รัฐมนตรีกันตธีร์กล่าวย้ำความสำเร็จของการประชุมเอเชียตะวันออกของการประชุม สุดยอดเอเชียตะวันออก ซึ่งที่ประชุมสุดยอดผู้นำจะเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคง การค้า การลงทุน พลังงานทดแทน ในขณะที่ไทยได้เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ทำความตกลงยกเว้นวีซ่ากับรัสเซีย
วันนี้ (14 ธ.ค. 48) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังจากเดินทางกลับจากการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุม สุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ EAS มีผลสรุปออกมาดีมาก โดยนายกรัฐมนตรีของไทยได้เสนอต่อประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศพันธมิตรรวม 16 ประเทศให้เวทีการประชุมดังกล่าวมีการหารือแบบ top down ซึ่งผู้นำสามารถยกประเด็นขึ้นหารือระหว่างกันโดยไม่มีการเตรียมการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่ และรัฐมนตรีตามที่เคยปฏิบัติกัน อีกทั้งประเด็นที่ยกขึ้นหารือจะเน้นผลประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาค เน้นวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของผู้นำ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคว่าจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร โดยหัวข้อที่ยกขึ้นหารือในการประชุมฯ ครั้งนี้คือประเด็นด้านความมั่นคง การค้า การลงทุน สังคม วัฒนธรรม ความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน และไข้หวัดนก นอกจากนั้น ผู้นำยังเห็นควรให้มีการประชุมเป็นประจำทุกปี
สำหรับการพิจารณารับสมาชิกใหม่เข้าร่วมการประชุม EAS นั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าประเทศดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการคือ 1. จะต้องเป็นประเทศคู่เจรจา ASEAN 2. จะต้องเข้าร่วมในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation: TAC) และ 3. จะต้องมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น (substantive relations) กับอาเซียน ทั้งนี้ที่ประชุมอาเซียนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีจะเป็นผู้พิจารณาเรื่องการรับสมาชิกใหม่
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า ไทยจะสนับสนุนรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกต่อไปโดยพิจารณาจากกรอบคุณสมบัติ 3 ประการข้างต้น นอกจากนั้น รัสเซียมีบทบาทสำคัญในภูมิภาค และ EAS ควรเป็นเวทีที่เปิดกว้าง ทั้งนี้ เกาหลีใต้ได้เสนอให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมการประชุม EAS ด้วยเช่นกัน ฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพการประชุม EAS ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อไป
ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวย้ำถึง ความสำเร็จในการเจรจาระหว่างไทย-รัสเซียซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างกัน ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะส่งผลด้านการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทย-รัสเซีย ทั้งนี้ ไทยและรัสเซียจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ (blacklist) เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมข้ามชาติต่อไป
ต่อข้อถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกฏบัตรอาเซียน ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ไทยและสิงคโปร์ ได้เสนอให้อาเซียนก้าวสู่ ASEAN Community ภายในปี 2015 แทนปี 2020 ที่กำหนดไว้แต่เดิม โดยที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ Eminent Persons Group (EPG) ยกร่างเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ (Forward Looking Document) ขึ้นเพื่อให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพิจารณาในการประชุมที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพครั้งต่อไปในปีหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
วันนี้ (14 ธ.ค. 48) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังจากเดินทางกลับจากการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุม สุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ EAS มีผลสรุปออกมาดีมาก โดยนายกรัฐมนตรีของไทยได้เสนอต่อประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศพันธมิตรรวม 16 ประเทศให้เวทีการประชุมดังกล่าวมีการหารือแบบ top down ซึ่งผู้นำสามารถยกประเด็นขึ้นหารือระหว่างกันโดยไม่มีการเตรียมการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่ และรัฐมนตรีตามที่เคยปฏิบัติกัน อีกทั้งประเด็นที่ยกขึ้นหารือจะเน้นผลประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาค เน้นวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของผู้นำ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคว่าจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร โดยหัวข้อที่ยกขึ้นหารือในการประชุมฯ ครั้งนี้คือประเด็นด้านความมั่นคง การค้า การลงทุน สังคม วัฒนธรรม ความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน และไข้หวัดนก นอกจากนั้น ผู้นำยังเห็นควรให้มีการประชุมเป็นประจำทุกปี
สำหรับการพิจารณารับสมาชิกใหม่เข้าร่วมการประชุม EAS นั้น ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าประเทศดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการคือ 1. จะต้องเป็นประเทศคู่เจรจา ASEAN 2. จะต้องเข้าร่วมในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation: TAC) และ 3. จะต้องมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น (substantive relations) กับอาเซียน ทั้งนี้ที่ประชุมอาเซียนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีจะเป็นผู้พิจารณาเรื่องการรับสมาชิกใหม่
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวด้วยว่า ไทยจะสนับสนุนรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกต่อไปโดยพิจารณาจากกรอบคุณสมบัติ 3 ประการข้างต้น นอกจากนั้น รัสเซียมีบทบาทสำคัญในภูมิภาค และ EAS ควรเป็นเวทีที่เปิดกว้าง ทั้งนี้ เกาหลีใต้ได้เสนอให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมการประชุม EAS ด้วยเช่นกัน ฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพการประชุม EAS ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อไป
ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวย้ำถึง ความสำเร็จในการเจรจาระหว่างไทย-รัสเซียซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างกัน ซึ่งความตกลงดังกล่าวจะส่งผลด้านการขยายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทย-รัสเซีย ทั้งนี้ ไทยและรัสเซียจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ (blacklist) เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมข้ามชาติต่อไป
ต่อข้อถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกฏบัตรอาเซียน ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ไทยและสิงคโปร์ ได้เสนอให้อาเซียนก้าวสู่ ASEAN Community ภายในปี 2015 แทนปี 2020 ที่กำหนดไว้แต่เดิม โดยที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ Eminent Persons Group (EPG) ยกร่างเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ (Forward Looking Document) ขึ้นเพื่อให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพิจารณาในการประชุมที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพครั้งต่อไปในปีหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-