1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ช่องทางการส่งออกกุ้งกุลาดำไปสหภาพยุโรป(อียู)
นายคณิต ไชยาคำ ผอ.สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง เปิดเผยว่ากรมได้ร่วมกับชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จ.จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย จัดสัมมนาหัวข้อ “เลี้ยงกุ้งอย่างไรไปอียู” เพื่อชี้แจงและให้ข้อเสนอแนะแก่เกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง และวิธีการจัดการฟาร์มให้ได้ตามมาตรฐาน สามารถส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป(อียู)ได้ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสารตกค้าง การตรวจสอบย้อนกลับและระบบการขนส่งที่ต้องได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่อียูกำหนดไว้ ซึ่งที่ผ่านมากรมพยายามเข้าไปแนะนำเกษตรกรทั้งในเรื่องการจัดการฟาร์มระบบ GAP และระบบ CoC ตลอดจนสุขอนามัยโรงงาน เพื่อให้ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP
อย่างไรก็ตาม ตลาดกุ้งในอียูส่วนใหญ่ยังเป็นกุ้งกุลาดำ ซึ่งหากมองในแง่ศักยภาพการผลิตของไทยแล้ว ยังถือว่าสามารถผลิตกุ้งกุลาดำเพื่อตอบสนองตลาดได้ เพราะแม้ปัจจุบันสัดส่วนการผลิตกุ้งกุลาดำของไทยจะเหลือเพียง 20 — 30 % แต่ก็ยังมีแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำที่มีศักยภาพ ได้แก่ จ.จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา ทั้งนี้ นายคณิต แสดงความมั่นใจว่าอีกไม่นานตลาดกุ้งกุลาดำกลับมาคึกคักอีกอย่างแน่นอน หลังจากที่ผ่านมาไทยได้เปลี่ยนไปผลิตกุ้งขาว เพราะตลาดอียูถือเป็นตลาดส่งออกกุ้งกุลาดำที่ใหญ่ และไทยมีศักยภาพในการผลิตไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พันธุ์หรือลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ โดยขณะนี้ทางกลุ่มเกษตรกรใน จ.จันทบุรี สงขลา และ สุราษฎร์ธานี ได้เตรียมวางแผนการผลิตไว้แล้ว แต่ในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตอาจจะเพิ่มได้เพียง 5 — 10 % ต่อปีเท่านั้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 1 — 7 ต.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,081.03 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 502.46 ตัน สัตว์น้ำจืด 578.57 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.15 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.72 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.85 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.21 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.45 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.40 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 147.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.47 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 152.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10 - 14 ต.ค. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 10-16 ต.ค. 2548--
-พห-
การผลิต
ช่องทางการส่งออกกุ้งกุลาดำไปสหภาพยุโรป(อียู)
นายคณิต ไชยาคำ ผอ.สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง เปิดเผยว่ากรมได้ร่วมกับชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จ.จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย จัดสัมมนาหัวข้อ “เลี้ยงกุ้งอย่างไรไปอียู” เพื่อชี้แจงและให้ข้อเสนอแนะแก่เกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง และวิธีการจัดการฟาร์มให้ได้ตามมาตรฐาน สามารถส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป(อียู)ได้ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสารตกค้าง การตรวจสอบย้อนกลับและระบบการขนส่งที่ต้องได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่อียูกำหนดไว้ ซึ่งที่ผ่านมากรมพยายามเข้าไปแนะนำเกษตรกรทั้งในเรื่องการจัดการฟาร์มระบบ GAP และระบบ CoC ตลอดจนสุขอนามัยโรงงาน เพื่อให้ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP
อย่างไรก็ตาม ตลาดกุ้งในอียูส่วนใหญ่ยังเป็นกุ้งกุลาดำ ซึ่งหากมองในแง่ศักยภาพการผลิตของไทยแล้ว ยังถือว่าสามารถผลิตกุ้งกุลาดำเพื่อตอบสนองตลาดได้ เพราะแม้ปัจจุบันสัดส่วนการผลิตกุ้งกุลาดำของไทยจะเหลือเพียง 20 — 30 % แต่ก็ยังมีแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำที่มีศักยภาพ ได้แก่ จ.จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา ทั้งนี้ นายคณิต แสดงความมั่นใจว่าอีกไม่นานตลาดกุ้งกุลาดำกลับมาคึกคักอีกอย่างแน่นอน หลังจากที่ผ่านมาไทยได้เปลี่ยนไปผลิตกุ้งขาว เพราะตลาดอียูถือเป็นตลาดส่งออกกุ้งกุลาดำที่ใหญ่ และไทยมีศักยภาพในการผลิตไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พันธุ์หรือลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ โดยขณะนี้ทางกลุ่มเกษตรกรใน จ.จันทบุรี สงขลา และ สุราษฎร์ธานี ได้เตรียมวางแผนการผลิตไว้แล้ว แต่ในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตอาจจะเพิ่มได้เพียง 5 — 10 % ต่อปีเท่านั้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 1 — 7 ต.ค. 48) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,081.03 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 502.46 ตัน สัตว์น้ำจืด 578.57 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.15 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.72 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.85 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.21 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.45 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.40 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 147.02 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.47 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 152.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10 - 14 ต.ค. 2548) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 10-16 ต.ค. 2548--
-พห-