ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้กู้บ้านอาจผ่อนค่างวดเพิ่มสูงขึ้น รายงานจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในรายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่า หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ธนาคารมีโอกาสจะทำให้ผู้กู้ทำสัญญาใหม่หรือส่งเงินเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะธนาคารที่คิดเงินผ่อนต่องวดน้อย
ซึ่งจะทำให้ครัวเรือนมีความสามารถบริโภคสินค้าอื่นลดลง ในส่วนของผู้กู้ก็มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
บ้าง ซึ่งอาจเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ โดยครัวเรือนกลุ่มที่มีความเสี่ยง คือ กลุ่มที่เริ่มขอ
สินเชื่อในช่วงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ หรือ 1-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครัวเรือนนั้นก่อหนี้เกิน
ควร เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจทางการเงิน และไม่มีรายได้ประจำ อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะเกิดการผิด
นัดชำระยังมีไม่นัก เนื่องจากครัวเรือนที่มีหนี้ที่อยู่อาศัยมีเพียงร้อยละ 12 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งครัวเรือนที่มีสัด
ส่วนการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยสูง คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ ที่มีความสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ดีกว่ากลุ่มอื่น ขณะเดียว
กันที่ผ่านมาการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มาจากอุปสงค์จริง ดังนั้น จึงยังไม่เป็นปัญหาต่อเสถียรภาพของภาคการ
เงิน (เดลินิวส์, มติชน)
2. กรมการค้าภายในจัดทำแผนกำกับดูแลราคาสินค้าภายใต้สมมติฐานอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูง
ขึ้น รายงานจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมการค้าภายใน ได้จัดทำแผนกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ภาย
ใต้สมมติฐานอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้นในแต่ละกรณี ตามภาวะราคาน้ำมันแพงและต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
โดยดูแลทั้งสินค้าต้นทางและปลายทาง โดยสินค้าต้นทางจะให้เพิ่มรายการที่ดูแลเป็น 160 รายการ จากปัจจุบัน
120 รายการ เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าสูงจนไม่สามารถควบคุมได้ ให้กำหนดราคาจำหน่ายสูงสุด ซึ่งจะกำหนด
ในสินค้าปลายทางในรายการสำคัญเช่นกัน และกำหนดส่วนเหลื่อมการตลาด (มาร์จิ้น) นอกจากนี้ ยังเสนอให้
รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันดีเซลและค่าสาธารณูปโภคอีกครั้ง กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ในกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการ
ครองชีพสูง ส่วนสินค้าปลายทางจะดูแลสินค้า 700-1,000 ชนิด กว่า 40,000 รายการ ให้ปิดป้ายราคาขายปลีก
และขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น การตรึงราคาค่าโดยสารสาธารณะ ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
(เดลินิวส์, แนวหน้า)
3. ก.คลังเตรียมหารือสถาบันการเงินแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิต อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึง
ความคืบหน้าของมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนว่า ในสัปดาห์นี้จะเชิญสถาบันการเงินทั้งที่เป็น
ธพ. และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) มาหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตพร้อมกันอย่าง
เป็นระบบ เพราะลูกหนี้บัตรเครดิตบางรายเป็นหนี้ในระบบสถาบันการเงินด้วย ทั้งนี้ ก.คลังได้เร่งรัดให้สถาบัน
การเงินทุกแห่งส่งข้อมูลหนี้เอ็นพีแอลทั้งหมด ทั้งที่อยู่ในระหว่างการฟ้องร้องและที่ยังไม่ถูกฟ้องร้องมาเสนอภายในวัน
ศุกร์ที่ 26 ส.ค.48 ซึ่ง ก.คลังจะนำข้อมูลดังกล่าวมากำหนดกรอบมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ รวมถึง
การกำหนดเวลาในการโอนหนี้ที่จะเข้าอยู่ภายใต้โครงการนี้ด้วย (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
4. สศช.เร่งทำแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะยาว โฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ นรม.กำชับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ (สศช.) เร่งทำแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เร็ว เพื่อช่วยภาคอุตสาหกรรมการผลิต ท่องเที่ยว และ
เกษตรของไทย พัฒนาความสามารถการแข่งขันให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง และที่
สำคัญยังเป็นการแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ในระยะยาวอีกด้วย (เดลินิวส์)
5. ผลการดำเนินงานของ บล.ทั้งหมด 14 แห่ง ในไตรมาส 2 ปี 48 มี 11 แห่งที่มีกำไรสุทธิลด
ลง และ 1 แห่งที่ขาดทุนสุทธิ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
12 แห่ง ได้รายงานผลการดำเนินงวดไตรมาส 2 ปี 48 มายัง ตลท.จากที่จดทะเบียนทั้งหมด 14 แห่ง พบว่า มี
กำไรสุทธิลดลงถึง 11 แห่ง และขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 1 แห่ง คือ บล.แอ๊ดคินซัน ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 57.42 ล้าน
บาท จากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 22.93 ล้านบาท ทั้งนี้ มีเพียง 2 แห่งที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น คือ บล.เอ
เชียพลัส มีกำไรสุทธิ 97.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 4,325.73 ล้านบาท
และ บ.โกลแบล็กโฮลดิ้งส์ มีกำไรสุทธิ 98.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 25.02
ล้านบาท (มติชน)
6. ธุรกิจค้าปลีกไทยในช่วง 7 เดือนแรกปี 48 ชะลอตัว ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และรอง
กรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ธุรกิจค้าปลีกในช่วง 7 เดือนแรกของ
ปี 48 ยังเติบโตในกลุ่มร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) โดยเติบโตเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ร้านค้า
ปลีกแบบดั้งเดิม (เทรดดิชั่นนอลเทรด) ไม่มีอัตราการเติบโต ภาพรวมค้าปลีกในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะชะลอตัว
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าที่ได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดสินค้าแฟชั่น
ประเภทเบสิก ส่วนแบรนด์เนมระดับสูงยังคงเติบโตได้ดี จากกำลังซื้อของลูกค้าระดับบน ที่ไม่มีปัญหาจากความ
ผันผวนทางเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าครึ่งปีหลัง ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกเติบโตไม่ถึงร้อยละ 10 โดยประมาณอยู่ที่ร้อย
ละ 6-10 ขึ้นอยู่กับผลกระทบจากปัจจัยลบในช่วง 4-5 เดือนของครึ่งปีหลัง (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงแต่คาดว่าเงิน
ดอลลาร์ของ สรอ.จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเงินยูโรและเงินเยน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 19 ส.ค.48 ราคา
น้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภคและทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดย Goldman Sachs
คาดว่าราคาน้ำมันจะยืนอยู่ที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลไปอีก 5 ปี ในขณะที่ Merrill Lynch คาด
ว่าราคาน้ำมันดิบของ สรอ.จะลดลงมาอยู่ที่ 42 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลนับตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดีแม้
ว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและทำให้ยอดค้าปลีกของ สรอ.ชะลอตัวลง แต่เศรษฐกิจของ
สรอ.ยังสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศใน
เขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone และญี่ปุ่นซึ่งต้องพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศมากกว่า สรอ.จะขยายตัวเพียง
ร้อยละ 1.3 และ 1.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ตามลำดับ
นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปีนี้ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงิน
ดอลลาร์ของ สรอ.ในปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 10 และร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. จีนอนุญาตให้ธุรกิจประกันภัยลงทุนเพิ่มในพันธบัตรและตราสารหนี้ รายงานจากกรุงปักกิ่ง
ประเทศจีน เมื่อวันที่ 21 ส.ค.48 China Insurance Regulatory Commission อนุญาตให้ธุรกิจประกันภัย
เพิ่มการลงทุนได้มากขึ้นในพันธบัตรและตราสารหนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มทางเลือกให้มีการลงทุนได้หลาก
หลายเพื่อให้ธุรกิจประกันภัยมีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยบริษัทประกันภัยสามารถเข้าไปลงทุนในพันธบัตรในประเทศและตั๋ว
เงินระยะสั้นได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่อนุญาตให้ลงทุนได้ร้อยละ 20 และ
พันธบัตรดังกล่าวจะต้องออกโดยบริษัทที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดี และจำกัดการลงทุนในบริษัทหนึ่งได้เพียงร้อย
ละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและตราสาร
หนี้ที่ออกโดยธนาคารตามนโยบายของรัฐ ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยสามารถลงทุนในการฝากเงินไว้กับธนาคาร พันธบัตร
ของรัฐและเอกชน กองทุนรวม และตลาดหลักทรัพย์ แต่มีการจำกัดจำนวนเงินที่อนุมัติให้ลงทุนได้ (รอยเตอร์)
3. เงินริงกิตมาเลเซียยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 20 ส.
ค.48 รมว.คลังคนที่ 2 ของมาเลเซีย (Nor Mohamed Yakcop) กล่าวว่า เขามองว่าเงินริงกิตของมาเลเซีย
ยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบรรดานักลงทุนมีการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินริงกิต อาทิเช่น ตั๋วเงิน
คลังและ พธบ.รัฐบาล เพิ่มขึ้นถึง 15 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงมากกว่า 18 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิต ณ วันศุกร์ที่ 19 ส.ค.48 อยู่ที่ระดับ 3.7655/75 ต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเพียง
ร้อยละ 1 จากระดับ 3.8 ริงกิตต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับที่ ธ.กลางมาเลเซียผูกค่าเงินของตนไว้กับเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ยาวนานถึง 7 ปี และตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นการลอยตัวค่าเงินริงกิตแบบมี
การจัดการเมื่อ 21 ก.ค.48 ทั้งนี้ มาเลเซียยังคงเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 48 ที่ระดับร้อย
ละ 5-6 โดยการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันยังคงส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากมาเลเซียเป็น
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แต่ในระยะยาวหากราคาน้ำมันยังคงสูงอยู่อาจส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันของมาเลเซียได้
จากการที่ประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบดังกล่าว และลดการนำเข้าน้ำมันลง (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลสิงคโปร์จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นของตนเอง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
21 ส.ค.48 นรม.สิงคโปร์ให้สัมภาษณ์เนื่องในโอกาสวันครบรอบการประกาศอิสรภาพของประเทศว่ารัฐบาล
สิงคโปร์เตรียมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดจำนวน
4.2 ล้านคนของสิงคโปร์ให้สามารถซื้อแฟลตที่รัฐบาลจัดสร้างขึ้นได้เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนที่กำลัง
กว้างขึ้นในขณะนี้ การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่จำนวนคนว่างงานในสิงคโปร์ซึ่งมีรายได้ต่อหัวของ
ประชากรสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียกำลังเพิ่มขึ้น โดยอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 ปีนี้หลังปรับตัวเลขตาม
ฤดูกาลแล้วอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อมีงานจำนวนมากขึ้นในภาคการผลิตถูก
ย้ายไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าอย่างจีนและอินเดีย ประมาณร้อยละ 93 ของคนสิงคโปร์มีบ้านเป็นของตนเอง
นับเป็นอัตราสูงสุดในเอเชียและอยู่ในกลุ่มประเทศที่ประชากรมีอัตราการมีบ้านเป็นของตนเองสูงสุดแห่งหนึ่งของ
โลก โดยร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในแฟลตที่จัดสร้างและดูแลโดยรัฐบาล (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ส.ค. 48 19 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.286 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0979/41.3835 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.82444 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.83/ 13.20 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,500/8,600 8,550/8,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.56 55.74 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.14*/22.99* 26.14*/22.99* 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 11 ส.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผู้กู้บ้านอาจผ่อนค่างวดเพิ่มสูงขึ้น รายงานจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในรายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่า หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง ธนาคารมีโอกาสจะทำให้ผู้กู้ทำสัญญาใหม่หรือส่งเงินเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะธนาคารที่คิดเงินผ่อนต่องวดน้อย
ซึ่งจะทำให้ครัวเรือนมีความสามารถบริโภคสินค้าอื่นลดลง ในส่วนของผู้กู้ก็มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
บ้าง ซึ่งอาจเกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ โดยครัวเรือนกลุ่มที่มีความเสี่ยง คือ กลุ่มที่เริ่มขอ
สินเชื่อในช่วงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ หรือ 1-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครัวเรือนนั้นก่อหนี้เกิน
ควร เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจทางการเงิน และไม่มีรายได้ประจำ อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะเกิดการผิด
นัดชำระยังมีไม่นัก เนื่องจากครัวเรือนที่มีหนี้ที่อยู่อาศัยมีเพียงร้อยละ 12 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งครัวเรือนที่มีสัด
ส่วนการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยสูง คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ ที่มีความสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ดีกว่ากลุ่มอื่น ขณะเดียว
กันที่ผ่านมาการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มาจากอุปสงค์จริง ดังนั้น จึงยังไม่เป็นปัญหาต่อเสถียรภาพของภาคการ
เงิน (เดลินิวส์, มติชน)
2. กรมการค้าภายในจัดทำแผนกำกับดูแลราคาสินค้าภายใต้สมมติฐานอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูง
ขึ้น รายงานจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมการค้าภายใน ได้จัดทำแผนกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ภาย
ใต้สมมติฐานอัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวสูงขึ้นในแต่ละกรณี ตามภาวะราคาน้ำมันแพงและต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
โดยดูแลทั้งสินค้าต้นทางและปลายทาง โดยสินค้าต้นทางจะให้เพิ่มรายการที่ดูแลเป็น 160 รายการ จากปัจจุบัน
120 รายการ เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าสูงจนไม่สามารถควบคุมได้ ให้กำหนดราคาจำหน่ายสูงสุด ซึ่งจะกำหนด
ในสินค้าปลายทางในรายการสำคัญเช่นกัน และกำหนดส่วนเหลื่อมการตลาด (มาร์จิ้น) นอกจากนี้ ยังเสนอให้
รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันดีเซลและค่าสาธารณูปโภคอีกครั้ง กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ในกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการ
ครองชีพสูง ส่วนสินค้าปลายทางจะดูแลสินค้า 700-1,000 ชนิด กว่า 40,000 รายการ ให้ปิดป้ายราคาขายปลีก
และขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เช่น การตรึงราคาค่าโดยสารสาธารณะ ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
(เดลินิวส์, แนวหน้า)
3. ก.คลังเตรียมหารือสถาบันการเงินแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิต อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึง
ความคืบหน้าของมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนว่า ในสัปดาห์นี้จะเชิญสถาบันการเงินทั้งที่เป็น
ธพ. และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) มาหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตพร้อมกันอย่าง
เป็นระบบ เพราะลูกหนี้บัตรเครดิตบางรายเป็นหนี้ในระบบสถาบันการเงินด้วย ทั้งนี้ ก.คลังได้เร่งรัดให้สถาบัน
การเงินทุกแห่งส่งข้อมูลหนี้เอ็นพีแอลทั้งหมด ทั้งที่อยู่ในระหว่างการฟ้องร้องและที่ยังไม่ถูกฟ้องร้องมาเสนอภายในวัน
ศุกร์ที่ 26 ส.ค.48 ซึ่ง ก.คลังจะนำข้อมูลดังกล่าวมากำหนดกรอบมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ รวมถึง
การกำหนดเวลาในการโอนหนี้ที่จะเข้าอยู่ภายใต้โครงการนี้ด้วย (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
4. สศช.เร่งทำแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะยาว โฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ นรม.กำชับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ (สศช.) เร่งทำแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เร็ว เพื่อช่วยภาคอุตสาหกรรมการผลิต ท่องเที่ยว และ
เกษตรของไทย พัฒนาความสามารถการแข่งขันให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันแพง และที่
สำคัญยังเป็นการแก้ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ในระยะยาวอีกด้วย (เดลินิวส์)
5. ผลการดำเนินงานของ บล.ทั้งหมด 14 แห่ง ในไตรมาส 2 ปี 48 มี 11 แห่งที่มีกำไรสุทธิลด
ลง และ 1 แห่งที่ขาดทุนสุทธิ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
12 แห่ง ได้รายงานผลการดำเนินงวดไตรมาส 2 ปี 48 มายัง ตลท.จากที่จดทะเบียนทั้งหมด 14 แห่ง พบว่า มี
กำไรสุทธิลดลงถึง 11 แห่ง และขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 1 แห่ง คือ บล.แอ๊ดคินซัน ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 57.42 ล้าน
บาท จากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 22.93 ล้านบาท ทั้งนี้ มีเพียง 2 แห่งที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น คือ บล.เอ
เชียพลัส มีกำไรสุทธิ 97.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 4,325.73 ล้านบาท
และ บ.โกลแบล็กโฮลดิ้งส์ มีกำไรสุทธิ 98.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 25.02
ล้านบาท (มติชน)
6. ธุรกิจค้าปลีกไทยในช่วง 7 เดือนแรกปี 48 ชะลอตัว ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และรอง
กรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ธุรกิจค้าปลีกในช่วง 7 เดือนแรกของ
ปี 48 ยังเติบโตในกลุ่มร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) โดยเติบโตเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ร้านค้า
ปลีกแบบดั้งเดิม (เทรดดิชั่นนอลเทรด) ไม่มีอัตราการเติบโต ภาพรวมค้าปลีกในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะชะลอตัว
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าที่ได้รับผลกระทบสูง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดสินค้าแฟชั่น
ประเภทเบสิก ส่วนแบรนด์เนมระดับสูงยังคงเติบโตได้ดี จากกำลังซื้อของลูกค้าระดับบน ที่ไม่มีปัญหาจากความ
ผันผวนทางเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าครึ่งปีหลัง ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกเติบโตไม่ถึงร้อยละ 10 โดยประมาณอยู่ที่ร้อย
ละ 6-10 ขึ้นอยู่กับผลกระทบจากปัจจัยลบในช่วง 4-5 เดือนของครึ่งปีหลัง (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงแต่คาดว่าเงิน
ดอลลาร์ของ สรอ.จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเงินยูโรและเงินเยน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 19 ส.ค.48 ราคา
น้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภคและทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดย Goldman Sachs
คาดว่าราคาน้ำมันจะยืนอยู่ที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลไปอีก 5 ปี ในขณะที่ Merrill Lynch คาด
ว่าราคาน้ำมันดิบของ สรอ.จะลดลงมาอยู่ที่ 42 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลนับตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดีแม้
ว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและทำให้ยอดค้าปลีกของ สรอ.ชะลอตัวลง แต่เศรษฐกิจของ
สรอ.ยังสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ในขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศใน
เขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone และญี่ปุ่นซึ่งต้องพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศมากกว่า สรอ.จะขยายตัวเพียง
ร้อยละ 1.3 และ 1.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ตามลำดับ
นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปีนี้ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงิน
ดอลลาร์ของ สรอ.ในปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 10 และร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. จีนอนุญาตให้ธุรกิจประกันภัยลงทุนเพิ่มในพันธบัตรและตราสารหนี้ รายงานจากกรุงปักกิ่ง
ประเทศจีน เมื่อวันที่ 21 ส.ค.48 China Insurance Regulatory Commission อนุญาตให้ธุรกิจประกันภัย
เพิ่มการลงทุนได้มากขึ้นในพันธบัตรและตราสารหนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มทางเลือกให้มีการลงทุนได้หลาก
หลายเพื่อให้ธุรกิจประกันภัยมีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยบริษัทประกันภัยสามารถเข้าไปลงทุนในพันธบัตรในประเทศและตั๋ว
เงินระยะสั้นได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่อนุญาตให้ลงทุนได้ร้อยละ 20 และ
พันธบัตรดังกล่าวจะต้องออกโดยบริษัทที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดี และจำกัดการลงทุนในบริษัทหนึ่งได้เพียงร้อย
ละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและตราสาร
หนี้ที่ออกโดยธนาคารตามนโยบายของรัฐ ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยสามารถลงทุนในการฝากเงินไว้กับธนาคาร พันธบัตร
ของรัฐและเอกชน กองทุนรวม และตลาดหลักทรัพย์ แต่มีการจำกัดจำนวนเงินที่อนุมัติให้ลงทุนได้ (รอยเตอร์)
3. เงินริงกิตมาเลเซียยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 20 ส.
ค.48 รมว.คลังคนที่ 2 ของมาเลเซีย (Nor Mohamed Yakcop) กล่าวว่า เขามองว่าเงินริงกิตของมาเลเซีย
ยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบรรดานักลงทุนมีการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินริงกิต อาทิเช่น ตั๋วเงิน
คลังและ พธบ.รัฐบาล เพิ่มขึ้นถึง 15 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงมากกว่า 18 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิต ณ วันศุกร์ที่ 19 ส.ค.48 อยู่ที่ระดับ 3.7655/75 ต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเพียง
ร้อยละ 1 จากระดับ 3.8 ริงกิตต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับที่ ธ.กลางมาเลเซียผูกค่าเงินของตนไว้กับเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ยาวนานถึง 7 ปี และตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นการลอยตัวค่าเงินริงกิตแบบมี
การจัดการเมื่อ 21 ก.ค.48 ทั้งนี้ มาเลเซียยังคงเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 48 ที่ระดับร้อย
ละ 5-6 โดยการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันยังคงส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากมาเลเซียเป็น
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แต่ในระยะยาวหากราคาน้ำมันยังคงสูงอยู่อาจส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันของมาเลเซียได้
จากการที่ประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบดังกล่าว และลดการนำเข้าน้ำมันลง (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลสิงคโปร์จะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้มีบ้านเป็นของตนเอง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
21 ส.ค.48 นรม.สิงคโปร์ให้สัมภาษณ์เนื่องในโอกาสวันครบรอบการประกาศอิสรภาพของประเทศว่ารัฐบาล
สิงคโปร์เตรียมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดจำนวน
4.2 ล้านคนของสิงคโปร์ให้สามารถซื้อแฟลตที่รัฐบาลจัดสร้างขึ้นได้เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนที่กำลัง
กว้างขึ้นในขณะนี้ การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่จำนวนคนว่างงานในสิงคโปร์ซึ่งมีรายได้ต่อหัวของ
ประชากรสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียกำลังเพิ่มขึ้น โดยอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 ปีนี้หลังปรับตัวเลขตาม
ฤดูกาลแล้วอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อมีงานจำนวนมากขึ้นในภาคการผลิตถูก
ย้ายไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าอย่างจีนและอินเดีย ประมาณร้อยละ 93 ของคนสิงคโปร์มีบ้านเป็นของตนเอง
นับเป็นอัตราสูงสุดในเอเชียและอยู่ในกลุ่มประเทศที่ประชากรมีอัตราการมีบ้านเป็นของตนเองสูงสุดแห่งหนึ่งของ
โลก โดยร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในแฟลตที่จัดสร้างและดูแลโดยรัฐบาล (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ส.ค. 48 19 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.286 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.0979/41.3835 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.82444 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.83/ 13.20 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,500/8,600 8,550/8,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.56 55.74 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.14*/22.99* 26.14*/22.99* 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 11 ส.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--