เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ ให้แก่ปวงชนชาวไทยได้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าจะไม่ยินยอม ยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและ โดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร” และได้พระราชทานแก่เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภา ผู้แทนราษฎร จึงนับว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย
นับแต่นั้นมาเป็นเวลากว่า ๗๓ ปี ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง ปัจจุบันประเทศไทยมี รัฐธรรมนูญใช้มาแล้ว ๑๖ ฉบับด้วยกัน โดยฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุด และเป็นฉบับประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองอย่างมากมาย มีการกำหนดการตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มีการตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาดำเนินการในด้านต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ศาลยุติธรรม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยแต่ละองค์กรมีอำนาจหน้าที่และกลไกในการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมือง โดยการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและสามารถสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการกับผู้ที่ทุจริตการเลือกตั้งอย่างเฉียบขาด และ มีการดำเนินการกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน อันเป็นเท็จจนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งได้สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญ
ที่เกิดขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ซึ่งได้จัดทำโดยเจตนารมย์ที่คำนึงถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ และธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ ครบ ๗๓ ปี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชน ชาวไทย และเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาต่อพระองค์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงขอเชิญชวนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน คณะบุคคล และประชาชนทั่วไป ร่วมวางพานประดับพุ่มดอกไม้ถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ นาฬิกา
------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นับแต่นั้นมาเป็นเวลากว่า ๗๓ ปี ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง ปัจจุบันประเทศไทยมี รัฐธรรมนูญใช้มาแล้ว ๑๖ ฉบับด้วยกัน โดยฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุด และเป็นฉบับประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองอย่างมากมาย มีการกำหนดการตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มีการตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาดำเนินการในด้านต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ศาลยุติธรรม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยแต่ละองค์กรมีอำนาจหน้าที่และกลไกในการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป
ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมือง โดยการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและสามารถสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินการกับผู้ที่ทุจริตการเลือกตั้งอย่างเฉียบขาด และ มีการดำเนินการกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน อันเป็นเท็จจนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งได้สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญ
ที่เกิดขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ซึ่งได้จัดทำโดยเจตนารมย์ที่คำนึงถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ และธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ ครบ ๗๓ ปี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชน ชาวไทย และเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาต่อพระองค์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงขอเชิญชวนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน คณะบุคคล และประชาชนทั่วไป ร่วมวางพานประดับพุ่มดอกไม้ถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ นาฬิกา
------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร