ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
อินโดนีเซียยกเลิกสัมปทานการทำประมงของไทย
นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของสมาคมการประมงนอกน่านน้ำว่า ได้มีการหารือถึงปัญหาการเข้าทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียของเรือประมงไทย เนื่องจากทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้แจ้งยกเลิกใบอนุญาตการเข้าทำประมงของเรือไทย ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.2548 จากเดิมที่ใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือน ก.ย.2548 โดยระบุว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางอินโดนีเซียได้ยกเลิกใบอนุญาตของจีนและฟิลิปปินส์ไปแล้ว
การยกเลิกใบอนุญาตดังกล่าว จะส่งผลกระทบกับวัตถุดิบการแปรรูปสินค้าอาหารทะเลของไทย ซึ่งอาจจะมีผลกระทบอย่างชัดเจนในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เพราะการจับปลาในน่านน้ำอินโดนีเซียนั้นมีมูลค่ามากถึง 8,000 - 10,000 ล้านบาทต่อปี ในระยะสั้นนั้นจะมีผลต่ออาหารทะเลในตลาดสด 3 แห่งคือ สมุทรสาคร สมุทรสงครามและสมุทรปราการ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบโดยตรงกับเรือประมงที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง จำนวน 370 ลำ พร้อมลูกเรือประมงอีกจำนวนมาก ที่จะไม่มีงานทำในช่วงนี้ ดังนั้น ทางรัฐบาลควรจะหาทาง แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ จะเดินทางไปเจรจาในกลางเดือนมิ.ย.นี้
นายเนวิน ชิดชอบ กล่าวเพิ่มเติมว่าในกรณีที่อินโดนีเซียไม่ขยายใบอนุญาตนั้น เรือประมงของไทยสามารถจับปลาในน่านน้ำสากลพม่า และมาดากัสกาได้ แต่มีปริมาณน้อย การยกเลิกใบอนุญาตครั้งนี้จะมีผลให้อาหารทะเลในประเทศราคาสูงขึ้น จากสถานการณ์ที่ทรัพยากรทางทะเลที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้ทุกประเทศเริ่มสงวนทรัพยากรทางธรรมชาติ ในขณะที่อินโดนีเซียมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่ รัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลเรื่องสัตว์น้ำนั้นก็มีการเปลี่ยนนโยบายใหม่ตามไปด้วย สำหรับความช่วยเหลือเรือประมงไทยนั้น ทางการจะให้การช่วยเหลือเฉพาะเรือไทยที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 9 — 14 พ.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,002.60 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 450.83 ตัน สัตว์น้ำจืด 551.77 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.41 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.29 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.74 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.51 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.17 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.44 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 63.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 171.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 186.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 40.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 112.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 5.47 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 23 - 27 พค. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.72 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.02 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 23-29 พฤษภาคม 2548--
-พห-
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
อินโดนีเซียยกเลิกสัมปทานการทำประมงของไทย
นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของสมาคมการประมงนอกน่านน้ำว่า ได้มีการหารือถึงปัญหาการเข้าทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียของเรือประมงไทย เนื่องจากทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้แจ้งยกเลิกใบอนุญาตการเข้าทำประมงของเรือไทย ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.2548 จากเดิมที่ใบอนุญาตดังกล่าวจะหมดอายุในเดือน ก.ย.2548 โดยระบุว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางอินโดนีเซียได้ยกเลิกใบอนุญาตของจีนและฟิลิปปินส์ไปแล้ว
การยกเลิกใบอนุญาตดังกล่าว จะส่งผลกระทบกับวัตถุดิบการแปรรูปสินค้าอาหารทะเลของไทย ซึ่งอาจจะมีผลกระทบอย่างชัดเจนในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เพราะการจับปลาในน่านน้ำอินโดนีเซียนั้นมีมูลค่ามากถึง 8,000 - 10,000 ล้านบาทต่อปี ในระยะสั้นนั้นจะมีผลต่ออาหารทะเลในตลาดสด 3 แห่งคือ สมุทรสาคร สมุทรสงครามและสมุทรปราการ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบโดยตรงกับเรือประมงที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง จำนวน 370 ลำ พร้อมลูกเรือประมงอีกจำนวนมาก ที่จะไม่มีงานทำในช่วงนี้ ดังนั้น ทางรัฐบาลควรจะหาทาง แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.เกษตรฯ จะเดินทางไปเจรจาในกลางเดือนมิ.ย.นี้
นายเนวิน ชิดชอบ กล่าวเพิ่มเติมว่าในกรณีที่อินโดนีเซียไม่ขยายใบอนุญาตนั้น เรือประมงของไทยสามารถจับปลาในน่านน้ำสากลพม่า และมาดากัสกาได้ แต่มีปริมาณน้อย การยกเลิกใบอนุญาตครั้งนี้จะมีผลให้อาหารทะเลในประเทศราคาสูงขึ้น จากสถานการณ์ที่ทรัพยากรทางทะเลที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้ทุกประเทศเริ่มสงวนทรัพยากรทางธรรมชาติ ในขณะที่อินโดนีเซียมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่ รัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลเรื่องสัตว์น้ำนั้นก็มีการเปลี่ยนนโยบายใหม่ตามไปด้วย สำหรับความช่วยเหลือเรือประมงไทยนั้น ทางการจะให้การช่วยเหลือเฉพาะเรือไทยที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 9 — 14 พ.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,002.60 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 450.83 ตัน สัตว์น้ำจืด 551.77 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.41 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.29 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.74 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.51 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.17 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.44 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 63.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 171.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 186.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 40.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 112.86 บาทของสัปดาห์ก่อน 5.47 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 23 - 27 พค. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.72 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.02 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 23-29 พฤษภาคม 2548--
-พห-