นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายนโยบายรัฐบาลเรื่องการขยายตัวของเศรษฐกิจว่ารัฐบาลชุดที่แล้วได้เริ่มทำงานในปี 2544 ซึ่งช่วงนั้นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในระดับที่ต่ำ จนปี2547 เศรษฐกิจโลกขยายตัวถึง 4.7 % ส่งผลต่อราคาผลิตผลของประเทศไทยได้ปรับตัวสูงขึ้น และมีผลผลักดันให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างที่ปรากฎ การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 22 % แต่ 16 %ใน22 % นั้น เป็นการเพราะราคาผลิตผลสูงขึ้น ส่วนอีก 6 % เป็นการเพิ่มขึ้นเพราะปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทย ในช่วงการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลชุดที่แล้ว พยามยามสร้างความเชื่อมั่น ให้ประชาชน กล้ากู้ กล้าใช้ และสุดท้ายผู้ประกอบการเอกชนเริ่มจะมีความกล้าในการลงทุน
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า นี่เป็นการชี้เงื่อนไขที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้เปลี่ยนไป นอกจากเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไป ดูได้จากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน ภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ความเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทั้งหมด นั้นส่งผลต่อดัชนีทุกดัชนี และสุดท้ายก็คือมีผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัด และที่สำคัญคือในขณะที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงชะลอลงตัวอัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้น
ในส่วนของบัญชีเดินสะพัด เป็นต้นว่าในเรื่องการท่องเที่ยว กล่าวได้ว่าคนญี่ปุ่นมาเที่ยวประเทศไทย ประเทศไทยได้ แต่ถ้าประเทศไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นประเทศไทยเสีย ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มจะแสดงสัญญาณว่าจะลดลง จากการที่ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในสภาพบวกมาหลายปี ในเดือนมกราคม 48 ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบของไทยติดลบมากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการติดลบรายเดือนที่สูงที่สุด ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีผลโดยตรงต่ออัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
ถือว่าเป็นช่วงที่น่าหนักใจแทนผู้ว่าธปท. มองในอีกแง่หนึ่งเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว ซึ่งไม่ควรเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงเกินไป แต่อีกแง่หนึ่งอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็ต้องขึ้นตามในระดับ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือแรงกดดันที่เกิดขึ้นต่อดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งทำให้ผู้ว่าธปท.มีความจำเป็นที่จะต้องบริหารระบบการเงินด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
สรุปโดยรวมว่าภาพของเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ที่ต้องดูแลไม่ให้ประชาชนมีผลกระทบ และพรรคประชาธิปัตย์ มองว่ารัฐบาลควรจะต้องพิจารณาในรายละเอียด ว่าภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป กับเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม ควรจะมีผลกระทบต่อนโยบายสำคัญทางเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างไร
ซึ่งสิ่งที่น่าจับตามองคือความเดือนร้อนภาคหนี้สินประชาชน ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2544กับการชี้แจงของนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่อ้างว่วตัวเลขหนี้สินที่เพิ่มขึ้นถือว่าไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตก ไม่อันตราย เพราะการเพิ่มขึ้นของหนี้สินควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของเงินออม และทรัพย์สินภาคประชาชน ตนขอค้านว่าเป็นการชี้แจงที่ผิดพลาด และเป็นการอ้างเศรษฐกิจที่ไม่ถูกต้อง หนี้ครัวเรือนเมื่อครั้งที่ระบบเศรษฐกิจยังดีอยู่ ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ10 ปี ตัวเลขอยู่ที่ 31,000 บาทต่อครัวเรือน แต่ขณะนี้หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 110,000บาท แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจดีอย่างเดียว
นอกจากนั้นเงินออมที่รมช.คลังอ้างถึงนั้นเป็นเงินออมของบริษัทเอกชน ไม่ใช่เงินออมของครัวเรือน ซึ่งในการเปรียบความอันตรายที่มีต่อหนี้ครัวเรือนนั้น ควรจะดูเงินออมภาคครัวเรือนซึ่งจะเห็นได้ว่าลดลงอย่างชัดเจนทุกปี ตั้งแต่ปี 2544เป็นต้นมา
ปี 2544 เงินออมภาคครัวเรือนสูงถึง 410,000ล้านบาท ลดลงทุกปี จนปี 2546 นั้น 183,000 ล้านบาท เพราะฉะนั้นตนคิดว่ายังมีประเด็นปัญหาที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแลประชาชนที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้นผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปลายปี 2547ได้ชี้ให้เห็นว่าภาระหนี้สินครัวเรือนของประชาชนเพิ่มขึ้นกว่ารายได้ของประชาชนทุกปีตั้งแต่ปี 2544 และที่น่าเป็นห่วงมาก 40% ของผู้ทีมีหนี้ยังรอให้รัฐบาลมาปลดหนี้ให้ และกว่า 60 % ไม่ได้เข้าใจระหว่างอัตราดอกเบี้ยโดยรวมที่กำลังปรับตัวขึ้นกับภาระการชำระหนี้ตนที่มี
นอกจากผลกระทบที่มีต่อประชาชนแล้ว พรรคประชาธิปัตย์มองว่าสมมุติฐานเบื้องหลังนโยบาย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลนั้น มีความจำเป็นต้องไปพิจารณาใหม่ในรายละเอียด โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมพลัง การขนส่งมวลชน หรือระบบไฟฟ้ามหานคร ซึ่งต้องขอบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยอย่างยิ่งในการลงทุนใน2 ระบบนี้ โดยเฉพาะการลงทุนในระบบขนส่มวลชนในกรุงเทพมหานครเป็นสิ่งที่คนกรุงเทพฯรอคอยมานาน
ที่น่าเสียดายคือเมือปี 2546 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ได้มีรายงานชัดเจนแนะนำว่ารัฐบาลควรรีบลงทุนนะระบบขนส่งมวลชนและขอให้แล้วเสร็จใน 2550 โดยที่สำนักพลังงานแห่งชาติ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเมื่อแล้วเสร็จโครงการนี้จะสามารถประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง 2,000 ล้านลิตร ต่อปี หรือคิดเป็นเงิน ตามราคาน้ำมันวันนี้ก็ประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีการผลักดันโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นการเสียโอกาสที่จะประหยัดน้ำมันกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับกองทุนน้ำมันที่ขาดดุลอย่ในขณะนี้
พรรคประชาธิปัตย์ อยากให้รัฐบาลพิจารณาความสมควรในรายละเอียดของโครงการที่จะมีการลงทุนในอนาคตเพื่อให้การใช้งบมีความสมดูลเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนไป พรรคประชาธิปัตย์ ศึกษาว่า 7 สายรถไฟฟ้า จากเจตนาที่รัฐบาลมีเจตนาว่ากำลังจะสร้างภายในครั้งเดียว สองใน เจ็ด รวมแล้ว 64 กิโลเมตรจาก247 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนถึง 40 % ของเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการนี้ ขณะที่สามารถแบกรับผู้โดยสารเพียง 18 % ของโครงการทั้งหมด
ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปพรรคประชาธิปัตย์ มองว่าการที่รัฐบาลอาจจะประหยัดเงิน 40 % หรืแ 1.7แสนบาทโดยมีผลกระทบต่อผู้โดยสารเพียง 18 % เป็นเงื่อนไขที่ควรทบทวนในรายละเอียดให้ดี
ส่วนการแปรูปรัฐวิสาหกิจ เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ก็มีผลกระทบ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวพรรคประชาธิปัตย์มีความเสียดาย เพราะในการแถลงนโยบายเมื่อปี 2544 โครงการเรื่องการเพิ่มศักยภาพของรัฐวิสหกิจ ปรากฎว่าเป็น 1 ใน 9 ของนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลระบุชัดเจนว่าจะมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
ขึ้นมาดูแลจัดการรัฐวิสาหกิจ แต่เมื่อปี 2545 จาก 53 รัฐวิสาหกิจโดยรวม มีรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร 41 แห่ง ขาดทุน 12 ต่อมาปี 2547 จากรัฐวิสาหกิจ 53 แห่งเดิม กลับมีรัฐวิสหกิจที่มีกำไรเพียง 40 แห่ง ขาดทุนเพิ่ม เป็น 13 แห่ง แสดงให้เห็นว่าโครงการเสริมสร้างรัฐวิสาหกิจไม่ได้มีการขับเคลื่อนอะไร ในช่วงการบริหารของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา
พรรคประชาธิปัตย์มองว่า การเพิ่มศักยภาพของรัฐวิสาหกิจนั้นรัฐบาลควนเน้นการเสริมให้มีการแข่งขัน พรรคประชาธิปัตย์ไม่อยากเห็นการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ เพราะธรรมาภิบาลที่ดีของบริษัทที่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์นั้น คือหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นก่อนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะมองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณารายละเอียดการปรับโครงสร้างให้มีการแข่งขัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนก่อนนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียน
ตนคิดว่ารัฐบาลต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนที่มีจำนวนมาก เพราะแม้เศรษฐกิจระดับมหภาคดีขึ้น แต่ประชาชนกลับไม่รู้สึกว่ารวยขึ้น นโยบายการลงทุนโครงการใหญ่รัฐบาล มีโอกาสที่จะกระจุกตัวในการระจายรายได้ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ารัฐบาลควรยกการกระจายรายได้ ให้เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญที่สุด ในเชิงเศรษฐกิจใน 4 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะควรพิจารณาว่าอัตราการใช้กำลังผลิตของบริษัทภาคเอกชนขยับขึ้นมาสูงกว่า 75 % ซึ่งเป็นระดับการใช้กำลังผลิต ที่ทำให้บริษัทภาคเอกชนเริ่มที่ต้องใช้เงินลงทุนอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นการนำเงิน 1.5 ล้านล้านไปลงทุนในโครงการใหญ่ของรัฐบาลต้องคำนึงว่าอาจจะเป็นการแย่งชิงเงินทุนทางภาคเอกชนจากภาคเอกชน และจะเป็นเป็นปัญหาต่อการกระจายรายได้ด้วย
พรรคประชาธิปัตย์ หวังอย่างยิ่งว่าอุดมณ์ที่รัฐบาลต้องการที่จะบรรลุ ตามที่ได้มีการชี้แจง จะบรรลุตามเป้าหมายและจะประสบความสำเร็จได้ พรรคประชาธิปัตย์มองว่ารัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อการกระจายรายได้ต่อประชาชนทุกนชั้นให้มีความเสมอภาค และหวังอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะนำคำแนะนำในเชิงการบริหารเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ไปพิจารณา และหวังว่าคำแนะนำของพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า นี่เป็นการชี้เงื่อนไขที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้เปลี่ยนไป นอกจากเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไป ดูได้จากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน ภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ความเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทั้งหมด นั้นส่งผลต่อดัชนีทุกดัชนี และสุดท้ายก็คือมีผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัด และที่สำคัญคือในขณะที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงชะลอลงตัวอัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้น
ในส่วนของบัญชีเดินสะพัด เป็นต้นว่าในเรื่องการท่องเที่ยว กล่าวได้ว่าคนญี่ปุ่นมาเที่ยวประเทศไทย ประเทศไทยได้ แต่ถ้าประเทศไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นประเทศไทยเสีย ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มจะแสดงสัญญาณว่าจะลดลง จากการที่ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในสภาพบวกมาหลายปี ในเดือนมกราคม 48 ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบของไทยติดลบมากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการติดลบรายเดือนที่สูงที่สุด ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีผลโดยตรงต่ออัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น
ถือว่าเป็นช่วงที่น่าหนักใจแทนผู้ว่าธปท. มองในอีกแง่หนึ่งเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว ซึ่งไม่ควรเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงเกินไป แต่อีกแง่หนึ่งอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็ต้องขึ้นตามในระดับ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือแรงกดดันที่เกิดขึ้นต่อดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งทำให้ผู้ว่าธปท.มีความจำเป็นที่จะต้องบริหารระบบการเงินด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
สรุปโดยรวมว่าภาพของเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ที่ต้องดูแลไม่ให้ประชาชนมีผลกระทบ และพรรคประชาธิปัตย์ มองว่ารัฐบาลควรจะต้องพิจารณาในรายละเอียด ว่าภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป กับเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม ควรจะมีผลกระทบต่อนโยบายสำคัญทางเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างไร
ซึ่งสิ่งที่น่าจับตามองคือความเดือนร้อนภาคหนี้สินประชาชน ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2544กับการชี้แจงของนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่อ้างว่วตัวเลขหนี้สินที่เพิ่มขึ้นถือว่าไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตก ไม่อันตราย เพราะการเพิ่มขึ้นของหนี้สินควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของเงินออม และทรัพย์สินภาคประชาชน ตนขอค้านว่าเป็นการชี้แจงที่ผิดพลาด และเป็นการอ้างเศรษฐกิจที่ไม่ถูกต้อง หนี้ครัวเรือนเมื่อครั้งที่ระบบเศรษฐกิจยังดีอยู่ ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ10 ปี ตัวเลขอยู่ที่ 31,000 บาทต่อครัวเรือน แต่ขณะนี้หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 110,000บาท แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจดีอย่างเดียว
นอกจากนั้นเงินออมที่รมช.คลังอ้างถึงนั้นเป็นเงินออมของบริษัทเอกชน ไม่ใช่เงินออมของครัวเรือน ซึ่งในการเปรียบความอันตรายที่มีต่อหนี้ครัวเรือนนั้น ควรจะดูเงินออมภาคครัวเรือนซึ่งจะเห็นได้ว่าลดลงอย่างชัดเจนทุกปี ตั้งแต่ปี 2544เป็นต้นมา
ปี 2544 เงินออมภาคครัวเรือนสูงถึง 410,000ล้านบาท ลดลงทุกปี จนปี 2546 นั้น 183,000 ล้านบาท เพราะฉะนั้นตนคิดว่ายังมีประเด็นปัญหาที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแลประชาชนที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้นผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปลายปี 2547ได้ชี้ให้เห็นว่าภาระหนี้สินครัวเรือนของประชาชนเพิ่มขึ้นกว่ารายได้ของประชาชนทุกปีตั้งแต่ปี 2544 และที่น่าเป็นห่วงมาก 40% ของผู้ทีมีหนี้ยังรอให้รัฐบาลมาปลดหนี้ให้ และกว่า 60 % ไม่ได้เข้าใจระหว่างอัตราดอกเบี้ยโดยรวมที่กำลังปรับตัวขึ้นกับภาระการชำระหนี้ตนที่มี
นอกจากผลกระทบที่มีต่อประชาชนแล้ว พรรคประชาธิปัตย์มองว่าสมมุติฐานเบื้องหลังนโยบาย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลนั้น มีความจำเป็นต้องไปพิจารณาใหม่ในรายละเอียด โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมพลัง การขนส่งมวลชน หรือระบบไฟฟ้ามหานคร ซึ่งต้องขอบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยอย่างยิ่งในการลงทุนใน2 ระบบนี้ โดยเฉพาะการลงทุนในระบบขนส่มวลชนในกรุงเทพมหานครเป็นสิ่งที่คนกรุงเทพฯรอคอยมานาน
ที่น่าเสียดายคือเมือปี 2546 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ได้มีรายงานชัดเจนแนะนำว่ารัฐบาลควรรีบลงทุนนะระบบขนส่งมวลชนและขอให้แล้วเสร็จใน 2550 โดยที่สำนักพลังงานแห่งชาติ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเมื่อแล้วเสร็จโครงการนี้จะสามารถประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง 2,000 ล้านลิตร ต่อปี หรือคิดเป็นเงิน ตามราคาน้ำมันวันนี้ก็ประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีการผลักดันโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นการเสียโอกาสที่จะประหยัดน้ำมันกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับกองทุนน้ำมันที่ขาดดุลอย่ในขณะนี้
พรรคประชาธิปัตย์ อยากให้รัฐบาลพิจารณาความสมควรในรายละเอียดของโครงการที่จะมีการลงทุนในอนาคตเพื่อให้การใช้งบมีความสมดูลเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนไป พรรคประชาธิปัตย์ ศึกษาว่า 7 สายรถไฟฟ้า จากเจตนาที่รัฐบาลมีเจตนาว่ากำลังจะสร้างภายในครั้งเดียว สองใน เจ็ด รวมแล้ว 64 กิโลเมตรจาก247 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนถึง 40 % ของเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการนี้ ขณะที่สามารถแบกรับผู้โดยสารเพียง 18 % ของโครงการทั้งหมด
ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปพรรคประชาธิปัตย์ มองว่าการที่รัฐบาลอาจจะประหยัดเงิน 40 % หรืแ 1.7แสนบาทโดยมีผลกระทบต่อผู้โดยสารเพียง 18 % เป็นเงื่อนไขที่ควรทบทวนในรายละเอียดให้ดี
ส่วนการแปรูปรัฐวิสาหกิจ เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ก็มีผลกระทบ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวพรรคประชาธิปัตย์มีความเสียดาย เพราะในการแถลงนโยบายเมื่อปี 2544 โครงการเรื่องการเพิ่มศักยภาพของรัฐวิสหกิจ ปรากฎว่าเป็น 1 ใน 9 ของนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลระบุชัดเจนว่าจะมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
ขึ้นมาดูแลจัดการรัฐวิสาหกิจ แต่เมื่อปี 2545 จาก 53 รัฐวิสาหกิจโดยรวม มีรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร 41 แห่ง ขาดทุน 12 ต่อมาปี 2547 จากรัฐวิสาหกิจ 53 แห่งเดิม กลับมีรัฐวิสหกิจที่มีกำไรเพียง 40 แห่ง ขาดทุนเพิ่ม เป็น 13 แห่ง แสดงให้เห็นว่าโครงการเสริมสร้างรัฐวิสาหกิจไม่ได้มีการขับเคลื่อนอะไร ในช่วงการบริหารของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา
พรรคประชาธิปัตย์มองว่า การเพิ่มศักยภาพของรัฐวิสาหกิจนั้นรัฐบาลควนเน้นการเสริมให้มีการแข่งขัน พรรคประชาธิปัตย์ไม่อยากเห็นการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ เพราะธรรมาภิบาลที่ดีของบริษัทที่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์นั้น คือหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นก่อนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะมองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณารายละเอียดการปรับโครงสร้างให้มีการแข่งขัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนก่อนนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียน
ตนคิดว่ารัฐบาลต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนที่มีจำนวนมาก เพราะแม้เศรษฐกิจระดับมหภาคดีขึ้น แต่ประชาชนกลับไม่รู้สึกว่ารวยขึ้น นโยบายการลงทุนโครงการใหญ่รัฐบาล มีโอกาสที่จะกระจุกตัวในการระจายรายได้ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ารัฐบาลควรยกการกระจายรายได้ ให้เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญที่สุด ในเชิงเศรษฐกิจใน 4 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะควรพิจารณาว่าอัตราการใช้กำลังผลิตของบริษัทภาคเอกชนขยับขึ้นมาสูงกว่า 75 % ซึ่งเป็นระดับการใช้กำลังผลิต ที่ทำให้บริษัทภาคเอกชนเริ่มที่ต้องใช้เงินลงทุนอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้นการนำเงิน 1.5 ล้านล้านไปลงทุนในโครงการใหญ่ของรัฐบาลต้องคำนึงว่าอาจจะเป็นการแย่งชิงเงินทุนทางภาคเอกชนจากภาคเอกชน และจะเป็นเป็นปัญหาต่อการกระจายรายได้ด้วย
พรรคประชาธิปัตย์ หวังอย่างยิ่งว่าอุดมณ์ที่รัฐบาลต้องการที่จะบรรลุ ตามที่ได้มีการชี้แจง จะบรรลุตามเป้าหมายและจะประสบความสำเร็จได้ พรรคประชาธิปัตย์มองว่ารัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อการกระจายรายได้ต่อประชาชนทุกนชั้นให้มีความเสมอภาค และหวังอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะนำคำแนะนำในเชิงการบริหารเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ไปพิจารณา และหวังว่าคำแนะนำของพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-