ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ฐานะการดำเนินงานของระบบ ธพ.ไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 48 ยังคงดีขึ้นต่อเนื่อง สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานฐานะการดำเนินงานและฐานะการเงินของ
ระบบ ธพ.ไทย ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 48 ว่า ยังคงดีขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และ
หากเทียบสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝาก พบว่าการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ โดยอยู่ที่
88.49% อย่างไรก็ตาม การทำกำไรของระบบ ธพ.ไทยยังคงมาจากรายได้อัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก ทั้งนี้ ในวันที่
30 ก.ย.48 ระบบ ธพ.มีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) อยู่ที่ 13.23% สูงกว่าเกณฑ์ของ ธปท.
ที่ 8.5% เพิ่มขึ้นจาก 12.15% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย ธพ.ขนาดใหญ่ 5 แห่ง คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุง
ไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กสิกรไทย และ ธ.ทหารไทย มีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 13.62% ธพ.
ขนาดกลาง 3 แห่ง คือ ธ.นครหลวงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ไทยธนาคาร มีสัดส่วนเฉลี่ย 10.85% ส่วน
ธพ.ขนาดเล็ก 5 แห่ง คือ ธ.เอเชีย ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) ธ.ยูโอบีรัตนสิน ธ.ธนชาต และ ธ.ทิสโก้
มีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 12.02% นอกจากนี้ ณ สิ้นเดือน ก.ย.มีเงินสำรองที่ระบบ ธพ.กัน
ไว้ทั้งหมด 32,041 ล.บาท จากเงินสำรองที่พึงกันตามเกณฑ์ 24,551 ล.บาท ในขณะที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
เฉลี่ย 11.07% ของสินเชื่อรวม (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ยืนยันไม่มีการออกมาตรการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพิ่มเติม ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่มีกระแสข่าวว่า ก.คลัง ร่วมกับ ธปท.ในการศึกษาเพิ่มเติมมาตรการ
เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทยว่า ไม่มีการออกมาตรการเพิ่มเติมใดๆ มาตรการในการรองรับการ
เคลื่อนย้ายเงินทุนของ ธปท.ในขณะนี้ ครบถ้วนดีอยู่แล้ว โดยการนำเข้าเงินทุนในขณะนี้สามารถทำได้ง่ายขึ้น ส่วน
มาตรการเกี่ยวกับเงินทุนไหลออกที่ผ่านมา ธปท.ก็ได้มีมาตรการที่อนุญาตให้กองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศได้
มา 3 ปีแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงมีจุดอ่อนเนื่องจากสัดส่วนนักลงทุนรายใหญ่ไม่มาก นายทนง พิทยะ รม
ว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรครั้งที่ 4 หรือ SET in the city ว่า ปัจจุบันสัด
ส่วนของนักลงทุนสถาบันมีเพียง 10% ผลตอบแทนการลงทุน 0.5 เท่า และนักลงทุนต่างประเทศมีเพียง 27% ผล
ตอบแทนการลงทุน 2 เท่า สะท้อนให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีจุดอ่อน เพราะการที่สัดส่วนนักลงทุนรายย่อย
มากกว่านักลงทุนสถาบัน อาจทำให้ตลาดไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องหาแนวทางลดสัดส่วนนักลง
ทุนรายย่อยและเพิ่มนักลงทุนสถาบันให้มากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานของสรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 48 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ย. ยอด
ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกลดลงอย่างมากถึง 25,000 คนอยู่ที่ระดับ 303,000 คน ลดลงจาก
328,000 คนในสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานรวมลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.
ย. ก่อนหน้านั้นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่ายอดขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกจะลดลงอยู่ที่ระดับ 322,000
จากระดับ 326,000 คน เมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 พ.ย.ทั้งนี้ในจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเนื่องจาก
ผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา และริตามีจำนวนประมาณ 10,000 คน ส่งผลให้ยอดการขอรับสวัสดิการว่าง
งานรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ระดับ 545,000 คน (ตัวเลขก่อนการปรับฤดูกาล) ส่วนตัวเลขยอดขอรับสวัสดิการการว่างงาน
เฉลี่ย 4 สัปดาห์เมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ย. อยู่ที่ระดับ 321,500 คนลดลงจากระดับ 335,000 คนเมื่อ
สัปดาห์ก่อนหน้า ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 ทั้งนี้ตัวเลขเฉลี่ย 4 สัปดาห์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่อง
วัดกิจกรรมตลาดแรงงานได้ดีกว่าตัวเลขรายสัปดาห์ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือนต.ค. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
วันที่ 17 พ.ย. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่าในเดือนต.ค. ยอดค้าปลีกของอังกฤษเติบโตจาก
เดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 1.5 ขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย. 48 และขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 บ่งชี้ว่าภาคค้าปลีกจะฟื้นตัวจากที่เคยชะลอตัวอย่างมาก ซึ่งสอด
คล้องกับที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ในปีนี้ผู้บริโภคของอังกฤษได้รับผลกระทบจากภาวะราคาบ้าน
ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายผู้บริโภค อย่างไรก็ตามตัวเลขภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชี้ว่า
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้วซึ่งธ.กลางอังกฤษคาดว่าการใช้จ่ายผู้บริโภคในระยะสั้นจะยังคงไม่ขยายตัวมากนักแต่กำลัง
ฟื้นตัวอย่างช้าๆจากแรงสนับสนุนของตลาดที่อยู่อาศัย (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.3 - 9.4 ต่อปี รายงาน
จากปักกิ่ง เมื่อ 17 พ.ย.48 สนง.สถิติแห่งชาติของจีนคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.3 ถึง
9.4 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 9 ต่อปีเป็นไตรมาสที่ 10 ติดต่อกัน โดยคาดว่าเงิน
ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26 ต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ต่อปีในช่วงเดือน ม.ค.
ถึง ก.ย.48 ที่ผ่านมา โดยจีนตั้งเป้าหมายจะลดสัดส่วนของเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรให้เหลือร้อยละ 40 ของ
GDP ภายในปี 53 และคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีในระหว่างปี 49 ถึงปี 53 และชะลอตัว
ลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปีในระหว่างปี 54 ถึงปี 63 โดยเศรษฐกิจจีนขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.4 ต่อปีนับตั้งแต่
จีนปฏิรูประบบเศรษฐกิจในปี 21 นอกจากนี้ยังคาดว่ามูลค่าการค้าของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านล้านดอลลาร์
สรอ.ภายในปี 53 จาก 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีนี้ โดยผู้ส่งออกของจีนกำลังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากภาระ
ต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนที่ไม่คงที่อีกต่อไปเมื่อเทียบเงินดอลลาร์ สรอ.และความเป็น
ไปได้ที่รัฐบาลจะตัดลดเงินสนับสนุนการส่งออก (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เทียบกับไตรมาสก่อนสูง
กว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 พ.ย.48 ก.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์รายงานเศรษฐกิจ
สิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เทียบกับไตรมาสก่อน มากกว่า 2 เท่าของอัตราร้อย
ละ 3.2 ต่อปีที่รัฐบาลคาดไว้เมื่อวันที่ 10 ต.ค.48 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ร้อยละ 6.3 ต่อปี และขยายตัวร้อย
ละ 7.0 ต่อปีเมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี ส่งผลให้รัฐบาลปรับเพิ่มอัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี และคาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 3 ถึง 5 ต่อปีสอดคล้องกับประมาณการของ ธ.กลางสิงคโปร์ ในขณะที่รอยเตอร์ประมาณการไว้ที่ร้อยละ
5.0 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากผลผลิตยาที่เพิ่มสูงขึ้นมากในเดือน ก.ย.48 ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตยาในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 ต่อปี โดยหลังจากหดตัวในไตรมาสแรกปีนี้ เศรษฐกิจสิงคโปร์ก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด
รัฐบาลได้ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ จากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 19 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 พ.ย. 48 17 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.191 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40. 9917/41.2087 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80611 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 672.63/ 11.13 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,300/9,400 9,250/9,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.12 50.93 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 50 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ย. 48 25.24*/22.69** 25.64*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ฐานะการดำเนินงานของระบบ ธพ.ไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 48 ยังคงดีขึ้นต่อเนื่อง สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานฐานะการดำเนินงานและฐานะการเงินของ
ระบบ ธพ.ไทย ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 48 ว่า ยังคงดีขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และ
หากเทียบสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝาก พบว่าการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ โดยอยู่ที่
88.49% อย่างไรก็ตาม การทำกำไรของระบบ ธพ.ไทยยังคงมาจากรายได้อัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก ทั้งนี้ ในวันที่
30 ก.ย.48 ระบบ ธพ.มีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) อยู่ที่ 13.23% สูงกว่าเกณฑ์ของ ธปท.
ที่ 8.5% เพิ่มขึ้นจาก 12.15% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย ธพ.ขนาดใหญ่ 5 แห่ง คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุง
ไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กสิกรไทย และ ธ.ทหารไทย มีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 13.62% ธพ.
ขนาดกลาง 3 แห่ง คือ ธ.นครหลวงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ไทยธนาคาร มีสัดส่วนเฉลี่ย 10.85% ส่วน
ธพ.ขนาดเล็ก 5 แห่ง คือ ธ.เอเชีย ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) ธ.ยูโอบีรัตนสิน ธ.ธนชาต และ ธ.ทิสโก้
มีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 12.02% นอกจากนี้ ณ สิ้นเดือน ก.ย.มีเงินสำรองที่ระบบ ธพ.กัน
ไว้ทั้งหมด 32,041 ล.บาท จากเงินสำรองที่พึงกันตามเกณฑ์ 24,551 ล.บาท ในขณะที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
เฉลี่ย 11.07% ของสินเชื่อรวม (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ยืนยันไม่มีการออกมาตรการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพิ่มเติม ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่มีกระแสข่าวว่า ก.คลัง ร่วมกับ ธปท.ในการศึกษาเพิ่มเติมมาตรการ
เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทยว่า ไม่มีการออกมาตรการเพิ่มเติมใดๆ มาตรการในการรองรับการ
เคลื่อนย้ายเงินทุนของ ธปท.ในขณะนี้ ครบถ้วนดีอยู่แล้ว โดยการนำเข้าเงินทุนในขณะนี้สามารถทำได้ง่ายขึ้น ส่วน
มาตรการเกี่ยวกับเงินทุนไหลออกที่ผ่านมา ธปท.ก็ได้มีมาตรการที่อนุญาตให้กองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศได้
มา 3 ปีแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงมีจุดอ่อนเนื่องจากสัดส่วนนักลงทุนรายใหญ่ไม่มาก นายทนง พิทยะ รม
ว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรครั้งที่ 4 หรือ SET in the city ว่า ปัจจุบันสัด
ส่วนของนักลงทุนสถาบันมีเพียง 10% ผลตอบแทนการลงทุน 0.5 เท่า และนักลงทุนต่างประเทศมีเพียง 27% ผล
ตอบแทนการลงทุน 2 เท่า สะท้อนให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีจุดอ่อน เพราะการที่สัดส่วนนักลงทุนรายย่อย
มากกว่านักลงทุนสถาบัน อาจทำให้ตลาดไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องหาแนวทางลดสัดส่วนนักลง
ทุนรายย่อยและเพิ่มนักลงทุนสถาบันให้มากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานของสรอ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 48 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ย. ยอด
ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกลดลงอย่างมากถึง 25,000 คนอยู่ที่ระดับ 303,000 คน ลดลงจาก
328,000 คนในสัปดาห์ก่อน ส่งผลให้ยอดขอรับสวัสดิการการว่างงานรวมลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.
ย. ก่อนหน้านั้นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่ายอดขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกจะลดลงอยู่ที่ระดับ 322,000
จากระดับ 326,000 คน เมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 พ.ย.ทั้งนี้ในจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเนื่องจาก
ผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา และริตามีจำนวนประมาณ 10,000 คน ส่งผลให้ยอดการขอรับสวัสดิการว่าง
งานรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ระดับ 545,000 คน (ตัวเลขก่อนการปรับฤดูกาล) ส่วนตัวเลขยอดขอรับสวัสดิการการว่างงาน
เฉลี่ย 4 สัปดาห์เมื่อสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ย. อยู่ที่ระดับ 321,500 คนลดลงจากระดับ 335,000 คนเมื่อ
สัปดาห์ก่อนหน้า ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 6 ทั้งนี้ตัวเลขเฉลี่ย 4 สัปดาห์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่อง
วัดกิจกรรมตลาดแรงงานได้ดีกว่าตัวเลขรายสัปดาห์ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือนต.ค. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
วันที่ 17 พ.ย. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่าในเดือนต.ค. ยอดค้าปลีกของอังกฤษเติบโตจาก
เดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 1.5 ขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย. 48 และขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 บ่งชี้ว่าภาคค้าปลีกจะฟื้นตัวจากที่เคยชะลอตัวอย่างมาก ซึ่งสอด
คล้องกับที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ในปีนี้ผู้บริโภคของอังกฤษได้รับผลกระทบจากภาวะราคาบ้าน
ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายผู้บริโภค อย่างไรก็ตามตัวเลขภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชี้ว่า
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้วซึ่งธ.กลางอังกฤษคาดว่าการใช้จ่ายผู้บริโภคในระยะสั้นจะยังคงไม่ขยายตัวมากนักแต่กำลัง
ฟื้นตัวอย่างช้าๆจากแรงสนับสนุนของตลาดที่อยู่อาศัย (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสสุดท้ายปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.3 - 9.4 ต่อปี รายงาน
จากปักกิ่ง เมื่อ 17 พ.ย.48 สนง.สถิติแห่งชาติของจีนคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 9.3 ถึง
9.4 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 9 ต่อปีเป็นไตรมาสที่ 10 ติดต่อกัน โดยคาดว่าเงิน
ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 26 ต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ต่อปีในช่วงเดือน ม.ค.
ถึง ก.ย.48 ที่ผ่านมา โดยจีนตั้งเป้าหมายจะลดสัดส่วนของเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรให้เหลือร้อยละ 40 ของ
GDP ภายในปี 53 และคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีในระหว่างปี 49 ถึงปี 53 และชะลอตัว
ลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปีในระหว่างปี 54 ถึงปี 63 โดยเศรษฐกิจจีนขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.4 ต่อปีนับตั้งแต่
จีนปฏิรูประบบเศรษฐกิจในปี 21 นอกจากนี้ยังคาดว่ามูลค่าการค้าของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านล้านดอลลาร์
สรอ.ภายในปี 53 จาก 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีนี้ โดยผู้ส่งออกของจีนกำลังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากภาระ
ต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนที่ไม่คงที่อีกต่อไปเมื่อเทียบเงินดอลลาร์ สรอ.และความเป็น
ไปได้ที่รัฐบาลจะตัดลดเงินสนับสนุนการส่งออก (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เทียบกับไตรมาสก่อนสูง
กว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 พ.ย.48 ก.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์รายงานเศรษฐกิจ
สิงคโปร์ขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เทียบกับไตรมาสก่อน มากกว่า 2 เท่าของอัตราร้อย
ละ 3.2 ต่อปีที่รัฐบาลคาดไว้เมื่อวันที่ 10 ต.ค.48 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ร้อยละ 6.3 ต่อปี และขยายตัวร้อย
ละ 7.0 ต่อปีเมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี ส่งผลให้รัฐบาลปรับเพิ่มอัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี และคาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 3 ถึง 5 ต่อปีสอดคล้องกับประมาณการของ ธ.กลางสิงคโปร์ ในขณะที่รอยเตอร์ประมาณการไว้ที่ร้อยละ
5.0 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากผลผลิตยาที่เพิ่มสูงขึ้นมากในเดือน ก.ย.48 ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตยาในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 ต่อปี โดยหลังจากหดตัวในไตรมาสแรกปีนี้ เศรษฐกิจสิงคโปร์ก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด
รัฐบาลได้ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ จากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 19 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 พ.ย. 48 17 พ.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.191 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40. 9917/41.2087 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.80611 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 672.63/ 11.13 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,300/9,400 9,250/9,350 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 50.12 50.93 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด 50 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ย. 48 25.24*/22.69** 25.64*/22.69** 16.99/14.59 ปตท.
** ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--