เรื่องของความเป็นศิลปิน และพรสวรรค์ ถือเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ธวัชชัย” เจ้าของไอเดียกระเป๋าไหมถักแบรนด์ “CroChetty” ที่สามารถนำความชอบส่วนตัว และสร้างสรรค์ไอเดียให้ออกมาเป็นสินค้าที่แฝงไปด้วยความน่ารัก สดใส รวมถึงยังสามารถกระจายงานออกสู่กลุ่มชาวบ้านตามจังหวัดให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย
ธวัชชัย ลิมปิสุรีย์ เจ้าของไอเดียกระเป๋าไหมถักภายใต้แบรนด์ “CroChetty” (โคลเชตี้) ที่ได้เกิดจากไอเดียล้วนๆ หลังจากที่ได้ไปเห็นกระเป๋าถักของชาวบ้าน จึงคิดนำมาดัดแปลงให้สินค้าแฮนด์เมด ธรรมดา ดูทันสมัยมากขึ้น จึงได้คิดลวดลายใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าที่มีอยู่ตามท้องตลาด ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการถักไหมมากนัก แต่อาศัยความใจรัก และความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวนำออกมาเป็นธุรกิจ หลังจากนั้นได้มีโอกาสไปเรียนเรื่องแฟชั่น และบุคคลิกของเสื้อผ้า กับคุณแดง ดีไซน์ สถาบันตักส์ศิลา แฟชั่น ทำให้ได้คอนเซ็ปต์สินค้าของ CroChetty ที่เมื่อลูกค้าเห็นแล้วจะเข้าถึง ‘ความน่ารัก สดใส และแฝงด้วยความคลาสสิค’
“เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่เรา ได้บุกเบิกธุรกิจนี้มา ซึ่งเป็นงานแฮนด์เมดล้วนๆ และได้ต่อยอดธุรกิจนี้ด้วยการไปเรียนเพิ่มเติม ทำให้เข้าใจในเรื่องแฟชั่นมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาสั่งสินค้าเรา จะเป็นการทราบแบบปากต่อปาก มีทั้งลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่งผลให้ออเดอร์เข้ามาเยอะมาก จึงได้ขยายงานออกสู่ชาวบ้านตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้ทำการส่งออกไปยังประเทศ ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมัน และฝรั่งเศส”
กว่าจะเป็นสินค้าแฮนด์เมดแฝงดีไซน์
จากการที่ CroChetty ต้องการให้สินค้ามีความแปลกและไม่เหมือนใคร ทั้งเรื่องดีไซน์ และวัตถุดิบ ดังนั้นในเรื่องของไหมที่นำมาถักเป็นกระเป๋า จึงจำเป็นต้องแตกต่างจากวัตถุดิบที่มีตามท้องตลาดด้วย ทำให้ทางร้านต้องคิดทำไหมขึ้นเอง ที่มีความนิ่ม และมัน เงา คล้ายเส้นไหม และนำไปย้อมเพื่อให้ได้สีตามต้องการ การขึ้นต้นแบบ การนำไปถักเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ และการจัดจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนการดีไซน์ และจำหน่าย จะเป็นหน้าที่ของทางร้าน ส่วนขั้นตอนอื่น จะเป็นฝีมือของชาวบ้านทั้งหมด ส่วนกำลังการผลิตสามารถผลิตได้ประมาณ 1,000 ชิ้น/เดือน (ส่งออก)
ดีไซน์ดีคู่แข่งก๊อปปี้ยาก
ในเรื่องของการดีไซน์ จะดีไซน์สินค้าใหม่ๆ ออกเดือนละประมาณ 3-5 แบบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบจากผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งธวัชชัย คิดว่าหากมีคนก๊อปปี้สินค้าของตน ก็คงจะทำได้เพียงระยะเดียว เพราะไม่มีสินค้าใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ดังนั้นจึงคิดว่า การที่ธุรกิจของตนเองจะอยู่ได้อย่างยาวนาน จะต้องอาศัยการดีไซน์สินค้าใหม่ๆ อยู่เสมอ และเคล็ดลับการดีไซน์สินค้าของธวัชชัย จะเริ่มจากการคิดถึงเสื้อผ้าที่กำลังอยู่ในกระแสแฟชั่นก่อน หลังจากนั้นจึงจะคิดดีไซน์ออกมาในรูปแบบของกระเป๋าต่อไป เช่น กระเป๋าบางใบจะเข้ากับเสื้อสายเดี่ยว หรือบางใบจะเหมาะกับเด็กแนว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสินค้ามีกว่า 200 แบบ ที่ไม่เพียงแค่กระเป๋าเท่านั้น แต่ยังได้พัฒนารูปแบบให้เป็นข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการแต่งตัวด้วย เช่น เข็มขัด ชุดว่ายน้ำ บิกินี และถุง สำหรับใส่ของเล็กน้อยๆ ด้วย แต่สินค้าที่ขายดี จะเป็นกระเป๋า ส่วนสินค้าตัวอื่น จะต้องสั่งทำเท่านั้น โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่จะมีความยุ่งยากมากในการผลิต ส่วนราคาจะเริ่มตั้งแต่ 900-4,000 บาท
หน่วยงานรัฐฯ ช่วยเหลือรอบด้าน
การที่แบรนด์ CroChetty สามารถมายืนอยู่ตรงจุดนี้ได้ ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปอีกหนึ่งขั้นสำหรับธุรกิจที่เริ่มจากใจรัก แต่ความสำเร็จดังกล่าวก็เกิดมาจากความช่วยเหลือของหน่วยงานจากภาครัฐในทุกๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ช่วยเหลือในเรื่องการดีไซน์ หน่วยราชการจ.นนทบุรี ได้แก่อุตสาหกรรมจังหวัด, สำนักงานพัฒนาชุมชน, ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้เข้ามาช่วยผลักดันพัฒนา พร้อมให้คำแนะนำเพื่อรับการคัดสรรให้เป็นสินค้าโอทอประดับ 4 ดาว และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้ช่วยเหลือ ลู่ทางการส่งออก และการประชาสัมพันธ์สินค้าของ CroChetty ออกสู่ระดับสากล
“ผมคิดว่าการที่ผู้ประกอบการที่มีเงินทุนไม่สูงนักในการประกอบธุรกิจ โดยมีเงินเริ่มต้นธุรกิจไม่มากนัก ควรที่จะหาช่องทาง ซึ่งหากได้เข้าไปขอความช่วยเหลือจากทางภาครัฐ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะสามารถประหยัดในเรื่องเงินทุนไปได้มาก และประกอบนโยบายของทางรัฐบาลที่ขณะนี้มีแนวทางให้การสนับสนุนกับผู้ประกอบการโอทอปและเอสเอ็มอีอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ธุรกิจไม่ติดขัด”
วาดฝันหัตถกรรมไทยโด่งดังทั่วโลก
ในเรื่องความคาดหวังในธุรกิจของตนเองนั้น ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ประกอบการ ซึ่งก็เช่นเดียวกับ ธวัชชัย เจ้าของไอเดียกระเป๋าถัก ที่ต้องการเปิดร้านขายกระเป๋าเฉพาะแบรนด์ CroChetty อย่างเป็นทางการ ในย่านชุมชนเพื่อเป็นการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของคนไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมถึงการวาดฝันในระดับโลก โดยที่ต้องการให้สินค้าหัตถกรรมของคนไทย เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ซึ่งเชื่อว่า ฝันนี้คงจะเกิดได้ไม่ยากนัก ที่นอกจากปัจจุบันสินค้าหัตถกรรมไทยจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างดีแล้ว เรื่องฝีมือ และความประณีต ของคนไทยก็ความเหนือชั้นกว่าชาติอื่น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ธวัชชัย ลิมปิสุรีย์ เจ้าของไอเดียกระเป๋าไหมถักภายใต้แบรนด์ “CroChetty” (โคลเชตี้) ที่ได้เกิดจากไอเดียล้วนๆ หลังจากที่ได้ไปเห็นกระเป๋าถักของชาวบ้าน จึงคิดนำมาดัดแปลงให้สินค้าแฮนด์เมด ธรรมดา ดูทันสมัยมากขึ้น จึงได้คิดลวดลายใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าที่มีอยู่ตามท้องตลาด ทั้งๆ ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการถักไหมมากนัก แต่อาศัยความใจรัก และความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวนำออกมาเป็นธุรกิจ หลังจากนั้นได้มีโอกาสไปเรียนเรื่องแฟชั่น และบุคคลิกของเสื้อผ้า กับคุณแดง ดีไซน์ สถาบันตักส์ศิลา แฟชั่น ทำให้ได้คอนเซ็ปต์สินค้าของ CroChetty ที่เมื่อลูกค้าเห็นแล้วจะเข้าถึง ‘ความน่ารัก สดใส และแฝงด้วยความคลาสสิค’
“เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่เรา ได้บุกเบิกธุรกิจนี้มา ซึ่งเป็นงานแฮนด์เมดล้วนๆ และได้ต่อยอดธุรกิจนี้ด้วยการไปเรียนเพิ่มเติม ทำให้เข้าใจในเรื่องแฟชั่นมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาสั่งสินค้าเรา จะเป็นการทราบแบบปากต่อปาก มีทั้งลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่งผลให้ออเดอร์เข้ามาเยอะมาก จึงได้ขยายงานออกสู่ชาวบ้านตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้ทำการส่งออกไปยังประเทศ ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมัน และฝรั่งเศส”
กว่าจะเป็นสินค้าแฮนด์เมดแฝงดีไซน์
จากการที่ CroChetty ต้องการให้สินค้ามีความแปลกและไม่เหมือนใคร ทั้งเรื่องดีไซน์ และวัตถุดิบ ดังนั้นในเรื่องของไหมที่นำมาถักเป็นกระเป๋า จึงจำเป็นต้องแตกต่างจากวัตถุดิบที่มีตามท้องตลาดด้วย ทำให้ทางร้านต้องคิดทำไหมขึ้นเอง ที่มีความนิ่ม และมัน เงา คล้ายเส้นไหม และนำไปย้อมเพื่อให้ได้สีตามต้องการ การขึ้นต้นแบบ การนำไปถักเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ และการจัดจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนการดีไซน์ และจำหน่าย จะเป็นหน้าที่ของทางร้าน ส่วนขั้นตอนอื่น จะเป็นฝีมือของชาวบ้านทั้งหมด ส่วนกำลังการผลิตสามารถผลิตได้ประมาณ 1,000 ชิ้น/เดือน (ส่งออก)
ดีไซน์ดีคู่แข่งก๊อปปี้ยาก
ในเรื่องของการดีไซน์ จะดีไซน์สินค้าใหม่ๆ ออกเดือนละประมาณ 3-5 แบบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบจากผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งธวัชชัย คิดว่าหากมีคนก๊อปปี้สินค้าของตน ก็คงจะทำได้เพียงระยะเดียว เพราะไม่มีสินค้าใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ดังนั้นจึงคิดว่า การที่ธุรกิจของตนเองจะอยู่ได้อย่างยาวนาน จะต้องอาศัยการดีไซน์สินค้าใหม่ๆ อยู่เสมอ และเคล็ดลับการดีไซน์สินค้าของธวัชชัย จะเริ่มจากการคิดถึงเสื้อผ้าที่กำลังอยู่ในกระแสแฟชั่นก่อน หลังจากนั้นจึงจะคิดดีไซน์ออกมาในรูปแบบของกระเป๋าต่อไป เช่น กระเป๋าบางใบจะเข้ากับเสื้อสายเดี่ยว หรือบางใบจะเหมาะกับเด็กแนว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสินค้ามีกว่า 200 แบบ ที่ไม่เพียงแค่กระเป๋าเท่านั้น แต่ยังได้พัฒนารูปแบบให้เป็นข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการแต่งตัวด้วย เช่น เข็มขัด ชุดว่ายน้ำ บิกินี และถุง สำหรับใส่ของเล็กน้อยๆ ด้วย แต่สินค้าที่ขายดี จะเป็นกระเป๋า ส่วนสินค้าตัวอื่น จะต้องสั่งทำเท่านั้น โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่จะมีความยุ่งยากมากในการผลิต ส่วนราคาจะเริ่มตั้งแต่ 900-4,000 บาท
หน่วยงานรัฐฯ ช่วยเหลือรอบด้าน
การที่แบรนด์ CroChetty สามารถมายืนอยู่ตรงจุดนี้ได้ ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปอีกหนึ่งขั้นสำหรับธุรกิจที่เริ่มจากใจรัก แต่ความสำเร็จดังกล่าวก็เกิดมาจากความช่วยเหลือของหน่วยงานจากภาครัฐในทุกๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ช่วยเหลือในเรื่องการดีไซน์ หน่วยราชการจ.นนทบุรี ได้แก่อุตสาหกรรมจังหวัด, สำนักงานพัฒนาชุมชน, ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้เข้ามาช่วยผลักดันพัฒนา พร้อมให้คำแนะนำเพื่อรับการคัดสรรให้เป็นสินค้าโอทอประดับ 4 ดาว และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้ช่วยเหลือ ลู่ทางการส่งออก และการประชาสัมพันธ์สินค้าของ CroChetty ออกสู่ระดับสากล
“ผมคิดว่าการที่ผู้ประกอบการที่มีเงินทุนไม่สูงนักในการประกอบธุรกิจ โดยมีเงินเริ่มต้นธุรกิจไม่มากนัก ควรที่จะหาช่องทาง ซึ่งหากได้เข้าไปขอความช่วยเหลือจากทางภาครัฐ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะสามารถประหยัดในเรื่องเงินทุนไปได้มาก และประกอบนโยบายของทางรัฐบาลที่ขณะนี้มีแนวทางให้การสนับสนุนกับผู้ประกอบการโอทอปและเอสเอ็มอีอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ธุรกิจไม่ติดขัด”
วาดฝันหัตถกรรมไทยโด่งดังทั่วโลก
ในเรื่องความคาดหวังในธุรกิจของตนเองนั้น ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ประกอบการ ซึ่งก็เช่นเดียวกับ ธวัชชัย เจ้าของไอเดียกระเป๋าถัก ที่ต้องการเปิดร้านขายกระเป๋าเฉพาะแบรนด์ CroChetty อย่างเป็นทางการ ในย่านชุมชนเพื่อเป็นการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของคนไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมถึงการวาดฝันในระดับโลก โดยที่ต้องการให้สินค้าหัตถกรรมของคนไทย เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ซึ่งเชื่อว่า ฝันนี้คงจะเกิดได้ไม่ยากนัก ที่นอกจากปัจจุบันสินค้าหัตถกรรมไทยจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างดีแล้ว เรื่องฝีมือ และความประณีต ของคนไทยก็ความเหนือชั้นกว่าชาติอื่น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-