ดร. ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงการจัดงาน ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 2 ณ โรงแรม Royal Lancaster กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 21 - 22 กันยายน 2548 ว่า ได้แบ่งการจัดงานเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเป็นการจัดร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน มีนักลงทุนจากสหราชอาณาจักรและยุโรปสนใจเข้าร่วมมากกว่า 200 คน จาก 170 บริษัท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทยได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง ASEAN : One Region, Unlimited Opportunities เนื้อความแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก รวมทั้งศักยภาพในภาคการบริการต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว และการให้บริการด้านสุขภาพ
ในช่วงบ่ายเป็นการจัด Individual Breakout Session ซึ่งเป็นการจัด Roadshow ของแต่ละประเทศ ในส่วนของประเทศไทยนั้น เป็นการพบปะระหว่างนักลงทุนยุโรปและผู้แทนจากภาครัฐ มีนักลงทุนเข้าร่วมประมาณ 40 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนที่ลงทุนในไทยและภูมิภาคเอเชียมากกว่าแสนล้านเหรียญสหรัฐ เช่น Schorder Investment Management, Union Investment Group, Morgan Stanley Investment Management (UK) ฯลฯ ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แถลงเกี่ยวกับภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจมหภาคไทยโดยได้มีการชี้แจงถึงสถานการณ์คลังและการเงินที่แข็งแกร่งของไทย รวมถึงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย รวมทั้งโอกาสในการลงทุนในไทย และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และตอบข้อซักถามแก่นักลงทุนโดยมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐเข้าร่วมประกอบด้วย ดร. วีระพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. อรรชกา บริมเบิล ที่ปรึกษาการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และนายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีประเด็นที่อยู่ในความสนใจของนักลงทุนและได้ซักถามขอความกระจ่าง ได้แก่
- โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mege Projects) มีการวางแผนในรายละเอียดอย่างไรที่จะไม่ให้กระทบแผนพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 5 ปีข้างหน้า รวมถึงการจำกัดการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าว
- โครงการขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีการกำหนดผลตอบแทนและส่วนแบ่งรายได้อย่างไร
- การกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตราคาน้ำมัน โดยการหาพลังงานทดแทน การช่วยเหลือด้านราคา
- ลักษณะของการใช้นโยบายภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนทางตรงมีอย่างไรบ้าง
- อะไรคือข้อได้เปรียบของไทย เมื่อเทียบกับจีนในด้านการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ
- รัฐบาลมีนโยบายอย่างไรในการรับมืออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน
- ผลกระทบของการลดค่าเงินหยวนต่อเศรษฐกิจไทย
- จะมีการรวมธนาคารต่อไปอีกหรือไม่
- รัฐบาลมีแผนการนำรัฐวิสาหกิจที่สำคัญหลายแห่ง เช่น บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างไร
นอกจากนี้ ในวันนี้ 22 กันยายน 2548 มีการจัดพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำของไทยและนักลงทุน โดยบริษัทไทยที่เข้าร่วมมีจำนวน 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนักลงทุนได้ซักถามผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวในประเด็นที่สนใจ และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
การจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก ทั้งนักลงทุนจากสหราชอาณาจักร และภูมิภาคยุโรป เนื่องจากนักลงทุนได้พบปะและรับฟังนโยบายเพื่อส่งเสริมความมั่งคงทางเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐโดยตรง ซึ่งได้สร้งความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน และเป็นผลดีต่อการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยในระยะยาว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 84/2548 28 กันยายน 48--
ในช่วงบ่ายเป็นการจัด Individual Breakout Session ซึ่งเป็นการจัด Roadshow ของแต่ละประเทศ ในส่วนของประเทศไทยนั้น เป็นการพบปะระหว่างนักลงทุนยุโรปและผู้แทนจากภาครัฐ มีนักลงทุนเข้าร่วมประมาณ 40 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนที่ลงทุนในไทยและภูมิภาคเอเชียมากกว่าแสนล้านเหรียญสหรัฐ เช่น Schorder Investment Management, Union Investment Group, Morgan Stanley Investment Management (UK) ฯลฯ ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แถลงเกี่ยวกับภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจมหภาคไทยโดยได้มีการชี้แจงถึงสถานการณ์คลังและการเงินที่แข็งแกร่งของไทย รวมถึงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย รวมทั้งโอกาสในการลงทุนในไทย และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และตอบข้อซักถามแก่นักลงทุนโดยมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐเข้าร่วมประกอบด้วย ดร. วีระพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. อรรชกา บริมเบิล ที่ปรึกษาการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และนายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีประเด็นที่อยู่ในความสนใจของนักลงทุนและได้ซักถามขอความกระจ่าง ได้แก่
- โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mege Projects) มีการวางแผนในรายละเอียดอย่างไรที่จะไม่ให้กระทบแผนพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 5 ปีข้างหน้า รวมถึงการจำกัดการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าว
- โครงการขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีการกำหนดผลตอบแทนและส่วนแบ่งรายได้อย่างไร
- การกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตราคาน้ำมัน โดยการหาพลังงานทดแทน การช่วยเหลือด้านราคา
- ลักษณะของการใช้นโยบายภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนทางตรงมีอย่างไรบ้าง
- อะไรคือข้อได้เปรียบของไทย เมื่อเทียบกับจีนในด้านการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ
- รัฐบาลมีนโยบายอย่างไรในการรับมืออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน
- ผลกระทบของการลดค่าเงินหยวนต่อเศรษฐกิจไทย
- จะมีการรวมธนาคารต่อไปอีกหรือไม่
- รัฐบาลมีแผนการนำรัฐวิสาหกิจที่สำคัญหลายแห่ง เช่น บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างไร
นอกจากนี้ ในวันนี้ 22 กันยายน 2548 มีการจัดพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำของไทยและนักลงทุน โดยบริษัทไทยที่เข้าร่วมมีจำนวน 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนักลงทุนได้ซักถามผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวในประเด็นที่สนใจ และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
การจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก ทั้งนักลงทุนจากสหราชอาณาจักร และภูมิภาคยุโรป เนื่องจากนักลงทุนได้พบปะและรับฟังนโยบายเพื่อส่งเสริมความมั่งคงทางเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐโดยตรง ซึ่งได้สร้งความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน และเป็นผลดีต่อการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยในระยะยาว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 84/2548 28 กันยายน 48--