วันนี้(2พ.ย.48)เวลา 08.30 น.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวผ่านรายการผู้นำฝ่ายค้านคุยกับประชาชน แสดงความขอบคุณทุกคะแนนเสียงของประชาชนในการเลือกตั้งซ่อมที่ผ่านมา ว่าเสียงที่ได้รับมาถือว่าเป็นกำลังใจสำคัญสำหรับการทำงานของฝ่ายค้าน ขอยืนยันว่าทุกคะแนนเสียงมีความหมาย และที่สำคัญเป็นเรื่องที่ทำให้พรรคฝ่ายค้านต้องตระหนักถึงความคาดหมายของประชาชน ในเรื่องการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
ซึ่งการลงคะแนนเสียงของประชาชนและผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นการสะท้อนเสียงประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ โดยเฉพาะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่จะเห็นการทำงานทางการเมืองเป็นไปในแนวที่เกิดความสมดูลย์ที่สุด เพราะการเลือกตั้งซ่อมไม่ใช่การเลือกตั้งใหญ่ จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องการแข่งขันในเรื่องนโยบาย หรือแข่งขันจะเป็นรัฐบาล แต่เป็นการสะท้อนการแข่งขันในระดับตัวบุคคล และเป็นการสะท้อนการแข่งขันระหว่างพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นสัญญาณที่รัฐบาลควรรับฟังคือแนวโน้มผลการเลือกตั้งทั้ง 4 เขต บ่งบอกว่าอยากให้รัฐบาลเร่งรัดตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะจากนโยบายรัฐบาล ซึ่งเคยได้ประกาศ หรือให้คำมั่นสัญญาไว้
“คะแนนเสียงที่แสดงออกมาต้องการจะบอกว่า รัฐบาลต้องเร่งรัดเพื่อปฏิบัติตามนโยบายเหล่านั้น ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่าเช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ก็มีการคาดหวังมอบคะแนนเสียงให้กับฝ่ายค้าน โดยได้จำนวนส.ส.ครบ 125 คน ก็เป็นความคาดหวังของประชาชนในเรื่องการติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของรัฐบาลได้อย่างเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนความห่วงใยต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งดูจะมีการลุกลามออกไปมากในหลายๆวงการ เพราะฉะนั้นจุดนี้จึงเป็นการสะท้อนไปยังรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของตนในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ได้มีโอกาสหารือกับหัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคมหาชน โดยได้นัดหมายว่าวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะมีการปรึกษาหารือถึงแนวทางการทำงานเพื่อตอบสนองความคาดหมายของประชาชน เพราะการมีจำนวน ส.ส. 125 คน ถือว่าเป็นโอกาสที่พรรคร่วมฝ่ายค้านสามารถใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ระดับสูง โดยไม่จำกัดเพียงนายกฯ และรัฐมนตรี แต่ครอบคลุมไปถึงผู้บริหาร หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์อิสระต่างๆ รวมถึงองค์กรที่กฎหมายในเรื่องนั้นๆกำหนดไว้ แต่การถอดถอนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขของการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในเรื่องการทุจริต ซึ่งตนในฐานะผู้นำฝ่ายค้านให้ความมั่นใจว่าการมี 125 เสียง เจตนารมย์ไม่ใช่เพื่อล้มล้าง หรือขัดขวางการทำงานของรัฐบาล แต่เจตนารมย์คือว่าจะใช้เสียงที่ได้มาในการตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพื่อขจัดบุคคลที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในเรื่องการทุจริต ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะได้ติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป นั่นก็หมายความว่าหากมีพบมูลว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในเรื่องการทุจริตพรรคร่วมฝ่ายค้านก็จะได้รวบรวม 125 รายชื่อ เพื่อเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจและยื่นถอดถอน โดยเฉพาะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วย
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวอีกว่า ในช่วงที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งออกมาได้มีผลสืบเนื่องมาบางอย่าง คือคำพูดของนายกฯ ซึ่งตนได้แสดงเจตนารมย์ตั้งแต่วันได้รับโปรดเกล้าฯเป็นผู้นำฝ่ายค้าน และวันแรกที่เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่าตนไม่อยากให้การเมืองเป็นเรื่องของการตอบโต้กัน แต่วันนี้ตนมีความจำเป็น เพราะคำพูดของนายกฯที่ได้ประกาศว่าการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณต่างๆ ซึ่งนายกฯ ประกาศว่าจะดูแลทั้งประเทศ แต่จะจัดลำดับความสำคัญคือว่าที่ใดที่มอบความไว้วางใจพรรครัฐบาล หรือพรรคไทยรักไทย ก็จะได้รับการดูแลก่อน ซึ่งตนเห็นว่าเป็นความจำเป็นต้องตอบโต้ เพราะว่าคำพูดดังกล่าวของนายกฯ ขัดกับความถูกต้อง และหลักการประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง เพราะคนที่เป็นนายกฯต้องเป็นนายกฯของคนไทยทั้งประเทศ และนายกฯไม่มีสิทธิ์เลือกปฏิบัติ เพราะถือเป็นการขัดมาตรา 30 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่ารัฐจะเอาเรื่องความเชื่อทางการเมือง มาเป็นเกณฑ์ในการบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ เพราะคนเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ
“คนไทยทุกคนไม่ว่าจะมีความเชื่อ ความนิยม และตัดสินใจทางการเมืองอย่างไร ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการบริการและดูแล จากรัฐบาลและจากนายกฯอย่างเท่าเทียมกัน” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่าหลักของการบริหารจัดการที่ดีลำดับความสำคัญต้องไม่ใช่เรื่องของการเมือง ว่าที่ใดสนับสนุน ที่ใดไม่สนันสนุน แต่ต้องดูว่าที่ใดมีปัญหาเร่งด่วน ที่ใดที่มีปัญหารุนแรงร้ายแรง ตรงนั้นต้องได้รับการดูแล แก้ไขก่อน
“เพราะหากยึดตามคำพูดนายกฯ ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นว่า นายกฯพูดเช่นนี้ ก็เท่ากับว่านายกฯจะเป็นนายกฯให้กับประชาชนที่อยู่ในเขตเลือกตั้งที่มีมีส.ส.พรรคไทยรักไทยเท่านั้นหรือ แล้วที่อื่นต้องมีนายกฯอีกคนหรือไม่ แล้วคนเหล่านนั้นก็เสียภาษีอากร เหมือนกัน เพราะงบประมาณที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาไม่ใช่เงินของนายกฯ แต่เป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นประชาชนก็มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะตั้งคำถามว่าเขาต้องเสียภาษีอากรให้รัฐหรือไม่” ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวย้ำว่า ตนจึงอยากย้ำว่าคำพูดของนายกฯมีความหมายเพราะตำแหน่ง แต่ถ้าเป็นคำพูดของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้มีความอะไร แต่ว่าคำพูดของคนที่เป็นนายกฯของประเทศมีความหมาย ตรงนี้ถือเป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ผิด เพราะหลักที่พูดอยู่ สามารถมองได้ทั้งในแง่ของการติดสินบน ต่อรอง หรือในแง่ของการข่มขู่ทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ ยิ่งคนที่เป็นนายกฯยิ่งไม่สมควรอย่างยิ่งในการที่เผยแพร่ความคิดไปสร้างค่านิยมเช่นนั้น เพราะคนที่เป็นผู้นำประเทศต้องยืนอยู่บนหลักการความถูกต้อง ด้วยเหตุและผล ด้วยสำนึกของการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนไทยทั้งประเทศ
“อยากให้นายกฯนึกถึงวันที่ไปร่วมงานสมัชชาเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และต้องทบทวนว่าการพูดเล่น การข่มขู การสร้างค่านิยมที่ผิด หรือแม้แต่ไม่พูดความจริงเช่น ที่นายกฯบอกว่ารู้ผลเลือกตั้งล่วงหน้าแล้วอย่างไรก็ชนะทุกเขต แต่พอผลการเลือกตั้งออกมา ก็บอกว่ารู้แล้วว่าต้องแพ้ จึงอยากถามว่าว่าคำพูดเล่านี้เป็นการส่งเสริมค่านิยมที่นายกฯพยายามที่จะแสดงออกในการเปิดสัมชชาส่งเสริมคุณธรรม จริยะธรรมหรือไม่” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 พ.ย.2548--จบ--
ซึ่งการลงคะแนนเสียงของประชาชนและผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นการสะท้อนเสียงประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ โดยเฉพาะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่จะเห็นการทำงานทางการเมืองเป็นไปในแนวที่เกิดความสมดูลย์ที่สุด เพราะการเลือกตั้งซ่อมไม่ใช่การเลือกตั้งใหญ่ จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องการแข่งขันในเรื่องนโยบาย หรือแข่งขันจะเป็นรัฐบาล แต่เป็นการสะท้อนการแข่งขันในระดับตัวบุคคล และเป็นการสะท้อนการแข่งขันระหว่างพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นสัญญาณที่รัฐบาลควรรับฟังคือแนวโน้มผลการเลือกตั้งทั้ง 4 เขต บ่งบอกว่าอยากให้รัฐบาลเร่งรัดตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะจากนโยบายรัฐบาล ซึ่งเคยได้ประกาศ หรือให้คำมั่นสัญญาไว้
“คะแนนเสียงที่แสดงออกมาต้องการจะบอกว่า รัฐบาลต้องเร่งรัดเพื่อปฏิบัติตามนโยบายเหล่านั้น ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่าเช่นเดียวกันกับการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ก็มีการคาดหวังมอบคะแนนเสียงให้กับฝ่ายค้าน โดยได้จำนวนส.ส.ครบ 125 คน ก็เป็นความคาดหวังของประชาชนในเรื่องการติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของรัฐบาลได้อย่างเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นการสะท้อนความห่วงใยต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งดูจะมีการลุกลามออกไปมากในหลายๆวงการ เพราะฉะนั้นจุดนี้จึงเป็นการสะท้อนไปยังรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของตนในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ได้มีโอกาสหารือกับหัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคมหาชน โดยได้นัดหมายว่าวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะมีการปรึกษาหารือถึงแนวทางการทำงานเพื่อตอบสนองความคาดหมายของประชาชน เพราะการมีจำนวน ส.ส. 125 คน ถือว่าเป็นโอกาสที่พรรคร่วมฝ่ายค้านสามารถใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ระดับสูง โดยไม่จำกัดเพียงนายกฯ และรัฐมนตรี แต่ครอบคลุมไปถึงผู้บริหาร หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์อิสระต่างๆ รวมถึงองค์กรที่กฎหมายในเรื่องนั้นๆกำหนดไว้ แต่การถอดถอนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขของการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในเรื่องการทุจริต ซึ่งตนในฐานะผู้นำฝ่ายค้านให้ความมั่นใจว่าการมี 125 เสียง เจตนารมย์ไม่ใช่เพื่อล้มล้าง หรือขัดขวางการทำงานของรัฐบาล แต่เจตนารมย์คือว่าจะใช้เสียงที่ได้มาในการตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพื่อขจัดบุคคลที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในเรื่องการทุจริต ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะได้ติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป นั่นก็หมายความว่าหากมีพบมูลว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายจงใจฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในเรื่องการทุจริตพรรคร่วมฝ่ายค้านก็จะได้รวบรวม 125 รายชื่อ เพื่อเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจและยื่นถอดถอน โดยเฉพาะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วย
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวอีกว่า ในช่วงที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งออกมาได้มีผลสืบเนื่องมาบางอย่าง คือคำพูดของนายกฯ ซึ่งตนได้แสดงเจตนารมย์ตั้งแต่วันได้รับโปรดเกล้าฯเป็นผู้นำฝ่ายค้าน และวันแรกที่เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่าตนไม่อยากให้การเมืองเป็นเรื่องของการตอบโต้กัน แต่วันนี้ตนมีความจำเป็น เพราะคำพูดของนายกฯที่ได้ประกาศว่าการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณต่างๆ ซึ่งนายกฯ ประกาศว่าจะดูแลทั้งประเทศ แต่จะจัดลำดับความสำคัญคือว่าที่ใดที่มอบความไว้วางใจพรรครัฐบาล หรือพรรคไทยรักไทย ก็จะได้รับการดูแลก่อน ซึ่งตนเห็นว่าเป็นความจำเป็นต้องตอบโต้ เพราะว่าคำพูดดังกล่าวของนายกฯ ขัดกับความถูกต้อง และหลักการประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง เพราะคนที่เป็นนายกฯต้องเป็นนายกฯของคนไทยทั้งประเทศ และนายกฯไม่มีสิทธิ์เลือกปฏิบัติ เพราะถือเป็นการขัดมาตรา 30 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่ารัฐจะเอาเรื่องความเชื่อทางการเมือง มาเป็นเกณฑ์ในการบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ เพราะคนเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ
“คนไทยทุกคนไม่ว่าจะมีความเชื่อ ความนิยม และตัดสินใจทางการเมืองอย่างไร ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการบริการและดูแล จากรัฐบาลและจากนายกฯอย่างเท่าเทียมกัน” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่าหลักของการบริหารจัดการที่ดีลำดับความสำคัญต้องไม่ใช่เรื่องของการเมือง ว่าที่ใดสนับสนุน ที่ใดไม่สนันสนุน แต่ต้องดูว่าที่ใดมีปัญหาเร่งด่วน ที่ใดที่มีปัญหารุนแรงร้ายแรง ตรงนั้นต้องได้รับการดูแล แก้ไขก่อน
“เพราะหากยึดตามคำพูดนายกฯ ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นว่า นายกฯพูดเช่นนี้ ก็เท่ากับว่านายกฯจะเป็นนายกฯให้กับประชาชนที่อยู่ในเขตเลือกตั้งที่มีมีส.ส.พรรคไทยรักไทยเท่านั้นหรือ แล้วที่อื่นต้องมีนายกฯอีกคนหรือไม่ แล้วคนเหล่านนั้นก็เสียภาษีอากร เหมือนกัน เพราะงบประมาณที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาไม่ใช่เงินของนายกฯ แต่เป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นประชาชนก็มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะตั้งคำถามว่าเขาต้องเสียภาษีอากรให้รัฐหรือไม่” ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวย้ำว่า ตนจึงอยากย้ำว่าคำพูดของนายกฯมีความหมายเพราะตำแหน่ง แต่ถ้าเป็นคำพูดของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้มีความอะไร แต่ว่าคำพูดของคนที่เป็นนายกฯของประเทศมีความหมาย ตรงนี้ถือเป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ผิด เพราะหลักที่พูดอยู่ สามารถมองได้ทั้งในแง่ของการติดสินบน ต่อรอง หรือในแง่ของการข่มขู่ทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ ยิ่งคนที่เป็นนายกฯยิ่งไม่สมควรอย่างยิ่งในการที่เผยแพร่ความคิดไปสร้างค่านิยมเช่นนั้น เพราะคนที่เป็นผู้นำประเทศต้องยืนอยู่บนหลักการความถูกต้อง ด้วยเหตุและผล ด้วยสำนึกของการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนไทยทั้งประเทศ
“อยากให้นายกฯนึกถึงวันที่ไปร่วมงานสมัชชาเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และต้องทบทวนว่าการพูดเล่น การข่มขู การสร้างค่านิยมที่ผิด หรือแม้แต่ไม่พูดความจริงเช่น ที่นายกฯบอกว่ารู้ผลเลือกตั้งล่วงหน้าแล้วอย่างไรก็ชนะทุกเขต แต่พอผลการเลือกตั้งออกมา ก็บอกว่ารู้แล้วว่าต้องแพ้ จึงอยากถามว่าว่าคำพูดเล่านี้เป็นการส่งเสริมค่านิยมที่นายกฯพยายามที่จะแสดงออกในการเปิดสัมชชาส่งเสริมคุณธรรม จริยะธรรมหรือไม่” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 พ.ย.2548--จบ--