" เป็นสินค้าโอท็อป ระดับ 3 ดาว ซึ่งทำให้คุณศักดิ์ปรีชาและคุณจำปีดีใจมาก
คุณศักดิ์ปรีชาเล่าว่า อันที่จริงรูปภาพเบญจรงค์นี้ควรจะได้รับพิจารณาเป็นสินค้าโอท็อประดับสูงกว่านี้ แต่เป็นเพราะเขาไปนึกพัฒนาแค่ตัวสินค้าให้โดดเด่นอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงลักษณะการบรรจุหีบห่อสินค้าที่ควรทำให้ดูเหมาะและสวยงาม (Packaging) ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบอันสำคัญถ้าสินค้ามีทั้งคุณภาพดี มีการบรรจุหีบห่อที่สวยงาม สะดุดตาแล้วจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้านั้นให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น หากสินค้าที่มีหน้าตาแปลกใหม่ น่าสนใจ จะช่วยส่งเสริมการเปิดตลาดใหม่ได้เพิ่มปริมาณลูกค้า ช่วยเพิ่มการผลิตและรายได้เป็นอย่างดี
ส่วนการตลาด คุณจำปีจะรับหน้าที่ดูแลโดยตรง เธอจะนำสินค้าเครื่องเบญจรงค์ไปเปิดจำหน่ายที่ร้าน "เบญจรงค์บางกอกน้อย" ในดิโอลด์สยาม พลาซ่า ชั้น 2 (พาหุรัด) เป็นประจำ ซึ่งได้รับการต้อนรับจากลูกค้ามากพอสมควร เครื่องเบญจรงค์ของคุณจำปีมีคุณภาพ ไม่ทำให้ใครผิดหวัง มีสีสันสวยสดงดงามจนทำให้ลูกค้าทั้งหลายช่วยประชาสัมพันธ์จากปากต่อปาก อีกทั้งคุณจำปีก็เป็นแม่ค้าพูดจามีอัธยาศัย เป็นที่ติดใจของคนมาซื้อหา เลยทำให้สินค้าร้านคุณจำปีขายได้ มีคนมาอุดหนุนไม่ขาดสาย รายได้เดือนหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่าแสนบาทเป็นอย่างน้อย ทุกวันนี้คุณจำปีเลยกลายเป็นนักการตลาดไปโดยปริยาย คอยชี้ชวนลูกค้าที่มาเยือนที่ร้านเสมอ
ดังนั้น หากท่านที่รักและสนใจงานศิลปะเบญจรงค์ในรูปแบบของเครื่องโถโอชามตลอดจนรูปภาพเบญจรงค์ที่สวยงามก็เชิญติดต่อสอบถามจาก คุณศักดิ์ปรีชาและคุณจำปี ที่ ศักดิ์ปรีชาเซรามิค หัตถกรรมเบญจรงค์ไทย เลขที่ 543/211 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 หรือ เบญจรงค์บางกอกน้อย ที่ ดิโอลด์สยาม พลาซ่า ชั้น 2 (พาหุรัด) โทร. (02) 864-4729, (02) 811-2112 มือถือ (01) 341-3458
*กระบวนการผลิตเครื่องเบญจรงค์โดยสังเขป
1. นำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขาวมาล้างให้สะอาด (เครื่องปั้นเคลือบขาวอาจจะปั้นเองก็ดีหรือจะสั่งซื้อมาจากโรงงานที่ผลิตโดยตรงก็ได้)
2. ตั้งแป้นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขาวแล้ววนเส้นกำหนดลาย
3. ต่อมาเขียนลายด้วยน้ำทอง (คำ)
4. ลงสีตามลวดลายที่กำหนด ประกอบด้วย 5 สีหลักคือ ดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว (คราม) แต่อาจมีช่างบางแห่งเพิ่มสีสันด้วยเพิ่มการลงสีพิเศษ เช่น ม่วง ชมพู น้ำตาล แสด มาเสริมความงดงามมากยิ่งขึ้น
5. หลังจากลงลายและสีเรียบร้อยแล้วก็นำไปเข้าเตาเผาโดยเพิ่มความร้อนที่เตาจนถึงระดับ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง แล้วก็ปิดไฟทิ้งเครื่องเบญจรงค์ไว้ในเตาอีกประมาณ 1 วัน จึงยกออกมาได้
หมายเหตุ ลายยอดนิยมของเครื่องเบญจรงค์ ได้แก่ ลายกนก ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ ลายเทพนมนรสิงห์
วิธีการรักษาเครื่องเบญจรงค์
วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยการใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำบิดให้หมาดๆ เช็ดทำความสะอาด ก็จะสามารถขจัดความสกปรกให้หมดไปได้เป็นอย่างดี
ธุรกิจ หัตถกรรมเบญจรงค์ไทย (เครื่องเบญจรงค์ทุกชนิดรวมทั้งรูปภาพเบญจรงค์ "โอท็อป 3 ดาว")
สถานที่ (โรงงาน) ขนาดพื้นที่ ประมาณ 40-50 ตารางวา แบ่งเป็นห้องปฏิบัติงานของพนักงานใช้พื้นที่ขนาด 4 คูณ 4 เมตร และจัดทำห้องสำหรับตั้งเตาเผาในพื้นที่ 2 คูณ 2 เมตร (ส่วนมากอาจจะใช้บ้านพักแบ่งพื้นที่มาทำเป็นโรงงานขนาดย่อม)
การลงทุน เริ่มต้นทุนประมาณ 3-4 แสนบาท โดยนำไปปรับปรุงทำเป็นห้องปฏิบัติงานของพนักงาน เตาเผาปกติซื้อจากโรงงานจะเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสนบาทขึ้นไป แต่คุณศักดิ์ปรีชารู้จักประดิษฐ์ค้นคิดเองเลยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 7-8 หมื่นบาท นอกจากนั้น ต้องลงทุนซื้อเครื่องปั้นเคลือบ กระเบื้องทำรูปภาพจากโรงงานที่ผลิต ตัวน้ำยา (ทองคำ) ราคาขวดละ 1 หมื่นบาทเศษ
ค่าแรงงาน พนักงานส่วนมากจะเป็นญาติพี่น้องที่ชำนาญการผลิตเครื่องเบญจรงค์ซึ่งจะแยกเป็น แผนกวาดลาย 2 คน แผนกลงสี 4-5 คน ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าแรงทั้งหมดต่อเดือนประมาณ 4-5 หมื่นบาท
ค่าเช่าพื้นที่จำหน่ายสินค้า เฉพาะที่ดิโอลด์สยาม พลาซ่า เดือนละประมาณ 7 พันบาท
รายจ่ายทั้งหมดประจำเดือนโดยประมาณ 9 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท
รายได้ประจำเดือน ประมาณ 1 แสน 5 หมื่นบาท เป็นอย่างต่ำ
กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการ พนักงานบริษัท บุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้าที่มาซื้อหน้าร้าน และสั่งซื้อตามต้องการ กรณีที่สั่งจำนวนมากทางคุณจำปีจะลดเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ 10-30% ของราคาสั่งซื้อ
ตามปกติสินค้าเครื่องเบญจรงค์ประเภท ถ้วย ชาม แจกัน จาน ฯลฯ จะมีราคาจำหน่ายตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่นบาท ส่วนรูปภาพเบญจรงค์ก็มีขนาดหลากหลาย จะมีราคาจำหน่ายตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นบาท และภาพแรกที่คุณศักดิ์ปรีชาได้ผลิตด้วยฝีมือตนเองจนได้รางวัล "โอท็อป" เป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ที่สวยงาม
การบรรจุหีบห่อ ตามปกติทางร้านจะจัดหาหีบห่อสินค้าให้ลูกค้าอยู่แล้ว แต่ถ้าลูกค้าบางคนอยากได้หีบห่อบรรจุสินค้าเป็นการบุด้วยผ้าไหมเพื่อให้ดูสวยงามและประทับใจแก่ผู้รับ ลูกค้าก็จะต้องสั่งทำพิเศษเพิ่มค่าใช้จ่ายชิ้นละประมาณ 300-500 บาท สุดแท้แต่ขนาดสินค้านั้นๆ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-