นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงโครงการที่ประเทศไทยจะส่งช้างไทยจำนวน 9 เชือก เพื่อแลกเปลี่ยนกับหมีโคล่า จำนวน 2 ตัว กับประเทศออสเตรเลียว่า คณะทำงานด้านเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่คิดและทำขึ้นมาเพื่อสนองอำนาจในทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบใดๆ ซึ่งคณะทำงานมีข้อสังเกตดังนี้
1. ข้อตกลงใดๆที่ไทยไปทำกับต่างประเทศไม่ว่ากรณีใด รวมทั้งกรณีการแลกเปลี่ยนสัตว์ป่า ควรจะมีการศึกษาและหารือกับทุกฝ่ายอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะจากสภา ทั้งต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่ควรปิดบังซ่อนเร้น
2. ประเทศไทยมีประวัติในทางลบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะกรณีสัตว์ป่า แม้ว่าจะเป็นสมาชิกไซเตส แต่การล่าสัตว์ป่า การขาย การเป็นประเทศที่ยอมให้สัตว์ป่าผ่านไปยังประเทศที่ 3 และการทรมานสัตว์ป่ายังมีอยู่ ทำให้ถูกประณามอยู่บ่อยครั้ง ทั้งกรณีเสือและช้าง และอื่นๆ ก่อนหน้านี้
3. หน่วยงานที่ควรมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดลที่ควรจะมีท่าทีสนับสนุนงานด้านอนุรักษ์กลับยอมเป็นเครื่องมือสนับสนุนผู้มีอำนาจในการปกปิดข่าวที่ควรเปิดเผยเช่นนี้ ผิดวิสัยสถาบันที่มีบทบาทให้ความรู้ในระดับชั้นนำของประเทศ และพยายามช่วยบิดเบือนว่าช้างป่าไม่เหมือนกับช้างบ้าน ทั้งๆที่จริงแล้วช้างบ้านคือช้างป่าที่นำมาฝึกดัดแปลงพฤติกรรม
4. ช้างป่าไม่ควรที่จะถูกนำออกนอกประเทศ ไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้น เพราะปัจจุบันมีจำนวนน้อยแค่ 2,000 — 3,000 เชือก ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ ตลอดจนแหล่งอาหารและแหล่งแสดงพฤติกรรมก็ถูกบุกรุก รุกรานจากมนุษย์ และความเจริญเติบโตทางสังคม แทนที่รัฐบาลจะแก้ปัญหากลับสร้างปัญหาต่อช้างป่าและทรัพยากรของประเทศ ซึ่งอาจนำประเทศไทยไปสู่การถูกประณามและลดเครดิตในทางสังคมได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2548--จบ--
1. ข้อตกลงใดๆที่ไทยไปทำกับต่างประเทศไม่ว่ากรณีใด รวมทั้งกรณีการแลกเปลี่ยนสัตว์ป่า ควรจะมีการศึกษาและหารือกับทุกฝ่ายอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะจากสภา ทั้งต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่ควรปิดบังซ่อนเร้น
2. ประเทศไทยมีประวัติในทางลบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะกรณีสัตว์ป่า แม้ว่าจะเป็นสมาชิกไซเตส แต่การล่าสัตว์ป่า การขาย การเป็นประเทศที่ยอมให้สัตว์ป่าผ่านไปยังประเทศที่ 3 และการทรมานสัตว์ป่ายังมีอยู่ ทำให้ถูกประณามอยู่บ่อยครั้ง ทั้งกรณีเสือและช้าง และอื่นๆ ก่อนหน้านี้
3. หน่วยงานที่ควรมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดลที่ควรจะมีท่าทีสนับสนุนงานด้านอนุรักษ์กลับยอมเป็นเครื่องมือสนับสนุนผู้มีอำนาจในการปกปิดข่าวที่ควรเปิดเผยเช่นนี้ ผิดวิสัยสถาบันที่มีบทบาทให้ความรู้ในระดับชั้นนำของประเทศ และพยายามช่วยบิดเบือนว่าช้างป่าไม่เหมือนกับช้างบ้าน ทั้งๆที่จริงแล้วช้างบ้านคือช้างป่าที่นำมาฝึกดัดแปลงพฤติกรรม
4. ช้างป่าไม่ควรที่จะถูกนำออกนอกประเทศ ไม่ว่าจะกรณีใดๆทั้งสิ้น เพราะปัจจุบันมีจำนวนน้อยแค่ 2,000 — 3,000 เชือก ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ ตลอดจนแหล่งอาหารและแหล่งแสดงพฤติกรรมก็ถูกบุกรุก รุกรานจากมนุษย์ และความเจริญเติบโตทางสังคม แทนที่รัฐบาลจะแก้ปัญหากลับสร้างปัญหาต่อช้างป่าและทรัพยากรของประเทศ ซึ่งอาจนำประเทศไทยไปสู่การถูกประณามและลดเครดิตในทางสังคมได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ก.ค. 2548--จบ--