กลุ่มธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก 11 แห่ง มีความยินดีที่จะประกาศรายชื่อสถาบันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการทุน ผู้เก็บรักษาหลักทรัพย์ และผู้จัดทำดัชนีอ้างอิงสำหรับกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 และการระดมทุนในวงเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อลงทุนในกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่ 2 ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว
ดังที่ EMEAP ได้แถลงข่าวแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2547 ว่ากองทุน ABF2 จะประกอบด้วยกองทุน Pan-Asian Bond Index Fund (PAIF) และ 8 กองทุนย่อยใน 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ โดยกองทุน PAIF จะลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของสมาชิก EMEAP 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ส่วน 8 กองทุนย่อยใน 8 ตลาดนั้น จะลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลท้องถิ่นของแต่ละตลาด
ในช่วงแรกนี้ กลุ่ม EMEAP ได้ลงทุนในกองทุน PAIF เป็นจำนวนเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยได้แต่งตั้งให้ State Street Global Advisors Singapore Limited (SSgA) ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทุน กองทุน PAIF นี้จะจดทะเบียนจัดตั้งในสิงคโปร์ และนำเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ซึ่งกระบวนการจัดตั้งดังกล่าวนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติของทางการในทั้งสองตลาดที่เกี่ยวข้อง และในระยะต่อไปกลุ่ม EMEAP จะพิจารณาขยายการนำหน่วยลงทุน PAIF ไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสมาชิก EMEAP อื่นๆ
นอกจากนี้ กลุ่ม EMEAP ยังได้จัดสรรวงเงินอีก 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อลงทุนใน 8 กองทุนย่อยใน 8 ตลาด และได้แต่งตั้งผู้จัดการทุนใน 8 ตลาด ดังนี้
กองทุน ผู้จัดการทุน
ABF China Bond Index Fund China Asset Management Corporation Limited
ABF Hong Kong Bond Index Fund HSBC Investment (Hong Kong) Limited
ABF Indonesia Bond Index Fund PT Bahana TCW Investment Management
ABF Korea Bond Index Fund Samsung Investment Trust Management Company Ltd.
ABF Malaysia Bond Index Fund AmInvestment Management Sdn. Bhd.
ABF Philippines Bond Index Fund Bank of the Philippine Islands
ABF Singapore Bond Index Fund DBS Asset Management Limited
ABF Thailand Bond Index Fund บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด
สถาบันการเงินที่ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บรักษาหลักทรัพย์ (Master Custodian) ของทั้งกองทุน PAIF และกองทุนย่อยใน 8 ตลาด คือ Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited
กองทุน ABF2 ทั้ง 9 กองทุนนี้จะบริหารโดยอิงกับดัชนีอ้างอิงที่บริษัท International Index Company (IIC) พัฒนาและจัดทำขึ้น ซึ่งได้มีการประกาศเปิดตัวดัชนีอ้างอิงดังกล่าวอย่างเป็นทางการในวันนี้เช่นกัน โดยในการจัดทำดัชนีอ้างอิงของกองทุนพันธบัตรเอเชียนั้น IIC ได้หารือกับผู้ร่วมตลาด ทั้งในและต่างประเทศ มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิค (Asian Technical Committee) พิจารณารายละเอียดของการจัดทำดัชนี นอกจากนี้ ดัชนีที่จัดทำขึ้นนี้ จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการควบคุมตรวจสอบผลการจัดทำ (Asian Oversight Committee) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับของตลาดในดัชนีที่จัดทำขึ้น สำหรับรายละเอียดของดัชนีได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว รายละเอียดข้อมูลดัชนี iBoxx Index Family สามารถเรียกดูได้จาก website http://www.indexco.com)
กองทุน ABF2 ซึ่งบริหารในเชิงรับ (passively managed) อิงกับดัชนีอ้างอิง จะเป็นช่องทางการลงทุนในตราสารหนี้เอเชียในสกุลท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ ในเชิงการพัฒนาตลาดพันธบัตร กองทุน ABF2 ที่จัดตั้งขึ้นจะเป็นสินทรัพย์ลงทุนประเภทใหม่ ผลักดันให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งการปฏิรูประบบภาษีและกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคนี้มีความกว้างและลึกขึ้นมาก
จากนี้ไปผู้จัดการกองทุน ABF2 ในแต่ละตลาดจะเร่งประสานงานอย่างใกล้ชิดกับทางการ เพื่อขออนุญาตเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำกองทุนเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ตามความเหมาะสมในแต่ละตลาด) โดยกลุ่มธนาคารกลาง EMEAP จะแถลงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุน ABF2 ให้สาธารณชนทราบเป็นระยะๆ ต่อไป
รายชื่อของผู้ประสานงานของประเทศสมาชิก EMEAP 11 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ มีดังนี้
ธนาคารกลาง ผู้ประสานงาน โทรศัพท์
ธนาคารกลางออสเตรเลีย Guy Debelle 61 2 9551 8400
ธนาคารกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน Li Wenlong 86 10 6619 4054
ธนาคารกลางฮ่องกง Thomas Chan 852 2878 1480
ธนาคารกลางอินโดนีเซีย Rasmo Samiun 62 21 381 8100
ธนาคารกลางญี่ปุ่น Atsushi Takeuchi 81 3 3277 2915
ธนาคารกลางเกาหลี Heung-Sik Choo 82 2 759 5202
ธนาคารกลางมาเลเซีย Abu Hassan Alshari Yahaya 60 3 2691 9335
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ Simon Tyler 64 4 471 3874
ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ Ma. Ramona G D T Santiago 63 2 526 0620
ธนาคารกลางสิงคโปร์ Dennis Low 65 6229 9006
ธนาคารแห่งประเทศไทย นพวรรณ มหามุสิก 66 2 283 5402
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ดังที่ EMEAP ได้แถลงข่าวแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2547 ว่ากองทุน ABF2 จะประกอบด้วยกองทุน Pan-Asian Bond Index Fund (PAIF) และ 8 กองทุนย่อยใน 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ โดยกองทุน PAIF จะลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของสมาชิก EMEAP 8 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ส่วน 8 กองทุนย่อยใน 8 ตลาดนั้น จะลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลและกึ่งรัฐบาลในสกุลท้องถิ่นของแต่ละตลาด
ในช่วงแรกนี้ กลุ่ม EMEAP ได้ลงทุนในกองทุน PAIF เป็นจำนวนเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยได้แต่งตั้งให้ State Street Global Advisors Singapore Limited (SSgA) ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทุน กองทุน PAIF นี้จะจดทะเบียนจัดตั้งในสิงคโปร์ และนำเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ซึ่งกระบวนการจัดตั้งดังกล่าวนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติของทางการในทั้งสองตลาดที่เกี่ยวข้อง และในระยะต่อไปกลุ่ม EMEAP จะพิจารณาขยายการนำหน่วยลงทุน PAIF ไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสมาชิก EMEAP อื่นๆ
นอกจากนี้ กลุ่ม EMEAP ยังได้จัดสรรวงเงินอีก 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อลงทุนใน 8 กองทุนย่อยใน 8 ตลาด และได้แต่งตั้งผู้จัดการทุนใน 8 ตลาด ดังนี้
กองทุน ผู้จัดการทุน
ABF China Bond Index Fund China Asset Management Corporation Limited
ABF Hong Kong Bond Index Fund HSBC Investment (Hong Kong) Limited
ABF Indonesia Bond Index Fund PT Bahana TCW Investment Management
ABF Korea Bond Index Fund Samsung Investment Trust Management Company Ltd.
ABF Malaysia Bond Index Fund AmInvestment Management Sdn. Bhd.
ABF Philippines Bond Index Fund Bank of the Philippine Islands
ABF Singapore Bond Index Fund DBS Asset Management Limited
ABF Thailand Bond Index Fund บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด
สถาบันการเงินที่ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บรักษาหลักทรัพย์ (Master Custodian) ของทั้งกองทุน PAIF และกองทุนย่อยใน 8 ตลาด คือ Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited
กองทุน ABF2 ทั้ง 9 กองทุนนี้จะบริหารโดยอิงกับดัชนีอ้างอิงที่บริษัท International Index Company (IIC) พัฒนาและจัดทำขึ้น ซึ่งได้มีการประกาศเปิดตัวดัชนีอ้างอิงดังกล่าวอย่างเป็นทางการในวันนี้เช่นกัน โดยในการจัดทำดัชนีอ้างอิงของกองทุนพันธบัตรเอเชียนั้น IIC ได้หารือกับผู้ร่วมตลาด ทั้งในและต่างประเทศ มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิค (Asian Technical Committee) พิจารณารายละเอียดของการจัดทำดัชนี นอกจากนี้ ดัชนีที่จัดทำขึ้นนี้ จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการควบคุมตรวจสอบผลการจัดทำ (Asian Oversight Committee) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและการยอมรับของตลาดในดัชนีที่จัดทำขึ้น สำหรับรายละเอียดของดัชนีได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว รายละเอียดข้อมูลดัชนี iBoxx Index Family สามารถเรียกดูได้จาก website http://www.indexco.com)
กองทุน ABF2 ซึ่งบริหารในเชิงรับ (passively managed) อิงกับดัชนีอ้างอิง จะเป็นช่องทางการลงทุนในตราสารหนี้เอเชียในสกุลท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ ในเชิงการพัฒนาตลาดพันธบัตร กองทุน ABF2 ที่จัดตั้งขึ้นจะเป็นสินทรัพย์ลงทุนประเภทใหม่ ผลักดันให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งการปฏิรูประบบภาษีและกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคนี้มีความกว้างและลึกขึ้นมาก
จากนี้ไปผู้จัดการกองทุน ABF2 ในแต่ละตลาดจะเร่งประสานงานอย่างใกล้ชิดกับทางการ เพื่อขออนุญาตเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนดังกล่าวให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำกองทุนเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ตามความเหมาะสมในแต่ละตลาด) โดยกลุ่มธนาคารกลาง EMEAP จะแถลงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุน ABF2 ให้สาธารณชนทราบเป็นระยะๆ ต่อไป
รายชื่อของผู้ประสานงานของประเทศสมาชิก EMEAP 11 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ มีดังนี้
ธนาคารกลาง ผู้ประสานงาน โทรศัพท์
ธนาคารกลางออสเตรเลีย Guy Debelle 61 2 9551 8400
ธนาคารกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน Li Wenlong 86 10 6619 4054
ธนาคารกลางฮ่องกง Thomas Chan 852 2878 1480
ธนาคารกลางอินโดนีเซีย Rasmo Samiun 62 21 381 8100
ธนาคารกลางญี่ปุ่น Atsushi Takeuchi 81 3 3277 2915
ธนาคารกลางเกาหลี Heung-Sik Choo 82 2 759 5202
ธนาคารกลางมาเลเซีย Abu Hassan Alshari Yahaya 60 3 2691 9335
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ Simon Tyler 64 4 471 3874
ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ Ma. Ramona G D T Santiago 63 2 526 0620
ธนาคารกลางสิงคโปร์ Dennis Low 65 6229 9006
ธนาคารแห่งประเทศไทย นพวรรณ มหามุสิก 66 2 283 5402
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--