แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 7 , 14 - 16 กพ. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 906.42 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 479.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 427.06 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.05 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.93 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.73 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.95 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 24.80 ตัน
การตลาด
การประกาศภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี)
หลังจากการประกาศอัตราสุดท้ายภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) สินค้ากุ้งทั้ง 6 ประเทศอย่างเป็นทางการ โดยคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศหรือ ITC ( The United States International Trade Commission ) ของสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2547 และเมื่อเปรียบเทียบอัตราภาษีของทุกประเทศแล้ว พบว่าประเทศไทยถูกปรับลดอัตราภาษีจากอัตราเบื้องต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับผู้รอคอยการประกาศอัตราภาษีครั้งนี้ อย่างไรก็ตามหากมองภาพรวมแล้วอัตราภาษีดังกล่าวก็ถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ และคงไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทยไปยังสหรัฐฯมากนัก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาศักยภาพของประเทศผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ทั้งจีน และบราซิลถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงมากคือ จีน 55.23 % - 112.81 % บราซิลที่ 9.69 % - 67.80 % และอินเดียที่ 5.02 % - 13.42 % แต่ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นกุ้งกุลาดำต่างกับประเทศไทยซึ่งผลิตกุ้งขาวเป็นหลัก ส่วนเอกวาดอร์ถึงแม้จะได้รับภาษีที่ 2.35 % - 4.48 % แต่มีปริมาณผลผลิตเพียง 40,000 - 50,000 ตันเท่านั้น
นอกจากนี้ความแตกต่างของสินค้าเป็นข้อได้เปรียบของสินค้ากุ้งไทย โดยประเทศไทยจะมีการผลิตและส่งออกสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง และส่งไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตโดยตรงถึงผู้บริโภค ซึ่งทำให้ไทยสามารถขยายฐานส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นับจากนี้การแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่าหากเอาราคาเข้าสู้อย่างเดียว จะไม่มีทางชนะแน่นอน ดังนั้น ต้องตระหนังถึงความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคุณภาพ ไทยยังคงมีความน่าเชื่อถือทั้งในส่วนของผู้นำเข้า และผู้บริโภคในสหรัฐฯ ดังนั้น ทางรอดทางเดียวของเราอยู่ที่เราทุกคนในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อผลิตกุ้งที่มีคุณภาพเหนือคู่แข่งอย่างเด่นชัด รวมถึงระบบการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา ( Traceability ) ที่เราได้มีการเริ่มดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว สำหรับตลาดที่เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากมีการออกข่าวมาเป็นระยะ ๆ ว่าจะมีการคืนสิทธิจีเอสพีสำหรับสินค้ากุ้งให้กับประเทศไทย ซึ่งไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงที่สุดเพียงประเทศเดียว ทำให้ไทยหมดโอกาสในการแข่งขันอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงโดยตลอด ทั้งที่อียูเป็นตลาดกุ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการนำเข้ากุ้งปีละ 700,000 ตันแต่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 0.73 % หรือประมาณ 5,000 ตัน ถ้าหากไทยได้รับคืนสิทธิจีเอสพี จะทำให้ไทยได้ลดภาษีนำเข้าเท่ากับประเทศอื่น ๆ ก็จะมีโอกาสในการขยายฐานตลาดกุ้งไทย คาดว่าจะสามารถขยายปริมาณการส่งออกไปยังอียูประมาณ 10 %
ปี 2548 อุตสาหกรรมกุ้งไทยยังต้องพบกับอุปสรรคต่าง ๆ และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น แต่สิ่งเดียวที่ทุกตลาดต้องการตรงกันคือ "กุ้งคุณภาพ" และเชื่อว่าที่ผ่านมาคำว่า คุณภาพ มีอยู่ในสินค้ากุ้งของไทยและอยู่ในความเชื่อมั่นของผู้ซื้อต่างประเทศ และนับว่าเป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นหัวใจของการผลิตกุ้งเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.45 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ
31.85 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.58 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 62.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 87.50 บาท ลดลงจ กกิโลกรัมละ 88.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 176.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 16.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 204.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 190.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจ กกิโลกรัมละ 45.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 98.75 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.25 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวัน ที่ 21 - 25 ก.พ. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 21-27 กุมภาพันธุ์ 2548--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 7 , 14 - 16 กพ. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 906.42 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 479.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 427.06 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.05 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.93 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.73 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.95 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 24.80 ตัน
การตลาด
การประกาศภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี)
หลังจากการประกาศอัตราสุดท้ายภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) สินค้ากุ้งทั้ง 6 ประเทศอย่างเป็นทางการ โดยคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศหรือ ITC ( The United States International Trade Commission ) ของสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2547 และเมื่อเปรียบเทียบอัตราภาษีของทุกประเทศแล้ว พบว่าประเทศไทยถูกปรับลดอัตราภาษีจากอัตราเบื้องต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับผู้รอคอยการประกาศอัตราภาษีครั้งนี้ อย่างไรก็ตามหากมองภาพรวมแล้วอัตราภาษีดังกล่าวก็ถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ และคงไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งไทยไปยังสหรัฐฯมากนัก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาศักยภาพของประเทศผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ทั้งจีน และบราซิลถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงมากคือ จีน 55.23 % - 112.81 % บราซิลที่ 9.69 % - 67.80 % และอินเดียที่ 5.02 % - 13.42 % แต่ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นกุ้งกุลาดำต่างกับประเทศไทยซึ่งผลิตกุ้งขาวเป็นหลัก ส่วนเอกวาดอร์ถึงแม้จะได้รับภาษีที่ 2.35 % - 4.48 % แต่มีปริมาณผลผลิตเพียง 40,000 - 50,000 ตันเท่านั้น
นอกจากนี้ความแตกต่างของสินค้าเป็นข้อได้เปรียบของสินค้ากุ้งไทย โดยประเทศไทยจะมีการผลิตและส่งออกสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง และส่งไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตโดยตรงถึงผู้บริโภค ซึ่งทำให้ไทยสามารถขยายฐานส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นับจากนี้การแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่าหากเอาราคาเข้าสู้อย่างเดียว จะไม่มีทางชนะแน่นอน ดังนั้น ต้องตระหนังถึงความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคุณภาพ ไทยยังคงมีความน่าเชื่อถือทั้งในส่วนของผู้นำเข้า และผู้บริโภคในสหรัฐฯ ดังนั้น ทางรอดทางเดียวของเราอยู่ที่เราทุกคนในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อผลิตกุ้งที่มีคุณภาพเหนือคู่แข่งอย่างเด่นชัด รวมถึงระบบการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา ( Traceability ) ที่เราได้มีการเริ่มดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว สำหรับตลาดที่เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สหภาพยุโรป (อียู) หลังจากมีการออกข่าวมาเป็นระยะ ๆ ว่าจะมีการคืนสิทธิจีเอสพีสำหรับสินค้ากุ้งให้กับประเทศไทย ซึ่งไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงที่สุดเพียงประเทศเดียว ทำให้ไทยหมดโอกาสในการแข่งขันอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้การส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงโดยตลอด ทั้งที่อียูเป็นตลาดกุ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการนำเข้ากุ้งปีละ 700,000 ตันแต่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 0.73 % หรือประมาณ 5,000 ตัน ถ้าหากไทยได้รับคืนสิทธิจีเอสพี จะทำให้ไทยได้ลดภาษีนำเข้าเท่ากับประเทศอื่น ๆ ก็จะมีโอกาสในการขยายฐานตลาดกุ้งไทย คาดว่าจะสามารถขยายปริมาณการส่งออกไปยังอียูประมาณ 10 %
ปี 2548 อุตสาหกรรมกุ้งไทยยังต้องพบกับอุปสรรคต่าง ๆ และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น แต่สิ่งเดียวที่ทุกตลาดต้องการตรงกันคือ "กุ้งคุณภาพ" และเชื่อว่าที่ผ่านมาคำว่า คุณภาพ มีอยู่ในสินค้ากุ้งของไทยและอยู่ในความเชื่อมั่นของผู้ซื้อต่างประเทศ และนับว่าเป็นสิ่งที่เราต้องตระหนักให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นหัวใจของการผลิตกุ้งเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.45 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ
31.85 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.58 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 62.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 87.50 บาท ลดลงจ กกิโลกรัมละ 88.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 176.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 16.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 204.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 190.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจ กกิโลกรัมละ 45.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉ ลี่ยกิโลกรัมละ 98.75 บาท สูงขึ้นจ กกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.25 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.39 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวัน ที่ 21 - 25 ก.พ. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 21-27 กุมภาพันธุ์ 2548--
-พห-