ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.คาดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 10 ในสิ้นปีนี้ และเป็นไปได้ที่จะลดให้
เหลือร้อยละ 2.0 ในปี 49 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึง แผนการบริการจัดการหนี้ที่ไม่
ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบสถาบันการเงินว่า ภายในสิ้นปีนี้คาดว่าเอ็นพีแอลจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 10
ของปริมาณสินเชื่อรวมทั้งหมด จากปัจจุบันที่มีร้อยละ 12 เนื่องจากคงเหลือระยะเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือนในปีนี้
ประกอบกับเอ็นพีแอลที่เหลืออยู่เป็นส่วนที่แก้ปัญหาได้ค่อนข้างยาก โดยล่าสุด ณ สิ้นเดือน ส.ค.48 หนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่
ร้อยละ 10.31 หรือประมาณ 5.8 แสนล้านบาท นอกจากนี้ บ.บริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้
ถือหุ้นใหญ่ ยังไม่สามารถรับซื้อหนี้เอ็นพีแอลและสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) จากสถาบันการเงินได้ทันที ต้อง
เสนอเรื่องไปยัง ครม.ก่อน ทั้งนี้ กระบวนการลดหนี้เอ็นพีแอล ก.คลังต้องการให้ ธปท.หาแนวทางอื่นในการเร่ง
ลดเอ็นพีแอล นอกเหนือจากการรอกฎหมายบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ที่ต้องแก้ไขให้มีอำนาจ
รับซื้อเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอจากสถาบันการเงินได้ และหาก ครม.อนุมัติแล้ว มีความเป็นไปได้ที่จะลดเอ็นพีแอลให้
เหลือร้อยละ 2.0 ในปี 49 (ผู้จัดการรายวัน, มติชน, สยามรัฐ)
2. นักวิเคราะห์คาดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5 นักวิเคราะห์
หลักทรัพย์ บล.ภัทร ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้จะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 4 โดยมีปัจจัยกระตุ้นการส่งออกและการท่องเที่ยวที่น่าจะขยายตัวได้ดี เพราะเป็นช่วงฤดูกาลส่งออกและท่องเที่ยว แต่ยังมีปัจจัย
ลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคชะลอตัว
ลง ด้าน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสไตรมาส 4 มี
สัญญาณฟื้นตัวขึ้นจากปัจจัยด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึงการกระตุ้นภายในประเทศ ทั้งการเร่งเบิกจ่าย
เงินงบประมาณและโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็ก หากการส่งออกขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะ
ขยายตัวในระดับร้อยละ 4-4.5 อย่างไรก็ตาม เห็นว่าปัจจัยด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนก็ยังไม่มี
สัญญาณที่ดีขึ้น โดยทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจยังคงทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้
ประชาชนในประเทศชะลอการบริโภคลงได้ ขณะที่ผู้ผลิตก็มีความกังวลเรื่องต้นทุนจากราคาน้ำมันและไม่มั่นใจว่าผู้
บริโภคจะซื้อสินค้า จึงมีการชะลอการลงทุนอยู่ (ไทยรัฐ)
3. นักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่ายเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นถึงขั้นที่จะต้องรวมศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ
ความพยายามของรัฐบาลในการรวมศูนย์ข้อมูลตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
ก.คลัง เพื่อประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการเพียงตัวเลขเดียว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายของ
รัฐบาล และนโยบายในการทำธุรกิจของภาคเอกชน กำลังเป็นข้อสงสัยว่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐหรือ
เอกชนตามที่คาดหวังหรือไม่ เนื่องจากหลักการประมาณการเศรษฐกิจของแต่ละหน่วยงานต่างมีฐานข้อมูลที่แตกต่าง
กัน ขึ้นอยู่กับฐานที่มาของข้อมูลและหลักการวิเคราะห์ของแต่ละแห่ง สำหรับมุมมองและความเห็นของนัก
เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการรวมศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจหลายฝ่ายเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นถึงขั้นที่จะต้องรวมศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจและควรปล่อยให้ ธปท. สภาพัฒน์ และ สศค. มีความเป็นอิสระในการทำตัวเลขคาดการณ์
เศรษฐกิจ เพราะการนำข้อมูลมาสังเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน หรือในส่วนของนัก
เศรษฐศาสตร์ ต่างเลือกที่จะใช้ข้อมูลที่จำเป็นในการทำธุรกิจ หรือการวิเคราะห์ข้อมูล และเห็นว่า ข้อมูลของแต่ละ
หน่วยงานมีความสมบูรณ์ในเชิงของฐานข้อมูลที่แท้จริงอยู่แล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังค้ำประกันเงินกู้ ธอส.ในการออกพันธบัตร 1.3 หมื่นล้านบาทเป็นครั้งสุดท้าย นายไชยยศ
สะสมทรัพย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติให้ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงิน 1.3 หมื่นล้านบาท เพื่อ
ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยจะเริ่มออกพันธบัตรในปีหน้า เพื่อขายให้นักลงทุนในประเทศ โดย ก.คลังจะค้ำประกัน
เงินกู้ให้กับ ธอส.เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อไม่ให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กรรมการผู้จัดการ ธอส.กล่าวว่า ขณะนี้
ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะออกพันธบัตรระดมทุนประเภทกี่ปี ต้องดูต้นทุนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขา
ขึ้น และที่ผ่านมา ก.คลังออกพันธบัตร 5 ปี ให้ผลตอบแทนร้อยละ 5.25 ซึ่งอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับการปล่อยกู้
อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5 ของธนาคารก็อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.5 ซึ่งการระดมทุนโดยการออกพันธบัตรจะช่วยให้ต้นทุน
ของการระดมเงินของธนาคารต่ำลง (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เดือน ส.ค.48 การใช้จ่ายและรายได้ของผู้บริโภค สรอ.ลดลง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคที่ชะลอตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 30 ก.ย.48 ก.พาณิชย์ เปิด
เผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ส.ค.48 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44
เช่นเดียวกับรายได้ของผู้บริโภค สรอ.ในเดือนเดียวกัน ซึ่งลดลงร้อยละ 0.1 ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนัก
เศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าการใช้จ่ายจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 ขณะที่คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และยัง
สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่สำรวจโดย The University of Michigan ซึ่งพบว่าดัชนีใน
เดือน ก.ย.48 ลดลงต่ำสุดในรอบ 13 ปีที่ระดับ 76.9 จากระดับ 78.0 ในเดือน ส.ค.48 โดยการลดลงของ
การใช้จ่ายและรายได้ของผู้บริโภค รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ล้วนมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการเกิดพายุ
เฮอริเคนแคทรีนา นอกจากนี้ การชะลอตัวของการใช้จ่ายยังเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งได้ส่งผลให้
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.33 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน(ไม่รวมราคาอาหาร
และพลังงานที่มีความผันผวน)เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.1 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขภาคการผลิตของ สรอ.ในเขตที่ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา
ได้แก่ พื้นที่ส่วนตะวันตกกลางและนิวยอร์ก มีการปรับตัวดีขึ้นมาก โดย The Chicago purchasing managers
index (PMI) เพิ่มขึ้นสูงมากที่ระดับ 60.5 ในเดือน ก.ย.48 จากเดือน ส.ค. ซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่
เดือน เม.ย.46 ที่ 49.2 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะขยายตัวที่ระดับ 51.0
สะท้อนว่าภาคการผลิตของ สรอ.ในพื้นที่ส่วนตะวันตกกลาง ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากการที่ชะลอตัวอย่างมากใน
เดือน ส.ค. นอกจากนี้ The National Association of Purchasing Management-New York ได้เปิด
เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business conditions index) ในเดือน ก.ย.48 ว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ
เนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 349.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี (รอยเตอร์)
2. เดือน ก.ย.48 ราคาบ้านในอังกฤษชะลอตัวลง ขณะที่แนวโน้มจำนวนการซื้อขายบ้านยังคงมี
เสถียรภาพ รายงานจากลอนดอนเมื่อ 3 ต.ค.48 Hometrack บริษัทที่ทำการวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ของ
อังกฤษ เปิดเผยว่า ราคาบ้านเฉลี่ยในอังกฤษและเวลส์ในเดือน ก.ย.48 ชะลอตัวลงในอัตราเดียวกับเดือนก่อน
หน้าที่ร้อยละ 0.1 ส่งผลให้ราคาบ้านเฉลี่ยตลอดปีลดลงร้อยละ 3.7 อยู่ที่ระดับราคา 160,900 ปอนด์ ในขณะที่
แนวโน้มของจำนวนผู้ซื้อบ้านในอนาคตยังคงมีเสถียรภาพอยู่ โดยจำนวนธุรกรรมการซื้อขายบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
ในเดือน ก.ย.48 สูงกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 สะท้อนว่าความเชื่อมั่นของผู้ซื้อปรับตัวดีขึ้น
โดยมีสาเหตุจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ รายได้ที่เพิ่มขึ้น และการที่ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น สนับสนุนให้
เกิดความต้องการบ้านเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. ภาคการเงินของอังกฤษขยายตัวสดใสท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 3 ต.ค.48 The Confederation of British Industry (CBI)
และ PricewaterhouseCoopers (PwC) เปิดเผยผลสำรวจรายไตรมาสประจำเดือน ก.ย.48 ของภาคการ
เงิน ธนาคาร และประกันภัย ว่า ภาคการเงินกำลังได้ประโยชน์จากการที่การค้าปลีกอ่อนตัวลง รวมทั้งเศรษฐกิจที่
เริ่มชะลอตัว ทำให้ประชาชนเริ่มปรับลดการใช้จ่ายในการบริโภค เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและต้นทุนการกู้
ยืมที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคการเงินต่าง ๆ อาทิ กองทุนรวมต่าง ๆ และการประกันชีวิต จากการที่ผู้บริโภค
เริ่มมีการเก็บออมเงินมากขึ้น รวมทั้งมีรายได้ค่าธรรมเนียมและผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่ม
ขึ้น ด้านการลงทุนของภาคการธนาคารก็มีการควบรวมและซื้อขายกิจการกันมากขึ้น รวมทั้งผู้ค้าหลักทรัพย์ก็ได้รับ
ประโยชน์จากกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดการเงิน ทั้งนี้ อังกฤษเป็นหนึ่งใน
ประเทศผู้ส่งออกด้านบริการทางการเงินรายใหญ่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ภาคการ
ธนาคารมีความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐกิจในระยะสั้น (รอยเตอร์)
4. ในเดือนก.ย. เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 แข็งแกร่งเกินคาด รายงานจากโซล เมื่อ
วันที่ 1 ต.ค. 48 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. เกาหลีใต้ส่งออก อยู่ที่ระดับ 24.72 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระดับ 20.83 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.เมื่อปีที่แล้วหรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อย
ละ 18.7 ทำสถิติสูงสุด นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 47 ที่การส่งออกเคยเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 26.5 แข็งแกร่งเกิน
ความคาดหมาย และเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 10 เดือน ขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ระดับ
22.65 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจาก 18.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อย
ละ 24.5 ซึ่งตัวเลขการนำเข้าและส่งออกของเกาหลีใต้ดังกล่าวขยายตัวมากเกินกว่าผลการสำรวจนัก
เศรษฐศาสตร์จำนวน 8 คนของรอยเตอร์ที่คาดว่าการส่งออกในเดือนดังกล่าวจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 15.1 ขณะที่
การนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.6 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup เห็นว่าหากไม่มีการประท้วง
หยุดงานของสหภาพแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ การส่งออกอาจจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 20 รวมทั้งการ
ขยายตัวอย่างมากของการส่งออกโทรศัพท์มือถือท่ามกลางการฟื้นตัวของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารทั่วโลก และด้วย
เหตุนี้เองจึงเป็นไปได้ว่าธ.กลางเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 45
โดย ผวก.ธ.กลางกล่าวในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ย.ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้อง
พิจารณาอย่างรอบคอบในการประชุมวันที่ 11 ต.ค.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ต.ค. 48 30 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8190/41.1075 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.23/ 15.32 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.42 56.84 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.คาดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 10 ในสิ้นปีนี้ และเป็นไปได้ที่จะลดให้
เหลือร้อยละ 2.0 ในปี 49 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึง แผนการบริการจัดการหนี้ที่ไม่
ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบสถาบันการเงินว่า ภายในสิ้นปีนี้คาดว่าเอ็นพีแอลจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 10
ของปริมาณสินเชื่อรวมทั้งหมด จากปัจจุบันที่มีร้อยละ 12 เนื่องจากคงเหลือระยะเวลาอีกเพียงไม่กี่เดือนในปีนี้
ประกอบกับเอ็นพีแอลที่เหลืออยู่เป็นส่วนที่แก้ปัญหาได้ค่อนข้างยาก โดยล่าสุด ณ สิ้นเดือน ส.ค.48 หนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่
ร้อยละ 10.31 หรือประมาณ 5.8 แสนล้านบาท นอกจากนี้ บ.บริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้
ถือหุ้นใหญ่ ยังไม่สามารถรับซื้อหนี้เอ็นพีแอลและสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) จากสถาบันการเงินได้ทันที ต้อง
เสนอเรื่องไปยัง ครม.ก่อน ทั้งนี้ กระบวนการลดหนี้เอ็นพีแอล ก.คลังต้องการให้ ธปท.หาแนวทางอื่นในการเร่ง
ลดเอ็นพีแอล นอกเหนือจากการรอกฎหมายบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ที่ต้องแก้ไขให้มีอำนาจ
รับซื้อเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอจากสถาบันการเงินได้ และหาก ครม.อนุมัติแล้ว มีความเป็นไปได้ที่จะลดเอ็นพีแอลให้
เหลือร้อยละ 2.0 ในปี 49 (ผู้จัดการรายวัน, มติชน, สยามรัฐ)
2. นักวิเคราะห์คาดเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4-4.5 นักวิเคราะห์
หลักทรัพย์ บล.ภัทร ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้จะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 4 โดยมีปัจจัยกระตุ้นการส่งออกและการท่องเที่ยวที่น่าจะขยายตัวได้ดี เพราะเป็นช่วงฤดูกาลส่งออกและท่องเที่ยว แต่ยังมีปัจจัย
ลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคชะลอตัว
ลง ด้าน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เห็นว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสไตรมาส 4 มี
สัญญาณฟื้นตัวขึ้นจากปัจจัยด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึงการกระตุ้นภายในประเทศ ทั้งการเร่งเบิกจ่าย
เงินงบประมาณและโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็ก หากการส่งออกขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะ
ขยายตัวในระดับร้อยละ 4-4.5 อย่างไรก็ตาม เห็นว่าปัจจัยด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนก็ยังไม่มี
สัญญาณที่ดีขึ้น โดยทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจยังคงทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้
ประชาชนในประเทศชะลอการบริโภคลงได้ ขณะที่ผู้ผลิตก็มีความกังวลเรื่องต้นทุนจากราคาน้ำมันและไม่มั่นใจว่าผู้
บริโภคจะซื้อสินค้า จึงมีการชะลอการลงทุนอยู่ (ไทยรัฐ)
3. นักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่ายเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นถึงขั้นที่จะต้องรวมศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ
ความพยายามของรัฐบาลในการรวมศูนย์ข้อมูลตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
ก.คลัง เพื่อประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการเพียงตัวเลขเดียว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายของ
รัฐบาล และนโยบายในการทำธุรกิจของภาคเอกชน กำลังเป็นข้อสงสัยว่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐหรือ
เอกชนตามที่คาดหวังหรือไม่ เนื่องจากหลักการประมาณการเศรษฐกิจของแต่ละหน่วยงานต่างมีฐานข้อมูลที่แตกต่าง
กัน ขึ้นอยู่กับฐานที่มาของข้อมูลและหลักการวิเคราะห์ของแต่ละแห่ง สำหรับมุมมองและความเห็นของนัก
เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการรวมศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจหลายฝ่ายเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นถึงขั้นที่จะต้องรวมศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจและควรปล่อยให้ ธปท. สภาพัฒน์ และ สศค. มีความเป็นอิสระในการทำตัวเลขคาดการณ์
เศรษฐกิจ เพราะการนำข้อมูลมาสังเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน หรือในส่วนของนัก
เศรษฐศาสตร์ ต่างเลือกที่จะใช้ข้อมูลที่จำเป็นในการทำธุรกิจ หรือการวิเคราะห์ข้อมูล และเห็นว่า ข้อมูลของแต่ละ
หน่วยงานมีความสมบูรณ์ในเชิงของฐานข้อมูลที่แท้จริงอยู่แล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังค้ำประกันเงินกู้ ธอส.ในการออกพันธบัตร 1.3 หมื่นล้านบาทเป็นครั้งสุดท้าย นายไชยยศ
สะสมทรัพย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติให้ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงิน 1.3 หมื่นล้านบาท เพื่อ
ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยจะเริ่มออกพันธบัตรในปีหน้า เพื่อขายให้นักลงทุนในประเทศ โดย ก.คลังจะค้ำประกัน
เงินกู้ให้กับ ธอส.เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อไม่ให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กรรมการผู้จัดการ ธอส.กล่าวว่า ขณะนี้
ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะออกพันธบัตรระดมทุนประเภทกี่ปี ต้องดูต้นทุนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขา
ขึ้น และที่ผ่านมา ก.คลังออกพันธบัตร 5 ปี ให้ผลตอบแทนร้อยละ 5.25 ซึ่งอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับการปล่อยกู้
อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5 ของธนาคารก็อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.5 ซึ่งการระดมทุนโดยการออกพันธบัตรจะช่วยให้ต้นทุน
ของการระดมเงินของธนาคารต่ำลง (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เดือน ส.ค.48 การใช้จ่ายและรายได้ของผู้บริโภค สรอ.ลดลง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคที่ชะลอตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 30 ก.ย.48 ก.พาณิชย์ เปิด
เผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ส.ค.48 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.5 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44
เช่นเดียวกับรายได้ของผู้บริโภค สรอ.ในเดือนเดียวกัน ซึ่งลดลงร้อยละ 0.1 ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนัก
เศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าการใช้จ่ายจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 ขณะที่คาดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และยัง
สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่สำรวจโดย The University of Michigan ซึ่งพบว่าดัชนีใน
เดือน ก.ย.48 ลดลงต่ำสุดในรอบ 13 ปีที่ระดับ 76.9 จากระดับ 78.0 ในเดือน ส.ค.48 โดยการลดลงของ
การใช้จ่ายและรายได้ของผู้บริโภค รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ล้วนมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการเกิดพายุ
เฮอริเคนแคทรีนา นอกจากนี้ การชะลอตัวของการใช้จ่ายยังเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งได้ส่งผลให้
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.33 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน(ไม่รวมราคาอาหาร
และพลังงานที่มีความผันผวน)เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.1 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขภาคการผลิตของ สรอ.ในเขตที่ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา
ได้แก่ พื้นที่ส่วนตะวันตกกลางและนิวยอร์ก มีการปรับตัวดีขึ้นมาก โดย The Chicago purchasing managers
index (PMI) เพิ่มขึ้นสูงมากที่ระดับ 60.5 ในเดือน ก.ย.48 จากเดือน ส.ค. ซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่
เดือน เม.ย.46 ที่ 49.2 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะขยายตัวที่ระดับ 51.0
สะท้อนว่าภาคการผลิตของ สรอ.ในพื้นที่ส่วนตะวันตกกลาง ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากการที่ชะลอตัวอย่างมากใน
เดือน ส.ค. นอกจากนี้ The National Association of Purchasing Management-New York ได้เปิด
เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business conditions index) ในเดือน ก.ย.48 ว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ
เนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 349.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี (รอยเตอร์)
2. เดือน ก.ย.48 ราคาบ้านในอังกฤษชะลอตัวลง ขณะที่แนวโน้มจำนวนการซื้อขายบ้านยังคงมี
เสถียรภาพ รายงานจากลอนดอนเมื่อ 3 ต.ค.48 Hometrack บริษัทที่ทำการวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ของ
อังกฤษ เปิดเผยว่า ราคาบ้านเฉลี่ยในอังกฤษและเวลส์ในเดือน ก.ย.48 ชะลอตัวลงในอัตราเดียวกับเดือนก่อน
หน้าที่ร้อยละ 0.1 ส่งผลให้ราคาบ้านเฉลี่ยตลอดปีลดลงร้อยละ 3.7 อยู่ที่ระดับราคา 160,900 ปอนด์ ในขณะที่
แนวโน้มของจำนวนผู้ซื้อบ้านในอนาคตยังคงมีเสถียรภาพอยู่ โดยจำนวนธุรกรรมการซื้อขายบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5
ในเดือน ก.ย.48 สูงกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 สะท้อนว่าความเชื่อมั่นของผู้ซื้อปรับตัวดีขึ้น
โดยมีสาเหตุจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ รายได้ที่เพิ่มขึ้น และการที่ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น สนับสนุนให้
เกิดความต้องการบ้านเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. ภาคการเงินของอังกฤษขยายตัวสดใสท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 3 ต.ค.48 The Confederation of British Industry (CBI)
และ PricewaterhouseCoopers (PwC) เปิดเผยผลสำรวจรายไตรมาสประจำเดือน ก.ย.48 ของภาคการ
เงิน ธนาคาร และประกันภัย ว่า ภาคการเงินกำลังได้ประโยชน์จากการที่การค้าปลีกอ่อนตัวลง รวมทั้งเศรษฐกิจที่
เริ่มชะลอตัว ทำให้ประชาชนเริ่มปรับลดการใช้จ่ายในการบริโภค เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและต้นทุนการกู้
ยืมที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคการเงินต่าง ๆ อาทิ กองทุนรวมต่าง ๆ และการประกันชีวิต จากการที่ผู้บริโภค
เริ่มมีการเก็บออมเงินมากขึ้น รวมทั้งมีรายได้ค่าธรรมเนียมและผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่ม
ขึ้น ด้านการลงทุนของภาคการธนาคารก็มีการควบรวมและซื้อขายกิจการกันมากขึ้น รวมทั้งผู้ค้าหลักทรัพย์ก็ได้รับ
ประโยชน์จากกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดการเงิน ทั้งนี้ อังกฤษเป็นหนึ่งใน
ประเทศผู้ส่งออกด้านบริการทางการเงินรายใหญ่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ภาคการ
ธนาคารมีความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐกิจในระยะสั้น (รอยเตอร์)
4. ในเดือนก.ย. เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 แข็งแกร่งเกินคาด รายงานจากโซล เมื่อ
วันที่ 1 ต.ค. 48 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือนก.ย. เกาหลีใต้ส่งออก อยู่ที่ระดับ 24.72 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระดับ 20.83 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.เมื่อปีที่แล้วหรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อย
ละ 18.7 ทำสถิติสูงสุด นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 47 ที่การส่งออกเคยเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 26.5 แข็งแกร่งเกิน
ความคาดหมาย และเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 10 เดือน ขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ระดับ
22.65 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจาก 18.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อย
ละ 24.5 ซึ่งตัวเลขการนำเข้าและส่งออกของเกาหลีใต้ดังกล่าวขยายตัวมากเกินกว่าผลการสำรวจนัก
เศรษฐศาสตร์จำนวน 8 คนของรอยเตอร์ที่คาดว่าการส่งออกในเดือนดังกล่าวจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 15.1 ขณะที่
การนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.6 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup เห็นว่าหากไม่มีการประท้วง
หยุดงานของสหภาพแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ การส่งออกอาจจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 20 รวมทั้งการ
ขยายตัวอย่างมากของการส่งออกโทรศัพท์มือถือท่ามกลางการฟื้นตัวของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารทั่วโลก และด้วย
เหตุนี้เองจึงเป็นไปได้ว่าธ.กลางเกาหลีใต้อาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 45
โดย ผวก.ธ.กลางกล่าวในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนก.ย.ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้อง
พิจารณาอย่างรอบคอบในการประชุมวันที่ 11 ต.ค.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ต.ค. 48 30 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8190/41.1075 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47625 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 723.23/ 15.32 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,050/9,150 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.42 56.84 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--