กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการศึกษา ในเรื่องพืชตัดต่อพันธุกรรม(GMOs) กับการเกษตรของไทย เพื่อให้ทราบถึงทัศนคติต่อการทำเกษตร ตัดต่อพันธุกรรมในประเทศไทยของนักวิชาการ ผู้บริโภคและเกษตรกร รวมถึงองค์ประกอบที่จำเป็นจะต้องมีในการทำเกษตร GMOs เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เกษตรกร และสิ่งแวดล้อมและเพื่อใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาแนวนโยบายการพัฒนาเกษตร GMOs ในประเทศไทย
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานถึง การทำเกษตร GMOs นับเป็นระบบเกษตรทางเลือกใหม่ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการเกษตรของไทย แต่เนื่องจากความไม่ชัดเจนในข้อมูล และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ถึงข้อมูลที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยในการบริโภค และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับสาธารณชนและผู้ที่จะต้องมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการทำเกษตร GMOs โดยตรง เช่น เกษตรกร ผู้บริโภคและนักวิชาการด้านการเกษตร ทำให้มีข้อถกเถียง มากมายและถูกต่อต้านจากองค์กรอิสระบางแห่ง (NGO)
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร จึงเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาในเรื่อง พืชตัดต่อพันธุกรรม(GMOs) กับการเกษตรของไทย เพื่อให้ทราบถึงทัศนคติต่อการทำเกษตรตัดต่อพันธุกรรมในประเทศไทยของนักวิชาการ ผู้บริโภคและเกษตรกร รวมถึงองค์ประกอบที่จำเป็นจะต้องมีในการทำเกษตร GMOs เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เกษตรกร และสิ่งแวดล้อมและเพื่อใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา แนวนโยบายการพัฒนาเกษตร GMOs ในประเทศไทย ที่สามารถส่งผลถึงความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกร ตลอดจนผลที่มีต่อผู้บริโภค การค้าต่างประเทศและระบบนิเวศ ที่จะทำให้การพัฒนาการเกษตรของไทยเป็นไปอย่างถูกทิศทางมีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดยไม่ส่งผลกระทบที่จะเป็นผลเสียในด้านอื่น ๆ
ผลการศึกษาในกลุ่มผู้บริโภคร้อยละ 91 และกลุ่มเกษตรกรร้อยละ 71.64 รู้จักพืช GMOs จากสื่อสาธารณะ ในช่วง ปี 2545-2547 แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของพืช GMOs ได้อย่างแท้จริง บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และยังขาดความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยในการบริโภคและผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ ส่วนความพร้อมของประเทศไทยในการทำเกษตร GMOs กลุ่มผู้บริโภคร้อยละ 66.47 และกลุ่มนักวิชาการร้อยละ 64.15 เห็นว่ายังไม่พร้อม ในขณะที่กลุ่มเกษตรกรร้อยละ 47.76 เห็นว่าไม่ควรปลูกและร้อยละ 37.31 ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ เนื่องจากขาดข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจ
สำหรับมาตรการควบคุมความปลอดภัยและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น นักวิชาการร้อยละ 96.60 เห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคภายในประเทศและตลาดสินค้าเกษตรของไทยในต่างประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ไม่ให้ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟูได้
การประชาสัมพันธ์ที่ดีให้ข้อมูลที่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ให้สาธารณชน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จะเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะลดแรงต่อต้านและทำความเข้าใจกับกลุ่มบุคคล ผู้ที่จะมีส่วนได้ส่วนเสีย หากมีการทำเกษตร GMOs
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานถึง การทำเกษตร GMOs นับเป็นระบบเกษตรทางเลือกใหม่ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการเกษตรของไทย แต่เนื่องจากความไม่ชัดเจนในข้อมูล และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ถึงข้อมูลที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยในการบริโภค และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับสาธารณชนและผู้ที่จะต้องมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการทำเกษตร GMOs โดยตรง เช่น เกษตรกร ผู้บริโภคและนักวิชาการด้านการเกษตร ทำให้มีข้อถกเถียง มากมายและถูกต่อต้านจากองค์กรอิสระบางแห่ง (NGO)
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร จึงเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาในเรื่อง พืชตัดต่อพันธุกรรม(GMOs) กับการเกษตรของไทย เพื่อให้ทราบถึงทัศนคติต่อการทำเกษตรตัดต่อพันธุกรรมในประเทศไทยของนักวิชาการ ผู้บริโภคและเกษตรกร รวมถึงองค์ประกอบที่จำเป็นจะต้องมีในการทำเกษตร GMOs เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เกษตรกร และสิ่งแวดล้อมและเพื่อใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา แนวนโยบายการพัฒนาเกษตร GMOs ในประเทศไทย ที่สามารถส่งผลถึงความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกร ตลอดจนผลที่มีต่อผู้บริโภค การค้าต่างประเทศและระบบนิเวศ ที่จะทำให้การพัฒนาการเกษตรของไทยเป็นไปอย่างถูกทิศทางมีประสิทธิภาพและยั่งยืนโดยไม่ส่งผลกระทบที่จะเป็นผลเสียในด้านอื่น ๆ
ผลการศึกษาในกลุ่มผู้บริโภคร้อยละ 91 และกลุ่มเกษตรกรร้อยละ 71.64 รู้จักพืช GMOs จากสื่อสาธารณะ ในช่วง ปี 2545-2547 แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของพืช GMOs ได้อย่างแท้จริง บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และยังขาดความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยในการบริโภคและผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ ส่วนความพร้อมของประเทศไทยในการทำเกษตร GMOs กลุ่มผู้บริโภคร้อยละ 66.47 และกลุ่มนักวิชาการร้อยละ 64.15 เห็นว่ายังไม่พร้อม ในขณะที่กลุ่มเกษตรกรร้อยละ 47.76 เห็นว่าไม่ควรปลูกและร้อยละ 37.31 ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ เนื่องจากขาดข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจ
สำหรับมาตรการควบคุมความปลอดภัยและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น นักวิชาการร้อยละ 96.60 เห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคภายในประเทศและตลาดสินค้าเกษตรของไทยในต่างประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ไม่ให้ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟูได้
การประชาสัมพันธ์ที่ดีให้ข้อมูลที่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ให้สาธารณชน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จะเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะลดแรงต่อต้านและทำความเข้าใจกับกลุ่มบุคคล ผู้ที่จะมีส่วนได้ส่วนเสีย หากมีการทำเกษตร GMOs
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-