ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กนง.เชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจไทย
เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการรองรับปัจจัยลบต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี เห็นได้จากฐานะการเงินของภาคธุรกิจและ
ธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้น มีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่เสถียรภาพด้านต่าง
ประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทุนสำรองทางการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หนี้ต่างประเทศลดลง รวมทั้งการเริ่มปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง
ของดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนั้น การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนที่มี
ความยืดหยุ่นมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจปรับตัวรับกับปัจจัยลบที่เข้ามาได้เร็วขึ้น ขณะที่ฐานะการคลังแข็งแกร่งทำให้
สามารถใช้นโยบายการคลังกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ แต่สิ่งที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของ
เศรษฐกิจปีนี้คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ราคาน้ำมัน ภาวะเศรษฐกิจโลก และ
การสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะอัตราเงินเฟ้อกำลังเร่งตัวสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้า
ในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งส่งผลกระทบต่อประชาชน สำหรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.จะยังเป็นการปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามแนวทางขาขึ้นต่อไป (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ก.คลังเชื่อมั่นว่าปี 48 จะสามารถเกินดุล งปม.ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
รมว.คลัง กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถบริหารการจัดเก็บรายได้และรายจ่ายได้ตามเป้าหมาย
โดย งปม.ในปีนี้จะสมดุลเป็นครั้งแรกนับจากวิกฤติเศรษฐกิจ และจะเกินดุลเล็กน้อยประมาณ 2 หมื่น ล.บาท หลัง
หักรายจ่ายต่างๆ โดยรายได้หลักที่จัดเก็บส่วนใหญ่มาจากกรมสรรพากร สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลล่าสุดเมื่อวัน
ที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา สามารถเบิกจ่ายเงิน งปม.ได้มากกว่า 90% ซึ่งเบิกจ่ายได้มากกว่าทุกปีและเป็นไปตามเป้า
หมายที่กำหนด เนื่องจากการนำระบบบริหารจัดการข้อมูลการคลังทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาดำเนินการ ทั้งนี้ ผลการ
จัดเก็บรายได้สุทธิ 11 เดือนของปี งปม. 48 (ต.ค.47-ส.ค.48) รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 1,183,040 ล.บาท สูง
กว่าเป้าหมาย 6% สำหรับในปี งปม.49 จะยังคงจัดทำ งปม.แบบสมดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และมั่นใจว่าจาก
สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ระดับ 1.36 ล้านล้านบาท และ
สามารถจัดทำ งปม.แบบสมดุลเป็นปีที่ 2 ได้ (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. อันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในปี 48 ปรับลดลงจาก 2 ปีก่อนหน้า เวิลด์ อีโค
โนมิค ฟอรัม เปิดเผยรายงานเรื่องขีดความสามารถทางการแข่งขันของเศรษบกิจโลก (จีซีไอ) ประจำปี 48 ซึ่ง
พบว่า อันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในปี 48 อยู่ที่ 36 ตกจากอันดับที่ 34 และ 32 ในปี 47
และ 16 ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงสุดได้แก่ ฟินแลนด์ ซึ่งอยู่ในอันดับสูงสุดมาเป็น
เวลา 3 ปีติดต่อกัน สำหรับประเทศสำคัญในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฮ่องกง และจีน อยู่ในอันดับ
ที่ 12, 17, 24, 28 และ 49 ตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. เอสแอนด์พีปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ไทย 6 แห่ง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ในภูมิภาคเอเชีย 18 แห่ง
โดยมี ธพ.ของไทยจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงไทย ธ.ไทย
พาณิชย์ และ ธ.ทหารไทย สำหรับสาเหตุที่เอสแอนด์พีปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ไทย 6 แห่ง เนื่อง
จากประเมินว่า ธนาคารทั้ง 6 แห่งจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติมเหมือนที่ดำเนินการมาแล้วในช่วง
ระหว่างและหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน
ระบบธนาคารในประเทศให้มีความมั่นคงแข็งแกร่ง ประกอบกับ ธพ.เองได้มีการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับกับ
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสรอ. ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 48 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนสรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.3 มากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ซึ่งยืนยันว่าเศรษฐกิจสรอ. กำลังขยายตัวก่อนที่จะได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริ
เคนที่พัดเข้าชายฝั่งถึง 2 ลูกเมื่อเดือนส.ค.และก.ย. เนื่องจากคำสั่งซื้อโลหะ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ และ
อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าที่ไม่นับรวมสินค้าเกี่ยวกับการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับ
ตั้งแต่เดือนมี.ค. 47 ก่อนหน้านั้นผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (สินค้าที่มี
อายุการใช้งาน 3 ปีหรือมากกว่า) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หากไม่นับรวมคำสั่งซื้อสินค้า
เกี่ยวกับการขนส่ง ทั้งนี้ ก.พาณิชย์สรอ.กล่าวว่าบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาเมื่อปลายเดือน
ส.ค. คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ1.85 ของอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหมดของสรอ.(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของธุรกิจในเขตยูโรเพิ่มขึ้น แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 ก.ย.48 ความเชื่อมั่นของธุรกิจของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ในเขตยูโรส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น โดยอิตาลีซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็น
อันดับ 3 ของยูโรโซน และเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจซบเซาจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อมั่นของธุรกิจกลับปรับตัวดี
ขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีก่อน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจใน
เดือน ก.ย. อยู่ที่ระดับ 89.5 จากระดับ 87.8 ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ฝรั่งเศสความเชื่อมั่นของธุรกิจลดลง
เล็กน้อยในเดือน ก.ย. จากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยลดลงอยู่ที่ระดับ —18 จากระดับ —15 ในเดือนก่อนหน้า
สำหรับด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคนั้น ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนีแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลที่
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค. จากปัญหาราคาน้ำมันที่ทำให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า
อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากสถาบัน Ifo ของเยอรมนี ว่า ภาคธุรกิจมีมุมมองต่อสภาพเศรษฐกิจดีขึ้นสูงสุดในรอบ
8 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีความคิดเห็นของผู้บริโภคในอนาคตสำหรับเดือน ต.ค. ลดลงเล็กน้อยจากที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่
ระดับร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 3.3 เมื่อเดือนก่อน (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 ลดลงในอัตราสูงสุดในรอบ 22 ปี รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 28 ก.ย.48 สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษ หรือ CBI รายงานผลสำรวจการค้าปลีก ของ
อังกฤษในเดือน ก.ย.48 พบว่าร้อยละ 26 ของธุรกิจค้าปลีกที่สำรวจรายงานยอดค้าปลีกในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนในขณะที่มีถึงร้อยละ 50 ที่รายงานยอดค้าปลีกลดลง ส่งผลให้ส่วนต่างร้อยละของผู้ที่รายงานยอดค้าปลีก
เพิ่มและลดลงอยู่ที่ - 24 อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการสำรวจยอดค้าปลีก โดยอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ — 18
ในเดือน ส.ค.48 และระดับ — 15 จากการคาดการณ์ของสมาคมค้าปลีกเอง และยังต่ำกว่าระดับ — 15 จากผล
สำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังทำให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนไหว 3 เดือนลดลงมาอยู่ในระดับ
ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ — 20 จากระดับ — 18 ในเดือน ส.ค.48 โดยสินค้าที่มียอดขายลดลงมากที่สุดคือ
เฟอร์นิเจอร์และพรม และสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบ้าน รวมถึงเครื่องมือในการซ่อมแซมหรือดูแลบ้านด้วยตนเอง
(DIY) มีเพียงร้านขายของชำและร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะเท่านั้นที่มียอดขายดีขึ้นจากปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจาก
หลายปัจจัยซึ่งรวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและความไม่ต้องการก่อหนี้ เพิ่มของผู้บริโภคและการชะลอตัวของตลาดบ้าน
ในอังกฤษ ทำให้มีการคาดกันมากขึ้นว่า ธ.กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้
บริโภค (รอยเตอร์)
4. ยอดการขายปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.5 ทั้งเทียบต่อปีและต่อเดือน เนื่องจากราคาน้ำมัน
ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง รายงานจากโตเกียว เมื่อ 29 ก.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับ
สูงในขณะนี้ส่งผลให้ยอดการขายปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
1.5 ทั้งเทียบต่อปีและต่อเดือน จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อปี หลัง
จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค.48 (ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6) ทั้งนี้ สาเหตุที่ยอดขาย
ปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากการบริโภคในประเทศแข็งแกร่ง ส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยัง
คงมีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Daiwa Securities SMBC เห็นว่า จากการที่ตัว
เลขการบริโภคดีเกินไปทั้งในไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปีนี้ สร้างความกังวลว่าอาจชะลอตัวในฤดูร้อนที่จะถึง
นี้ แต่การชะลอตัวดังกล่าวเป็นเพียงปัจจัยเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากรายได้และภาวะการจ้างงานฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ทั้งนี้ ยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นนั้นสร้างความประหลาดใจอย่างมาก เพราะจากข้อมูลในสัปดาห์นี้พบว่า ยอดขาย
ของห้างสรรพสินค้าในเดือน ส.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.7 และยอดขายของซูเปอร์มาร์เก็ตก็ลดลงถึงร้อยละ 2.9
เทียบจากปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายของเชื้อเพลิงรวมถึงแก๊สโซลีน (ซึ่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น) เพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบต่อปี อย่างไรก็ตาม รมว.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Naomichi
Miyazawa) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า หากไม่นับรวมราคาพลังงานแล้ว ยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อ
ปีนั้นอาจเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ก.ย. 48 28 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.219 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0372/41.3242 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.45486 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.20/ 16.18 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,100/9,200 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.35 56.49 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กนง.เชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจไทย
เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการรองรับปัจจัยลบต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี เห็นได้จากฐานะการเงินของภาคธุรกิจและ
ธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้น มีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่เสถียรภาพด้านต่าง
ประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทุนสำรองทางการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หนี้ต่างประเทศลดลง รวมทั้งการเริ่มปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง
ของดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนั้น การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนที่มี
ความยืดหยุ่นมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจปรับตัวรับกับปัจจัยลบที่เข้ามาได้เร็วขึ้น ขณะที่ฐานะการคลังแข็งแกร่งทำให้
สามารถใช้นโยบายการคลังกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ แต่สิ่งที่ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของ
เศรษฐกิจปีนี้คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ราคาน้ำมัน ภาวะเศรษฐกิจโลก และ
การสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะอัตราเงินเฟ้อกำลังเร่งตัวสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้า
ในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งส่งผลกระทบต่อประชาชน สำหรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.จะยังเป็นการปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามแนวทางขาขึ้นต่อไป (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ก.คลังเชื่อมั่นว่าปี 48 จะสามารถเกินดุล งปม.ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
รมว.คลัง กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถบริหารการจัดเก็บรายได้และรายจ่ายได้ตามเป้าหมาย
โดย งปม.ในปีนี้จะสมดุลเป็นครั้งแรกนับจากวิกฤติเศรษฐกิจ และจะเกินดุลเล็กน้อยประมาณ 2 หมื่น ล.บาท หลัง
หักรายจ่ายต่างๆ โดยรายได้หลักที่จัดเก็บส่วนใหญ่มาจากกรมสรรพากร สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลล่าสุดเมื่อวัน
ที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา สามารถเบิกจ่ายเงิน งปม.ได้มากกว่า 90% ซึ่งเบิกจ่ายได้มากกว่าทุกปีและเป็นไปตามเป้า
หมายที่กำหนด เนื่องจากการนำระบบบริหารจัดการข้อมูลการคลังทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาดำเนินการ ทั้งนี้ ผลการ
จัดเก็บรายได้สุทธิ 11 เดือนของปี งปม. 48 (ต.ค.47-ส.ค.48) รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 1,183,040 ล.บาท สูง
กว่าเป้าหมาย 6% สำหรับในปี งปม.49 จะยังคงจัดทำ งปม.แบบสมดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และมั่นใจว่าจาก
สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ระดับ 1.36 ล้านล้านบาท และ
สามารถจัดทำ งปม.แบบสมดุลเป็นปีที่ 2 ได้ (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. อันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในปี 48 ปรับลดลงจาก 2 ปีก่อนหน้า เวิลด์ อีโค
โนมิค ฟอรัม เปิดเผยรายงานเรื่องขีดความสามารถทางการแข่งขันของเศรษบกิจโลก (จีซีไอ) ประจำปี 48 ซึ่ง
พบว่า อันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในปี 48 อยู่ที่ 36 ตกจากอันดับที่ 34 และ 32 ในปี 47
และ 16 ตามลำดับ ทั้งนี้ ประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงสุดได้แก่ ฟินแลนด์ ซึ่งอยู่ในอันดับสูงสุดมาเป็น
เวลา 3 ปีติดต่อกัน สำหรับประเทศสำคัญในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฮ่องกง และจีน อยู่ในอันดับ
ที่ 12, 17, 24, 28 และ 49 ตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. เอสแอนด์พีปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ไทย 6 แห่ง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ในภูมิภาคเอเชีย 18 แห่ง
โดยมี ธพ.ของไทยจำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงไทย ธ.ไทย
พาณิชย์ และ ธ.ทหารไทย สำหรับสาเหตุที่เอสแอนด์พีปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ไทย 6 แห่ง เนื่อง
จากประเมินว่า ธนาคารทั้ง 6 แห่งจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติมเหมือนที่ดำเนินการมาแล้วในช่วง
ระหว่างและหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน
ระบบธนาคารในประเทศให้มีความมั่นคงแข็งแกร่ง ประกอบกับ ธพ.เองได้มีการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับกับ
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสรอ. ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 48 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนส.ค. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนสรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.3 มากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ซึ่งยืนยันว่าเศรษฐกิจสรอ. กำลังขยายตัวก่อนที่จะได้รับความเสียหายจากพายุเฮอริ
เคนที่พัดเข้าชายฝั่งถึง 2 ลูกเมื่อเดือนส.ค.และก.ย. เนื่องจากคำสั่งซื้อโลหะ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ และ
อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าที่ไม่นับรวมสินค้าเกี่ยวกับการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับ
ตั้งแต่เดือนมี.ค. 47 ก่อนหน้านั้นผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (สินค้าที่มี
อายุการใช้งาน 3 ปีหรือมากกว่า) จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หากไม่นับรวมคำสั่งซื้อสินค้า
เกี่ยวกับการขนส่ง ทั้งนี้ ก.พาณิชย์สรอ.กล่าวว่าบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาเมื่อปลายเดือน
ส.ค. คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ1.85 ของอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหมดของสรอ.(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของธุรกิจในเขตยูโรเพิ่มขึ้น แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 ก.ย.48 ความเชื่อมั่นของธุรกิจของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ในเขตยูโรส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น โดยอิตาลีซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็น
อันดับ 3 ของยูโรโซน และเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจซบเซาจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อมั่นของธุรกิจกลับปรับตัวดี
ขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. ปีก่อน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจใน
เดือน ก.ย. อยู่ที่ระดับ 89.5 จากระดับ 87.8 ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ฝรั่งเศสความเชื่อมั่นของธุรกิจลดลง
เล็กน้อยในเดือน ก.ย. จากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยลดลงอยู่ที่ระดับ —18 จากระดับ —15 ในเดือนก่อนหน้า
สำหรับด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคนั้น ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนีแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลที่
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค. จากปัญหาราคาน้ำมันที่ทำให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า
อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากสถาบัน Ifo ของเยอรมนี ว่า ภาคธุรกิจมีมุมมองต่อสภาพเศรษฐกิจดีขึ้นสูงสุดในรอบ
8 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีความคิดเห็นของผู้บริโภคในอนาคตสำหรับเดือน ต.ค. ลดลงเล็กน้อยจากที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่
ระดับร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 3.3 เมื่อเดือนก่อน (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ย.48 ลดลงในอัตราสูงสุดในรอบ 22 ปี รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 28 ก.ย.48 สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษ หรือ CBI รายงานผลสำรวจการค้าปลีก ของ
อังกฤษในเดือน ก.ย.48 พบว่าร้อยละ 26 ของธุรกิจค้าปลีกที่สำรวจรายงานยอดค้าปลีกในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนในขณะที่มีถึงร้อยละ 50 ที่รายงานยอดค้าปลีกลดลง ส่งผลให้ส่วนต่างร้อยละของผู้ที่รายงานยอดค้าปลีก
เพิ่มและลดลงอยู่ที่ - 24 อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการสำรวจยอดค้าปลีก โดยอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ — 18
ในเดือน ส.ค.48 และระดับ — 15 จากการคาดการณ์ของสมาคมค้าปลีกเอง และยังต่ำกว่าระดับ — 15 จากผล
สำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังทำให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนไหว 3 เดือนลดลงมาอยู่ในระดับ
ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ — 20 จากระดับ — 18 ในเดือน ส.ค.48 โดยสินค้าที่มียอดขายลดลงมากที่สุดคือ
เฟอร์นิเจอร์และพรม และสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบ้าน รวมถึงเครื่องมือในการซ่อมแซมหรือดูแลบ้านด้วยตนเอง
(DIY) มีเพียงร้านขายของชำและร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะเท่านั้นที่มียอดขายดีขึ้นจากปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจาก
หลายปัจจัยซึ่งรวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและความไม่ต้องการก่อหนี้ เพิ่มของผู้บริโภคและการชะลอตัวของตลาดบ้าน
ในอังกฤษ ทำให้มีการคาดกันมากขึ้นว่า ธ.กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้
บริโภค (รอยเตอร์)
4. ยอดการขายปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.5 ทั้งเทียบต่อปีและต่อเดือน เนื่องจากราคาน้ำมัน
ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง รายงานจากโตเกียว เมื่อ 29 ก.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับ
สูงในขณะนี้ส่งผลให้ยอดการขายปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
1.5 ทั้งเทียบต่อปีและต่อเดือน จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อปี หลัง
จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค.48 (ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6) ทั้งนี้ สาเหตุที่ยอดขาย
ปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากการบริโภคในประเทศแข็งแกร่ง ส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยัง
คงมีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Daiwa Securities SMBC เห็นว่า จากการที่ตัว
เลขการบริโภคดีเกินไปทั้งในไตรมาสแรกและไตรมาส 2 ของปีนี้ สร้างความกังวลว่าอาจชะลอตัวในฤดูร้อนที่จะถึง
นี้ แต่การชะลอตัวดังกล่าวเป็นเพียงปัจจัยเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากรายได้และภาวะการจ้างงานฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ทั้งนี้ ยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นนั้นสร้างความประหลาดใจอย่างมาก เพราะจากข้อมูลในสัปดาห์นี้พบว่า ยอดขาย
ของห้างสรรพสินค้าในเดือน ส.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.7 และยอดขายของซูเปอร์มาร์เก็ตก็ลดลงถึงร้อยละ 2.9
เทียบจากปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายของเชื้อเพลิงรวมถึงแก๊สโซลีน (ซึ่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น) เพิ่มขึ้น
ถึงร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบต่อปี อย่างไรก็ตาม รมว.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Naomichi
Miyazawa) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า หากไม่นับรวมราคาพลังงานแล้ว ยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบต่อ
ปีนั้นอาจเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ก.ย. 48 28 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.219 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0372/41.3242 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.45486 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.20/ 16.18 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,100/9,200 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.35 56.49 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--