แท็ก
ข้อมูล
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผลประกอบการกลุ่ม บล.งวดปี 47 กำไรสุทธิลดลง 28.2% จากการรวบรวมข้อมูลผลประกอบ
การงวดปี 2547 ของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พบว่า กำไรสุทธิปรับตัวลดลงทั้งระบบรวม 28.2% โดยมีเพียง
2 บริษัทเท่านั้นที่มีกำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 16.6% และ บล.
พัฒนสิน มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 197.8% โดยสาเหตุที่กำไรสุทธิของแต่ละ บล.ปรับตัวลดลง เป็นเพราะรายได้ค่านาย
หน้าค้าหลักทรัพย์ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากบรรยากาศการซื้อขายโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์ที่มีความ
ผันผวนและมีปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุนบางส่วน ประกอบกับรายได้จากวาณิชธนกิจลดลง ซึ่งเป็นผลมา
จากการเลื่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯของลูกค้าบางราย สำหรับปี 48 นี้ ประเมินว่า กลุ่ม บล.จะมี
อัตราการเติบโตของกำไรประมาณ 13-16% โดยเป็นผลมาจากบรรยากาศการลงทุนที่เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดย
คาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายทั้งปีอยู่ที่ 2.3 หมื่น ล.บาท สำหรับปัจจัยลบที่น่าจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายในปี
นี้คือ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย (ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.พลังงานยืนยันไม่ปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลภายในสัปดาห์นี้ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ก.
พลังงานจะยังไม่ปรับราคาน้ำมันดีเซลขึ้นภายในสัปดาห์นี้อย่างแน่นอน เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะ
สมของการปรับราคาให้มีผลกระทบต่อประชาชนรวมทั้งภาคธุรกิจโดยรวมน้อยที่สุด แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
ในตลาดโลกจะปรับเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 4.05 บาทต่อ
ลิตร หรือประมาณ 202 ล.บาทต่อวัน และเป็นเงินที่ชดเชยราคาน้ำมันดีเซลตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.47 จำนวน
62,416 ล.บาท และชดเชยน้ำมันเบนซินออกเทน 95 จำนวน 2,672 ล.บาท ออกเทน 91 จำนวน 4,302 ล.
บาท รวมเป็นเงินที่กองทุนน้ำมันชดเชยราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศทั้งเบนซินและดีเซลไปแล้วทั้งสิ้น 69,391 ล.
บาท (โลกวันนี้)
3. การท่องเที่ยวจังหวัดฝั่งอันดามันในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้น 10-15% จากเดือนก่อน นาย
เจริญ วังอนานนท์ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดนักท่อง
เที่ยวในกลุ่มคนไทยเฉพาะในจังหวัดฝั่งอันดามันล่าสุด (เดือน ก.พ.48) มีจำนวนเพิ่มขึ้น 10-15% เมื่อเทียบกับ
ช่วงหลังเกิดเหตุสึนามิ (เดือน ม.ค.48) ที่จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง 95-100% ซึ่งการกลับมาท่องเที่ยวของคน
ไทยในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ประกอบการนำเที่ยวและสายการบินต่างจัดแพกเกจทัวร์ในราคาที่เหมาะสม รวม
ทั้งขยายตลาดสู่ตลาดระดับกลางและล่างให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การท่องเที่ยวที่ซบเซาในช่วงหลังเหตุการณ์สึนามิ
ส่งผลให้สูญเสียรายได้หมุนเวียนมากกว่า 1,000 ล.บาท เนื่องจากช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. เป็นช่วงฤดูแห่งการ
ท่องเที่ยว (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าราคาที่อยู่อาศัยในปี 48 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-10% จากปี 47 ประธานกรรมการ
บริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 48 ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
นโยบายเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิและสาธารณูปโภคต่างๆ ของรัฐบาล และการสร้างที่อยู่อาศัยของเอกชนที่เพิ่ม
ขึ้น ทำให้เกิดความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันกับประเทศใหญ่ในเอเชีย ได้แก่ จีน
อินเดีย ทำให้วัสดุก่อสร้างหลักเริ่มขาดแคลน และราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี 46 ดังนั้น ราคาที่อยู่
อาศัยซึ่งมีต้นทุนหลักมาจากค่าก่อสร้างย่อมมีราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยคาดว่าราคาที่อยู่อาศัยในปี 48 จะเพิ่มขึ้น
จากปี 47 อีกประมาณ 5-10% ตั้งแต่ประมาณกลางปี 48 เป็นต้นไป หลังจากราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ต้นทุนสินค้าและ
บริการต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นุทนเก่าที่สร้างไว้ขายหมดไป ซึ่งในปี 48 ราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ 2.058 ล.บาท
ปี 46 ขยับมาอยู่ที่ 2.708 ล.บาท และในปี 47 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.78 ล.บาท (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 จะเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.48 สถาบัน IFO ของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีในปี 48 จะเติบโตเพียงร้อยละ 1.2 ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 1.6
ทั้งนี้ ในปี 47 เยอรมนีมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 โดยจีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.6 แต่จาก
การที่เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 47 ทำให้มีการคาดการณ์ในด้านลบเพิ่มมากขึ้นเกี่ยว
กับเศรษฐกิจในปีนี้ อย่างไรก็ตาม IFO ค่อนข้างแน่ใจว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะเติบโตอยู่ในกลุ่มต่ำสุดของ
ประเทศในแถบยุโรปกลางและตะวันตก โดยคาดว่าอัตราคนว่างงานในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.6 ล้านคน สูงกว่าที่
รัฐบาลคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 4.53 ล้านคน ซึ่งสาเหตุมาจากความล่าช้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งนี้ คาด
ว่าตัวเลขคนว่างงานที่จะประกาศในวันอังคารนี้จะสูงสุดเป็นสถิติใหม่หลังจากข้อมูลที่ยังไม่ปรับตัวเลขในเดือน ม.ค.47
สูงถึง 5 ล้านคน ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อน
คาดว่า ยอดรวมตัวเลขคนว่างงานของเยอรมนีเดือน ก.พ.48 จะเพิ่มขึ้น 90,000 คน (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 25 ก.พ.48 สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้น
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในเดือนก่อน และหากเทียบต่อเดือนเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นส่งผลให้ต้นทุนราคาอาหารและพลังงานเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม นัก
วิเคราะห์ได้ประมาณการเบื้องต้นว่า อัตราเงินเฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปเดือน ม.ค.48 จะกลับลดลง ส่วนเงิน
เฟ้อของประเทศในกลุ่มประเทศยุโรป 12 ประเทศจะอยู่เหนือกว่าที่ ธ.กลางยุโรปกำหนดเป้าหมายไว้ (กำหนดไว้
ต่ำกว่าร้อยละ 2.0) ทั้งนี้ แม้ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมนีจะสูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ประมาณ
การไว้ครั้งแรก แต่ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับตัวเลขเบื้องต้นที่คำนวณจาก 6 เมืองใหญ่ในเยอรมนี ขณะเดียว
กัน ตัวเลขเงินเฟ้อของเบลเยียม (ที่สำนักงานสถิติเยอรมนีจัดทำเครื่องชี้วัดแนวโน้มราคาที่ตรงข้ามกับเขต
เศรษฐกิจยุโรปเป็นครั้งแรก) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67 ในเดือน ก.พ.48 เทียบต่อเดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.57 ทั้งนี้ Index of consumer prices harmonized (HICP) ของเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
และ 0.3 เมื่อเทียบต่อปีและต่อเดือนตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข HICP ในสหภาพยุโรป (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ต่ำกว่าที่คาดไว้ในขณะที่การใช้
จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.พ.48 สนง.
สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงาน GDP ของอังกฤษในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาส หลัง
จากขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ปี 47 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยหากเทียบต่อ
ปี GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ส่งผลให้เศรษฐกิจของอังกฤษในปี 47 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี
ในขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนกลับชะลอตัวลงโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ขยายตัว
ในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงเมื่อครั้งที่อังกฤษกำลังจะเข้าสู่สงคราม
กับอิรัก นอกจากนี้รายงานของสมาคมนักการธนาคารของอังกฤษที่ระบุว่าจำนวนคำขอกู้ซื้อบ้านที่ได้รับอนุมัติในเดือน
ม.ค.48 ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีก็เป็นสัญญาณแสดงว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังชะลอตัวลง รายงาน
ดังกล่าวข้างต้นได้สร้างความกังวลให้ ธ.กลางอังกฤษว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้
อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะรอจนถึงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ซึ่งจะได้ภาพรวมเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น
จึงจะตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เมื่อปีที่แล้ว
ก็ชะลอตัวลงเช่นเดียวกันก่อนที่จะกลับมาขยายตัวดังเดิม (รอยเตอร์)
4. PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ระดับ 51.7 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 28 ก.พ.48 The NTC Research/Nomura/JMMA เปิดเผยผลสำรวจ Purchasing
Managers Index (PMI) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.48 หลังปรับตัวเลขทางฤดูกาลแล้วว่าอยู่ที่ระดับ 51.7 เพิ่มขึ้น
จากระดับ 50.9 ในเดือนก่อน และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ ก่อนหน้าเดือน ม.ค.48 ตัวเลข
PMI ซึ่งแสดงถึงกิจกรรมการผลิตนั้น ตกอยู่ในระดับต่ำมาตลอดตั้งแต่เดือน ก.ค.47 โดยเคยอยู่ในระดับต่ำสุดใน
รอบ 18 เดือน เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาที่ระดับ 50.6 นอกจากนี้ ตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) (ที่แสดงถึง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพาการส่งออกของประเทศเป็นหลัก) เคยตกอยู่ในภาวะซบเซาเมื่อปี 46 แต่นักวิเคราะห์บางคน
เห็นว่า จีดีพีอาจฟื้นตัวแล้ว เนื่องจากตัวเลข PMI เมื่อเร็ว ๆ นี้สะท้อนให้เห็นว่าดีขึ้น ทั้งนี้ ตัวเลข PMI ที่ NTC
จัดทำขึ้นนั้น ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 350 คนในด้านผลผลิต ราคา และ
คำสั่งซื้อ เป็นมาตรฐานชี้วัด โดยหากตัวเลข PMI อยู่เหนือระดับ 50 แสดงถึงธุรกิจขยายตัว แต่หากอยู่ระดับต่ำ
กว่า 50 แสดงว่าธุรกิจอยู่ในช่วงหดตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ตัวเลข PMI ในเดือน ก.พ.ฟื้นตัวขึ้น
เนื่องจากความต้องการสินค้าญี่ปุ่นจาก สรอ.และจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าหมวดเครื่องจักรและส่วนประกอบ
อิเล็กทรอนิกส์ แต่ความต้องการสินค้าจากจีนมีความไม่แน่นอน (ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว
อย่างมาก แม้ว่าจะลดความร้อนแรงลงแล้วก็ตาม) เนื่องจากบ่อยครั้งที่คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกของผู้ส่งออกญี่ปุ่นจาก
จีนเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจ PMI ในเดือน ต.ค.45 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อ
ใหม่ ซึ่งชี้วัดถึงความต้องการสั่งซื้อสินค้าในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.0
จากระดับ 50.3 ในเดือนก่อน จากที่เคยชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือนก่อนหน้านี้ ส่วนดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นที่ระดับ
51.8 จากระดับ 50.6 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.พ. 48 25 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.427 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2369/38.5324 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 740.04/29.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 42.7 42.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.89*/15.59** 20.89*/15.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 23 ก.พ. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผลประกอบการกลุ่ม บล.งวดปี 47 กำไรสุทธิลดลง 28.2% จากการรวบรวมข้อมูลผลประกอบ
การงวดปี 2547 ของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พบว่า กำไรสุทธิปรับตัวลดลงทั้งระบบรวม 28.2% โดยมีเพียง
2 บริษัทเท่านั้นที่มีกำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 16.6% และ บล.
พัฒนสิน มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 197.8% โดยสาเหตุที่กำไรสุทธิของแต่ละ บล.ปรับตัวลดลง เป็นเพราะรายได้ค่านาย
หน้าค้าหลักทรัพย์ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากบรรยากาศการซื้อขายโดยรวมของตลาดหลักทรัพย์ที่มีความ
ผันผวนและมีปัจจัยลบที่บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุนบางส่วน ประกอบกับรายได้จากวาณิชธนกิจลดลง ซึ่งเป็นผลมา
จากการเลื่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯของลูกค้าบางราย สำหรับปี 48 นี้ ประเมินว่า กลุ่ม บล.จะมี
อัตราการเติบโตของกำไรประมาณ 13-16% โดยเป็นผลมาจากบรรยากาศการลงทุนที่เชื่อว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดย
คาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายทั้งปีอยู่ที่ 2.3 หมื่น ล.บาท สำหรับปัจจัยลบที่น่าจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายในปี
นี้คือ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย (ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.พลังงานยืนยันไม่ปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลภายในสัปดาห์นี้ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ก.
พลังงานจะยังไม่ปรับราคาน้ำมันดีเซลขึ้นภายในสัปดาห์นี้อย่างแน่นอน เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะ
สมของการปรับราคาให้มีผลกระทบต่อประชาชนรวมทั้งภาคธุรกิจโดยรวมน้อยที่สุด แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
ในตลาดโลกจะปรับเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 4.05 บาทต่อ
ลิตร หรือประมาณ 202 ล.บาทต่อวัน และเป็นเงินที่ชดเชยราคาน้ำมันดีเซลตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.47 จำนวน
62,416 ล.บาท และชดเชยน้ำมันเบนซินออกเทน 95 จำนวน 2,672 ล.บาท ออกเทน 91 จำนวน 4,302 ล.
บาท รวมเป็นเงินที่กองทุนน้ำมันชดเชยราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศทั้งเบนซินและดีเซลไปแล้วทั้งสิ้น 69,391 ล.
บาท (โลกวันนี้)
3. การท่องเที่ยวจังหวัดฝั่งอันดามันในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้น 10-15% จากเดือนก่อน นาย
เจริญ วังอนานนท์ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดนักท่อง
เที่ยวในกลุ่มคนไทยเฉพาะในจังหวัดฝั่งอันดามันล่าสุด (เดือน ก.พ.48) มีจำนวนเพิ่มขึ้น 10-15% เมื่อเทียบกับ
ช่วงหลังเกิดเหตุสึนามิ (เดือน ม.ค.48) ที่จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง 95-100% ซึ่งการกลับมาท่องเที่ยวของคน
ไทยในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ประกอบการนำเที่ยวและสายการบินต่างจัดแพกเกจทัวร์ในราคาที่เหมาะสม รวม
ทั้งขยายตลาดสู่ตลาดระดับกลางและล่างให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การท่องเที่ยวที่ซบเซาในช่วงหลังเหตุการณ์สึนามิ
ส่งผลให้สูญเสียรายได้หมุนเวียนมากกว่า 1,000 ล.บาท เนื่องจากช่วงเดือน ธ.ค.-ม.ค. เป็นช่วงฤดูแห่งการ
ท่องเที่ยว (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าราคาที่อยู่อาศัยในปี 48 จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-10% จากปี 47 ประธานกรรมการ
บริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 48 ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
นโยบายเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิและสาธารณูปโภคต่างๆ ของรัฐบาล และการสร้างที่อยู่อาศัยของเอกชนที่เพิ่ม
ขึ้น ทำให้เกิดความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันกับประเทศใหญ่ในเอเชีย ได้แก่ จีน
อินเดีย ทำให้วัสดุก่อสร้างหลักเริ่มขาดแคลน และราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี 46 ดังนั้น ราคาที่อยู่
อาศัยซึ่งมีต้นทุนหลักมาจากค่าก่อสร้างย่อมมีราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยคาดว่าราคาที่อยู่อาศัยในปี 48 จะเพิ่มขึ้น
จากปี 47 อีกประมาณ 5-10% ตั้งแต่ประมาณกลางปี 48 เป็นต้นไป หลังจากราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ต้นทุนสินค้าและ
บริการต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นุทนเก่าที่สร้างไว้ขายหมดไป ซึ่งในปี 48 ราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ 2.058 ล.บาท
ปี 46 ขยับมาอยู่ที่ 2.708 ล.บาท และในปี 47 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.78 ล.บาท (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 จะเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.48 สถาบัน IFO ของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีในปี 48 จะเติบโตเพียงร้อยละ 1.2 ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 1.6
ทั้งนี้ ในปี 47 เยอรมนีมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 โดยจีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.6 แต่จาก
การที่เศรษฐกิจหดตัวลงอย่างมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 47 ทำให้มีการคาดการณ์ในด้านลบเพิ่มมากขึ้นเกี่ยว
กับเศรษฐกิจในปีนี้ อย่างไรก็ตาม IFO ค่อนข้างแน่ใจว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะเติบโตอยู่ในกลุ่มต่ำสุดของ
ประเทศในแถบยุโรปกลางและตะวันตก โดยคาดว่าอัตราคนว่างงานในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.6 ล้านคน สูงกว่าที่
รัฐบาลคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 4.53 ล้านคน ซึ่งสาเหตุมาจากความล่าช้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งนี้ คาด
ว่าตัวเลขคนว่างงานที่จะประกาศในวันอังคารนี้จะสูงสุดเป็นสถิติใหม่หลังจากข้อมูลที่ยังไม่ปรับตัวเลขในเดือน ม.ค.47
สูงถึง 5 ล้านคน ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อน
คาดว่า ยอดรวมตัวเลขคนว่างงานของเยอรมนีเดือน ก.พ.48 จะเพิ่มขึ้น 90,000 คน (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 25 ก.พ.48 สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้น
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในเดือนก่อน และหากเทียบต่อเดือนเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นส่งผลให้ต้นทุนราคาอาหารและพลังงานเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม นัก
วิเคราะห์ได้ประมาณการเบื้องต้นว่า อัตราเงินเฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปเดือน ม.ค.48 จะกลับลดลง ส่วนเงิน
เฟ้อของประเทศในกลุ่มประเทศยุโรป 12 ประเทศจะอยู่เหนือกว่าที่ ธ.กลางยุโรปกำหนดเป้าหมายไว้ (กำหนดไว้
ต่ำกว่าร้อยละ 2.0) ทั้งนี้ แม้ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมนีจะสูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ประมาณ
การไว้ครั้งแรก แต่ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับตัวเลขเบื้องต้นที่คำนวณจาก 6 เมืองใหญ่ในเยอรมนี ขณะเดียว
กัน ตัวเลขเงินเฟ้อของเบลเยียม (ที่สำนักงานสถิติเยอรมนีจัดทำเครื่องชี้วัดแนวโน้มราคาที่ตรงข้ามกับเขต
เศรษฐกิจยุโรปเป็นครั้งแรก) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67 ในเดือน ก.พ.48 เทียบต่อเดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.57 ทั้งนี้ Index of consumer prices harmonized (HICP) ของเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
และ 0.3 เมื่อเทียบต่อปีและต่อเดือนตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข HICP ในสหภาพยุโรป (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของอังกฤษขยายตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ต่ำกว่าที่คาดไว้ในขณะที่การใช้
จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 ก.พ.48 สนง.
สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงาน GDP ของอังกฤษในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาส หลัง
จากขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ปี 47 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยหากเทียบต่อ
ปี GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ส่งผลให้เศรษฐกิจของอังกฤษในปี 47 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี
ในขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนกลับชะลอตัวลงโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ขยายตัว
ในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงเมื่อครั้งที่อังกฤษกำลังจะเข้าสู่สงคราม
กับอิรัก นอกจากนี้รายงานของสมาคมนักการธนาคารของอังกฤษที่ระบุว่าจำนวนคำขอกู้ซื้อบ้านที่ได้รับอนุมัติในเดือน
ม.ค.48 ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีก็เป็นสัญญาณแสดงว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังชะลอตัวลง รายงาน
ดังกล่าวข้างต้นได้สร้างความกังวลให้ ธ.กลางอังกฤษว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้
อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะรอจนถึงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ซึ่งจะได้ภาพรวมเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น
จึงจะตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เมื่อปีที่แล้ว
ก็ชะลอตัวลงเช่นเดียวกันก่อนที่จะกลับมาขยายตัวดังเดิม (รอยเตอร์)
4. PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ระดับ 51.7 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 28 ก.พ.48 The NTC Research/Nomura/JMMA เปิดเผยผลสำรวจ Purchasing
Managers Index (PMI) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.48 หลังปรับตัวเลขทางฤดูกาลแล้วว่าอยู่ที่ระดับ 51.7 เพิ่มขึ้น
จากระดับ 50.9 ในเดือนก่อน และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ ก่อนหน้าเดือน ม.ค.48 ตัวเลข
PMI ซึ่งแสดงถึงกิจกรรมการผลิตนั้น ตกอยู่ในระดับต่ำมาตลอดตั้งแต่เดือน ก.ค.47 โดยเคยอยู่ในระดับต่ำสุดใน
รอบ 18 เดือน เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาที่ระดับ 50.6 นอกจากนี้ ตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) (ที่แสดงถึง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่พึ่งพาการส่งออกของประเทศเป็นหลัก) เคยตกอยู่ในภาวะซบเซาเมื่อปี 46 แต่นักวิเคราะห์บางคน
เห็นว่า จีดีพีอาจฟื้นตัวแล้ว เนื่องจากตัวเลข PMI เมื่อเร็ว ๆ นี้สะท้อนให้เห็นว่าดีขึ้น ทั้งนี้ ตัวเลข PMI ที่ NTC
จัดทำขึ้นนั้น ได้จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 350 คนในด้านผลผลิต ราคา และ
คำสั่งซื้อ เป็นมาตรฐานชี้วัด โดยหากตัวเลข PMI อยู่เหนือระดับ 50 แสดงถึงธุรกิจขยายตัว แต่หากอยู่ระดับต่ำ
กว่า 50 แสดงว่าธุรกิจอยู่ในช่วงหดตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ตัวเลข PMI ในเดือน ก.พ.ฟื้นตัวขึ้น
เนื่องจากความต้องการสินค้าญี่ปุ่นจาก สรอ.และจีนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าหมวดเครื่องจักรและส่วนประกอบ
อิเล็กทรอนิกส์ แต่ความต้องการสินค้าจากจีนมีความไม่แน่นอน (ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว
อย่างมาก แม้ว่าจะลดความร้อนแรงลงแล้วก็ตาม) เนื่องจากบ่อยครั้งที่คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกของผู้ส่งออกญี่ปุ่นจาก
จีนเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจ PMI ในเดือน ต.ค.45 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อ
ใหม่ ซึ่งชี้วัดถึงความต้องการสั่งซื้อสินค้าในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.0
จากระดับ 50.3 ในเดือนก่อน จากที่เคยชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือนก่อนหน้านี้ ส่วนดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นที่ระดับ
51.8 จากระดับ 50.6 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.พ. 48 25 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.427 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2369/38.5324 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 740.04/29.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 42.7 42.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.89*/15.59** 20.89*/15.59** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 23 ก.พ. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--