แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงอุตสาหกรรม
เลอคองคอร์ด
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ (คต.)ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดสัมมนาเรื่อง “Is REACH Reachable?” ในวันที่ 14 กันยายน 2548 เวลา 08.30 - 17.00 น ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ลเลอคองคอร์ด โดยจะเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมาธิการยุโรปมาบรรยายเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ (REACH) พร้อมทั้งได้เชิญผู้แทนภาคอุตสาหกรรมเคมีจากสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และไทย มาบรรยายผลกระทบและการเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อระเบียบดังกล่าว ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการสารเคมีไทยและผู้ผลิตสินค้าที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม (Downstream users) ในการที่จะทำความเข้าใจและการเตรียมความพร้อม เพื่อสามารถปฏิบัติสอดคล้องต่อระเบียบดังกล่าวที่จะบังคับใช้ประมาณกลางปี 2549
อธิบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป ดังกล่าว กำหนดให้สินค้าเคมีภัณฑ์ที่ผลิต/นำเข้า เกินกว่า 1 ตัน/ต่อปี/ต่อราย จะต้องยื่นขอจดทะเบียนสารเคมี และหากมีปริมาณการผลิต/นำเข้าเกินกว่า 100 ตัน/ปี/รายขึ้นไปก็จะต้องผ่านระบบการประเมิน (Evaluation) ด้วย นอกจากนี้สารเคมีที่จัดเป็น CMRs, PBTs และ vPvBs นอกจากต้องมีการจดทะเบียนและผ่านระบบประเมินแล้ว จะต้องได้รับอนุญาต (Authorisation) ก่อนจึงจะผลิต/จำหน่ายได้ ซึ่งระเบียบดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสารเคมี รวมทั้งผู้ส่งออกสินค้าต่างๆซึ่งใช้สารเคมีในการผลิตสินค้า (Downstream users) ของไทย เนื่องจากระเบียบมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยากต่อความเข้าใจ และอาจสร้างภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นในการที่จะต้องแสวงหาวัตถุดิบสารเคมีที่สอดคล้องตามระเบียบของอียู นอกจากนี้ผู้นำเข้าอียูอาจผลักภาระความรับผิดชอบในการดำเนินการหรือภาระค่าใช้จ่ายการจัดทำข้อมูลรายละเอียดที่ใช้ในการยื่นจดทะเบียนอีกทางหนึ่งด้วย ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามหรือสมัครเข้าร่วมสัมมนาได้ ผู้สมัครภาครัฐติดต่อที่ กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 0 2547 4734 โทรสาร 0 2547 4736 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0 2202 4371 โทรสาร 0 2202 4365 ผู้สมัครภาคเอกชนติดต่อที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร. 0 2345 1000 ต่อ 1177 โทรสาร 0 2345 1281 - 3
อนึ่ง ปี 2547 ประเทศไทยส่งออกสินค้าเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารเคมี เช่นสิ่งทอ เครื่องหนังไปสหภาพยุโรป คิดเป็นมูลค่า 58,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.7 และช่วง ม.ค. - มิ.ย. 48 มูลค่า 28,342 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.1
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
อธิบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป ดังกล่าว กำหนดให้สินค้าเคมีภัณฑ์ที่ผลิต/นำเข้า เกินกว่า 1 ตัน/ต่อปี/ต่อราย จะต้องยื่นขอจดทะเบียนสารเคมี และหากมีปริมาณการผลิต/นำเข้าเกินกว่า 100 ตัน/ปี/รายขึ้นไปก็จะต้องผ่านระบบการประเมิน (Evaluation) ด้วย นอกจากนี้สารเคมีที่จัดเป็น CMRs, PBTs และ vPvBs นอกจากต้องมีการจดทะเบียนและผ่านระบบประเมินแล้ว จะต้องได้รับอนุญาต (Authorisation) ก่อนจึงจะผลิต/จำหน่ายได้ ซึ่งระเบียบดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสารเคมี รวมทั้งผู้ส่งออกสินค้าต่างๆซึ่งใช้สารเคมีในการผลิตสินค้า (Downstream users) ของไทย เนื่องจากระเบียบมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยากต่อความเข้าใจ และอาจสร้างภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นในการที่จะต้องแสวงหาวัตถุดิบสารเคมีที่สอดคล้องตามระเบียบของอียู นอกจากนี้ผู้นำเข้าอียูอาจผลักภาระความรับผิดชอบในการดำเนินการหรือภาระค่าใช้จ่ายการจัดทำข้อมูลรายละเอียดที่ใช้ในการยื่นจดทะเบียนอีกทางหนึ่งด้วย ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามหรือสมัครเข้าร่วมสัมมนาได้ ผู้สมัครภาครัฐติดต่อที่ กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 0 2547 4734 โทรสาร 0 2547 4736 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0 2202 4371 โทรสาร 0 2202 4365 ผู้สมัครภาคเอกชนติดต่อที่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร. 0 2345 1000 ต่อ 1177 โทรสาร 0 2345 1281 - 3
อนึ่ง ปี 2547 ประเทศไทยส่งออกสินค้าเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารเคมี เช่นสิ่งทอ เครื่องหนังไปสหภาพยุโรป คิดเป็นมูลค่า 58,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.7 และช่วง ม.ค. - มิ.ย. 48 มูลค่า 28,342 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.1
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-