ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครึ่งแรกปี 48 อยู่ในภาวะถดถอยจากปัญหาความไม่สงบใน
พื้นที่ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา
ปัตตานี และนราธิวาส งวดครึ่งแรกของปี 48 ว่า ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดดัง
กล่าวเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย การส่งออก การใช้จ่ายภาคเอกชน และการลงทุนลดลงต่อเนื่อง มีเพียงเงินเบิกจ่าย
จากรัฐบาลที่เข้าไปกระตุ้นเพื่อพยุงภาวะเศรษฐกิจให้พ้นจากการเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ทั้งนี้ ธปท.คาดการณ์ว่าในไตร
มาส 3 ปีนี้ ภาวะเศรษฐกิจของทั้ง 3 จังหวัดจะยังอยู่ในภาวะชะลอตัวลงอีกจากครึ่งปีแรกของปี 48 (ไทยรัฐ,โพสต์ทูเดย์)
2.เดือน ต.ค.48 ไทยกลับมาขาดดุลการค้าจำนวน 185.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ต.ค.48 มีมูลค่า 9,574 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.4 โดยสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการ
เกษตรลดลงร้อยละ 4.4 ส่วนการนำเข้าในเดือน ต.ค.48 มีมูลค่า 9,759.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 และเทียบกับเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ผลจากการส่งออกใน
เดือน ต.ค.ที่น้อยกว่านำเข้า ทำให้ในเดือนนี้ไทยกลับมาขาดดุลการค้า 185.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. และหากรวม
10 เดือน ไทยขาดดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 7,593 ล้านบาท อนึ่ง การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลัก คือ นำเข้าเครื่อง
บิน 1 ลำมูลค่า 140 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเชื้อเพลิงที่ยังนำเข้าสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 65.1 (ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
3. ก.คลังเตรียมศึกษาออกพันธบัตรใหม่ที่อ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ ผอ.ส่วนระบบระวังภัยเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.คลังอยู่ระหว่างศึกษาการออก
พันธบัตรที่อ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Index Bond) ซึ่งเป็นพันธบัตรระยะยาว อายุ 10 ปีขึ้นไป เหมาะ
กับนักลงทุนระยะยาวในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น บ.ประกัน หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เนื่อง
จากพันธบัตรดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะสามารถออกได้ภายในปีหน้า โดยมีบริษัท
เอกชนญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาเป็นที่ปรึกษาให้ ทั้งนี้ พันธบัตรดังกล่าวเป็นหนึ่งใน
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กดดันจีนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนที่มีความเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 48 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าจีนควรที่จะปล่อยให้เงินหยวน
เคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น เนื่องจากเงินหยวนมีความเคลื่อนไหวที่จำกัดมากนับตั้งแต่ที่จีนปรับค่าเงินหยวนให้
แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 และเลิกผูกค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา โดย IMF
เห็นว่าจีนควรปล่อยให้เงินหยวนมีความเคลื่อน ไหวมากขึ้นตามทิศทางตลาด ก่อนหน้านั้น IMF ปฎิเสธที่จะบังคับให้
จีนดำเนินการเรื่องนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนตามคำร้องขอจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและนักกฎ
หมายของสรอ. ที่กล่าวหาว่าจีนได้เปรียบทางการค้าจากเงินหยวนที่มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม IMF
เห็นว่าจีนยังต้องการเวลาในการปรับตัวหลังจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 6.2 รายงานจากกรุ
งกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 21 พ.ย.48 Homi Kharas หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภูมิภาคของ
ธนาคารโลก กล่าวว่า แม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก แต่คาดว่าเศรษฐกิจ
ของเอเชียตะวันออก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ลดลงเพียงร้อยละ 1 จากปี 47 เนื่องจาก
ประเทศในภูมิภาคนี้สามารถจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันแพงและใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ไม่ได้รับ
ผลกระทบมากนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดนก ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้กล่าวไว้ในรายงานเมื่อต้นเดือน พ.ย.
ที่ผ่านมาว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออัตราการเติบโตของ
เศรษฐกิจในปี 49 สาเหตุจากประสิทธิภาพของนโยบายในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น ระบบการป้องกันการแพร่
ระบาดของเชื้อโรค และการเข้มงวดในการเดินทางหรือเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก แม้ว่าการแพร่ระบาดจะจำกัดเฉพาะใน
เขตพื้นที่ชนบทของประเทศในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดภาคบริการของญี่ปุ่นชะลอลงในเดือน ก.ย.48 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ย.48
ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการ (The tertiary sector index) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.48 ลด
ลงร้อยละ 0.7 นับเป็นการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าการ
คาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การลดลงของ The tertiary
sector index มีสาเหตุหลักจากการลดลงของการขายส่ง การขายปลีก และการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม
แนวโน้มของดัชนีที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาวยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง The all-industries
index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม The tertiary sector index ก็เป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน คือลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลดลง
เพียงร้อยละ 0.1 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือนต.ค. จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนราคาบ้านสูงขึ้น รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดว่าในเดือนต.ค. อัตราเงิน
เฟ้อ (Consumer Price Index — CPI) ของสิงคโปร์จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.2 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
ซึ่งเท่ากับเดือนก.ย. ที่ CPI อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนคาดว่า CPI
จะขยายตัวร้อยละ 0.6 เท่ากับเดือนก.ย. เนื่องจากต้นทุนราคาบ้านสูงขึ้น จากส่วนประกอบของราคาบ้านที่เพิ่มขึ้น
จากต้นทุนค่าบริการและราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม CPI ของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับต่ำสุดในแถบ
ในเอเซีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากน้ำมันมีราคาถูกลงจากการปรับราคาจำหน่ายที่ปั๊มน้ำมันภายหลังจากราคา
น้ำมันดิบลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่าบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนส.ค. ที่ราคาซื้อขายกันสูงกว่า
บาร์เรลละ 70 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ทางการสิงคโปร์มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลข CPI อย่างเป็นทางการในวันพุธนี้
เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ย. 48 21 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.232 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0445/41.3383 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80611 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 672.06/ 8.53 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,400/9,500 9,300/9,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.71 50.05 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ย. 48 25.24*/22.69** 25.24*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครึ่งแรกปี 48 อยู่ในภาวะถดถอยจากปัญหาความไม่สงบใน
พื้นที่ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา
ปัตตานี และนราธิวาส งวดครึ่งแรกของปี 48 ว่า ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดดัง
กล่าวเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย การส่งออก การใช้จ่ายภาคเอกชน และการลงทุนลดลงต่อเนื่อง มีเพียงเงินเบิกจ่าย
จากรัฐบาลที่เข้าไปกระตุ้นเพื่อพยุงภาวะเศรษฐกิจให้พ้นจากการเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ทั้งนี้ ธปท.คาดการณ์ว่าในไตร
มาส 3 ปีนี้ ภาวะเศรษฐกิจของทั้ง 3 จังหวัดจะยังอยู่ในภาวะชะลอตัวลงอีกจากครึ่งปีแรกของปี 48 (ไทยรัฐ,โพสต์ทูเดย์)
2.เดือน ต.ค.48 ไทยกลับมาขาดดุลการค้าจำนวน 185.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ต.ค.48 มีมูลค่า 9,574 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.4 โดยสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการ
เกษตรลดลงร้อยละ 4.4 ส่วนการนำเข้าในเดือน ต.ค.48 มีมูลค่า 9,759.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือน
เดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 และเทียบกับเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ผลจากการส่งออกใน
เดือน ต.ค.ที่น้อยกว่านำเข้า ทำให้ในเดือนนี้ไทยกลับมาขาดดุลการค้า 185.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. และหากรวม
10 เดือน ไทยขาดดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 7,593 ล้านบาท อนึ่ง การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลัก คือ นำเข้าเครื่อง
บิน 1 ลำมูลค่า 140 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเชื้อเพลิงที่ยังนำเข้าสูงกว่าปีก่อนร้อยละ 65.1 (ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
3. ก.คลังเตรียมศึกษาออกพันธบัตรใหม่ที่อ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ ผอ.ส่วนระบบระวังภัยเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.คลังอยู่ระหว่างศึกษาการออก
พันธบัตรที่อ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Index Bond) ซึ่งเป็นพันธบัตรระยะยาว อายุ 10 ปีขึ้นไป เหมาะ
กับนักลงทุนระยะยาวในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น บ.ประกัน หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เนื่อง
จากพันธบัตรดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะสามารถออกได้ภายในปีหน้า โดยมีบริษัท
เอกชนญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาเป็นที่ปรึกษาให้ ทั้งนี้ พันธบัตรดังกล่าวเป็นหนึ่งใน
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กดดันจีนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนที่มีความเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 48 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าจีนควรที่จะปล่อยให้เงินหยวน
เคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น เนื่องจากเงินหยวนมีความเคลื่อนไหวที่จำกัดมากนับตั้งแต่ที่จีนปรับค่าเงินหยวนให้
แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 และเลิกผูกค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา โดย IMF
เห็นว่าจีนควรปล่อยให้เงินหยวนมีความเคลื่อน ไหวมากขึ้นตามทิศทางตลาด ก่อนหน้านั้น IMF ปฎิเสธที่จะบังคับให้
จีนดำเนินการเรื่องนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนตามคำร้องขอจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและนักกฎ
หมายของสรอ. ที่กล่าวหาว่าจีนได้เปรียบทางการค้าจากเงินหยวนที่มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม IMF
เห็นว่าจีนยังต้องการเวลาในการปรับตัวหลังจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 6.2 รายงานจากกรุ
งกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 21 พ.ย.48 Homi Kharas หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภูมิภาคของ
ธนาคารโลก กล่าวว่า แม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก แต่คาดว่าเศรษฐกิจ
ของเอเชียตะวันออก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ลดลงเพียงร้อยละ 1 จากปี 47 เนื่องจาก
ประเทศในภูมิภาคนี้สามารถจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันแพงและใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ไม่ได้รับ
ผลกระทบมากนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดนก ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้กล่าวไว้ในรายงานเมื่อต้นเดือน พ.ย.
ที่ผ่านมาว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออัตราการเติบโตของ
เศรษฐกิจในปี 49 สาเหตุจากประสิทธิภาพของนโยบายในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น ระบบการป้องกันการแพร่
ระบาดของเชื้อโรค และการเข้มงวดในการเดินทางหรือเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก แม้ว่าการแพร่ระบาดจะจำกัดเฉพาะใน
เขตพื้นที่ชนบทของประเทศในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดภาคบริการของญี่ปุ่นชะลอลงในเดือน ก.ย.48 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ย.48
ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีชี้วัดภาคบริการ (The tertiary sector index) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.48 ลด
ลงร้อยละ 0.7 นับเป็นการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าการ
คาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การลดลงของ The tertiary
sector index มีสาเหตุหลักจากการลดลงของการขายส่ง การขายปลีก และการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม
แนวโน้มของดัชนีที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาวยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง The all-industries
index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม The tertiary sector index ก็เป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน คือลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะลดลง
เพียงร้อยละ 0.1 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือนต.ค. จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนราคาบ้านสูงขึ้น รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดว่าในเดือนต.ค. อัตราเงิน
เฟ้อ (Consumer Price Index — CPI) ของสิงคโปร์จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.2 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล)
ซึ่งเท่ากับเดือนก.ย. ที่ CPI อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนคาดว่า CPI
จะขยายตัวร้อยละ 0.6 เท่ากับเดือนก.ย. เนื่องจากต้นทุนราคาบ้านสูงขึ้น จากส่วนประกอบของราคาบ้านที่เพิ่มขึ้น
จากต้นทุนค่าบริการและราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม CPI ของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับต่ำสุดในแถบ
ในเอเซีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากน้ำมันมีราคาถูกลงจากการปรับราคาจำหน่ายที่ปั๊มน้ำมันภายหลังจากราคา
น้ำมันดิบลดลงอยู่ในระดับต่ำกว่าบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนส.ค. ที่ราคาซื้อขายกันสูงกว่า
บาร์เรลละ 70 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ทางการสิงคโปร์มีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลข CPI อย่างเป็นทางการในวันพุธนี้
เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ย. 48 21 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.232 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0445/41.3383 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80611 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 672.06/ 8.53 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,400/9,500 9,300/9,400 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.71 50.05 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ย. 48 25.24*/22.69** 25.24*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--