สรุปภาวะการค้าไทย-จีนระหว่างเดือน ม.ค.- ก.ย.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 8, 2005 15:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. จีนเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 3 ของโลก  ในปี 2547 มูลค่าการนำเข้าประมาณร้อยละ 
6.40 ของการนำเข้าในตลาดโลก
2. การนำเข้าของจีนในเดือน ม.ค.-ก.ย 2548 มีมูลค่ารวม 478,062.507 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.14
3. แหล่งนำเข้าสำคัญของจีน ในเดือนมกราคม — กันยายน 2548
- ญี่ปุ่น มูลค่า 72,769.910 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 15.22 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53
- เกาหลีใต้ มูลค่า 55,776.446 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 11.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.38
- ไต้หวัน มูลค่า 52,967.410 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 11.08 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.76
- สหรัฐฯ มูลค่า 36,193.352 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 7.57 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.38
ไทยอยู่อันดับที่ 11 มูลค่า 10,052.785 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 2.10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.08
4. เศรษฐกิจของจีนปี 2548 ทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.2
5. จีนได้เปรียบดุลการค้ากับทั่วโลกในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2548 มูลค่า 68,542.114
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,335.89 ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 มูลค่า 81,176.900
ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ขาดดุลการค้ากับไต้หวันเป็นอันดับ 1 มูลค่า 41,022.188 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
7.94 สำหรับกับประเทศไทยจีนขาดดุลเป็นมูลค่า 4,256.715 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.35
6. จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 8.05 ของมูลค่าการส่งออก
ช่วง ม.ค.-ก.ย. ปี 2548 หรือมูลค่า 6,598.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.90 ในช่วงระยะเดียวกัน
กับปี 2547
7. สินค้าไทยส่งออกไปจีน 25 อันดับแรก ม.ค.-ก.ย. ปี 2548 มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 87.44
ของมูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.63 ในจำนวนนี้มีสินค้าส่งออกที่มีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นสูง ดังนี้
- เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ คือ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
- เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 มี 7 รายการ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
น้ำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ทองแดงและของทำด้วยทองแดง
มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- ลดลงมากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ ได้แก่ น้ำมันดิบ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปจีนที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง (เพิ่มสูงขึ้น)
ตลาด อันดับ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ % สัดส่วน ร้อยละ2548
ที่ ม.ค.-ก.ย47 ม.ค.-ก.ย48 เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง 2547 ม.ค.-ก.ย
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 100 มี 1 รายการ
- เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 8 90.80 207.71 116.91 128.76 1.78 3.15
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 50 มี 7 รายการ
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1 986.24 1800.88 814.64 82.60 21.30 27.29
- น้ำมันดิบ 4 255.93 407.16 151.23 59.09 3.86 6.17
- แผงวงจรไฟฟ้า 7 155.83 265.17 109.34 70.17 3.18 4.02
- หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 13 54.79 103.06 48.27 88.09 1.27 1.56
- ผลิตภัณฑ์ยาง 14 60.43 94.65 34.22 56.64 1.20 1.43
- ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 16 40.28 75.78 35.50 88.15 0.80 1.15
- มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 17 45.89 75.15 29.26 63.75 0.90 1.14
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
1) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (HS.72)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 20,686.740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
12.16 มีการนำเข้าจาก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 15 สัดส่วนร้อยละ 1.17 มูลค่า 242.462 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.59
2) เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (HS.8471)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 12,630.900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
23.44 มีการนำเข้าจาก จีน ไทย ฟิลิปปินส์ เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 15.29 มูลค่า 1,931.056 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.02
3) น้ำมันดิบ (HS.2709)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 34,296.382 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
45.28 มีการนำเข้าจาก ซาอุดิอาระเบีย แองโลลา อิหร่าน เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 16 สัดส่วนร้อยละ 1.09 มูลค่า 374.045 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.27
4) แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 56,993.215 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
31.04 มีการนำเข้าจาก ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.22 มูลค่า 1,266.189 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.74
5) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (HS.8504)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 3,648.643 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
11.95 มีการนำเข้าจาก ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 8 สัดส่วนร้อยละ 3.32 มูลค่า 117.725 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.47
6) ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง (HS.40)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 3,940.426 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
11.82 มีการนำเข้าจาก ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 16.57 มูลค่า 652.994 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลดลงร้อยละ 9.81
7) ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง (HS.74)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 9,756.306 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
29.86 มีการนำเข้าจาก ชิลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 31 สัดส่วนร้อยละ 0.24 มูลค่า 23.184 ล้านเหรียญสหรัฐ
8) มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (HS.8501)
การนำเข้าของจีน (ม.ค-ก.ย 48) มูลค่า 1,652.022 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92
มีการนำเข้าจาก จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี เป็นหลัก
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 4 สัดส่วนร้อยละ 7.15 มูลค่า 118.138 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30.14
8. ผลไม้ไทยในประเทศจีน ไทยได้มีข้อตกลงเขตการค้าเสรีสินค้าผักผลไม้กับจีน ซึ่งมีผลตั้งแต่
1 ตุลาคม 2546 จากข้อมูลสถิติการนำเข้าผลไม้ในจีนระหว่างเดือน มกราคม-กันยายน 2548 มีการนำเข้าจาก
ตลาดโลกมูลค่า 488.018 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 588 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วน
ร้อยละ 32.23 มูลค่า 157.268 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.86 รองลงไปเป็นการนำเข้าจากสหรัฐ
ชิลี ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และนิวซีแลนด์ผลไม้ที่จีนนำเข้าจากไทยได้แก่ ลำใยสด ทุเรียน มังคุด ลำใยแห้ง ลิ้นจี่
กล้วย เงาะ และอื่นๆการแข่งขัน การส่งออกผลไม้ไทยไปจีนขณะนี้ยังมีคู่แข่งที่ค่อนข้างน้อย แต่ยังไม่ควรวางใจ
เนื่องจากขณะนี้เวียดนามกำลังขยายการส่งออกลำใยสดไปจีนเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 40 แม้จะมีสัดส่วนที่
น้อยกว่าไทยมาก ส่วนเงาะไทยต้องแข่งขันกับเวียดนาม สำหรับทุเรียน มังคุด และลิ้นจี่ไทยสามารถครองตลาด
นำเข้าของจีนเป็นอันดับหนึ่ง
9. ไทยนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน ในช่วงม.ค-ก.ย 2548 มูลค่า 8,310.23 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.33 โดยเป็นสินค้าทุนร้อยละ 43.67 รองลงมาเป็นสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปร้อยละ
42.42 สินค้าบริโภคร้อยละ 12.32 สินค้าเชื้อเพลิง สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งและสินค้าอื่นๆ
รวมกันอีกร้อยละ 1.58
10.การค้าระหว่างประเทศไทยกับจีนช่วง ม.ค.-ก.ย 2548 มีมูลค่า 14,908.85 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เป็นการส่งออก 6,598.62 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้า 8,310.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเสีย
เปรียบดุลการค้ากับจีนเป็นมูลค่า 1,711.61 ล้านเหรียญสหรัฐ
ข้อคิดเห็น:
1. จีนได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 ระยะ 5 ปี โดยมีแผนปรับปรุงมาตรฐาน
ในการใช้ชีวิตของประชาชน ทั้งด้านที่อยู่อาศัย การสื่อสาร การศึกษา วัฒนธรรม สาธารณสุข สภาพแวดล้อมทั่วไป
ให้ดีขึ้นตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจของประชาชนให้มีรายได้ต่อหัวเป็น 2 เท่า จากระดับรายได้ 854 เหรียญสหรัฐ
เมื่อปี 2543 ให้เป็น 1,700 เหรียญสหรัฐภายในปี 2553 รวมทั้งการประหยัดพลังงานควบคู่ไปด้วย ส่วนด้าน
การผลิต มุ่งเน้นการสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถแข่งขันได้ในระหว่างประเทศ ด้านการค้ามีเป้าหมายขยาย
ตลาดการค้าเพื่อรักษาการเติบโตอย่างยั่งยืน
การที่จีนมีเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ย่อม
จะส่งผลให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่วนด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่สามารถแข่งขันได้ย่อม
จะมีผลให้จีนก้าวหน้าและเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเฉพาะด้านมากขึ้น
2. เศรษฐกิจจีนในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ขยายตัวร้อยละ 9.4 โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศที่ 10.627 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) แม้รัฐบาลจีนจะพยายามชะลอ
การเติบโตด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การปรับอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน ตลอดจนเพิ่ม
ความเข้มงวดด้านสินเชื่อ รวมทั้งพยายามจำกัดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ เหล็ก อะลูมิเนียมและซีเมนต์
เป็นต้น
แม้เศรษฐกิจของจีนจะเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ในขณะเดียวกันจีนก็ประสบปัญหาไม่สมดุลภายใน
ประเทศ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในเมืองและชนบท โดยในปี 2004 รายได้ระหว่างชาวเมืองและชาวชนบทขยาย
ห่างขึ้นเป็น 3.2 : 1 เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 1978 ที่สัดส่วน 2.6 : 1 นอกจากนี้ยังมีปัญหาชาวชนบทเข้ามาหางาน
ทำในเมืองมากขึ้น
อย่างไรก็ตามองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ได้ดำเนินการสำรวจ
เศรษฐกิจของจีนภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลจีน และได้รายงานผลว่า การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจังของจีน
จะส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก และมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลกในอีก 5 ปี
ข้างหน้า โดยภาคเอกชนเป็นตัวสร้าง GDP นอกภาคเกษตรระหว่าง 57-65%
3. ด้านการค้า กระทรวงพาณิชย์จีน ได้คาดการณ์มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของจีนปี 2548 จะ
มีมูลค่าถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และจะได้เปรียบดุลการค้าประมาณ 90,000-100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
พร้อมคาดว่าการส่งออกของจีนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 30 (มูลค่า 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ส่วนการนำเข้า
จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 18 (มูลค่า 660,000 ล้านเหรียญสหรัฐ)
การที่มูลค่าการค้าและมูลค่าการได้เปรียบดุลการค้าของจีนเพิ่มขึ้นในอัตราสูง จะเป็นแรง-กดดันจาก
ประเทศคู่ค้า ให้จีนปรับค่าเงินหยวนเพิ่มขึ้นและจะมีข้อพิพาททางการค้ามากขึ้นกับประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะสหรัฐ
4. เกี่ยวกับเงินหยวน จากข้อมูลของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านนโยบายการเงิน ธนาคารจีน
ได้ให้ความเห็นว่า รัฐบาลควรปล่อยให้ค่าเงินหยวนมีช่วงแกว่งตัวมากกว่านี้ รวมทั้งปล่อยให้มีความยืดหยุ่นและ
ความผันผวนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ผู้ส่งออกจะต้องเรียนรู้วิธีการรับมือกับความผันผวนของค่าเงิน
จีนยังคงตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มนักการเมืองสหรัฐ ที่กล่าวหารัฐบาลกรุงปักกิ่งว่ากดค่าเงิน
ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเครื่องมือหนุนให้มีมูลค่าการได้เปรียบดุลการค้ามหาศาล
5. การลงทุนในต่างประเทศของจีน จากรายงานข่าวของไชน่านิวส์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548
เกี่ยวกับข้อมูลการสำรวจของคณะกรรมการส่งเสริมการค้าของจีน และกองทุนเอเซียแปซิฟิกแห่งแคนาดา
(เอพีเอฟ) พบว่า 23% ของกลุ่มบริษัทจีนมีแผนเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศ
อุตสาหกรรมที่บริษัทจีนมุ่งไปลงทุนในต่างประเทศมากที่สุด ได้แก่ การพาณิชย์ อุตสาหกรรมการผลิต
และอุตสาหกรรมการขุด ขนส่งและแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรม
ยานยนต์ - ชิ้นส่วนรถยนต์ อาหารเครื่องดื่มและเครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นภาคธุรกิจที่นักลงทุนจีนสนใจที่จะขยายการ
ลงทุนในต่างประเทศมากที่สุด อย่างไรก็ตามในรายงานสำรวจพบว่ามีหลากหลายอุตสาหกรรมที่นักลงทุนจีนสนใจ
ไปลงทุนในต่างประเทศ
ผลการสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเซียกำลังเป็นเป้าหมายการลงทุนหลักของบริษัทจากจีน
รองลงมาได้แก่ ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
มุลค่าการลงทุนในต่างประเทศของจีนปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นที่
คาดหมายว่าในอนาคตจีนจะสามารถขึ้นเป็นผู้นำด้านการลงทุนในต่างประเทศ และเป็นที่ต้อนรับของหลายประเทศ
ในขณะเดียวกันจะเป็นที่หวั่นเกรงของบางประเทศเช่นกัน
สำหรับการลงทุนของจีนในประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรรมการส่งเสริม-การลงทุน
ในช่วงมกราคม - กรกฎาคม 2548 มีมูลค่าการลงทุนถึง 8,867 ล้านบาทเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าของการลงทุนใน
ช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 2,112 ล้านบาท การลงทุนของจีนในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ใน
อุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รองลงมาเป็นอุตสาห-กรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก
ส่วนการลงทุนของไทยในจีนส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนที่เข้าไปลงทุนในกิจการหลายประเภท
เช่น กลุ่มเจียไต๋ สหยูเนี่ยน เป็นต้น
เลขาธิการบีโอไอ ให้ความเห็นว่า โอกาสการลงทุนระหว่างไทย - จีน ยังมีโอกาสสูง โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เนื่องจากทั้งสองประเทศมีศักยภาพพร้อมรองรับ
การลงทุนในโครงสร้างขนาดใหญ่จากจีน เช่น อุตสาหกรรมเหล็กอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนจีนหลายรายสนใจ
เข้ามาลงทุนในระบบโลจิสติกส์ กิจกรรมโรงแรมและกิจการห้องเย็น เป็นต้น
6. หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ รายงานว่าสหรัฐฯ และจีนได้บรรลุข้อตกลงเรื่องการนำเข้าสินค้า
เสื้อผ้าและสิ่งทอจากจีนเบื้องต้นแล้ว คาดว่าจะลงนามข้อตกลงดังกล่าวในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคม 2548
ซึ่งจะสามารถลดปัญหาขัดแย้งด้านการค้าสิ่งทอของทั้งสองประเทศ โดยข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่
1 มกราคม 2549 - ปี 2551 ตามข้อเสนอของฝ่ายจีน ในขณะที่ตัวแทนของรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการรักษาระดับ
การนำเข้าสิ่งทอให้อยู่ประมาณ 7.5% ต่อปี และในปี 2549 เสนอเพิ่มการนำเข้าสินค้าสิ่งทอสำคัญจากจีน 8-10%
จากนั้นเพิ่มเป็น 13% ในปี 2550 และขยายเพิ่มเป็น 17% ในปี 2551 จึงคาดว่าสหรัฐฯ จะนำเข้าสิ่งทอจาก
แหล่งผลิตอื่นรวมทั้งไทยเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ