(ต่อ1) การมีส่วนร่วมของประชาชน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 31, 2005 11:54 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ประชาชน ระหว่างภาคประชาสังคม ภาคทุน 
และภาครัฐด้วย (อนุมาตรา (2))
4.3 โครงสร้างของสำนักงานการจัดโครงสร้าง สำนักงานมีโครงสร้างหรือมีหน่วยงานย่อย
ของสำนักงานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด อย่างไรบ้าง ยังไม่ชัดเจน
5. กองทุนเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ฯ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในกิจกรรม
5.1 วัตถุประสงค์ เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการ และค่าใช้จ่ายในการให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม
ดำเนินงานของกองทุนให้มีการสนับสนุนกิจการ ควรกำหนดถึงการจัดกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์
การมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย
5.2 การบริหารกองทุนเพิ่มเติมวรรคสอง เสนอให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยเฉพาะ
ของมาตรา 23 “การบริหารกองทุนให้เป็นไป
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”
5.3 รายได้ของกองทุน เพิ่มเติม อนุมาตรา (1) รัฐต้องมาอุดหนุนรายได้ของกองทุนเป็นหลัก
“ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้”
6.บทลงโทษเพิ่มเติม มาตรา 25 ”ผู้ใดฝ่าฝืน หากไม่มีบทลงโทษกฎหมายก็จะอ่อนแอและบังคับ
หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 5 วรรคสอง ต้องระวาง ใช้ลำบาก ควรมีบทกำหนดโทษเพื่อให้มีผลบังคับใช้
โทษปรับตั้งแต่หกพันบาทแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท”
5. ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เพื่อให้การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย
5.1.1 กำหนดมาตรการทางกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์แก่ประชาชนที่ถูกปฏิเสธการมี
ส่วนร่วม
5.1.2 โครงสร้างกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องกำหนด
กติกาขอบข่ายการมีส่วนร่วมและวิธีการมีส่วนร่วมให้ชัดเจนด้วย
5.1.3 จัดความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายในกลุ่มการมีส่วน
ร่วมด้วยกันเองให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
5.1.4 กำหนดวิธีปฏิบัติของเทคนิคการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์
ในทางปฏิบัติ
5.1.5 การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาในโครงการต่างๆ จะต้องมีตัวแทนของ
ภาคประชาชนร่วมเป็นกรรมการด้วย
5.1.6 เร่งดำเนินการจัดทำรายละเอียดของพระราชบัญญัติเรื่อง องค์การ
อิสระด้านสิ่งแวดล้อมและด้านคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนรายละเอียดของกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
ของประชาชนให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้
5.1.7 เร่งรัดและผลักดันให้มีพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน
พ.ศ. ... (กรณีนี้สภาที่ปรึกษาฯ ได้ส่งร่าง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมฯ มาพร้อมนี้)
5.2 ข้อเสนอแนะระดับนโยบายของรัฐ
5.2.1 รัฐบาลพึงแสดงเจตนารมณ์ การสนับสนุนและการให้ความสำคัญต่อการ
มีส่วนร่วมของประชาชนอย่างชัดแจ้ง ด้วยการประกาศนโยบายการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
อย่างเปิดเผยและอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของข้าราชการประจำและมีความจริงใจและ
จริงจัง ในการสนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว
5.2.2 รัฐบาลพึงแสดงบทบาทตัวอย่างให้ประจักษ์ (Role Modeling)
ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายระดับชาติ การสร้างกฎ และการอนุมัติ
โครงการต่างๆ ของรัฐบาล และนำความเห็นของประชาชนไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง อันจะช่วยให้
ประชาชนเห็นว่าความคิดเห็นของตนมีค่า ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้ามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
5.2.3 รัฐบาลพึงให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวก
อื่นๆ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น รวมตลอดจนการจัดตั้งคณะกรรมการ
และกองทุนสนับสนุนการมี
ส่วนร่วมของประชาชน
5.3 ข้อเสนอแนะด้านวัฒนธรรมทางการเมืองและความพร้อมของประชาชน
5.3.1 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัด
โครงการฝึกอบรม / สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากในปัจจุบันยังเป็น
สิ่งใหม่ไม่ชัดเจน ควรจัดให้มีการเพิ่มทักษะด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความเหมาะสมกับแต่ละ
โครงการพัฒนา
5.3.2 การกำหนดจำนวนคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ควร
มีจำนวนมากเกินไป ควรมีจำนวน 9-15 คน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว การดำเนินการต่างๆ ไม่ล่าช้า
ทันต่อเหตุการณ์
5.3.3 การจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเพิ่มพูนความรู้
ความเข้าใจ และอำนวยความสะดวกในเชิงปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบ และประชาชน
ผู้สนใจในกระบวนการเข้ามีส่วนร่วม คู่มือดังกล่าวนี้ นอกจากบรรจุสาระสำคัญ เช่น วัตถุประสงค์ ประโยชน์
ระดับและเครื่องมือการมีส่วนร่วมแล้ว ยังจำเป็นจะต้องบรรจุกระบวนการหรือขั้นตอนการจัดให้มีส่วนร่วม
ของประชาชนด้วย
5.3.4 การส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักในเรื่องสิทธิ
และหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยและการใช้สิทธิที่มี โดยเฉพาะเรื่องการมีส่วนร่วม
5.3.5 ให้การเผยแพร่และสนับสนุนสื่อมวลชนให้เป็นสื่อกลางในกระบวนการ
สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
5.3.6 ควรสนับสนุนโครงการวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเป็น
องค์ความรู้ในการศึกษาค้นคว้า และนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทย
5.3.7 ประชาชนควรจะต้องรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง มีการจัดองค์กรอย่างเป็น
ระบบ และแบ่งหน้าที่แต่ละฝ่ายให้ชัดเจน เพื่อเป็นพลังต่อสู้กลุ่มผู้มีอิทธิพลโดยสันติวิธี สิ่งสำคัญของภาคประชาชน
ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในกระบวนการมีส่วนร่วม ในสถานการณ์ที่มีผู้มีอิทธิพลคอยขัดขวาง คือ มีข้อมูล
ข่าวสารที่ดีและมีองค์ความรู้ที่ดีในเรื่องนั้น โดยสรุปในสถานการณ์มีกลุ่มผู้มีอิทธิพล การมีส่วนร่วมของ
ประชาชนจำเป็นต้องมีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง มีการจัดองค์กรอย่างเป็นระบบ มีข้อมูลข่าวสาร
และมีองค์ความรู้ที่ดี เกี่ยวกับเรื่องนั้น
5.3.8 การที่จะสร้างความกระตือรือร้นและให้ความสนใจในการมีส่วนร่วม
จำเป็นจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานเป็นลำดับแรกก่อน
จากนั้นจึงสร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม จะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานและการมีส่วนร่วม
เข้ามาเป็นส่วนสนับสนุนให้ประชาธิปไตยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้
ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องหลักการ แนวคิด การดำเนินการ ในระบอบประชาธิปไตยแล้ว
จึงให้แนวคิดและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและเสริมสร้างให้ประชาธิปไตยในประเทศไทยมีความ
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
5.4 ข้อเสนอแนะบทบาทของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
5.4.1 สภาที่ปรึกษาฯ ควรมีการศึกษา รวบรวมสภาพปัญหา สาเหตุ แนวทาง
แก้ไขและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของรัฐ
และนำไปสู่การจัดทำ“แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
5.4.2 สภาที่ปรึกษาฯ ควรเป็นศูนย์รวมและเป็นแกนหลักในการผลักดันและ
กระตุ้นให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคมไทย โดยประสานงานกับภาครัฐ องค์กรอิสระ
ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทาง ขั้นตอนการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ
ที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
5.4.3 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง สื่อสัมพันธ์และการสร้างความเข้าใจ ถือเป็นจุดสำคัญในการจุดประกายที่จะก่อให้
เกิดความรู้สึกที่อยากจะเข้ามาร่วมในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ