‘องอาจ คล้ามไพบูลย์’ ชม ‘สุริยา’ มีสปิริตที่ตัดสินใจลาออก แต่ยังเห็นว่าเป็นการลาออกเพื่อรักษาภาพพจน์ของ รบ. พร้อมจี้ ‘สุริยะ‘ ควรพิจารณาตัวเองลาออกด้วย
วันนี้(6 ก.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า การลาออกของนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถือเป็นแบบอย่างของการตัดสินใจที่ดีของนักการเมืองที่ควรปฏิบัติ เพราะเมื่อเกิดเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จะจากการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองหรือไม่ก็ตาม แม้ในทางนิติศาสตร์อาจจะยังพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องโดยตรง แต่ในทางรัฐศาสตร์การอยู่ในตำแหน่งต่อไปก็คงจะทำงานด้วยความยากลำบาก เพราะฉะนั้นการลาออกของนายสุริยาในครั้งนี้คงเป็นแบบอย่างให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ควรจะพิจารณาตัวเองในการลาออกด้วย เพราะท่านบริหารงานราชการบกพร่องผิดพลาดเห็นได้ชัดเจนจากกรณีทุจริตซีทีเอ็กซ์ เพราะฉะนั้นหากรัฐมนตรีสุริยะยังอยู่ต่อไป ก็จะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลตกต่ำลงไปอีก
“ถ้าเปรียบเทียบ 2 กรณีนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่ากรณีของรัฐมนตรีสุริยาเป็นเรื่องของครอบครัวที่มากระทบถึงตัวท่านเป็นหลัก ผลกระทบต่อรัฐบาลยังถือเป็นเรื่องรอง แต่กรณีของรมต.สุริยะเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องของการบริหารงานที่ผิดพลาดบกพร่องโดยตรง ซึ่งกระทบต่อตัวท่านเอง กระทบต่อนายกฯ และกระทบต่อรัฐบาลเต็มๆ แต่จนถึงขณะนี้รมต.สุริยะก็ยังไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิจารณาตนเอง นอกจากนั้นยังไม่ดำเนินการในการหาคนผิดมาลงโทษแต่อย่างใด เพียงแต่อยู่เฉยๆปล่อยให้เรื่องเลยตามเลยไป” นายองอาจกล่าว
ทั้งนี้นายองอาจเห็นว่าส่วนหนึ่งของการตัดสินใจลาออกของนายสุริยา น่าจะเป็นเพราะต้องการลดกระแสภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่กำลังตกต่ำลงเรื่อยๆ และน่าจะมีแรงกดดันจากหลายๆฝ่าย ทั้งจากสังคมภายนอกและสังคมภายในพรรคไทยรักไทย ซึ่งช่วงเวลาที่ถูกกดดันมากน่าจะเป็นช่วงที่ไปประเทศจีน เพราะฉะนั้นรัฐมนตรีสุริยาคงตัดสินใจได้ว่าถ้าอยู่ต่อไปก็จะทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น จึงได้มีการตัดสินใจเช่นนี้ขึ้นมา
“ผมคิดว่าขณะนี้นักการเมืองบางคนที่เกาะเก้าอี้แน่นอยู่ ควรจะดูท่านรัฐมนตรีสุริยาเป็นตัวอย่าง และไม่ควรที่จะเกาะเก้าอี้แน่นอยู่ต่อไป ตอนนี้มีเรื่องฉาวโฉ่เกี่ยวกับการทุจริตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุจริตซีทีเอ็กซ์ กล้ายาง จำนำข้าว ลำไย ซึ่งผมคิดว่ารัฐมนตรีท่านใดหรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตต่างๆ กำลังถูกสังคมประณามและสาปแช่งตลอดเวลา ดังนั้นหลายๆคนก็ควรที่จะพิจารณาตัวเองด้วย เพราะบางคนถูกขนานนามว่าเป็นมิสเตอร์20%ก็ยังไม่สะดุ้งสะเทือนอะไร” นายองอาจกล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของรัฐบาลในปัจจุบัน รัฐบาลควรบริหารบ้านเมืองใน 3 เรื่องสำคัญจึงจะทำให้ประเทศไปได้รอดคือ 1.การบริหารความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากขณะนี้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงเวลาของความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นถ้าการบริหารจัดการในช่วงนี้ไม่ถูกต้องเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศในระยะยาวได้ และอาจจะมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต 2.การบริหารความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งนายกฯต้องยอมรับว่าสถานการณ์ความมั่นคงทางการเมืองนั้นกำลังเป็นปัญหาของรัฐบาล อีกทั้งหลายเรื่องที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลในขณะนี้ก่อให้เกิดความสั่นคลอนต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งถ้านายกฯไม่สามารถบริหารจัดการได้ดี ก็จะก่อให้เกิดปัญหาต่อรัฐบาลโดยตรง และ 3.การบริหารความเชื่อมั่น ถ้ารัฐบาลและนายกฯไม่ปฏิเสธความจริงก็คงต้องยอมรับว่าความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชนต่อรัฐบาลในขณะนี้ลดลงกว่า 4 ปีที่แล้วมาก และเป็นการลดลงที่มีแนวโน้มดิ่งต่ำลงทุกวัน ซึ่งความเชื่อมั่นถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้รัฐบาลสามารถบริหารนโยบายสำคัญๆให้บรรลุผลสำเร็จได้ ดังนั้นถ้ารัฐบาลไม่สามารถบริหารความเชื่อมั่นได้ นโยบายหลายๆเรื่องของรัฐบาลก็คงไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่รัฐบาลต้องการได้เช่นกัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2548--จบ--
วันนี้(6 ก.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า การลาออกของนายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถือเป็นแบบอย่างของการตัดสินใจที่ดีของนักการเมืองที่ควรปฏิบัติ เพราะเมื่อเกิดเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จะจากการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองหรือไม่ก็ตาม แม้ในทางนิติศาสตร์อาจจะยังพิสูจน์ไม่ได้ชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องโดยตรง แต่ในทางรัฐศาสตร์การอยู่ในตำแหน่งต่อไปก็คงจะทำงานด้วยความยากลำบาก เพราะฉะนั้นการลาออกของนายสุริยาในครั้งนี้คงเป็นแบบอย่างให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ควรจะพิจารณาตัวเองในการลาออกด้วย เพราะท่านบริหารงานราชการบกพร่องผิดพลาดเห็นได้ชัดเจนจากกรณีทุจริตซีทีเอ็กซ์ เพราะฉะนั้นหากรัฐมนตรีสุริยะยังอยู่ต่อไป ก็จะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลตกต่ำลงไปอีก
“ถ้าเปรียบเทียบ 2 กรณีนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่ากรณีของรัฐมนตรีสุริยาเป็นเรื่องของครอบครัวที่มากระทบถึงตัวท่านเป็นหลัก ผลกระทบต่อรัฐบาลยังถือเป็นเรื่องรอง แต่กรณีของรมต.สุริยะเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องของการบริหารงานที่ผิดพลาดบกพร่องโดยตรง ซึ่งกระทบต่อตัวท่านเอง กระทบต่อนายกฯ และกระทบต่อรัฐบาลเต็มๆ แต่จนถึงขณะนี้รมต.สุริยะก็ยังไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิจารณาตนเอง นอกจากนั้นยังไม่ดำเนินการในการหาคนผิดมาลงโทษแต่อย่างใด เพียงแต่อยู่เฉยๆปล่อยให้เรื่องเลยตามเลยไป” นายองอาจกล่าว
ทั้งนี้นายองอาจเห็นว่าส่วนหนึ่งของการตัดสินใจลาออกของนายสุริยา น่าจะเป็นเพราะต้องการลดกระแสภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่กำลังตกต่ำลงเรื่อยๆ และน่าจะมีแรงกดดันจากหลายๆฝ่าย ทั้งจากสังคมภายนอกและสังคมภายในพรรคไทยรักไทย ซึ่งช่วงเวลาที่ถูกกดดันมากน่าจะเป็นช่วงที่ไปประเทศจีน เพราะฉะนั้นรัฐมนตรีสุริยาคงตัดสินใจได้ว่าถ้าอยู่ต่อไปก็จะทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น จึงได้มีการตัดสินใจเช่นนี้ขึ้นมา
“ผมคิดว่าขณะนี้นักการเมืองบางคนที่เกาะเก้าอี้แน่นอยู่ ควรจะดูท่านรัฐมนตรีสุริยาเป็นตัวอย่าง และไม่ควรที่จะเกาะเก้าอี้แน่นอยู่ต่อไป ตอนนี้มีเรื่องฉาวโฉ่เกี่ยวกับการทุจริตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุจริตซีทีเอ็กซ์ กล้ายาง จำนำข้าว ลำไย ซึ่งผมคิดว่ารัฐมนตรีท่านใดหรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตต่างๆ กำลังถูกสังคมประณามและสาปแช่งตลอดเวลา ดังนั้นหลายๆคนก็ควรที่จะพิจารณาตัวเองด้วย เพราะบางคนถูกขนานนามว่าเป็นมิสเตอร์20%ก็ยังไม่สะดุ้งสะเทือนอะไร” นายองอาจกล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของรัฐบาลในปัจจุบัน รัฐบาลควรบริหารบ้านเมืองใน 3 เรื่องสำคัญจึงจะทำให้ประเทศไปได้รอดคือ 1.การบริหารความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากขณะนี้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงเวลาของความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นถ้าการบริหารจัดการในช่วงนี้ไม่ถูกต้องเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศในระยะยาวได้ และอาจจะมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต 2.การบริหารความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งนายกฯต้องยอมรับว่าสถานการณ์ความมั่นคงทางการเมืองนั้นกำลังเป็นปัญหาของรัฐบาล อีกทั้งหลายเรื่องที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลในขณะนี้ก่อให้เกิดความสั่นคลอนต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งถ้านายกฯไม่สามารถบริหารจัดการได้ดี ก็จะก่อให้เกิดปัญหาต่อรัฐบาลโดยตรง และ 3.การบริหารความเชื่อมั่น ถ้ารัฐบาลและนายกฯไม่ปฏิเสธความจริงก็คงต้องยอมรับว่าความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชนต่อรัฐบาลในขณะนี้ลดลงกว่า 4 ปีที่แล้วมาก และเป็นการลดลงที่มีแนวโน้มดิ่งต่ำลงทุกวัน ซึ่งความเชื่อมั่นถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้รัฐบาลสามารถบริหารนโยบายสำคัญๆให้บรรลุผลสำเร็จได้ ดังนั้นถ้ารัฐบาลไม่สามารถบริหารความเชื่อมั่นได้ นโยบายหลายๆเรื่องของรัฐบาลก็คงไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่รัฐบาลต้องการได้เช่นกัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2548--จบ--