คุณถาม: JULY PACKAGE คืออะไร
EXIM ตอบ : JULY PACKAGE เป็นแผนงานและกรอบเจรจาการค้าของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO) ถือกำเนิดขึ้นหลังจากความล้มเหลวของการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 10-14 กันยายน 2546 ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ส่งผลให้การเจรจาการค้าภายใต้กรอบ WTO ชะงักงันไปประมาณ 6-7 เดือนประเทศสมาชิก WTO นำโดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป จึงร่วมกันจัดทำแผนงานและกรอบเจรจาการค้าหรือที่รู้จักกันในชื่อ JULY PACKAGE เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเจรจาการค้าหรือที่รู้จักกันในชื่อ JULY PACKAGE เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเจรจาต่อไปในอนาคต ครอบคลุมการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร การเปิดตลาดที่มิใช่สินค้า เกษตร(Non-Agriculture Market Access: NAMA) การเปิดตลาดสินค้าบริการ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ทั้งนี้ประเทศ สมาชิก WTO ได้รับรองแผนงานดังกล่าวในวันที่ 1 สิงหาคม 2547 และดำเนินการเจรจาภายใต้กรอบ JULY PACKAGE มาอย่างต่อเนื่อง
สาระสำคัญของ JULY PACKAGE สรุปได้ดังนี้
-การต่ออายุการเจรจา WTO รอบโดฮาและการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 (การเจรจาการค้าพหุภาคีมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละรอบ สำหรับปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจารอบโดฮา ซึ่งเริ่มตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 โดยสถานที่เปิดการประชุมจัดขึ้นที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์) จากเดิมการเจรจารอบโดฮา มีกำหนดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 แต่เนื่องจากความล้มเหลวของการประชุมที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจารอบโดฮาทำให้แผนการเจรจาล่าช้าและไม่สามารถสรุปผลได้กำหนด คณะมนตรีใหญ่(General Council) จึงมีมติให้เลื่อนกำหนดการสรุปผลออกไปจนถึงการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2548 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
-การปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรโลก ที่ผ่านมาตลาดสินค้าเกษตรโลกมักมีการบิดเบือนไปจนทำให้ราคาไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งเป็นผลมาจากากรใช้มาตรการทางการค้าในลักษณะต่างๆ ทั้งการตั้งกำแพงภาษี การควบคุมการนำเข้า การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนการส่งออกที่อยู่ในระดับสูง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวประเทศสมาชิก WTO จึงกำหนดกรอบการปฏิรูปสินค้าเกษตรขึ้นครอบคลุมทั้งการเปิดตลาดสินค้าเกษตรการลดระดับ การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนการส่งออก
-การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ การกำหนดสูตรการลดภาษีและการลดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยประเทศกำลังพัฒนาจะมีระยะเวลาในการลดภาษีที่ยาวนานและมีความยืดหยุ่นกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
-การเปิดตลาดการค้าบริการ ประเทศสมาชิก WTO จะพยายามเร่งรัดการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการระหว่างกันให้เร็วขึ้น
-การเริ่มเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อช่วยลดขั้นตอนที่ล่าช้าและยุ่งยากของพิธีการศุลกากรรวมทั้งช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแพนล
-เรื่องอื่นๆ อาทิ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การปรับปรุงกระบวนการระงับขอพิพาทของ WTO รวมทั้งการปรับปรุงกฎเกณฑ์การปฏิบัติที่เป็นพิเศษ และแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา(Special and Differential Treatment)เป็นต้น
คุณถาม :อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ในต่างประเทศ
EXIM ตอบ: ปัจจุบันสินค้า OTOP ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยมียอดจำหน่ายในปี 2547 มูลค่ารวม 46,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่า 33,000 ล้านบาท ซึ่งจุดเด่นที่ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คือการเป็นสินค้าที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณค่าสูงในสายตาของผู้ซื้อจึงเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าส่งออกสินค้า OTOP ของไทยมีสัดส่วนเพียง 20% ของยอดจำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งหมด จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาถึงช่องทางการจัดจำหน่ายในต่างประเทศทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำมาใช้วางแผนทางธุรกิจในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำมาใช้วางแผนทางธุรกิจในการขยายตลาดส่งออกให้กว้างขวางขึ้นทั้งนี้ ช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ในต่างประเทศมีดังนี้
-ศูนย์จำหน่ายสินค้า Thailand Market Place(TMP)ภายใต้การดำเนินงานของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำร่องก่อตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า TMP แห่งแรกในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ด้วยการเช่าพื้นที่อาคารในย่าน Soho และถนน Fifth Avenue มุ่งเน้นจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารผลิตภัณฑ์สปา ของตกแต่งบ้าน และแฟชั่น อาทิ อัญมณี เครื่องประดับ และสิ่งทอ ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2548 นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการสงออกยังตั้งเป้าหมายที่จะก่อตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า TMP เพิ่มขึ้นอีกราว 100 แห่งทั่วโลก ทั้งในแถบยุโรป สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง
-การจำหน่ายสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์ ปัจจุบันผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์ของต่างประเทศหลายรายสนใจสินค้า OTOP ไปจำหน่าย อาทิ บริษัท LG Home Shopping จำกัด ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์รายใหญ่สุดของเอเชียและเป็นอันดับ 2 ของโลกบริษัท Jupiter Shop Channel จำกัด ของญี่ปุ่น และบริษัท NAT TV จำกัด ของสหรัฐฯ
-การจำหน่ายสินค้าในร้านอาหารไทย เนื่องจากผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯและเยอรมนีเริ่มสนใจนำสินค้า OTOP ไปวางจำหน่ายหรือเป็นของชำร่วยในร้านอาหาร โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเบญจรงค์ และผ้า
-การจำหน่ายสินค้าในงานแสดงสินค้าตามกิจกรรมส่งเสริม การตลาดของรัฐบาล ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะนำผู้ประกอบการสินค้า OTOP เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศในปี 2548 อาทิงาน Asia EXPO ที่อังกฤษงาน Tokyo International Show ที่ญี่ปุ่น และงาน Summer Sourcing show for Gift, Houseware and Toys ที่ฮ่องกง
ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจะมีส่วนช่วยให้ผู้ผลิตสินค้า OTOP ของไทยสามารถขยายตลาดต่างประเทศได้ในระยะต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-
EXIM ตอบ : JULY PACKAGE เป็นแผนงานและกรอบเจรจาการค้าของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO) ถือกำเนิดขึ้นหลังจากความล้มเหลวของการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 10-14 กันยายน 2546 ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ส่งผลให้การเจรจาการค้าภายใต้กรอบ WTO ชะงักงันไปประมาณ 6-7 เดือนประเทศสมาชิก WTO นำโดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป จึงร่วมกันจัดทำแผนงานและกรอบเจรจาการค้าหรือที่รู้จักกันในชื่อ JULY PACKAGE เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเจรจาการค้าหรือที่รู้จักกันในชื่อ JULY PACKAGE เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเจรจาต่อไปในอนาคต ครอบคลุมการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร การเปิดตลาดที่มิใช่สินค้า เกษตร(Non-Agriculture Market Access: NAMA) การเปิดตลาดสินค้าบริการ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ทั้งนี้ประเทศ สมาชิก WTO ได้รับรองแผนงานดังกล่าวในวันที่ 1 สิงหาคม 2547 และดำเนินการเจรจาภายใต้กรอบ JULY PACKAGE มาอย่างต่อเนื่อง
สาระสำคัญของ JULY PACKAGE สรุปได้ดังนี้
-การต่ออายุการเจรจา WTO รอบโดฮาและการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 (การเจรจาการค้าพหุภาคีมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละรอบ สำหรับปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจารอบโดฮา ซึ่งเริ่มตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 โดยสถานที่เปิดการประชุมจัดขึ้นที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์) จากเดิมการเจรจารอบโดฮา มีกำหนดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 แต่เนื่องจากความล้มเหลวของการประชุมที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจารอบโดฮาทำให้แผนการเจรจาล่าช้าและไม่สามารถสรุปผลได้กำหนด คณะมนตรีใหญ่(General Council) จึงมีมติให้เลื่อนกำหนดการสรุปผลออกไปจนถึงการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2548 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
-การปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรโลก ที่ผ่านมาตลาดสินค้าเกษตรโลกมักมีการบิดเบือนไปจนทำให้ราคาไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งเป็นผลมาจากากรใช้มาตรการทางการค้าในลักษณะต่างๆ ทั้งการตั้งกำแพงภาษี การควบคุมการนำเข้า การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนการส่งออกที่อยู่ในระดับสูง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวประเทศสมาชิก WTO จึงกำหนดกรอบการปฏิรูปสินค้าเกษตรขึ้นครอบคลุมทั้งการเปิดตลาดสินค้าเกษตรการลดระดับ การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนการส่งออก
-การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ การกำหนดสูตรการลดภาษีและการลดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยประเทศกำลังพัฒนาจะมีระยะเวลาในการลดภาษีที่ยาวนานและมีความยืดหยุ่นกว่าประเทศพัฒนาแล้ว
-การเปิดตลาดการค้าบริการ ประเทศสมาชิก WTO จะพยายามเร่งรัดการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการระหว่างกันให้เร็วขึ้น
-การเริ่มเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อช่วยลดขั้นตอนที่ล่าช้าและยุ่งยากของพิธีการศุลกากรรวมทั้งช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแพนล
-เรื่องอื่นๆ อาทิ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การปรับปรุงกระบวนการระงับขอพิพาทของ WTO รวมทั้งการปรับปรุงกฎเกณฑ์การปฏิบัติที่เป็นพิเศษ และแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา(Special and Differential Treatment)เป็นต้น
คุณถาม :อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ในต่างประเทศ
EXIM ตอบ: ปัจจุบันสินค้า OTOP ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยมียอดจำหน่ายในปี 2547 มูลค่ารวม 46,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่า 33,000 ล้านบาท ซึ่งจุดเด่นที่ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คือการเป็นสินค้าที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณค่าสูงในสายตาของผู้ซื้อจึงเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าส่งออกสินค้า OTOP ของไทยมีสัดส่วนเพียง 20% ของยอดจำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งหมด จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาถึงช่องทางการจัดจำหน่ายในต่างประเทศทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำมาใช้วางแผนทางธุรกิจในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำมาใช้วางแผนทางธุรกิจในการขยายตลาดส่งออกให้กว้างขวางขึ้นทั้งนี้ ช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ในต่างประเทศมีดังนี้
-ศูนย์จำหน่ายสินค้า Thailand Market Place(TMP)ภายใต้การดำเนินงานของกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำร่องก่อตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า TMP แห่งแรกในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ด้วยการเช่าพื้นที่อาคารในย่าน Soho และถนน Fifth Avenue มุ่งเน้นจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารผลิตภัณฑ์สปา ของตกแต่งบ้าน และแฟชั่น อาทิ อัญมณี เครื่องประดับ และสิ่งทอ ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2548 นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการสงออกยังตั้งเป้าหมายที่จะก่อตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้า TMP เพิ่มขึ้นอีกราว 100 แห่งทั่วโลก ทั้งในแถบยุโรป สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง
-การจำหน่ายสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์ ปัจจุบันผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์ของต่างประเทศหลายรายสนใจสินค้า OTOP ไปจำหน่าย อาทิ บริษัท LG Home Shopping จำกัด ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์รายใหญ่สุดของเอเชียและเป็นอันดับ 2 ของโลกบริษัท Jupiter Shop Channel จำกัด ของญี่ปุ่น และบริษัท NAT TV จำกัด ของสหรัฐฯ
-การจำหน่ายสินค้าในร้านอาหารไทย เนื่องจากผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯและเยอรมนีเริ่มสนใจนำสินค้า OTOP ไปวางจำหน่ายหรือเป็นของชำร่วยในร้านอาหาร โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเบญจรงค์ และผ้า
-การจำหน่ายสินค้าในงานแสดงสินค้าตามกิจกรรมส่งเสริม การตลาดของรัฐบาล ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะนำผู้ประกอบการสินค้า OTOP เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศในปี 2548 อาทิงาน Asia EXPO ที่อังกฤษงาน Tokyo International Show ที่ญี่ปุ่น และงาน Summer Sourcing show for Gift, Houseware and Toys ที่ฮ่องกง
ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจะมีส่วนช่วยให้ผู้ผลิตสินค้า OTOP ของไทยสามารถขยายตลาดต่างประเทศได้ในระยะต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-