ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวส่งผลให้ ธปท.ยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อ
เนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากทิศทางอัตราเงินเฟ้อที่ยังเร่งตัวขึ้น ทำให้
ธปท.ยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง แต่ไม่จำเป็นต้องเร่งความเร็วในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นไปตามประมาณการและสมมติฐานของ ธปท. หาก ธปท.ยังคงทิศทาง
นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างที่ดำเนินการอยู่ เชื่อว่าจะดูแลอัตราเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบอยู่ร้อยละ 3.52 และ ธปท.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อปี 48 เทียบกับปีที่ผ่านมาจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.7 แต่ในปีหน้าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4-4.5 ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยในระยะต่อ
ไปไม่จำเป็นต้องเร่งตัวมาก แต่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าจะไม่ขึ้นครั้งละร้อยละ 0.50 อีก (โลกวันนี้, ผู้จัดการราย
วัน, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 82.1 แต่ต่ำกว่า
ระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการ
สำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน ส.ค.48 พบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อ
สภาวะการณ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 82.1 จาก 81.2 ในเดือน ก.ค.48 สาเหตุที่ดัชนีปรับตัวดีขึ้นเพราะค่า
ดัชนีหลัก 4 ปัจจัยปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิตสินค้า
และผลประกอบการ แต่ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ การสำรวจครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 472
ตัวอย่าง ครอบคลุมทั้ง 33 กลุ่มอุตสาหกรรม (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังชี้แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนมั่นใจไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการผิดนัดชำระหนี้
เพิ่มขึ้น อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาขน ก.คลัง เปิดเผยว่า กรณี
ความเป็นห่วงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับพฤติกรรมการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ที่เกิดจากการ
ใช้กลไกที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหานั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะกรอบการแก้ไขปัญหามีความชัดเจนว่าจะแก้ไขเฉพาะหนี้ที่
ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เกิดขึ้นในอดีต และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่มีอยู่ ซึ่งก็คือหนี้
ส่วนบุคคลที่มีมูลหนี้เงินต้นไม่เกิน 200,000 บาท ไม่นับรวมหนี้ในอนาคต สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาจะยึดหลัก
ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งกลไกที่สร้างขึ้นจะเข้ามาบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดลง และสถาบันการ
เงินที่เป็นเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน เพราะการแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลที่ผ่านมาจะมีการแก้ไขเป็นราย ๆ และ
แยกส่วนกันดำเนินงาน ซึ่งการนำมารวมกันและแก้ไขอย่างเป็นระบบจะทำให้การแก้ไขปัญหาสามารถดำเนินไปได้
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดบัตรเครดิตขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์
ถึง แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตไตรมาส 3 ปี 48 ว่า ปริมาณการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตชะลอลงต่อเนื่องจาก
ไตรมาส 2 ปี 48 ซึ่งเป็นผลจากการชะลอการใช้จ่ายของลูกค้า และการเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลยอดสินเชื่อ
ของผู้ประกอบการควบคู่กับการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตร รวมทั้งมีผลจากปัจจัยภายนอกเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอ
ตัวลง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณบัตรเครดิตในไตรมาส 3 ปี 48 ทั้งระบบจะขยายตัวร้อย
ละ 12.85 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากการขยายตัวที่ร้อยละ 14.25 ในไตรมาส 2 ของปีนี้ สำหรับ
ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในไตรมาส 3 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 19.68 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่ม
ขึ้นเล็กน้อยจากที่เติบโตร้อยละ 18.4 ในไตรมาส 2 ปี 48 (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
5. บลจ.กองทุน กสิกรไทยคาดว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องอีก 4-5 ปี ประธาน บลจ.
กองทุนกสิกรไทย และประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เปิดเผยในงานสัมมนาสงครามชิงน้ำมัน :
ทางออกประเทศว่า แนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะยังคงผันผวนในระดับสูงเช่นปัจจุบันไปอีกอย่างน้อยจน
ถึงต้นปี 49 หลังจากนั้นจะเริ่มกลับมาทรงตัว แต่ก็อาจจะยังอยู่ในระดับสูง 60-70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลไปอีก
ไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี และหลังจากปี 54 ราคาน้ำมันจะสามารถกลับมาอยู่ในระดับ 40-50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบันไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเก็งกำไรของกองทุน
ต่าง ๆ อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แต่เป็นผลมาจากความต้องการใช้ของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาทั่วโลกใน
ช่วงที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ อินเดีย จีน หรือแม้แต่ไทยเอง ในขณะที่ปริมาณการผลิต
น้ำมันของโลกยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการชะลอการขุดเจาะหรือเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของ
โลก แต่ในกรณีที่ราคาน้ำมันคงตัวอยู่ในระดับสูงนาน ๆ จะทำให้ปริมาณความต้องการใช้ดลดลง ประกอบกับราคา
น้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการลงทุนผลิตน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลต่อราคาให้ลดลงได้ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการส่งออกของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.4 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 4 ต.ค.48 องค์กรภาคอุตสาหกรรม BDI ของเยอรมนี เปิดเผยผลสำรวจประจำปีว่า การส่ง
ออกของเยอรมนีในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และจะปรับตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 5.0 ในปี 49 ในขณะที่
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวไม่เกินร้อยละ 1.0 และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 ใน
ปี 49 ทั้งนี้ เยอรมนีที่เป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกเมื่อปีก่อนต้องพึ่งพาการส่งออกสำหรับการขยายตัว
ของเศรษฐกิจและชดเชยกับความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซา โดยในปี 47 การส่งออก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 มูลค่ากว่า 700 พันล้านยูโร (835 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในขณะที่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
เยอรมนีได้เปรียบดุลการค้า 85 พันล้านยูโร สูงกว่าตัวเลขในครึ่งหลังของปี 47 อย่างไรก็ตาม BDI เตือนว่า
ณ สิ้นเดือน ส.ค.48 ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อการลงทุนและอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของเยอรมนี รวมถึงการส่งออกด้วยเนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การคาด
การณ์ตัวเลขการส่งออกของ BDI อาจจะมีมุมมองในเชิงลบมากกว่าเมื่อเทียบกับที่หอการค้าและอุตสาหกรรม
(DIHK) ของเยอรมนี คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 7.0 ในปีนี้ และจะลดลง
เหลือร้อยละ 6.3 ในปี 49 ทั้งนี้ ตลาดการส่งออกที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ยังคงเป็นสหภาพ
ยุโรปที่มียอดการสั่งซื้อสินค้าประมาณ 2 ใน 3 ของสินค้าที่ส่งออกทั้งหมด ตามด้วย สรอ. ร้อยละ 8.7 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมต่อไปในการประชุมในสัปดาห์นี้
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 48 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 50 คนของรอยเตอร์ทั้งหมดมีความ
เห็นว่า ในการประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.5
ต่อไปอีกเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่เคยปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีในเดือนส.ค. เพื่อที่จะกระตุ้นการใช้จ่าย
บริโภค ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากกล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 สามารถเกิดขึ้น
ได้เร็วที่สุดในเดือนพ.ย. หากเศรษฐกิจสรอ.ขยายตัวไม่เป็นไปตามที่ธ.กลางอังกฤษคาดไว้ อย่างไรก็ตามเห็นว่า
หากเศรษฐกิจพ้นจากภาวะชะลอตัวแล้วธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ทั้งนี้คาดว่าในการประชุม
เดือนต.ค.นี้จะยังไม่มีความชัดเจนและประเด็นสำคัญยังคงเป็นเรื่องสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น โดย
ผู้ค้าปลีกกล่าวว่าผู้บริโภคกำลังเผชิญกับภาวะน้ำมันแพงคาดว่าในเดือนหน้าการค้าปลีกจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
และจากการสำรวจยอดขายรายเดือนของสมาคมอุตสาหกรรมอังกฤษชี้ว่าในเดือนก.ย.ยอดขายปลีกลดลงอย่างรวด
เร็วในรอบ 22 ปี แต่สัญญานอื่นชี้ว่าการขยายตัวของใช้จ่ายบริโภคยังมีเสถียรภาพซึ่งทางการอังกฤษคาดว่าการใช้
จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (รอยเตอร์)
3. ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ ธ.กลางของประเทศในเอเชียหลายประเทศต้องขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 4 ต.ค.48 ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ ธ.กลางของ
ประเทศในเอเชียหลายประเทศต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่แตกต่างกัน เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อ
การฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ โดยไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วร้อยละ 2.0 ตั้งแต่เดือน ส.ค.47
และอินโดนีเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.50 ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยทั้งไทยและอินโดนีเซีย
ประสบปัญหาค่าเงินอ่อนตัวลงจากการขาดดุลการค้าและเมื่อรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศตัดสินใจเลิกพยุงราคาน้ำมัน
ขายปลีกในประเทศก็ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของทั้ง 2 ประเทศพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราเงินเฟ้อของ
อินโดนีเซียสูงขึ้นทันทีร้อยละ 9.0 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้
ไต้หวันและฟิลิปปินส์ก็ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วแต่ในอัตราที่น้อยกว่าไทยและอินโดนียเซีย และคาดว่าเกาหลีใต้ก็กำลัง
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน ในขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ามาเลเซียและจีนอาจไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเลย
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้นจาก
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้จ่ายมากกว่าจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่
เร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่เกิดจากตลาดแรงงานขยายตัวและมีความต้องการส่วน
เกินในระบบเศรษฐกิจเช่นใน สรอ.ที่ทำให้ ธ.กลาง สรอ.ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วร้อยละ 2.75 ต่อปีนับตั้งแต่
เดือน มิ.ย.47 (รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.1 สูงสุดในรอบปี รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 4 ต.ค.48 Singapore’s Institute of Purchasing Materials Management เปิดเผยว่า The
purchasing managers’ index (PMI) ของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.1 จากระดับ
52.2 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปีนับตั้งแต่เดือน ก.ย.47 ที่อยู่ที่ระดับ 53.2 และอยู่เหนือ
ระดับ 50 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนภาพการขยายตัวของภาคการผลิต โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้น
อย่างมากของดัชนีที่เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ (New export orders) ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นที่
ระดับ 53.5 จากระดับ 50.8 อันเป็นผลจากการที่ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่
ระดับ 57.7 จากระดับ 52.9 ทั้งนี้ ภาคการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสิงคโปร์มีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของผล
ผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมและมีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ต.ค. 48 4 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.12 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9283/41.2211 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47972 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 714.90/ 13.36 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.57 56.69 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวส่งผลให้ ธปท.ยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อ
เนื่อง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากทิศทางอัตราเงินเฟ้อที่ยังเร่งตัวขึ้น ทำให้
ธปท.ยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง แต่ไม่จำเป็นต้องเร่งความเร็วในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นไปตามประมาณการและสมมติฐานของ ธปท. หาก ธปท.ยังคงทิศทาง
นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างที่ดำเนินการอยู่ เชื่อว่าจะดูแลอัตราเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบอยู่ร้อยละ 3.52 และ ธปท.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อปี 48 เทียบกับปีที่ผ่านมาจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.7 แต่ในปีหน้าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4-4.5 ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยในระยะต่อ
ไปไม่จำเป็นต้องเร่งตัวมาก แต่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าจะไม่ขึ้นครั้งละร้อยละ 0.50 อีก (โลกวันนี้, ผู้จัดการราย
วัน, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 82.1 แต่ต่ำกว่า
ระดับ 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการ
สำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน ส.ค.48 พบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อ
สภาวะการณ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาค
อุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 82.1 จาก 81.2 ในเดือน ก.ค.48 สาเหตุที่ดัชนีปรับตัวดีขึ้นเพราะค่า
ดัชนีหลัก 4 ปัจจัยปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิตสินค้า
และผลประกอบการ แต่ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ การสำรวจครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 472
ตัวอย่าง ครอบคลุมทั้ง 33 กลุ่มอุตสาหกรรม (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังชี้แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนมั่นใจไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการผิดนัดชำระหนี้
เพิ่มขึ้น อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาขน ก.คลัง เปิดเผยว่า กรณี
ความเป็นห่วงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับพฤติกรรมการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ที่เกิดจากการ
ใช้กลไกที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหานั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะกรอบการแก้ไขปัญหามีความชัดเจนว่าจะแก้ไขเฉพาะหนี้ที่
ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เกิดขึ้นในอดีต และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่มีอยู่ ซึ่งก็คือหนี้
ส่วนบุคคลที่มีมูลหนี้เงินต้นไม่เกิน 200,000 บาท ไม่นับรวมหนี้ในอนาคต สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาจะยึดหลัก
ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งกลไกที่สร้างขึ้นจะเข้ามาบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดลง และสถาบันการ
เงินที่เป็นเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน เพราะการแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลที่ผ่านมาจะมีการแก้ไขเป็นราย ๆ และ
แยกส่วนกันดำเนินงาน ซึ่งการนำมารวมกันและแก้ไขอย่างเป็นระบบจะทำให้การแก้ไขปัญหาสามารถดำเนินไปได้
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดบัตรเครดิตขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์
ถึง แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตไตรมาส 3 ปี 48 ว่า ปริมาณการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตชะลอลงต่อเนื่องจาก
ไตรมาส 2 ปี 48 ซึ่งเป็นผลจากการชะลอการใช้จ่ายของลูกค้า และการเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลยอดสินเชื่อ
ของผู้ประกอบการควบคู่กับการกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตร รวมทั้งมีผลจากปัจจัยภายนอกเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอ
ตัวลง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณบัตรเครดิตในไตรมาส 3 ปี 48 ทั้งระบบจะขยายตัวร้อย
ละ 12.85 จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากการขยายตัวที่ร้อยละ 14.25 ในไตรมาส 2 ของปีนี้ สำหรับ
ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในไตรมาส 3 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 19.68 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่ม
ขึ้นเล็กน้อยจากที่เติบโตร้อยละ 18.4 ในไตรมาส 2 ปี 48 (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
5. บลจ.กองทุน กสิกรไทยคาดว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องอีก 4-5 ปี ประธาน บลจ.
กองทุนกสิกรไทย และประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เปิดเผยในงานสัมมนาสงครามชิงน้ำมัน :
ทางออกประเทศว่า แนวโน้มของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะยังคงผันผวนในระดับสูงเช่นปัจจุบันไปอีกอย่างน้อยจน
ถึงต้นปี 49 หลังจากนั้นจะเริ่มกลับมาทรงตัว แต่ก็อาจจะยังอยู่ในระดับสูง 60-70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลไปอีก
ไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี และหลังจากปี 54 ราคาน้ำมันจะสามารถกลับมาอยู่ในระดับ 40-50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงในปัจจุบันไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเก็งกำไรของกองทุน
ต่าง ๆ อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แต่เป็นผลมาจากความต้องการใช้ของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาทั่วโลกใน
ช่วงที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ อินเดีย จีน หรือแม้แต่ไทยเอง ในขณะที่ปริมาณการผลิต
น้ำมันของโลกยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการชะลอการขุดเจาะหรือเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของ
โลก แต่ในกรณีที่ราคาน้ำมันคงตัวอยู่ในระดับสูงนาน ๆ จะทำให้ปริมาณความต้องการใช้ดลดลง ประกอบกับราคา
น้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการลงทุนผลิตน้ำมัน ซึ่งจะส่งผลต่อราคาให้ลดลงได้ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการส่งออกของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.4 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 4 ต.ค.48 องค์กรภาคอุตสาหกรรม BDI ของเยอรมนี เปิดเผยผลสำรวจประจำปีว่า การส่ง
ออกของเยอรมนีในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และจะปรับตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 5.0 ในปี 49 ในขณะที่
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวไม่เกินร้อยละ 1.0 และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 ใน
ปี 49 ทั้งนี้ เยอรมนีที่เป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกเมื่อปีก่อนต้องพึ่งพาการส่งออกสำหรับการขยายตัว
ของเศรษฐกิจและชดเชยกับความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซา โดยในปี 47 การส่งออก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 มูลค่ากว่า 700 พันล้านยูโร (835 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในขณะที่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
เยอรมนีได้เปรียบดุลการค้า 85 พันล้านยูโร สูงกว่าตัวเลขในครึ่งหลังของปี 47 อย่างไรก็ตาม BDI เตือนว่า
ณ สิ้นเดือน ส.ค.48 ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อการลงทุนและอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของเยอรมนี รวมถึงการส่งออกด้วยเนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การคาด
การณ์ตัวเลขการส่งออกของ BDI อาจจะมีมุมมองในเชิงลบมากกว่าเมื่อเทียบกับที่หอการค้าและอุตสาหกรรม
(DIHK) ของเยอรมนี คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 7.0 ในปีนี้ และจะลดลง
เหลือร้อยละ 6.3 ในปี 49 ทั้งนี้ ตลาดการส่งออกที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ยังคงเป็นสหภาพ
ยุโรปที่มียอดการสั่งซื้อสินค้าประมาณ 2 ใน 3 ของสินค้าที่ส่งออกทั้งหมด ตามด้วย สรอ. ร้อยละ 8.7 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมต่อไปในการประชุมในสัปดาห์นี้
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 48 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 50 คนของรอยเตอร์ทั้งหมดมีความ
เห็นว่า ในการประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.5
ต่อไปอีกเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่เคยปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีในเดือนส.ค. เพื่อที่จะกระตุ้นการใช้จ่าย
บริโภค ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากกล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 สามารถเกิดขึ้น
ได้เร็วที่สุดในเดือนพ.ย. หากเศรษฐกิจสรอ.ขยายตัวไม่เป็นไปตามที่ธ.กลางอังกฤษคาดไว้ อย่างไรก็ตามเห็นว่า
หากเศรษฐกิจพ้นจากภาวะชะลอตัวแล้วธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ทั้งนี้คาดว่าในการประชุม
เดือนต.ค.นี้จะยังไม่มีความชัดเจนและประเด็นสำคัญยังคงเป็นเรื่องสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น โดย
ผู้ค้าปลีกกล่าวว่าผู้บริโภคกำลังเผชิญกับภาวะน้ำมันแพงคาดว่าในเดือนหน้าการค้าปลีกจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
และจากการสำรวจยอดขายรายเดือนของสมาคมอุตสาหกรรมอังกฤษชี้ว่าในเดือนก.ย.ยอดขายปลีกลดลงอย่างรวด
เร็วในรอบ 22 ปี แต่สัญญานอื่นชี้ว่าการขยายตัวของใช้จ่ายบริโภคยังมีเสถียรภาพซึ่งทางการอังกฤษคาดว่าการใช้
จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 48 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 (รอยเตอร์)
3. ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ ธ.กลางของประเทศในเอเชียหลายประเทศต้องขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 4 ต.ค.48 ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ ธ.กลางของ
ประเทศในเอเชียหลายประเทศต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่แตกต่างกัน เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อ
การฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ โดยไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วร้อยละ 2.0 ตั้งแต่เดือน ส.ค.47
และอินโดนีเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.50 ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยทั้งไทยและอินโดนีเซีย
ประสบปัญหาค่าเงินอ่อนตัวลงจากการขาดดุลการค้าและเมื่อรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศตัดสินใจเลิกพยุงราคาน้ำมัน
ขายปลีกในประเทศก็ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของทั้ง 2 ประเทศพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราเงินเฟ้อของ
อินโดนีเซียสูงขึ้นทันทีร้อยละ 9.0 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้
ไต้หวันและฟิลิปปินส์ก็ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วแต่ในอัตราที่น้อยกว่าไทยและอินโดนียเซีย และคาดว่าเกาหลีใต้ก็กำลัง
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน ในขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ามาเลเซียและจีนอาจไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเลย
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้นจาก
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่ำทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้จ่ายมากกว่าจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่
เร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่เกิดจากตลาดแรงงานขยายตัวและมีความต้องการส่วน
เกินในระบบเศรษฐกิจเช่นใน สรอ.ที่ทำให้ ธ.กลาง สรอ.ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วร้อยละ 2.75 ต่อปีนับตั้งแต่
เดือน มิ.ย.47 (รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.1 สูงสุดในรอบปี รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 4 ต.ค.48 Singapore’s Institute of Purchasing Materials Management เปิดเผยว่า The
purchasing managers’ index (PMI) ของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.1 จากระดับ
52.2 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปีนับตั้งแต่เดือน ก.ย.47 ที่อยู่ที่ระดับ 53.2 และอยู่เหนือ
ระดับ 50 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนภาพการขยายตัวของภาคการผลิต โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้น
อย่างมากของดัชนีที่เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ (New export orders) ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นที่
ระดับ 53.5 จากระดับ 50.8 อันเป็นผลจากการที่ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่
ระดับ 57.7 จากระดับ 52.9 ทั้งนี้ ภาคการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสิงคโปร์มีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของผล
ผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมและมีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ต.ค. 48 4 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.12 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9283/41.2211 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47972 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 714.90/ 13.36 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.57 56.69 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--