ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.)จัดพิธีเปิด "ศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs" เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้คำปรึกษาแนะนำด้านธุรกิจส่งออกแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยมีคุณสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธสน.เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณชั้นล็อบบี้ อาคารเอ็กซิม สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548
กรรมการผู้จัดการ ธสน.เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยและรายกลางมีความแข็งแกร่งเพื่อเติบโตเป็นผู้ส่งออกที่มีศักยภาพในอนาคต อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาและสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แก่ประเทศไทยนั้น การเปิดศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs ของ ธสน. ในวันนี้จึงเป็นการขานรับนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลรวมทั้งตอกย้ำถึงปณิธานที่แน่วแน่ของ ธสน. ที่พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่สนใจด้านการส่งออกแต่ยังขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจส่งออกทั้งในด้านแหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือเครื่องใช้ในการชำระเงินทางการค้าระหว่างประเทศ และการป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกทุกคนควรทราบก่อนที่จะเริ่มต้นลงมือทำธุรกิจส่งออก
กรรมการผู้จัดการ ธสน.กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการ SMEs แล้ว ยังสามารถให้บริการทางการเงินทั้งก่อนและหลังการส่งออกได้อย่างครบวงจร อาทิ สินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม สินเชื่อเพื่อการร่วมงานแสดงสินค้า สินเชื่อผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออก บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก ซึ่ง ธสน.มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs จะเป็นกำลังสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ส่งออกรายย่อยและเป็นการตอบสนองต่อความสนใจของธุรกิจไทยจำนวนมากที่กำลังแสวงหาลู่ทางส่งออก
ผู้ส่งออกที่สนใจสามารถใช้บริการของ "ศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs" ได้ ณ บริเวณชั้นล็อบบี้ อาคารเอ็กซิม ธสน.สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน โทร.0 2271 3700 ต่อ 2871-8
ธสน.ได้เป็นสุดยอดแบรนด์สถาบันการเงินไทย
ธสน.ได้รับการรับรองเป็นสุดยอดแบรนด์สถาบันการเงินภาครัฐของไทยในปี 2548 จาก Superbrands Thailand สถาบันรับรองแบรนด์สินค้าชั้นนำของโลก โดยสืบเนื่องจากความสำเร็จของ ธสน. ในการสร้างความโดดเด่นและสถานะที่มั่นคงในตลาดสถาบันการเงิน ประกอบกับความนิยมเชื่อมั่น การเป็นที่ยอมรับและความจงรักภักดีของลูกค้าต่อ ธสน. ตลอดระยะเวลากว่า 11 ปี ที่ผ่านมา
คุณสถาพร ชินจิตร(กลาง) กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยภายหลังเป็นตัวแทนเข้ารับมอบประกาศนียบัตรจากคุณ ศักดิ์ชัย อุ่นจิตตกุล(ซ้าย) ประธาน Superbrands Thailand ว่าการได้รบการรับรองให้เป็น Superbrands ในครั้งนี้เป็นการยืนยันความสำเร็จของ ธสน. ในการสร้างแบรนด์ ตามมาตรฐานสากลโดยได้รับการยอมรับจาก Superbrands Thailand ซึ่งร่วมกับผู้นำด้านวิจัยตลาด Syonvate ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคก่อนจะนำเสนอผลการวิจัยต่อคณะกรรมการ Superbrands Thailand ให้ความเห็นชอบ โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อประชาสัมพันธ์และด้านวิชาการสื่อสารมวลชน การเลือกเป็น Superbrands ได้พิจารณาภายใต้หลักเกณฑ์ที่เข้มงวด 5 ประการ คือ ความโดดเด่นในตลาดระยะเวลาหรือความยาวนานที่อยู่ในตลาดแม้ในสถานการณ์ ปัญหาต่างๆ ความนิยมเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ ความจงรักภักดีของลูกค้าต่อแบรนด์ และการเป็นที่ยอมรับโดยรวมในตลาด
คุณสถาพรเปิดเผยต่อรางวัลไปว่ารางวัล Superbrands แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยต่อแบรนด์ของ ธสน.ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการให้บริการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงบริการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจส่งออกนับตั้งแต่เปิดดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 โดยที่ผ่านมา ธสน.ได้ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วยการนำเสนอทางแก้ปัญหาธุรกิจส่งออกในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไปตามลักษณะธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งการจัดโครงการพิเศษเพื่อการส่งออกและเสริมสร้างศักยภาพของนักธุรกิจไทยในตลาดโลก ธนาคารเชื่อว่าการได้รับสถานะ Superbrands เช่นนี้ จะยิ่งช่วยกระตุ้นความสนใจในหมู่ผู้ส่งออกในการที่จะมุ่งมั่นสร้างแบรนด์ของไทยให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น ตามนโยบายส่งเสริมแบรนด์ไทยในต่างประเทศ
เพื่อสนับสนุนผู้ส่งออกใหม่ๆ และการสร้างฐานในตลาดใหม่ๆ ธสน.ได้จัดให้มีโครงการตรวจสอบผู้ซื้อก่อนเจรจาการค้าสำหรับผู้ส่งออกที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศกับกรมส่งเสริมการส่งออก โครงการเพิ่มมูลค่าส่งออกกับประเทศ FTA และโครงการสนับสนุนการส่งออกไปประเทศใหม่ของผู้ส่งออก
"ผมขอขอบคุณลูกค้าและคนไทยทุกคนที่นึกถึงและเชื่อมั่นในธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เราจึงมีโอกาสได้เป็นหนึ่งในสุดยอดแบรนด์สถาบันการเงินของไทยในวันนี้ ผมหวังว่าผู้ส่งออกอีกมากจะได้สนใจในการสร้างแบรนด์ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ส่งออกอาหารซึ่งประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมากอยู่แล้ว" คุณสถาพรกล่าวในตอนท้าย
Bioplastic..พลาสติกชนิดใหม่เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
"Bioplastic" หรือ "พลาสติกชีวภาพ" คือพลาสติกที่ผลิตโดยการนำพืชหลายชนิด เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง มันฝรั่ง หัวบีท และปอ มาผ่านกระบวนการผลิตโดยสลายด้วยเอนไซม์ซึ่งได้น้ำตาล หลังจากนั้นจึงนำไปหมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย เพื่อให้ได้กรดน้ำนม(Lactic Acid) เมื่อทำกรดน้ำนมให้บริสุทธิ์ และนำไปผ่านกระบวนการการโพลิเมอร์(Polymerzation) ก็จะได้สารประกอบโพลิเมอร์จากกรดน้ำนม (Polylactic Acid: PLA) โดย PLA ที่ได้สามารถนำไปขึ้นรูปเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป
ปัจจุบันมีหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เริ่มผลิต Bioplastic ขึ้นใช้แทนพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีแล้ว อันเป็นผลจากการที่ต้นทุนการผลิตเม็ดพลาสติกจากปิโตรเคมีพุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับกระแสการตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่กำลังมาแรง ทำให้หลายประเทศหันมาให้ความสนใจผลิต Bioplastic กันมากขึ้น เนื่องจาก Bioplastic สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งต่างจากพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา
เนื่องจากการผลิต Bioplastic ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตส่งผลให้ต้นทุนการผลิตยังสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมี แต่เนื่องจากพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต Bioplastic มีราคาไม่แพงและหาได้ค่อนข้างง่าย ประกอบกับหากมีการนำ Bioplastic มาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต คาดว่าจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิต Bioplastic ลดลงได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้การนำ Bioplastic เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทต่างๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างบางประการ อาทิ
*รูปแบบของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตได้ยังมีรูปทรงง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เช่น กล่อง ภาชนะบรรจุอาหาร แผ่น DVD แปรงสีฟัน กระถางต้นไม้ วัสดุปิดแผล และไหมเย็บแผลที่สลายตัวได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นต้น
*ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตได้ยังทนความร้อนได้ไม่มากนัก คือ ทนความร้อนได้ราว 60 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและพัฒนา Bioplastic ให้สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 12 องศาเซลเซียส และมีความแข็งมากขึ้นราว 1.8 เท่าแล้ว โดยคาดว่าญี่ปุ่นจะสามารถนำ Bioplastic ที่คิดค้นได้นี้มาผลิตเป็นอะไหล่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ภายในปี 2548
จากปริมาณการใช้พลาสติกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากจาก 18 ล้านตันในปี 2546 เป็น 258 ล้านตันภายในปี 2553 ส่งผลให้หลายประเทศรวมทั้งไทยเริ่มสนใจคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต Bioplastic อย่างจริงจัง อาทิ เมื่อปี 2547 บริษัท Mitsui Chemicals Inc. ของญี่ปุ่น ได้ร่วมทุนกับบริษัท Cargill Dow Co., Ltd. ของสหรัฐฯ เปิดโรงงานผลิต Bioplastic ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ สำหรับในประเทศไทยหลายๆ หน่วยงาน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้เริ่มมีการศึกษาวิจัยการผลิต Bioplastic อย่างกว้างขวางมากขึ้นแล้วเช่นกัน
EXPORT FOCUS ครีโม : ไอศกรีมแบรนด์ไทยที่แตกต่าง
รถปิกอัปสีฟ้าสดในติดโลโก้ลายการ์ตูนรูปดาวสีเหลือง แล่นตามกันเข้ามาจอดในลานกว้างของโรงงาน ทุกคันเข้าประจำที่เพื่อรอรับสินค้าเที่ยวใหม่ ไปขายในวันรุ่งขึ้น เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขของเด็กๆ ที่กำเศษสตางค์มารอซื้อไอศกรีม ตราดาวสีเหลืองยี่ห้อ "ครีโม" ของพวกเขา
"กลุ่มลูกค้าของเราคือเด็กนักเรียน" คำบอกเล่าของคุณ สอ ชี ยง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและส่งออกชาวมาเลเซีย ที่มาร่วมทีมผู้บริหาร บริษัท จอมธนา จำกัดในไทยตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ทำให้เราเห็นภาพต่อของเด็กนักเรียนที่มุงรอบตู้ไอศกรีมสีฟ้าสดร้องตะโกนบอกพี่คนขายขนมในโรงอาหารว่าจะเอาไอศกรีมแท่งบ้าง ถ้วยบ้าง รสช็อกโกแลต วนิลา มะพร้าว ถั่วดำ และอีกสารพัดธัญพืช และผลไม้ไทย
คุณสอ ชี ยง เล่าว่ากลยุทธ์การตลาดในประเทศของครีโมเน้นขายไอศกรีมรสอร่อย ในราคาแค่เศษสตางค์ในกำมือ เด็กนักเรียน แต่ในต่างประเทศครีโมกำหนดจุดยืนขายไอศกรีม รสผลไม้เมืองร้อน พร้อมตบเท้าเข้าตลาดรอบบ้านไทยตั้งแต่ รสมะม่วง ขนุน มะพร้าว ทุเรียน เผือก และอีกสารพัดรส ขนมหวานไทยในสนนราคาที่แข่งขันได้แถมคุณภาพคับถ้วย และแท่ง และในวันนี้ความแตกต่างที่มีคุณภาพทำให้เทรดเดอร์และผู้บริโภคทั่วโลกที่เคยเฮโลบินไปทานไอศกรีมรสวนิลา และช็อกโกแลตในยุโรป เริ่มหันมามองและชิมไอศกรีมแบรนด์ไทยชื่อ "ครีโม" จนฐานการผลิตบนถนนปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เกิดความคึกคักระคนความสุขใจในยอดจำหน่าย
"ครีโมคือแบรนด์ของคนไทยที่ประสบความสำเร็จในตลาดโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ เราก่อร่างจากความคิดริเริ่มในการผลิตสินค้าที่แตกต่างและโดดเด่น วันนี้เราจึงไม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือรักษามาตรฐานการผลิตและจุดแข็งของเรา รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับปัจจัยแวดล้อม" คุณ สอ ชี ยง กล่าว
เมื่อฐานนะทางการตลาดมั่นคง ครีโมจึงเริ่มหันมาคืนกำไรให้สังคมด้วยการสร้าง Cremo World เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้และความบันเทิงแบบมีสาระของเด็กไทย เด็กที่เข้าเยี่ยมชม Cremo World จะสนุกกับการใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงชมกระบวนการผลิตไอศกรีมครีโม และท่องสวนสนุกเชิงวิทยาศาสตร์ อาทิ บ้านกระจก หรือห้องลวงตา โดยในขณะนี้ Cremo World อยู่ในระหว่างดำเนินการและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีหน้า
สำหรับโครงการต่อไป ครีโมมีแผนจะผลิตสินค้าใหม่คือซาลาเปาไส้ไก่แดง ถั่วดำ เผือก ครีม และช็อกโกแลต ไปทดลองตลาดในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อใช้พื้นที่ของรถบรรทุกและตู้แช่แข็งของบริษัทให้เต็มศักยภาพ และหาขนมรองท้องให้เด็กๆ ได้ทานคู่กับไอศกรีม ซึ่งนักการตลาดอย่างคุณ สอ ชี ยง บอกว่าหากซาลาเปาขายดีแล้ว อาจจัดให้มีขนมจีบ ติ่มซำเพิ่มด้วยในอนาคต นับเป็นกลยุทธ์การตลาดบนพื้นฐานของการวิจัย และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออกไทย แต่หากต้องการพี่เลี้ยงในรายละเอียด คุณสอ ชี ยง บอกอย่างไม่เข้าข้างว่าต้องไปหาสถาบันการเงินอย่างเอ็กซิมแบงก์
"ผมเคยเป็นนายแบงก์มาก่อน จึงเห็นความสำคัญของแบงก์ว่าเป็นสะพานสำคัญที่ทำให้แผนงานต่างๆ เป็นจริงขึ้นได้ เพราะแบงก์มีทั้งข้อมูล เงิน และคำแนะนำดีๆ ทั้งยังช่วยในการเปิดตลาดใหม่ๆ ขณะที่ลูกค้ามักขอเครดิตเรามากขึ้น" คุณสอ ชี ยง กล่าว
หากเอ็กซิมแบงก์จะเป็นสะพานทอดให้จอมธนาเดินไปถึงฝันได้ ครีโมก็คงได้พบจุดยืนที่มั่นคงตรงปลายสะพานที่ต้องการแล้ว พร้อมส่งสัญญาณให้ผู้ที่เหลือทางต้นและกลางสะพานเดินข้ามตามกันมา ส่วนเด็กๆ ที่นั่งเล่นอยู่ริมฝั่งและยังไม่ต้องการข้ามสะพานสายธุรกิจในวันนี้ยังมีเวลาสร้างตัวเองให้โตพร้อมสมบูรณ์ต่อไป ทานไอศกรีมและซาลาเปาของจอมธนาเอาแรงก่อนค่อยเคลื่อนทัพก็ยังไม่สาย สูตรนี้ทำให้โตมานักต่อนักแล้ว
เปิดโลกตลาดส่งออก
รายชื่อผู้นำเข้าในประเทศสิงคโปร์
1.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Winnie Yeo Everace Management Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Cosmetic colour products
โทรศัพท์ :(65) 9850 8780
อีเมล :win2003@singnet.com.sg
2.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Rebecca Sing Long Foodstuff Trading Co Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Plastic bottle for chilli sauce
โทรศัพท์ :(65)6284 5254
อีเมล : nya@singnet.com.sg
3.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Niels Singel Christensen Singcol Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Wood flooring, picture frames (wood and metals)
โทรศัพท์ :(65)9012 4663
อีเมล :nielschridtensen@singcol.com
4.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr. Philip Fong Kingsmen Marketing Indochina
ประสงค์จะนำเข้า :Wood furniture
โทรศัพท์ :(65)6747 3494
อีเมล :tradelines@eldley.com.sg
5.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Kong Mun Kin KMK Services
ประสงค์จะนำเข้า :Plastic sheet and film, PVC type
โทรศัพท์ :(65)9027 4084
อีเมล :kmk_kongmunkin@yahoo.com
7.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Aaghir Yalav, Buttcheeks
ประสงค์จะนำเข้า :Nail polishers
โทรศัพท์ :(65)9023 7265
อีเมล :aaghir@buttcheeks.com.sg
8.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Jason Wong Turf City Superstore Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Lady fashion wear
โทรศัพท์ :(65)6468 1764
อีเมล :jason_wong@turfcity.com.sg
9.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Kenny Tep Cooling technology
ประสงค์จะนำเข้า :Leather products
โทรศัพท์ :(65)6726 1586
อีเมล :kenny@coolingtechnology.com.sg
10.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Ramesh Tarani Tatra Trucks India Limited
ประสงค์จะนำเข้า :Automotive parts and components for trucks
โทรศัพท์ :(65)6339 9670
อีเมล :raytroje@singnet.com.sg
11.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Zoe Ten Edmy Corportions (S) Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Trailer, undercarriage,trucks,goods vihicle brake
and wheels
โทรศัพท์ :(65)6456 0333
อีเมล :admin@edmycorp.com.sg
12.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Tommy Lee STI Produccts & Marketing
ประสงค์จะนำเข้า :Garment and apparels
โทรศัพท์ :(65)6339 9670
อีเมล :prodmark@singnet.com.sg
คุณถาม EXIM ตอบ
คุณถาม : อยากทราบว่าระบบ ROVERS คืออะไรและมีขั้นตอนการใช้งานอย่างไร
EXIM ตอบ : ROVERS หรือ Rules of Origin Verification System คือ ระบบการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติด้านแหล่งกำเนินสินค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับสินค้าที่จะส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement: FTA) ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ โดยเป็นระบบที่กรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจสอบและออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ส่งออกตรวจสอบสินค้าด้วยตนเองว่ามีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและได้รับสิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ FTA หรือไม่ โดยการกรอกรายละเอียดตามขั้นตอนต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตให้ถูกต้อง
ระบบ ROVERS นอกจากจะช่วยรองรับปริมาณการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นหลังจาก FTA ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ เริ่มทยอยมีผลบังคับใช้แล้ว ยังช่วยให้ผู้ส่งออกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายจากเดิมที่ต้องนำเอกสารหลักฐานการผลิตทั้งหมดมาแสดงเพื่อขอให้กรมการค้าต่างประเทศตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน แต่ภายใน ROVERS ระบบจะทำการตอบกลับผลการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้ามาทันที ทำให้ผู้ส่งออกมีความคล่องตัวมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจ
ขั้นตอนการใช้งาน ROVERS มีดังนี้
* การขอชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานผู้ส่งออกต้องยื่นเอกสารสำคัญต่างๆ อาทิ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(กรณีนิติบุคคล) สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี (กรณีบุคคลธรรมดา) และสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เป็นต้น เพื่อขอรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
* การยื่นคำขอให้ตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าผู้ส่งออกต้องใส่ชื่อผู้ใช้รหัสผ่านเข้าสู่ระบบเพื่อยื่นคำขอหรือเรียกคำขอที่ได้บันทึกไว้และดำเนินการต่อโดยการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลการผลิต จากนั้นจึงส่งคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ต เมื่อระบบแจ้งผลการตรวจสอบแหล่งกำเนินสินค้าแล้ว ผู้ส่งออกต้องพิมพ์คำรับรองการผลิตสินค้าเพื่อนำไปยื่นขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่กรมการค้าต่างประเทศต่อไป
ปัจจุบันประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะทำ FTA กับประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งหากประสบความสำเร็จและเริ่มมีผลบังคับใช้จะทำให้ต้องมีการตรวจสอบและรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ FTA เพิ่มขึ้น ดังนั้น การนำระบบ ROVERS มาใช้จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกมีความคล่องตัวและสามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่
คุณถาม : ภาวะตลาดของเล่นเพื่อการศึกษาในญี่ปุ่นเป็นอย่างไร
EXIM ตอบ : ของเล่นเพื่อการศึกษา (Education Toy) หมายถึง ของเล่นที่เน้นพัฒนาทักษะและเสริมสร้างความรู้โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเข้าเรียน นับเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในญี่ปุ่น ด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 20% ของมูลค่าตลาดของเล่นทั้งหมด
แม้ว่าในช่วงปี 2544-2546 ตลาดของเล่นโดยรวมของญี่ปุ่นจะลดลงเฉลี่ย 5% ต่อปี แต่ตลาดของเล่นเพื่อการศึกษาในช่วงเดียวกันกลับขยายตัวเฉลี่ย 2% ต่อปี และยังมีลู่ทางขยายตลาดอีกมากเนื่องจากครอบครัวชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันมีเด็กเล็กต่อครัวเรือนน้อยลง ทำให้ผู้ปกครองยินดีจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ทั้งนี้ ประเภทของเล่นเพื่อการศึกษาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมีหลากหลายตั้งแต่ของเล่นที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่สูงนัก อาทิ ของเล่นประเภทตัวต่อ (Lego Block) และของเล่นประเภทภาพต่อ (Jigsaw Puzzle) ไปจนถึงของเล่นที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงขึ้นอย่างของเล่นที่มีระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบพื้นฐาน(Computer Based Toy)
สำหรับของเล่นเพื่อการศึกษาที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการผลิตในระดับบานกลาง เน้นรูปแบบสวยงาม และใช้วัสดุจากธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้เป็นส่วนประกอบในการผลิต
ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ปกครองว่าของเล่นนั้นปลอดภัยต่อเด็ก ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกของเล่นเพื่อการศึกษาของไทยไปญี่ปุ่น มีโอกาสขยายตัวในอนาคตอันใกล้ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประกอบกับผู้นำเข้าญี่ปุ่นหลายรายเริ่มประสบกับปัญหาของเล่นนำเข้าจากจีนที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
เดินหน้าการส่งออกไปรัสเซียกับ RIFF
ปัจจุบันการส่งเสริมการส่งออกมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการขาดดุลการค้าในสัดส่วนที่สูง ดังนั้นการส่งเสริมการส่งออกของภาครัฐโดยการสนับสนุนเป็นพิเศษด้านการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศใหม่หรือประเทศที่ยังมีปริมาณการค้าระหว่างกันน้อยควบคู่กับความร่วมมือของภาคเอกชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศให้มากขึ้น
รัสเซียเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีความมั่งคั่ง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม กาค้าระหว่างไทยกับรัสเซียยังมีปริมาณน้อยและไทยยังขาดดุลการค้ากับรัสเซีย ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตการค้าขายระหว่างไทยกับรัสเซียต้องประสบกับอุปสรรคต่างๆ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในปี 2541 ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น และการเข้มงวดของฉลากสินค้าที่ต้องระบุส่วนประกอบ ของ GMOs, Tariff Quota เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่สนใจที่จะส่งออกไปตลาดรัสเซียเท่าที่ควร มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซียจึงมีปริมาณน้อยทำให้รัสเซียได้เปรียบดุลการค้าไทยติดต่อกันมาตลอด โดยในปี 2546 ไทยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 272.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 577.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2547 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกมูลค่าเพียง 301.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 1,016.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร)
ด้วยศักยภาพของผู้ส่งออกไทยในการผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อรัสเซียได้ โดยสินค้าสำคัญที่รัสเซียนำเข้าจากประเทศไทย ได้แก่ น้ำตาลทราย เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และส่วนประกอบ อัญมณี และเครื่องประดับ อาหารทะลกระป๋องและแปรรูป รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายสนับสนุนให้ขยายตลาดส่งออกไปยังรัสเซียเพื่อลดการขาดดุลการค้าโดยมอบหมายให้ ธสน.เป็นธนาคารตัวแทนในการจัดสรรวงเงิน RTFF ให้แก่ JSC Vneshtorgbank เพื่อ สร้างแรงจูงใจให้ผู้นำรัสเซียซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น RTFF คืออะไร
RTFF ย่อมาจาก Revolving Trade Financing Facillity ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง ธสน.และ JSC Vneshtorgbank ของรัสเซีย เพื่อสนับสนุนการส่งออกตามแนวนโยบายของรัฐบาลในรูปแบบวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น จำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ JSC Vneshtorgbank นำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้นำรัสเซีย โดยผู้นำเข้ารัสเซียสามารถขยายระยะเวลาการชำระค่าสินค้าที่นำเข้าจากไทยได้นานถึง 180 วัน
ขั้นตอนการเข้าร่วม RTFF สำหรับผู้ส่งออก
ผู้ส่งออกสามารถทำความตกลงกับผู้นำรัสเซียโดยขอให้ผู้นำเข้าติดต่อขอกู้เงินจาก JSC Vneshtorgbank เพื่อเปิด L/C at Sight ที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50,00 ดอลลาร์สหรัฐมายัง ธสน.เมื่อส่งสินค้าออกแล้ว ผู้ส่งออกสามารถขอรับชำระเงินค่าสินค้าจาก ธสน.ได้โดยตรงภายใน 3 วันทำการ หลังจาก ธสน.ได้รับเอกสารส่งออกที่ครบถ้วนถูกต้องตามเงื่อนไขที่ L/C
อัตราค่าธรรมเนียม
ผู้ส่งออกที่เข้าร่วม RTFF จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับแจ้งการเปิด L/C(Advising Fee) ค่าตรวจและเรียกเก็บตามเอกสารส่งออก(Negotiation Fee) และค่าส่งเอกสารและอากรแสตมป์(postage and Stamp Duty) ในอัตราปกติ แต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคารต่างประเทศ (Foreign Bank Charges)
ประโยชน์ที่ได้รับจาก RTFF
* เพิ่มโอกาสและช่องทางให้ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดไปยังรัสเซีย
* สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกว่าจะได้รับชำระค่าสินค้า
* ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ส่งออกในส่วนของค่าธรรมเนียมต่างประเทศ(Foreign Bank Charges)
* สร้างแรงจูงใจให้ผู้นำเข้ารัสเซียซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้นเนื่องจากสามารถขยายระยะเวลาการชำระค่าสินค้าได้นานถึง 180 วัน
ผู้ที่สนใจเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียผ่าน RTFF สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ ธสน. โทร. 0 2271 0506
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-
กรรมการผู้จัดการ ธสน.เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อยและรายกลางมีความแข็งแกร่งเพื่อเติบโตเป็นผู้ส่งออกที่มีศักยภาพในอนาคต อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาและสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แก่ประเทศไทยนั้น การเปิดศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs ของ ธสน. ในวันนี้จึงเป็นการขานรับนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลรวมทั้งตอกย้ำถึงปณิธานที่แน่วแน่ของ ธสน. ที่พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่สนใจด้านการส่งออกแต่ยังขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจส่งออกทั้งในด้านแหล่งข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือเครื่องใช้ในการชำระเงินทางการค้าระหว่างประเทศ และการป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกทุกคนควรทราบก่อนที่จะเริ่มต้นลงมือทำธุรกิจส่งออก
กรรมการผู้จัดการ ธสน.กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการ SMEs แล้ว ยังสามารถให้บริการทางการเงินทั้งก่อนและหลังการส่งออกได้อย่างครบวงจร อาทิ สินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม สินเชื่อเพื่อการร่วมงานแสดงสินค้า สินเชื่อผู้ผลิตเพื่อผู้ส่งออก บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก ซึ่ง ธสน.มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs จะเป็นกำลังสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ส่งออกรายย่อยและเป็นการตอบสนองต่อความสนใจของธุรกิจไทยจำนวนมากที่กำลังแสวงหาลู่ทางส่งออก
ผู้ส่งออกที่สนใจสามารถใช้บริการของ "ศูนย์บริการผู้ส่งออก SMEs" ได้ ณ บริเวณชั้นล็อบบี้ อาคารเอ็กซิม ธสน.สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน โทร.0 2271 3700 ต่อ 2871-8
ธสน.ได้เป็นสุดยอดแบรนด์สถาบันการเงินไทย
ธสน.ได้รับการรับรองเป็นสุดยอดแบรนด์สถาบันการเงินภาครัฐของไทยในปี 2548 จาก Superbrands Thailand สถาบันรับรองแบรนด์สินค้าชั้นนำของโลก โดยสืบเนื่องจากความสำเร็จของ ธสน. ในการสร้างความโดดเด่นและสถานะที่มั่นคงในตลาดสถาบันการเงิน ประกอบกับความนิยมเชื่อมั่น การเป็นที่ยอมรับและความจงรักภักดีของลูกค้าต่อ ธสน. ตลอดระยะเวลากว่า 11 ปี ที่ผ่านมา
คุณสถาพร ชินจิตร(กลาง) กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยภายหลังเป็นตัวแทนเข้ารับมอบประกาศนียบัตรจากคุณ ศักดิ์ชัย อุ่นจิตตกุล(ซ้าย) ประธาน Superbrands Thailand ว่าการได้รบการรับรองให้เป็น Superbrands ในครั้งนี้เป็นการยืนยันความสำเร็จของ ธสน. ในการสร้างแบรนด์ ตามมาตรฐานสากลโดยได้รับการยอมรับจาก Superbrands Thailand ซึ่งร่วมกับผู้นำด้านวิจัยตลาด Syonvate ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคก่อนจะนำเสนอผลการวิจัยต่อคณะกรรมการ Superbrands Thailand ให้ความเห็นชอบ โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อประชาสัมพันธ์และด้านวิชาการสื่อสารมวลชน การเลือกเป็น Superbrands ได้พิจารณาภายใต้หลักเกณฑ์ที่เข้มงวด 5 ประการ คือ ความโดดเด่นในตลาดระยะเวลาหรือความยาวนานที่อยู่ในตลาดแม้ในสถานการณ์ ปัญหาต่างๆ ความนิยมเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ ความจงรักภักดีของลูกค้าต่อแบรนด์ และการเป็นที่ยอมรับโดยรวมในตลาด
คุณสถาพรเปิดเผยต่อรางวัลไปว่ารางวัล Superbrands แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยต่อแบรนด์ของ ธสน.ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการให้บริการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงบริการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจส่งออกนับตั้งแต่เปิดดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 โดยที่ผ่านมา ธสน.ได้ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วยการนำเสนอทางแก้ปัญหาธุรกิจส่งออกในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไปตามลักษณะธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งการจัดโครงการพิเศษเพื่อการส่งออกและเสริมสร้างศักยภาพของนักธุรกิจไทยในตลาดโลก ธนาคารเชื่อว่าการได้รับสถานะ Superbrands เช่นนี้ จะยิ่งช่วยกระตุ้นความสนใจในหมู่ผู้ส่งออกในการที่จะมุ่งมั่นสร้างแบรนด์ของไทยให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น ตามนโยบายส่งเสริมแบรนด์ไทยในต่างประเทศ
เพื่อสนับสนุนผู้ส่งออกใหม่ๆ และการสร้างฐานในตลาดใหม่ๆ ธสน.ได้จัดให้มีโครงการตรวจสอบผู้ซื้อก่อนเจรจาการค้าสำหรับผู้ส่งออกที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศกับกรมส่งเสริมการส่งออก โครงการเพิ่มมูลค่าส่งออกกับประเทศ FTA และโครงการสนับสนุนการส่งออกไปประเทศใหม่ของผู้ส่งออก
"ผมขอขอบคุณลูกค้าและคนไทยทุกคนที่นึกถึงและเชื่อมั่นในธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เราจึงมีโอกาสได้เป็นหนึ่งในสุดยอดแบรนด์สถาบันการเงินของไทยในวันนี้ ผมหวังว่าผู้ส่งออกอีกมากจะได้สนใจในการสร้างแบรนด์ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ส่งออกอาหารซึ่งประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมากอยู่แล้ว" คุณสถาพรกล่าวในตอนท้าย
Bioplastic..พลาสติกชนิดใหม่เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
"Bioplastic" หรือ "พลาสติกชีวภาพ" คือพลาสติกที่ผลิตโดยการนำพืชหลายชนิด เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง มันฝรั่ง หัวบีท และปอ มาผ่านกระบวนการผลิตโดยสลายด้วยเอนไซม์ซึ่งได้น้ำตาล หลังจากนั้นจึงนำไปหมักด้วยเชื้อแบคทีเรีย เพื่อให้ได้กรดน้ำนม(Lactic Acid) เมื่อทำกรดน้ำนมให้บริสุทธิ์ และนำไปผ่านกระบวนการการโพลิเมอร์(Polymerzation) ก็จะได้สารประกอบโพลิเมอร์จากกรดน้ำนม (Polylactic Acid: PLA) โดย PLA ที่ได้สามารถนำไปขึ้นรูปเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป
ปัจจุบันมีหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เริ่มผลิต Bioplastic ขึ้นใช้แทนพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีแล้ว อันเป็นผลจากการที่ต้นทุนการผลิตเม็ดพลาสติกจากปิโตรเคมีพุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับกระแสการตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่กำลังมาแรง ทำให้หลายประเทศหันมาให้ความสนใจผลิต Bioplastic กันมากขึ้น เนื่องจาก Bioplastic สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งต่างจากพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา
เนื่องจากการผลิต Bioplastic ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตส่งผลให้ต้นทุนการผลิตยังสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมี แต่เนื่องจากพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต Bioplastic มีราคาไม่แพงและหาได้ค่อนข้างง่าย ประกอบกับหากมีการนำ Bioplastic มาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต คาดว่าจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิต Bioplastic ลดลงได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้การนำ Bioplastic เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทต่างๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างบางประการ อาทิ
*รูปแบบของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตได้ยังมีรูปทรงง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เช่น กล่อง ภาชนะบรรจุอาหาร แผ่น DVD แปรงสีฟัน กระถางต้นไม้ วัสดุปิดแผล และไหมเย็บแผลที่สลายตัวได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นต้น
*ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตได้ยังทนความร้อนได้ไม่มากนัก คือ ทนความร้อนได้ราว 60 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและพัฒนา Bioplastic ให้สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 12 องศาเซลเซียส และมีความแข็งมากขึ้นราว 1.8 เท่าแล้ว โดยคาดว่าญี่ปุ่นจะสามารถนำ Bioplastic ที่คิดค้นได้นี้มาผลิตเป็นอะไหล่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ภายในปี 2548
จากปริมาณการใช้พลาสติกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากจาก 18 ล้านตันในปี 2546 เป็น 258 ล้านตันภายในปี 2553 ส่งผลให้หลายประเทศรวมทั้งไทยเริ่มสนใจคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต Bioplastic อย่างจริงจัง อาทิ เมื่อปี 2547 บริษัท Mitsui Chemicals Inc. ของญี่ปุ่น ได้ร่วมทุนกับบริษัท Cargill Dow Co., Ltd. ของสหรัฐฯ เปิดโรงงานผลิต Bioplastic ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ สำหรับในประเทศไทยหลายๆ หน่วยงาน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้เริ่มมีการศึกษาวิจัยการผลิต Bioplastic อย่างกว้างขวางมากขึ้นแล้วเช่นกัน
EXPORT FOCUS ครีโม : ไอศกรีมแบรนด์ไทยที่แตกต่าง
รถปิกอัปสีฟ้าสดในติดโลโก้ลายการ์ตูนรูปดาวสีเหลือง แล่นตามกันเข้ามาจอดในลานกว้างของโรงงาน ทุกคันเข้าประจำที่เพื่อรอรับสินค้าเที่ยวใหม่ ไปขายในวันรุ่งขึ้น เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขของเด็กๆ ที่กำเศษสตางค์มารอซื้อไอศกรีม ตราดาวสีเหลืองยี่ห้อ "ครีโม" ของพวกเขา
"กลุ่มลูกค้าของเราคือเด็กนักเรียน" คำบอกเล่าของคุณ สอ ชี ยง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและส่งออกชาวมาเลเซีย ที่มาร่วมทีมผู้บริหาร บริษัท จอมธนา จำกัดในไทยตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ทำให้เราเห็นภาพต่อของเด็กนักเรียนที่มุงรอบตู้ไอศกรีมสีฟ้าสดร้องตะโกนบอกพี่คนขายขนมในโรงอาหารว่าจะเอาไอศกรีมแท่งบ้าง ถ้วยบ้าง รสช็อกโกแลต วนิลา มะพร้าว ถั่วดำ และอีกสารพัดธัญพืช และผลไม้ไทย
คุณสอ ชี ยง เล่าว่ากลยุทธ์การตลาดในประเทศของครีโมเน้นขายไอศกรีมรสอร่อย ในราคาแค่เศษสตางค์ในกำมือ เด็กนักเรียน แต่ในต่างประเทศครีโมกำหนดจุดยืนขายไอศกรีม รสผลไม้เมืองร้อน พร้อมตบเท้าเข้าตลาดรอบบ้านไทยตั้งแต่ รสมะม่วง ขนุน มะพร้าว ทุเรียน เผือก และอีกสารพัดรส ขนมหวานไทยในสนนราคาที่แข่งขันได้แถมคุณภาพคับถ้วย และแท่ง และในวันนี้ความแตกต่างที่มีคุณภาพทำให้เทรดเดอร์และผู้บริโภคทั่วโลกที่เคยเฮโลบินไปทานไอศกรีมรสวนิลา และช็อกโกแลตในยุโรป เริ่มหันมามองและชิมไอศกรีมแบรนด์ไทยชื่อ "ครีโม" จนฐานการผลิตบนถนนปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เกิดความคึกคักระคนความสุขใจในยอดจำหน่าย
"ครีโมคือแบรนด์ของคนไทยที่ประสบความสำเร็จในตลาดโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ เราก่อร่างจากความคิดริเริ่มในการผลิตสินค้าที่แตกต่างและโดดเด่น วันนี้เราจึงไม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือรักษามาตรฐานการผลิตและจุดแข็งของเรา รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับปัจจัยแวดล้อม" คุณ สอ ชี ยง กล่าว
เมื่อฐานนะทางการตลาดมั่นคง ครีโมจึงเริ่มหันมาคืนกำไรให้สังคมด้วยการสร้าง Cremo World เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้และความบันเทิงแบบมีสาระของเด็กไทย เด็กที่เข้าเยี่ยมชม Cremo World จะสนุกกับการใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงชมกระบวนการผลิตไอศกรีมครีโม และท่องสวนสนุกเชิงวิทยาศาสตร์ อาทิ บ้านกระจก หรือห้องลวงตา โดยในขณะนี้ Cremo World อยู่ในระหว่างดำเนินการและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีหน้า
สำหรับโครงการต่อไป ครีโมมีแผนจะผลิตสินค้าใหม่คือซาลาเปาไส้ไก่แดง ถั่วดำ เผือก ครีม และช็อกโกแลต ไปทดลองตลาดในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อใช้พื้นที่ของรถบรรทุกและตู้แช่แข็งของบริษัทให้เต็มศักยภาพ และหาขนมรองท้องให้เด็กๆ ได้ทานคู่กับไอศกรีม ซึ่งนักการตลาดอย่างคุณ สอ ชี ยง บอกว่าหากซาลาเปาขายดีแล้ว อาจจัดให้มีขนมจีบ ติ่มซำเพิ่มด้วยในอนาคต นับเป็นกลยุทธ์การตลาดบนพื้นฐานของการวิจัย และพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออกไทย แต่หากต้องการพี่เลี้ยงในรายละเอียด คุณสอ ชี ยง บอกอย่างไม่เข้าข้างว่าต้องไปหาสถาบันการเงินอย่างเอ็กซิมแบงก์
"ผมเคยเป็นนายแบงก์มาก่อน จึงเห็นความสำคัญของแบงก์ว่าเป็นสะพานสำคัญที่ทำให้แผนงานต่างๆ เป็นจริงขึ้นได้ เพราะแบงก์มีทั้งข้อมูล เงิน และคำแนะนำดีๆ ทั้งยังช่วยในการเปิดตลาดใหม่ๆ ขณะที่ลูกค้ามักขอเครดิตเรามากขึ้น" คุณสอ ชี ยง กล่าว
หากเอ็กซิมแบงก์จะเป็นสะพานทอดให้จอมธนาเดินไปถึงฝันได้ ครีโมก็คงได้พบจุดยืนที่มั่นคงตรงปลายสะพานที่ต้องการแล้ว พร้อมส่งสัญญาณให้ผู้ที่เหลือทางต้นและกลางสะพานเดินข้ามตามกันมา ส่วนเด็กๆ ที่นั่งเล่นอยู่ริมฝั่งและยังไม่ต้องการข้ามสะพานสายธุรกิจในวันนี้ยังมีเวลาสร้างตัวเองให้โตพร้อมสมบูรณ์ต่อไป ทานไอศกรีมและซาลาเปาของจอมธนาเอาแรงก่อนค่อยเคลื่อนทัพก็ยังไม่สาย สูตรนี้ทำให้โตมานักต่อนักแล้ว
เปิดโลกตลาดส่งออก
รายชื่อผู้นำเข้าในประเทศสิงคโปร์
1.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Winnie Yeo Everace Management Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Cosmetic colour products
โทรศัพท์ :(65) 9850 8780
อีเมล :win2003@singnet.com.sg
2.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Rebecca Sing Long Foodstuff Trading Co Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Plastic bottle for chilli sauce
โทรศัพท์ :(65)6284 5254
อีเมล : nya@singnet.com.sg
3.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Niels Singel Christensen Singcol Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Wood flooring, picture frames (wood and metals)
โทรศัพท์ :(65)9012 4663
อีเมล :nielschridtensen@singcol.com
4.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr. Philip Fong Kingsmen Marketing Indochina
ประสงค์จะนำเข้า :Wood furniture
โทรศัพท์ :(65)6747 3494
อีเมล :tradelines@eldley.com.sg
5.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Kong Mun Kin KMK Services
ประสงค์จะนำเข้า :Plastic sheet and film, PVC type
โทรศัพท์ :(65)9027 4084
อีเมล :kmk_kongmunkin@yahoo.com
7.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Aaghir Yalav, Buttcheeks
ประสงค์จะนำเข้า :Nail polishers
โทรศัพท์ :(65)9023 7265
อีเมล :aaghir@buttcheeks.com.sg
8.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Jason Wong Turf City Superstore Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Lady fashion wear
โทรศัพท์ :(65)6468 1764
อีเมล :jason_wong@turfcity.com.sg
9.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Kenny Tep Cooling technology
ประสงค์จะนำเข้า :Leather products
โทรศัพท์ :(65)6726 1586
อีเมล :kenny@coolingtechnology.com.sg
10.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Ramesh Tarani Tatra Trucks India Limited
ประสงค์จะนำเข้า :Automotive parts and components for trucks
โทรศัพท์ :(65)6339 9670
อีเมล :raytroje@singnet.com.sg
11.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Miss Zoe Ten Edmy Corportions (S) Pte Ltd.
ประสงค์จะนำเข้า :Trailer, undercarriage,trucks,goods vihicle brake
and wheels
โทรศัพท์ :(65)6456 0333
อีเมล :admin@edmycorp.com.sg
12.ชื่อผู้สนใจ/บริษัท :Mr.Tommy Lee STI Produccts & Marketing
ประสงค์จะนำเข้า :Garment and apparels
โทรศัพท์ :(65)6339 9670
อีเมล :prodmark@singnet.com.sg
คุณถาม EXIM ตอบ
คุณถาม : อยากทราบว่าระบบ ROVERS คืออะไรและมีขั้นตอนการใช้งานอย่างไร
EXIM ตอบ : ROVERS หรือ Rules of Origin Verification System คือ ระบบการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติด้านแหล่งกำเนินสินค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับสินค้าที่จะส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement: FTA) ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ โดยเป็นระบบที่กรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจสอบและออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ส่งออกตรวจสอบสินค้าด้วยตนเองว่ามีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและได้รับสิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ FTA หรือไม่ โดยการกรอกรายละเอียดตามขั้นตอนต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตให้ถูกต้อง
ระบบ ROVERS นอกจากจะช่วยรองรับปริมาณการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นหลังจาก FTA ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ เริ่มทยอยมีผลบังคับใช้แล้ว ยังช่วยให้ผู้ส่งออกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายจากเดิมที่ต้องนำเอกสารหลักฐานการผลิตทั้งหมดมาแสดงเพื่อขอให้กรมการค้าต่างประเทศตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน แต่ภายใน ROVERS ระบบจะทำการตอบกลับผลการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้ามาทันที ทำให้ผู้ส่งออกมีความคล่องตัวมากขึ้นในการดำเนินธุรกิจ
ขั้นตอนการใช้งาน ROVERS มีดังนี้
* การขอชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานผู้ส่งออกต้องยื่นเอกสารสำคัญต่างๆ อาทิ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(กรณีนิติบุคคล) สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี (กรณีบุคคลธรรมดา) และสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เป็นต้น เพื่อขอรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
* การยื่นคำขอให้ตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าผู้ส่งออกต้องใส่ชื่อผู้ใช้รหัสผ่านเข้าสู่ระบบเพื่อยื่นคำขอหรือเรียกคำขอที่ได้บันทึกไว้และดำเนินการต่อโดยการบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลการผลิต จากนั้นจึงส่งคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ต เมื่อระบบแจ้งผลการตรวจสอบแหล่งกำเนินสินค้าแล้ว ผู้ส่งออกต้องพิมพ์คำรับรองการผลิตสินค้าเพื่อนำไปยื่นขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่กรมการค้าต่างประเทศต่อไป
ปัจจุบันประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะทำ FTA กับประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งหากประสบความสำเร็จและเริ่มมีผลบังคับใช้จะทำให้ต้องมีการตรวจสอบและรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ FTA เพิ่มขึ้น ดังนั้น การนำระบบ ROVERS มาใช้จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกมีความคล่องตัวและสามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่
คุณถาม : ภาวะตลาดของเล่นเพื่อการศึกษาในญี่ปุ่นเป็นอย่างไร
EXIM ตอบ : ของเล่นเพื่อการศึกษา (Education Toy) หมายถึง ของเล่นที่เน้นพัฒนาทักษะและเสริมสร้างความรู้โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเข้าเรียน นับเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในญี่ปุ่น ด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 20% ของมูลค่าตลาดของเล่นทั้งหมด
แม้ว่าในช่วงปี 2544-2546 ตลาดของเล่นโดยรวมของญี่ปุ่นจะลดลงเฉลี่ย 5% ต่อปี แต่ตลาดของเล่นเพื่อการศึกษาในช่วงเดียวกันกลับขยายตัวเฉลี่ย 2% ต่อปี และยังมีลู่ทางขยายตลาดอีกมากเนื่องจากครอบครัวชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันมีเด็กเล็กต่อครัวเรือนน้อยลง ทำให้ผู้ปกครองยินดีจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ทั้งนี้ ประเภทของเล่นเพื่อการศึกษาที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมีหลากหลายตั้งแต่ของเล่นที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่สูงนัก อาทิ ของเล่นประเภทตัวต่อ (Lego Block) และของเล่นประเภทภาพต่อ (Jigsaw Puzzle) ไปจนถึงของเล่นที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงขึ้นอย่างของเล่นที่มีระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบพื้นฐาน(Computer Based Toy)
สำหรับของเล่นเพื่อการศึกษาที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการผลิตในระดับบานกลาง เน้นรูปแบบสวยงาม และใช้วัสดุจากธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้เป็นส่วนประกอบในการผลิต
ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ปกครองว่าของเล่นนั้นปลอดภัยต่อเด็ก ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกของเล่นเพื่อการศึกษาของไทยไปญี่ปุ่น มีโอกาสขยายตัวในอนาคตอันใกล้ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประกอบกับผู้นำเข้าญี่ปุ่นหลายรายเริ่มประสบกับปัญหาของเล่นนำเข้าจากจีนที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
เดินหน้าการส่งออกไปรัสเซียกับ RIFF
ปัจจุบันการส่งเสริมการส่งออกมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการขาดดุลการค้าในสัดส่วนที่สูง ดังนั้นการส่งเสริมการส่งออกของภาครัฐโดยการสนับสนุนเป็นพิเศษด้านการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศใหม่หรือประเทศที่ยังมีปริมาณการค้าระหว่างกันน้อยควบคู่กับความร่วมมือของภาคเอกชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศให้มากขึ้น
รัสเซียเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีความมั่งคั่ง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม กาค้าระหว่างไทยกับรัสเซียยังมีปริมาณน้อยและไทยยังขาดดุลการค้ากับรัสเซีย ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตการค้าขายระหว่างไทยกับรัสเซียต้องประสบกับอุปสรรคต่างๆ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในปี 2541 ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น และการเข้มงวดของฉลากสินค้าที่ต้องระบุส่วนประกอบ ของ GMOs, Tariff Quota เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่สนใจที่จะส่งออกไปตลาดรัสเซียเท่าที่ควร มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซียจึงมีปริมาณน้อยทำให้รัสเซียได้เปรียบดุลการค้าไทยติดต่อกันมาตลอด โดยในปี 2546 ไทยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 272.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 577.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2547 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกมูลค่าเพียง 301.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 1,016.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร)
ด้วยศักยภาพของผู้ส่งออกไทยในการผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อรัสเซียได้ โดยสินค้าสำคัญที่รัสเซียนำเข้าจากประเทศไทย ได้แก่ น้ำตาลทราย เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และส่วนประกอบ อัญมณี และเครื่องประดับ อาหารทะลกระป๋องและแปรรูป รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายสนับสนุนให้ขยายตลาดส่งออกไปยังรัสเซียเพื่อลดการขาดดุลการค้าโดยมอบหมายให้ ธสน.เป็นธนาคารตัวแทนในการจัดสรรวงเงิน RTFF ให้แก่ JSC Vneshtorgbank เพื่อ สร้างแรงจูงใจให้ผู้นำรัสเซียซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น RTFF คืออะไร
RTFF ย่อมาจาก Revolving Trade Financing Facillity ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง ธสน.และ JSC Vneshtorgbank ของรัสเซีย เพื่อสนับสนุนการส่งออกตามแนวนโยบายของรัฐบาลในรูปแบบวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้น จำนวน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ JSC Vneshtorgbank นำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้นำรัสเซีย โดยผู้นำเข้ารัสเซียสามารถขยายระยะเวลาการชำระค่าสินค้าที่นำเข้าจากไทยได้นานถึง 180 วัน
ขั้นตอนการเข้าร่วม RTFF สำหรับผู้ส่งออก
ผู้ส่งออกสามารถทำความตกลงกับผู้นำรัสเซียโดยขอให้ผู้นำเข้าติดต่อขอกู้เงินจาก JSC Vneshtorgbank เพื่อเปิด L/C at Sight ที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50,00 ดอลลาร์สหรัฐมายัง ธสน.เมื่อส่งสินค้าออกแล้ว ผู้ส่งออกสามารถขอรับชำระเงินค่าสินค้าจาก ธสน.ได้โดยตรงภายใน 3 วันทำการ หลังจาก ธสน.ได้รับเอกสารส่งออกที่ครบถ้วนถูกต้องตามเงื่อนไขที่ L/C
อัตราค่าธรรมเนียม
ผู้ส่งออกที่เข้าร่วม RTFF จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับแจ้งการเปิด L/C(Advising Fee) ค่าตรวจและเรียกเก็บตามเอกสารส่งออก(Negotiation Fee) และค่าส่งเอกสารและอากรแสตมป์(postage and Stamp Duty) ในอัตราปกติ แต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคารต่างประเทศ (Foreign Bank Charges)
ประโยชน์ที่ได้รับจาก RTFF
* เพิ่มโอกาสและช่องทางให้ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดไปยังรัสเซีย
* สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกว่าจะได้รับชำระค่าสินค้า
* ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ส่งออกในส่วนของค่าธรรมเนียมต่างประเทศ(Foreign Bank Charges)
* สร้างแรงจูงใจให้ผู้นำเข้ารัสเซียซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้นเนื่องจากสามารถขยายระยะเวลาการชำระค่าสินค้าได้นานถึง 180 วัน
ผู้ที่สนใจเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังรัสเซียผ่าน RTFF สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ ธสน. โทร. 0 2271 0506
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-1145
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-