1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สถานการณ์โรคปลาคาร์พในประเทศไทยสงบลงแล้ว
นายจรัลธาดา กรรณสูต รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า โรคสัตว์น้ำ “เค เอช วี” ( KHV ) สำหรับประเทศไทย กรมประมงได้วางระบบการเฝ้าระหวังและป้องกันโรคเคเอชวีมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งประเทศไทย อยู่ใน สถานะที่ปลอดโรคเคเอชวีมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ที่ผ่านมา ผู้นิยมเลี้ยงปลาคาร์พรายหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ได้ขอให้กรมประมงช่วยตรวจโรคปลาคาร์พที่เลี้ยงไว้ จึงได้พบว่าปลาคาร์พในประเทศไทยได้ติดเชื้อ เคเอชวีแล้วแต่เชื้อโรคยังแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะในบ้านเจ้าของปลาคาร์พและฟาร์มที่เคยส่งปลาคาร์พเข้าประกวด ซึ่งภาคเอกชนจัดเมื่อเดือนมีนาคม 2548 อย่างไรก็ดีขณะนี้ปลาคาร์พที่ป่วยเป็นโรคเคเอชวีและมีประวัติ เคยสัมผัส ปลาป่วยในประเทศไทยได้ถูกทำลายจนหมดสิ้นแล้วและกรมประมงยังได้กักกันปลาคาร์พอีก 2 บริษัทที่มีการตรวจพบ ยีนส์ของเชื้อโรคปลาคาร์พไว้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด กล่าวได้ว่าปัจจุบันสถานการณ์โรค “เค เอช วี” ของปลาคาร์พ ในประเทศไทยได้สงบแล้ว ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของกรมประมง
รองอธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมไม่ให้โรค เคเอชวีกลับมาแพร่ระบาด อีก จึงขอแนะนำให้ผู้เลี้ยงปลาคาร์พ ฟาร์ม หรือบริษัทให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของกรมประมงในการป้องกัน และ ควบคุมโรค ดังนี้ ปลาคาร์พที่จะนำเข้ามาเลี้ยงในบ้านหรือฟาร์มต้องมาจากแหล่งที่มั่นใจว่าปลอดโรค หรือผ่านการ ตรวจรับรองการปลอดโรคเคเอชวี และควรแยกกักกันปลาชุดใหม่เพื่อตรวจดูอาการอย่างน้อย 21 วัน ส่วนกรณีที่พบ ปลาป่วยให้รีบนำตัวอย่างปลาส่งไปที่สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืดของกรมประมงเพื่อตรวจหาเชื้อโรคหากตรวจพบ เชื้อโรคดังกล่าวให้รีบทำลายปลาป่วยทันที และห้ามทิ้งน้ำจากบ่อที่ติดเชื้อโรคลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง จะต้อง ผ่านระบบบำบัดและฆ่าเชื้อโรคก่อน นอกจากนี้ปลาที่เหลือรอดจากโรคเคเอชวี หรือปลาที่เคยสัมผัสกับปลาป่วยมีโอกาสที่ จะเป็นพาหะนำโรคได้ จึงควรทำลายทิ้งด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 28 ก.ค. — 3 ส.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 990.65 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 455.10 ตัน สัตว์น้ำจืด 535.55 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.25 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.87 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.89 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.00 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 29.52 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.50 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 28.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.90 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 64.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 166.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 131.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.97 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 24.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 50.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.57 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 116.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.57 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.49 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 8 - 11 ส.ค. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8-14 สิงหาคม 2548--
-พห-
การผลิต
สถานการณ์โรคปลาคาร์พในประเทศไทยสงบลงแล้ว
นายจรัลธาดา กรรณสูต รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า โรคสัตว์น้ำ “เค เอช วี” ( KHV ) สำหรับประเทศไทย กรมประมงได้วางระบบการเฝ้าระหวังและป้องกันโรคเคเอชวีมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งประเทศไทย อยู่ใน สถานะที่ปลอดโรคเคเอชวีมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ที่ผ่านมา ผู้นิยมเลี้ยงปลาคาร์พรายหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ได้ขอให้กรมประมงช่วยตรวจโรคปลาคาร์พที่เลี้ยงไว้ จึงได้พบว่าปลาคาร์พในประเทศไทยได้ติดเชื้อ เคเอชวีแล้วแต่เชื้อโรคยังแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะในบ้านเจ้าของปลาคาร์พและฟาร์มที่เคยส่งปลาคาร์พเข้าประกวด ซึ่งภาคเอกชนจัดเมื่อเดือนมีนาคม 2548 อย่างไรก็ดีขณะนี้ปลาคาร์พที่ป่วยเป็นโรคเคเอชวีและมีประวัติ เคยสัมผัส ปลาป่วยในประเทศไทยได้ถูกทำลายจนหมดสิ้นแล้วและกรมประมงยังได้กักกันปลาคาร์พอีก 2 บริษัทที่มีการตรวจพบ ยีนส์ของเชื้อโรคปลาคาร์พไว้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด กล่าวได้ว่าปัจจุบันสถานการณ์โรค “เค เอช วี” ของปลาคาร์พ ในประเทศไทยได้สงบแล้ว ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของกรมประมง
รองอธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมไม่ให้โรค เคเอชวีกลับมาแพร่ระบาด อีก จึงขอแนะนำให้ผู้เลี้ยงปลาคาร์พ ฟาร์ม หรือบริษัทให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของกรมประมงในการป้องกัน และ ควบคุมโรค ดังนี้ ปลาคาร์พที่จะนำเข้ามาเลี้ยงในบ้านหรือฟาร์มต้องมาจากแหล่งที่มั่นใจว่าปลอดโรค หรือผ่านการ ตรวจรับรองการปลอดโรคเคเอชวี และควรแยกกักกันปลาชุดใหม่เพื่อตรวจดูอาการอย่างน้อย 21 วัน ส่วนกรณีที่พบ ปลาป่วยให้รีบนำตัวอย่างปลาส่งไปที่สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืดของกรมประมงเพื่อตรวจหาเชื้อโรคหากตรวจพบ เชื้อโรคดังกล่าวให้รีบทำลายปลาป่วยทันที และห้ามทิ้งน้ำจากบ่อที่ติดเชื้อโรคลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง จะต้อง ผ่านระบบบำบัดและฆ่าเชื้อโรคก่อน นอกจากนี้ปลาที่เหลือรอดจากโรคเคเอชวี หรือปลาที่เคยสัมผัสกับปลาป่วยมีโอกาสที่ จะเป็นพาหะนำโรคได้ จึงควรทำลายทิ้งด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน มา (วันที่ 28 ก.ค. — 3 ส.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา กรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 990.65 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 455.10 ตัน สัตว์น้ำจืด 535.55 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.25 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.87 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.89 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 25.00 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 29.52 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.50 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 28.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.90 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 64.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 159.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 166.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 131.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.97 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 24.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.29 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 50.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.57 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 116.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.57 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.49 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ( ระหว่างวัน ที่ 8 - 11 ส.ค. 2548 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับ สัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 8-14 สิงหาคม 2548--
-พห-