การใช้ยางพาราผสมยางมะตอยฉาบผิวถนน เพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
ประเทศไทยใช้ยางมะตอย หรือยางแอสฟัลต์ ในงานก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนน ทั่วประเทศ ประมาณปีละ 800,000 ตัน แบ่งเป็นการใช้ยางมะตอยน้ำ (Asphalt Emulsion) ประมาณปีละ 200,000 ตัน และยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ (Asphalt Cement : AC) ประมาณปีละ 600,000 ตัน ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก เป็นค่ายางมะตอย ในการก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนน
การเปลี่ยนรูปแบบ ก่อสร้างผิวถนน ในการก่อสร้างถนนใหม่ และฉาบผิวถนนเก่า ในการซ่อมบำรุงผิวจราจร จากที่เคยใช้ยางมะตอยล้วนๆ เพียงอย่างเดียว มาใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ร้อยละ 5.5 ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ ได้ปีละ 44,000 ตัน เป็นไปตามมาตรการหนึ่ง ในการส่งเสริม และสนับสนุน การใช้ยางธรรมชาติ ในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น อันเป็นแนวทางแก้ไขปัญหายาง อย่างเป็นระบบได้ระดับหนึ่งในการ ช่วยให้ เกษตรกรชาวสวนยาง สามารถขายยางได้มีเสถียรภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกันประชาชนในประเทศ ก็ได้ใช้ถนนที่มีคุณภาพมากขึ้น ผิวจราจรมีความลื่นลดลง ช่วยลดอุบัติเหตุ และ การสูญเสียชีวิต จากการใช้ถนน ส่วนรัฐบาลได้ประโยชน์จากการ ประหยัดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย ในการซ่อมบำรุงรักษาถนน ในระยะยาว เนื่องจากอายุการใช้งานถนนยาวขึ้น 1-2 เท่าจากเดิม ขณะที่ค่าซ่อมบำรุงผิวจราจรลดลงได้ถึง 4.5 เท่า ในระยะเวลา 10 ปี คิดเป็นเงินงบประมาณที่ประหยัดไปได้ประมาณ 66,000 ล้านบาท หรือ 220.30 บาทต่อตารางเมตร
มีการใช้ยางธรรมชาติผสมยางมะตอยราดถนนมานานกว่า 50 ปี
เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรก ที่ทดลองใช้ยางธรรมชาติ ในรูปยางผงผสมลงในยางมะตอยราดถนน ในประเทศ เนเธอร์แลนด์ และอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2492 ผลการทดลองในครั้งนั้น ปรากฎว่าผิวถนน มีอายุการใช้งานนานขึ้น ผิวถนน ปราศจาก ฝุ่นและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาถนน จึงขยายผล ไปใช้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐเวอร์จิเนีย โอไฮโอ มิเนโซต้า และเท็กซัส ทำให้พบข้อดีเพิ่มขึ้นจากการใช้งาน ตรงที่ผิวถนนไม่เปลี่ยนแปลง ไปตามอุณหภูมิของอากาศ ทั้งทนทาน ต่อการสึกกร่อน จากฝนอีกด้วย
-ยางมะตอยหรือแอสฟัลต์-
ยางมะตอย คือ วัสดุประสานสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น สารไฮโดรคาร์บอน กอปรด้วยคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ประการ
- เป็นตัวยึดและประสาน (Cementing)
- ป้องกันน้ำซึม
- สามารถเปลี่ยนเป็นของเหลว หรืออ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และแข็งตัวเมื่อถูกความ เย็น(Thermoplastic)
- ทนกรดและด่างอ่อนๆ
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว แอสฟัลต์ จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทำผิวจราจร ดาดคลอง ชลประทาน อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ ดาดผิวหน้าเขื่อนดินป้องกันน้ำซึม ทำสีกันสนิม กระดาษกันซึม กระเบื้องยางปูพื้น เคลือบท่อน้ำ เป็นต้น
มาเลเซีย : ชาติแรกในเอเซียที่ทดลองใช้
หลังจากที่เนเธอร์แลนด์เริ่มทดลองใช้ได้ 2 ปี ในปี พ.ศ.2494 มาเลเซีย จึงทดลองใช้น้ำยางธรรมชาติผสมกับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 5 ราดถนนสายโกตาบารู-กัวลากลาย เป็นระยะทาง 100 หลา รวมทั้งถนนอื่นๆ อีกหลายสาย แต่ไม่ปรากฎ รายงานผลด้านคุณภาพแต่อย่างใด
กระทั่งช่วงปี 2521-2531 สถาบันวิจัยยาง ของมาเลเซียจึงรื้อฟื้น โครงการขึ้นใหม อีกหลายโครงการ โดยใช้ยางรีเคลม (Reclaim) จากถุงมือยางธรรมชาติผสมยางมะตอย ราดถนนสุไหงบูโล๊ะ เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถนนสู่สนามบิน กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระยะทาง 50 กิโลเมตร และถนนในเมืองบุตราจายา เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร ผลการราดยางถนน ด้วยยางมะตอย ผสมยางรีเคลม จากถุงมือยางในครั้งนี้ พบว่าถนนมีคุณภาพดีขึ้นหลายประการ
อินเดียให้ใช้ยางธรรมชาติผสมแอสฟัลต์เพิ่มร้อยละ 10 ต่อปี
ในประเทศอินเดีย สถาบันวิจัยยางอินเดีย ร่วมกับหน่วยงาน สร้างถนนของรัฐเคราลา มีการทดลองใช้ ยางมะตอยผสมน้ำยางสด ร้อยละ 2 เมื่อปี 2517 ราดถนนระหว่างเมืองทรีวานดรัม และโคนายัม เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับการ ใช้ยางมะตอย ธรรมดา ผลปรากฎว่า ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยล้วน ต้องซ่อมเป็นระยะทุก 5 ปี คือ ปี พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2532 เป็นเวลา 14 ปี ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยผสมน้ำยางสด ยังไม่ต้องซ่อมแซมเลยแม้แต่ครั้งเดียว สรุปได้ว่า การใช้ยางธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความคงทนได้ถึง 3 เท่า
รัฐบาลกลางอินเดีย จึงมอบหมายให้ กระทรวงขนส่งทางบก สั่งการให้ทุกรัฐ เพิ่มการใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ในการ สร้างถนนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี จนกระทั่งปัจจุบัน รวมทั้งมีการ ผลิตยางมะตอย ผสมยางธรรมชาติในเชิงพาณิชย์ ที่โรงกลั่นน้ำมัน เมืองโคชินอีกด้วย
-แบ่งชนิดยางมะตอยตามแหล่งกำเนิด-
ยางมะตอยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามแหล่งกำเนิด
- ยางมะตอย ที่เกิดตามธรรมชาติ พบแทรกอยู่ใน ชั้นหินที่เรียกว่า หินยางมะตอย (Rock Asphalt) ซึ่งส่วนใหญ เป็นหินปูนที่มียางมะตอย ซึมอยู่อิ่มตัว
- ยางมะตอย จากส่วนเหลือ จากการกลั่นน้ำมันดิบ หรือที่เรียกว่า "Topped Crude" มีลักษณะค่อนข้างเหลว เมื่อแยกน้ำมันออกไป จะได้ยางมะตอยที่มีความข้น เหลว หรือแข็ง แตกต่างกันไปตามความต้องการ
อีกนานาวิธีของนานาชาติ
ออสเตรเลีย ใช้ยางธรรมชาติ ละลายในน้ำมันก๊าด ก่อนผสมในยางมะตอย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของผิวถนน ที่มีการจราจร หนาแน่น เมื่อปี พ.ศ.2504
เพอร์นานโด เอ็ม.เจ. (Pernando M.J.) และนาดาราชา เอ็ม. (Nadarajah M.) ได้ทดลอง ปรับปรุงคุณสมบัติ ยางมะตอยเมื่อปี 2511 ด้วยการใช้น้ำยางธรรมชาติหลายๆ รูปแบบ ได้แก่ น้ำยางสด น้ำยางข้น HA น้ำยางข้น LA และหางน้ำยาง ในอัตราร้อยละ 2-4 ผสมในแอสฟัลต์ซีเมนต์ 80/100 แบบผสมร้อน (Hot-Mix Asphalt) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้น้ำยางธรรมชาติ พ่นลงในยางมะตอยที่มีอุณหภูมิ 300 - 325 องศาฟาเรนไฮท์ พร้อมคนอยู่ตลอดเวลา พบว่า ยางมะตอยแข็งขึ้น จุดอ่อนตัวสูงขึ้น แต่ค่าการยืดดึง (Duetility) ลดลง
ในปีเดียวกัน เอ็น. ราชกฤษนัน แนร์ (N. Radhakrisnan) และคณะ ได้ทดลอง ปรับปรุงคุณสมบัติยางมะตอย โดยใช้ ยางแผ่นรมควัน ละลายในน้ำมันทำละลาย (Fluxing Oil) เพื่อให้ยางอยู่ในรูปสารละลายเสียก่อน จึงนำไปผสมกับแอสฟัลต์ซีเมนต์ ด้วยวิธีผสมร้อนเช่นกัน พบว่าสารละลายยางธรรมชาติช่วยให้ค่าการยืดดึงลดลง แต่จุดอ่อนตัวสูงขึ้น
-ยางมะตอยในงานก่อสร้างผิวจราจร-
ยางมะตอย ที่ใช้ในงานก่อสร้างผิวจราจร มี 2 ชนิด คือ แอสฟัลต์ซีเมนต์ (Asphalt Cement) และยางมะตอยชนิดเหลว
แอสฟัลต์ซีเมนต์ มีลักษณะครึ่งอ่อนครึ่งแข็ง ที่อุณหภูมิปกติ มีสีดำ หรือสีน้ำตาลปนดำ การใช้งาน ต้องต้มให้เหลวโดยใช้อุณหภูมิ 200-300 องศาฟาเรนไฮน์ แบ่งได้ 3 ชนิด ตามการผลิต คือ
- Penetration Grade ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง
- Blown Grade ได้จากการนำเอา ยางมะตอยชนิดแรก ไปเป่าลมใส่ที่อุณหภูมิสูง ประมาณ 250-300 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้แข็งและทนความร้อนได้ดีขึ้น
- Hard Grade ได้จากการ นำเอายางมะตอย ชนิดแรก ไปกลั่น ต่อภายใต้สูญญากาศ ที่ อุณหภูมิสูง เพื่อทำให้ได ยางมะตอยที่มีความแข็งมากขึ้น
ปี พ.ศ.2538 โกพาลากฤษนัน (Gopalakrisnan) รายงานผล การทดลองใช้ยางธรรมชาติ และยางเอส บี อาร์ ผสมในยางมะตอย ว่า ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติให้คุณสมบัติที่ดีกว่า ส่วนยางมะตอยที่ผสมยางธรรมชาติและยางเอส บี อาร์ จะเสื่อมสภาพ เมื่อต้มในอุณหภูมิสูง
ปี พ.ศ.2542 แซมฮาริ (Zamhari) จากอินโดนีเซีย รายงานการศึกษา การใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ไว้ว่า นอกจาก เพิ่มคุณภาพของถนนแล้ว ยังช่วยให้มีการบริโภคยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 แม้ต้นทุน จะมีราคาแพงกว่ายางมะตอยธรรมดา ถึงร้อยละ 25 แต่ถนนจะทนทานต่อสภาพอากาศร้อน และการชำรุดได้ดีกว่ามากมาย
สำหรับประเทศญี่ปุ่น มีการใช้ยางธรรมชาติผสมยางมะตอย ราดถนนด้วยเหมือนกัน เพื่อป้องกันผิวถนนลื่น และป้องกันการแข็งตัว ของผิวถนนในช่วงฤดูอากาศหนาวจัด
การทดลองใช้ยางธรรมชาติผสมยางมะตอยในไทยยุคแรก
การทดลองครั้งแรก เกิดจากความร่วมมือ ระหว่างแขวงการทางสงขลา - สถานีการยางคอหงส์ เมื่อเดือนเมษายน 2500 โดยนายชิต ทัศนกุล และคณะ ได้ทดลองใช้ ยางมะตอยผสมกับยางพารา ร้อยละ 5 ราดถนนสายหาดใหญ่-สงขลา ช่วงระหว่าง กิโลเมตรที่ 16.00-16.100 เป็นระยะทางยาว 100 เมตร เปรียบเทียบกับการ
ราดถนน ด้วยยางมะตอยธรรมดา ไว้เปรียบเทียบอีก 100 เมตร ผลปรากฎว่าในช่วงระยะเวลา 10 ปี ถึงปี พ.ศ.
2510 ถนนที่ราดด้วยยางพาราผสมร้อยละ 5 ยังอยู่ในสภาพดี ไม่เคยมีการ ซ่อมแซมแต่อย่างใด ขณะที่ถนนที่
สร้างไว้เปรียบเทียบผ่านการซ่อมแซมไป 1 ครั้ง
แอสฟัลต์ชนิดเหลว แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
- Cutback Asphalt มีลักษณะเหลวในอุณหภูมิธรรมดา หลังจาก บดอัดแล้ว ทิ้งไว้ ให้ตัว ทำละลาย ระเหยไป จะเหลือแต่แอสฟัลต์ซีเมนต์ ได้จากแอสฟัลต์ซีเมนต์ ไปละลายในตัวละลาย ประเภทน้ำมันต่าง ๆ ที่เรียกรวมว่า Dituent หรือ Culter Stock เช่น Neptha Kerosine และ Diesel Oil แบ่งได้ 3 ประเภทตามชนิดตัวทำละลาย คือ ชนิดแข็งตัวเร็ว แข็งตัวปานกลาง และแข็งตัวช้า
- Emulsified Asphalt ผลิตจากการนำเอา แอสฟัลต์ซีเมนต์ที่อุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส ผสมกับน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 170 องศาเซลเซียส โดยใช้สารเคมี
- ซึ่งเรียกว่า Emulsifier เติมลงไปเล็กน้อย ช่วยให้อนุภาคของยางมะตอยกระจายตัว แล้วนำไปตีด้วยเครื่อง Colloidal Mill ให้ยางมะตอยแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ กระจายอยู่ในน้ำ-
5 ปีต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2505 ได้ทดลองราดถนนสายหาดใหญ่-สงขลา ช่วงระหว่างกิโลเมตรที่ 10.800 - 11.00 เป็นระยะทาง 200 เมตร โดยใช้ส่วนผสม เช่นเดียวกับการทดลอง ในครั้งแรก แต่ครั้งนี้ใช้วิธี แบ่งความกว้างถนนออกเป็น 2 ซีก ซีกหนึ่งใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ อีกซีกใช้ยางมะตอยธรรมดา ต้องซ่อมแซมผิวหน้าไป 1 ครั้ง ส่วนซีกที่ใช้ ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ยังอยู่ในสภาพเรียบร้อยดีเช่นเดิม แต่การเก็บข้อมูลต้องระงับไป เนื่องจาก มีการขยายถนนให้กว้างขึ้น
การทดลองใช้ยางมะตอย ผสมยางธรรมชาติ ในไทยยุคเศรษฐกิจถดถอย
หลังการทดลองของ นายชิต ทัศนกุล ครั้งแรกผ่านไปหลายสิบปี ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา จึงเริ่มการทดลองครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ด้วยการใช้ยางมะตอย 700 ลิตร ต้มให้ร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 160 องศาเซลเซียส ผสมด้วยน้ำยางธรรมชาต ชนิดเข้มข้นร้อยละ 60 ในอัตราเนื้อยางแห้งร้อยละ 2.5 และผสมน้ำมันก๊าดลงไปร้อยละ 3 เพื่อช่วยลดความหนืด นำไปราดถนนภายในหน่วยงานของตนเอง ประมาณ 200 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับ ถนนที่ราดด้วย ยางมะตอยธรรมดา
ในปีเดียวกันนั้นเอง ส่วนอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ กรมทางหลวง ได้ทดลองผสมตัวอย่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ 60/70 กับยางพาราชนิด ต่างๆ พบว่า การผสมยางพารา กับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 2-6 สามารถปรับปรุง คุณภาพยางมะตอยได้ และคุณสมบัติของ ยางมะตอยที่ผสมสามารถ ผ่านมาตรฐาน ตามข้อกำหนดของ มอก.851-2532 โดยมีค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงกว่ายางมะตอยปกติ ซึ่งแสดง ให้เห็นถึง แนวโน้มของการเยิ้มตัวหรือจุดอ่อนตัวของถนนสูงขึ้น ชี้ให้เห็นว่าถนนน่าจะมีความคงทน หรือมีอายุการใช้งาน ยาวนานขึ้น
ในปีเดียวกันนั้นเอง ส่วนอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และกรมทางหลวง ได้ทดลองผสมตัวอย่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ 60/70 กับยางพาราชนิด ต่างๆ พบว่า การผสมยางพารา กับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 2-6 สามารถปรับปรุง คุณภาพยางมะตอยได้ และคุณสมบัติของ ยางมะตอยที่ผสมสามารถ ผ่านมาตรฐาน ตามข้อกำหนดของ มอก.851-2532 โดยมีค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงกว่ายางมะตอยปกติ ซึ่งแสดง ให้เห็นถึง แนวโน้มของการเยิ้มตัวหรือจุดอ่อนตัวของถนนสูงขึ้น ชี้ให้เห็นว่าถนนน่าจะมีความคงทน หรือมีอายุการใช้งาน ยาวนานขึ้น
ปีถัดมา ในวันที่ 20 สิงหาคม 2544 องค์การสวนยาง ทำโครงการสาธิต การสร้างถนน ด้วยยางมะตอยผสมยางพารา ความยาว 520 เมตร กว้าง 4 เมตร ภายในบริเวณสำนักงานฯ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการขุดลอกพื้นถนนเดิมออก แล้วลงหินคลุกหนา 15 เซนติเมตร กว้าง 4.20 เมตร ราดด้วยยางมะตอยชนิดน้ำผสมยางพารา ในอัตราส่วนร้อยละ 5.5 แบบวิธีฉาบผิวถนน 2 ชั้น (Double Surface)
ผลิตยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว
สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับบริษัททิปโก้ แอสฟัลต์ จำกัด ได้ร่วมกัน ปรับปรุงคุณภาพยางมะตอยน้ำ (Asphalt Emulsion) ด้วยน้ำยางข้น (HA) ร้อยละ 5.5 ช่วยให้คุณสมบัติ ด้านค่าความยืดหยุ่นตัว หรือฟื้นกลับตัว (Elastic Recovery) ดีขึ้น เป็นผลให้ยางมะตอยสามารถคืนรูปได้ดี หลังถูกกดทับ จากการจราจร จึงลดการเกิดร่องล้อบนถนน ตลอดจนค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงขึ้น จึงช่วยลดการเปลี่ยนแปลงผิวทาง เนื่องจากอุณหภูมิได้
น้ำยางที่ปรับปรุงคุณภาพนี้มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวงที่ ทล-ก.405/2535 ซึ่งเปรียบเทียบ คุณลักษณะของ ยางมะตอยน้ำผสมน้ำยางธรรมชาติ กับมาตรฐาน CSS -1 (EMA) แต่การผสม
ยางพารา ในรูปน้ำยางข้น กับยางมะตอย ต้องมีวิธีการที่เหมาะสม ในขั้นตอนการต้ม ที่โรงงานผสมก่อนการผสมกับวัสดุมวลรวม (หินและทราย) มิฉะนั้น ส่วนผสมจะเกิดฟองล้น จากถังจนเกิดอันตรายได้ ซึ่งขณะนี้บริษัททิปโก้ฯ สามารถ ผลิตยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติ ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว โดยใช้วิธีผสมยางธรรมชาติในขั้นตอนการผสมน้ำกับส่วนผสม (Emulsifier) ก่อนนำมาผสมกับ ยางมะตอยในโรงงาน
ผลิตในสภาพเย็นหรือร้อน อย่างใดดีกว่า
เนื่องจากน้ำยางพารามีสภาพเป็นด่าง ส่วนยางมะตอยน้ำมีสภาพเป็นกรด ก่อนการผสม ในสภาพเย็น จึงต้องปรับสภาพ น้ำยางพารา ให้มีสภาพเป็นกรด เช่นเดียวกับยางมะตอยน้ำเสียก่อน มิฉะนั้นจะจับตัวเป็นก้อนๆ ลักษณะคล้ายกับ การเติมกรด ลงไปในน้ำยางนั่นเอง เป็นผลให้น้ำยางไม่สามารถกระจายตัวในส่วนผสมได้ดี
ส่วนการผสม น้ำยางพาราผสมกับยางมะตอย ขณะร้อน 110-140 องศาเซลเซียส คุณภาพของส่วนผสม ไม่ดีไปกว่า คุณภาพของยางมะตอยล้วนๆ ทั้งนี้เพราะยางพารา ไม่สามารถกระจายตัว เข้าไปแทรก ในเนื้อยางมะตอย ได้อย่างสม่ำเสมอ นั่นเอง
จากการศึกษาทดลองของสถาบันวิจัยยาง ประสิทธิภาพของ เครื่องผสม เป็นปัจจัยสำคัญ ในการกระจายตัว ของยางพารา ในยางมะตอย และการผสมกำมะถันลงไปในยางแห้งที่บดให้นิ่ม (Masticated rubber) ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งบริษัทฯ จะทดลองผสมยางมะตอยร้อนกับยางพาราในสภาพของแข็งต่อไป โดยศึกษาเรื่อง ความหนืดของยาง และปริมาณกำมะถัน ที่เหมาะสมในการใช้เป็นส่วนผสม
จุดอ่อนของการใช้ยางมะตอยล้วนๆ ราดผิวถนน
โดยปกติถนนที่ราดผิวถนน ด้วยยางมะตอยล้วนๆ มีข้อจำกัด ตรงที่มีค่าความหนืดต่ำ จึงมีการเปลี่ยนแปลง ตามสภาพ อุณหภูมิ ที่รวดเร็วมาก อุณหภูมิที่สูงเมื่อได้รับความร้อนจ กแสงแดดจะทำให้ยางมะตอยอ่อนตัว ส่วนอุณหภูมิที่ต่ำหรือเย็น ยางมะตอยจะแตก เมื่อผิวถนนต้องรองรับปริมาณการจราจรที่หนาแน่น และน้ำหนักบรรทุกที่สูง เช่นภาวะปัจจุบัน จึงประสบปัญหาผิวทางชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ อันได้แก่
- ผิวทาง- เยิ้ม (Bleeding) เนื่อง- จากอุณหภูมิที่สูง- ขึ้นจากแสง- แดด เป็นเหตุให้ผิวจราจรลื่น
- ผิวเกิดร่อง- ล้อ (Rutting) เกิดขึ้นหลัง- จากผิวทาง- เยิ้ม ยาง- มะตอยขาดคุณสมบัติการยืดหยุ่น จึง- ยุบตัวเป็นร่อง-ตามแนวล้อที่แล่นทับ แล้วไม่กลับคืนสู่สภาพเดิม
- ผิวทางแตกร้าว (Crock) มาจากสาเหตุผิวถนนขาดความยืดหยุ่น มีสภาพแข็ง- เปราะ เมื่อมีน้ำหนักรถ กดทับซ้ำๆ ผิดทาง เกิดความล้า (Fatigue) จึง- เกิดรอยแตกร้าว
- ผิวหน้าหลุดร่อน (Reveling) เป็นปรากฎการณ์ที่ผิวถนนสึกกร่อน เนื่อง- จากส่วนผสมละเอียดที่ผิวหน้า ถูกแรง-เฉือนจากล้อรถตะกุยออก
ยางธรรมชาติช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ
การปรับปรุงคุณสมบัติยางมะตอย ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น รองรับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องเพิ่มความหนืด ลดการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากอุณหภูมิ เพิ่มจุดอ่อนตัว เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มแรงยึดเหนี่ยว ด้วยวิธีการเพิ่มสารผสม และยางธรรมชาติ เป็นสารผสมชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ ซึ่งมีข้อดี คือ
- มีสมบัติเชิง- กลดี เมื่อเกิดการเปลี่ยนรูปอย่างรุนแรง
- มีความแข็ง- แรง- ทนทานต่อแรง- ดึง- สูง- (มากกว่า 20 Mpa)
- มีการยืดตัวก่อนขาดได้มาก (500-1,000 %)
- ทนทานต่อการฉีกขาด และสึกหรอได้ดี
- มีการคืนตัว และการกระดอนดี
- ใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำได้ดี
ต้นทุนการผลิตยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ
ขณะที่ยางมะตอย ชนิดแอสฟัลต์ ซีเมนต์ ล้วน มีต้นทุนการผลิตตันละ 6,000 บาท ยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ ซีเมนต์ผสม ยางธรรมชาติร้อยละ 5.5 จะมีค่าใช้จ่ายการผลิต เพิ่มขึ้นในส่วนของขบวนการผลิตอีกตันละ 2,000 บาท รวมเป็นต้นทุน การผลิตตันละ 8,000 บาท
หากนำไปเปรียบเทียบ ราคาค่าใช้จ่าย ในการทำถนนเป็นตารางเมตร ยางมะตอยชนิด แอสฟัลต์ซีเมนต์ ผสมยางธรรมชาติ จะมีราคาตารางเมตรละ 154.66 บาท สูงกว่ายางมะตอยล้วน ซึ่งมีราคาตารางเมตรละ 128.22 บาท อยู่ตารางเมตรละ 26.44 บาท
สำหรับยางมะตอย ชนิดน้ำมีต้นทุนการผลิตตันละ 8,500 บาท แต่เมื่อผสมยางธรรมชาติร้อยละ 5.5 ต้นทุนการผลิต จะเพิ่มเป็น 11,500 บาท หรือสูงกว่า ยางมะตอยชนิดน้ำล้วน ตันละ 3,000 บาท
การเปรียบเทียบ ราคาค่าใช้จ่าย ในการทำถนนระหว่างยางมะตอยชนิดน้ำ ซึ่งมีราคาตารางเมตรละ 27.18 บาท กับยางมะตอยชนิดน้ำผสมยางธรรมชาติร้อยละ 5.5 ซึ่งมีราคาตารางเมตร ละ 31.66 บาท ยางมะตอย ชนิดน้ำ ผสมยางธรรมชาติ จะมีราคาสูงกว่ายางมะตอยชนิดน้ำเพียงตารางเมตรละ 4.48 บาทเท่านั้น
ต้นทุนสูงกว่าแต่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
ถนนราดยางมะตอย ทั่วไปที่ฉาบผิวทางด้วยยางมะตอยน้ำ มีค่าใช้จ่าย ตารางเมตรละ 27.18 บาท สามารถใช้งาน ได้เพียง 3 ปี ก็ต้องเสริมผิวทาง ด้วยยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ซีเมนต์ ด้วยค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 128.22 บาท และต้องเสริมผิวทาง อีกครั้งหนึ่ง เมื่อถนนมีอายุ 7 ปี ด้วยยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ซีเมนต์ ในราคาค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 128.22 บาท รวมสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 10 ปี เป็นเงินตารางเมตรละ 283.62 บาท
ส่วนถนน ราดยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ที่ฉาบผิวทาง ด้วยยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติ มีค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 31.66 บาท แต่สามารถใช้งานได้ถึง 7 ปี ก่อนที่จะซ่อมบำรุงฉาบผิวทางใหม่ ด้วยยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติ ในราคา ค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 31.66 บาท รวมค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 10 ปี เป็นเงินเพียงตารางเมตรละ 63.32 บาทเท่านั้น
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในระยะเวลา 10 ปี ถนนที่ราดด้วย ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ สามารถ ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ถึงตารางเมตรละ 220.30 บาท หรือ 4.5 เท่า ของถนนราดยางทั่วไป
ประหยัดต้นทุน แล้วยังประหยัดพลังงาน อีกเพิ่มความปลอดภัย
ในการประชุมสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ครั้งที่ 33 ได้สรุป ข้อดี ในการใช้ยางธรรมชาติ ผสมยางมะตอย ราดผิวถนนไว้ 2 ประการ ได้แก่
ประการแรก ช่วยประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถยนต์ ซึ่ง เป็นผลจากการศึกษา ของ สถาบันวิจัย ถนนส่วนกลางของอินเดีย (The Central Road Research Institute of India) ร่วมกับธนาคารโลก ที่สรุปผลไว้ว่า
- การขับขี่ยานพาหนะบนถนนที่ทำด้วยยาง- ผสม (Rubberised road) ใช้น้ำมันน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 5-7
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า
- เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า เนื่อง- จากมีความยืดหยุ่นตัวดีกว่า
ประการที่สอง เพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศให้มากขึ้น อันเป็นผลจากการศึกษา ของ สถาบันวิจัยถนน ส่วนกลางของอินเดียเช่นกัน กล่าวคือ ถนน 2 ช่องทาง ความยาว 1 กิโลเมตร ต้องใช้ ยางธรรมชาติเป็นส่วนผสม ประมาณ 1 ตัน ดังนั้น หากสามารถพัฒนา การผสมยางมะตอย ด้วยยางธรรมชาติในการทำถนน ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ปริมาณการใช้ยางธรรมชาติ ในประเทศย่อมเพิ่มมากขึ้น ตามสัดส่วน ของการสร้างและบำรุง ซ่อมแซม ถนน
การสนับสนุนในภาครัฐ
จากสภาวะยาง ราคาตกต่ำในช่วงปี 2540 ต่อเนื่องถึงปี 2545 คณะกรรมการนโยบายธรรมชาติ จึงหาแนวทาง การแปรรูป ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า ยางธรรมชาติเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยาง อย่างเป็นระบบครบวงจร และแก้ไขปัญหาสภาวะยางราคาตกต่ำ ด้วยการ แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ พิจารณาหาแนวทาง การใช้ยางธรรมชาติ ผสมยางมะตอยราดถนน
ในเวลาต่อมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาหามาตรการ ใช้ยางธรรมชาติในงานทาง เพื่อจัดทำโครงการระยะเวลา 5 ปี (2545-2549) เสนอคณะรัฐมนตรี มีสาระสำคัญให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการสร้างทาง ใช้ยางมะตอยชนิดน้ำผสมยางธรรมชาติ ร้อยละ 5.5 และใช้ยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ซีเมนต์ผสมยางธรรมชาติ ร้อยละ 5.5 ก่อสร้างผิวถนนในการก่อสร้างถนนใหม่ และฉาบผิวถนนในการซ่อมบำรุงถนน
ในที่สุดคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีมติเห็นชอบในหลักการ การใช้ยางธรรมชาติ ผสมยางมะตอยราดถนน และสมควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ในด้านเทคนิคความปลอดภัย ในการใช้ทาง ตลอดจน ผลตอบแทน ด้านเศรษฐกิจและการเงิน ในลักษณะโครงการนำร่อง ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2545 เรื่อง "การเร่งรัดนำยางธรรมชาติ เพื่อใช้ในงานด้าน การขนส่งของกระทรวงคมนาคม" และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 พฤษภาคม 2545 เรื่อง "การขออนุมัติใช้เงินกู้จากต่างประเทศสำหรับโครงการปรับปรุงและพัฒนาทางหลวง"
นับเป็นนิมิตหมายดี แห่งการพัฒนาวงการอุตสาหกรรมยางในประเทศ อีกก้าวหนึ่ง แม้หนทาง การพัฒนา ยังเดินทางไป ไม่ถึงจุดหมายปลายทางก็ตาม แต่แสงเรืองรองก็เริ่มฉายแสงความสำเร็จให้เห็นอยู่ไม่ไกลนัก มิใช่หรือ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ประเทศไทยใช้ยางมะตอย หรือยางแอสฟัลต์ ในงานก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนน ทั่วประเทศ ประมาณปีละ 800,000 ตัน แบ่งเป็นการใช้ยางมะตอยน้ำ (Asphalt Emulsion) ประมาณปีละ 200,000 ตัน และยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ (Asphalt Cement : AC) ประมาณปีละ 600,000 ตัน ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก เป็นค่ายางมะตอย ในการก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนน
การเปลี่ยนรูปแบบ ก่อสร้างผิวถนน ในการก่อสร้างถนนใหม่ และฉาบผิวถนนเก่า ในการซ่อมบำรุงผิวจราจร จากที่เคยใช้ยางมะตอยล้วนๆ เพียงอย่างเดียว มาใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ร้อยละ 5.5 ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ ได้ปีละ 44,000 ตัน เป็นไปตามมาตรการหนึ่ง ในการส่งเสริม และสนับสนุน การใช้ยางธรรมชาติ ในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น อันเป็นแนวทางแก้ไขปัญหายาง อย่างเป็นระบบได้ระดับหนึ่งในการ ช่วยให้ เกษตรกรชาวสวนยาง สามารถขายยางได้มีเสถียรภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกันประชาชนในประเทศ ก็ได้ใช้ถนนที่มีคุณภาพมากขึ้น ผิวจราจรมีความลื่นลดลง ช่วยลดอุบัติเหตุ และ การสูญเสียชีวิต จากการใช้ถนน ส่วนรัฐบาลได้ประโยชน์จากการ ประหยัดงบประมาณ ค่าใช้จ่าย ในการซ่อมบำรุงรักษาถนน ในระยะยาว เนื่องจากอายุการใช้งานถนนยาวขึ้น 1-2 เท่าจากเดิม ขณะที่ค่าซ่อมบำรุงผิวจราจรลดลงได้ถึง 4.5 เท่า ในระยะเวลา 10 ปี คิดเป็นเงินงบประมาณที่ประหยัดไปได้ประมาณ 66,000 ล้านบาท หรือ 220.30 บาทต่อตารางเมตร
มีการใช้ยางธรรมชาติผสมยางมะตอยราดถนนมานานกว่า 50 ปี
เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรก ที่ทดลองใช้ยางธรรมชาติ ในรูปยางผงผสมลงในยางมะตอยราดถนน ในประเทศ เนเธอร์แลนด์ และอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2492 ผลการทดลองในครั้งนั้น ปรากฎว่าผิวถนน มีอายุการใช้งานนานขึ้น ผิวถนน ปราศจาก ฝุ่นและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาถนน จึงขยายผล ไปใช้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐเวอร์จิเนีย โอไฮโอ มิเนโซต้า และเท็กซัส ทำให้พบข้อดีเพิ่มขึ้นจากการใช้งาน ตรงที่ผิวถนนไม่เปลี่ยนแปลง ไปตามอุณหภูมิของอากาศ ทั้งทนทาน ต่อการสึกกร่อน จากฝนอีกด้วย
-ยางมะตอยหรือแอสฟัลต์-
ยางมะตอย คือ วัสดุประสานสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น สารไฮโดรคาร์บอน กอปรด้วยคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ประการ
- เป็นตัวยึดและประสาน (Cementing)
- ป้องกันน้ำซึม
- สามารถเปลี่ยนเป็นของเหลว หรืออ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และแข็งตัวเมื่อถูกความ เย็น(Thermoplastic)
- ทนกรดและด่างอ่อนๆ
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว แอสฟัลต์ จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทำผิวจราจร ดาดคลอง ชลประทาน อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ ดาดผิวหน้าเขื่อนดินป้องกันน้ำซึม ทำสีกันสนิม กระดาษกันซึม กระเบื้องยางปูพื้น เคลือบท่อน้ำ เป็นต้น
มาเลเซีย : ชาติแรกในเอเซียที่ทดลองใช้
หลังจากที่เนเธอร์แลนด์เริ่มทดลองใช้ได้ 2 ปี ในปี พ.ศ.2494 มาเลเซีย จึงทดลองใช้น้ำยางธรรมชาติผสมกับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 5 ราดถนนสายโกตาบารู-กัวลากลาย เป็นระยะทาง 100 หลา รวมทั้งถนนอื่นๆ อีกหลายสาย แต่ไม่ปรากฎ รายงานผลด้านคุณภาพแต่อย่างใด
กระทั่งช่วงปี 2521-2531 สถาบันวิจัยยาง ของมาเลเซียจึงรื้อฟื้น โครงการขึ้นใหม อีกหลายโครงการ โดยใช้ยางรีเคลม (Reclaim) จากถุงมือยางธรรมชาติผสมยางมะตอย ราดถนนสุไหงบูโล๊ะ เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถนนสู่สนามบิน กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระยะทาง 50 กิโลเมตร และถนนในเมืองบุตราจายา เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร ผลการราดยางถนน ด้วยยางมะตอย ผสมยางรีเคลม จากถุงมือยางในครั้งนี้ พบว่าถนนมีคุณภาพดีขึ้นหลายประการ
อินเดียให้ใช้ยางธรรมชาติผสมแอสฟัลต์เพิ่มร้อยละ 10 ต่อปี
ในประเทศอินเดีย สถาบันวิจัยยางอินเดีย ร่วมกับหน่วยงาน สร้างถนนของรัฐเคราลา มีการทดลองใช้ ยางมะตอยผสมน้ำยางสด ร้อยละ 2 เมื่อปี 2517 ราดถนนระหว่างเมืองทรีวานดรัม และโคนายัม เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับการ ใช้ยางมะตอย ธรรมดา ผลปรากฎว่า ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยล้วน ต้องซ่อมเป็นระยะทุก 5 ปี คือ ปี พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2532 เป็นเวลา 14 ปี ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยผสมน้ำยางสด ยังไม่ต้องซ่อมแซมเลยแม้แต่ครั้งเดียว สรุปได้ว่า การใช้ยางธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความคงทนได้ถึง 3 เท่า
รัฐบาลกลางอินเดีย จึงมอบหมายให้ กระทรวงขนส่งทางบก สั่งการให้ทุกรัฐ เพิ่มการใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ในการ สร้างถนนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี จนกระทั่งปัจจุบัน รวมทั้งมีการ ผลิตยางมะตอย ผสมยางธรรมชาติในเชิงพาณิชย์ ที่โรงกลั่นน้ำมัน เมืองโคชินอีกด้วย
-แบ่งชนิดยางมะตอยตามแหล่งกำเนิด-
ยางมะตอยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามแหล่งกำเนิด
- ยางมะตอย ที่เกิดตามธรรมชาติ พบแทรกอยู่ใน ชั้นหินที่เรียกว่า หินยางมะตอย (Rock Asphalt) ซึ่งส่วนใหญ เป็นหินปูนที่มียางมะตอย ซึมอยู่อิ่มตัว
- ยางมะตอย จากส่วนเหลือ จากการกลั่นน้ำมันดิบ หรือที่เรียกว่า "Topped Crude" มีลักษณะค่อนข้างเหลว เมื่อแยกน้ำมันออกไป จะได้ยางมะตอยที่มีความข้น เหลว หรือแข็ง แตกต่างกันไปตามความต้องการ
อีกนานาวิธีของนานาชาติ
ออสเตรเลีย ใช้ยางธรรมชาติ ละลายในน้ำมันก๊าด ก่อนผสมในยางมะตอย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของผิวถนน ที่มีการจราจร หนาแน่น เมื่อปี พ.ศ.2504
เพอร์นานโด เอ็ม.เจ. (Pernando M.J.) และนาดาราชา เอ็ม. (Nadarajah M.) ได้ทดลอง ปรับปรุงคุณสมบัติ ยางมะตอยเมื่อปี 2511 ด้วยการใช้น้ำยางธรรมชาติหลายๆ รูปแบบ ได้แก่ น้ำยางสด น้ำยางข้น HA น้ำยางข้น LA และหางน้ำยาง ในอัตราร้อยละ 2-4 ผสมในแอสฟัลต์ซีเมนต์ 80/100 แบบผสมร้อน (Hot-Mix Asphalt) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้น้ำยางธรรมชาติ พ่นลงในยางมะตอยที่มีอุณหภูมิ 300 - 325 องศาฟาเรนไฮท์ พร้อมคนอยู่ตลอดเวลา พบว่า ยางมะตอยแข็งขึ้น จุดอ่อนตัวสูงขึ้น แต่ค่าการยืดดึง (Duetility) ลดลง
ในปีเดียวกัน เอ็น. ราชกฤษนัน แนร์ (N. Radhakrisnan) และคณะ ได้ทดลอง ปรับปรุงคุณสมบัติยางมะตอย โดยใช้ ยางแผ่นรมควัน ละลายในน้ำมันทำละลาย (Fluxing Oil) เพื่อให้ยางอยู่ในรูปสารละลายเสียก่อน จึงนำไปผสมกับแอสฟัลต์ซีเมนต์ ด้วยวิธีผสมร้อนเช่นกัน พบว่าสารละลายยางธรรมชาติช่วยให้ค่าการยืดดึงลดลง แต่จุดอ่อนตัวสูงขึ้น
-ยางมะตอยในงานก่อสร้างผิวจราจร-
ยางมะตอย ที่ใช้ในงานก่อสร้างผิวจราจร มี 2 ชนิด คือ แอสฟัลต์ซีเมนต์ (Asphalt Cement) และยางมะตอยชนิดเหลว
แอสฟัลต์ซีเมนต์ มีลักษณะครึ่งอ่อนครึ่งแข็ง ที่อุณหภูมิปกติ มีสีดำ หรือสีน้ำตาลปนดำ การใช้งาน ต้องต้มให้เหลวโดยใช้อุณหภูมิ 200-300 องศาฟาเรนไฮน์ แบ่งได้ 3 ชนิด ตามการผลิต คือ
- Penetration Grade ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง
- Blown Grade ได้จากการนำเอา ยางมะตอยชนิดแรก ไปเป่าลมใส่ที่อุณหภูมิสูง ประมาณ 250-300 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้แข็งและทนความร้อนได้ดีขึ้น
- Hard Grade ได้จากการ นำเอายางมะตอย ชนิดแรก ไปกลั่น ต่อภายใต้สูญญากาศ ที่ อุณหภูมิสูง เพื่อทำให้ได ยางมะตอยที่มีความแข็งมากขึ้น
ปี พ.ศ.2538 โกพาลากฤษนัน (Gopalakrisnan) รายงานผล การทดลองใช้ยางธรรมชาติ และยางเอส บี อาร์ ผสมในยางมะตอย ว่า ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติให้คุณสมบัติที่ดีกว่า ส่วนยางมะตอยที่ผสมยางธรรมชาติและยางเอส บี อาร์ จะเสื่อมสภาพ เมื่อต้มในอุณหภูมิสูง
ปี พ.ศ.2542 แซมฮาริ (Zamhari) จากอินโดนีเซีย รายงานการศึกษา การใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ไว้ว่า นอกจาก เพิ่มคุณภาพของถนนแล้ว ยังช่วยให้มีการบริโภคยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 แม้ต้นทุน จะมีราคาแพงกว่ายางมะตอยธรรมดา ถึงร้อยละ 25 แต่ถนนจะทนทานต่อสภาพอากาศร้อน และการชำรุดได้ดีกว่ามากมาย
สำหรับประเทศญี่ปุ่น มีการใช้ยางธรรมชาติผสมยางมะตอย ราดถนนด้วยเหมือนกัน เพื่อป้องกันผิวถนนลื่น และป้องกันการแข็งตัว ของผิวถนนในช่วงฤดูอากาศหนาวจัด
การทดลองใช้ยางธรรมชาติผสมยางมะตอยในไทยยุคแรก
การทดลองครั้งแรก เกิดจากความร่วมมือ ระหว่างแขวงการทางสงขลา - สถานีการยางคอหงส์ เมื่อเดือนเมษายน 2500 โดยนายชิต ทัศนกุล และคณะ ได้ทดลองใช้ ยางมะตอยผสมกับยางพารา ร้อยละ 5 ราดถนนสายหาดใหญ่-สงขลา ช่วงระหว่าง กิโลเมตรที่ 16.00-16.100 เป็นระยะทางยาว 100 เมตร เปรียบเทียบกับการ
ราดถนน ด้วยยางมะตอยธรรมดา ไว้เปรียบเทียบอีก 100 เมตร ผลปรากฎว่าในช่วงระยะเวลา 10 ปี ถึงปี พ.ศ.
2510 ถนนที่ราดด้วยยางพาราผสมร้อยละ 5 ยังอยู่ในสภาพดี ไม่เคยมีการ ซ่อมแซมแต่อย่างใด ขณะที่ถนนที่
สร้างไว้เปรียบเทียบผ่านการซ่อมแซมไป 1 ครั้ง
แอสฟัลต์ชนิดเหลว แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
- Cutback Asphalt มีลักษณะเหลวในอุณหภูมิธรรมดา หลังจาก บดอัดแล้ว ทิ้งไว้ ให้ตัว ทำละลาย ระเหยไป จะเหลือแต่แอสฟัลต์ซีเมนต์ ได้จากแอสฟัลต์ซีเมนต์ ไปละลายในตัวละลาย ประเภทน้ำมันต่าง ๆ ที่เรียกรวมว่า Dituent หรือ Culter Stock เช่น Neptha Kerosine และ Diesel Oil แบ่งได้ 3 ประเภทตามชนิดตัวทำละลาย คือ ชนิดแข็งตัวเร็ว แข็งตัวปานกลาง และแข็งตัวช้า
- Emulsified Asphalt ผลิตจากการนำเอา แอสฟัลต์ซีเมนต์ที่อุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส ผสมกับน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 170 องศาเซลเซียส โดยใช้สารเคมี
- ซึ่งเรียกว่า Emulsifier เติมลงไปเล็กน้อย ช่วยให้อนุภาคของยางมะตอยกระจายตัว แล้วนำไปตีด้วยเครื่อง Colloidal Mill ให้ยางมะตอยแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ กระจายอยู่ในน้ำ-
5 ปีต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2505 ได้ทดลองราดถนนสายหาดใหญ่-สงขลา ช่วงระหว่างกิโลเมตรที่ 10.800 - 11.00 เป็นระยะทาง 200 เมตร โดยใช้ส่วนผสม เช่นเดียวกับการทดลอง ในครั้งแรก แต่ครั้งนี้ใช้วิธี แบ่งความกว้างถนนออกเป็น 2 ซีก ซีกหนึ่งใช้ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ อีกซีกใช้ยางมะตอยธรรมดา ต้องซ่อมแซมผิวหน้าไป 1 ครั้ง ส่วนซีกที่ใช้ ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ยังอยู่ในสภาพเรียบร้อยดีเช่นเดิม แต่การเก็บข้อมูลต้องระงับไป เนื่องจาก มีการขยายถนนให้กว้างขึ้น
การทดลองใช้ยางมะตอย ผสมยางธรรมชาติ ในไทยยุคเศรษฐกิจถดถอย
หลังการทดลองของ นายชิต ทัศนกุล ครั้งแรกผ่านไปหลายสิบปี ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา จึงเริ่มการทดลองครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ด้วยการใช้ยางมะตอย 700 ลิตร ต้มให้ร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 160 องศาเซลเซียส ผสมด้วยน้ำยางธรรมชาต ชนิดเข้มข้นร้อยละ 60 ในอัตราเนื้อยางแห้งร้อยละ 2.5 และผสมน้ำมันก๊าดลงไปร้อยละ 3 เพื่อช่วยลดความหนืด นำไปราดถนนภายในหน่วยงานของตนเอง ประมาณ 200 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับ ถนนที่ราดด้วย ยางมะตอยธรรมดา
ในปีเดียวกันนั้นเอง ส่วนอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ กรมทางหลวง ได้ทดลองผสมตัวอย่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ 60/70 กับยางพาราชนิด ต่างๆ พบว่า การผสมยางพารา กับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 2-6 สามารถปรับปรุง คุณภาพยางมะตอยได้ และคุณสมบัติของ ยางมะตอยที่ผสมสามารถ ผ่านมาตรฐาน ตามข้อกำหนดของ มอก.851-2532 โดยมีค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงกว่ายางมะตอยปกติ ซึ่งแสดง ให้เห็นถึง แนวโน้มของการเยิ้มตัวหรือจุดอ่อนตัวของถนนสูงขึ้น ชี้ให้เห็นว่าถนนน่าจะมีความคงทน หรือมีอายุการใช้งาน ยาวนานขึ้น
ในปีเดียวกันนั้นเอง ส่วนอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และกรมทางหลวง ได้ทดลองผสมตัวอย่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ 60/70 กับยางพาราชนิด ต่างๆ พบว่า การผสมยางพารา กับยางมะตอย ในอัตราส่วนร้อยละ 2-6 สามารถปรับปรุง คุณภาพยางมะตอยได้ และคุณสมบัติของ ยางมะตอยที่ผสมสามารถ ผ่านมาตรฐาน ตามข้อกำหนดของ มอก.851-2532 โดยมีค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงกว่ายางมะตอยปกติ ซึ่งแสดง ให้เห็นถึง แนวโน้มของการเยิ้มตัวหรือจุดอ่อนตัวของถนนสูงขึ้น ชี้ให้เห็นว่าถนนน่าจะมีความคงทน หรือมีอายุการใช้งาน ยาวนานขึ้น
ปีถัดมา ในวันที่ 20 สิงหาคม 2544 องค์การสวนยาง ทำโครงการสาธิต การสร้างถนน ด้วยยางมะตอยผสมยางพารา ความยาว 520 เมตร กว้าง 4 เมตร ภายในบริเวณสำนักงานฯ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการขุดลอกพื้นถนนเดิมออก แล้วลงหินคลุกหนา 15 เซนติเมตร กว้าง 4.20 เมตร ราดด้วยยางมะตอยชนิดน้ำผสมยางพารา ในอัตราส่วนร้อยละ 5.5 แบบวิธีฉาบผิวถนน 2 ชั้น (Double Surface)
ผลิตยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว
สถาบันวิจัยยาง ร่วมกับบริษัททิปโก้ แอสฟัลต์ จำกัด ได้ร่วมกัน ปรับปรุงคุณภาพยางมะตอยน้ำ (Asphalt Emulsion) ด้วยน้ำยางข้น (HA) ร้อยละ 5.5 ช่วยให้คุณสมบัติ ด้านค่าความยืดหยุ่นตัว หรือฟื้นกลับตัว (Elastic Recovery) ดีขึ้น เป็นผลให้ยางมะตอยสามารถคืนรูปได้ดี หลังถูกกดทับ จากการจราจร จึงลดการเกิดร่องล้อบนถนน ตลอดจนค่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) สูงขึ้น จึงช่วยลดการเปลี่ยนแปลงผิวทาง เนื่องจากอุณหภูมิได้
น้ำยางที่ปรับปรุงคุณภาพนี้มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวงที่ ทล-ก.405/2535 ซึ่งเปรียบเทียบ คุณลักษณะของ ยางมะตอยน้ำผสมน้ำยางธรรมชาติ กับมาตรฐาน CSS -1 (EMA) แต่การผสม
ยางพารา ในรูปน้ำยางข้น กับยางมะตอย ต้องมีวิธีการที่เหมาะสม ในขั้นตอนการต้ม ที่โรงงานผสมก่อนการผสมกับวัสดุมวลรวม (หินและทราย) มิฉะนั้น ส่วนผสมจะเกิดฟองล้น จากถังจนเกิดอันตรายได้ ซึ่งขณะนี้บริษัททิปโก้ฯ สามารถ ผลิตยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติ ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว โดยใช้วิธีผสมยางธรรมชาติในขั้นตอนการผสมน้ำกับส่วนผสม (Emulsifier) ก่อนนำมาผสมกับ ยางมะตอยในโรงงาน
ผลิตในสภาพเย็นหรือร้อน อย่างใดดีกว่า
เนื่องจากน้ำยางพารามีสภาพเป็นด่าง ส่วนยางมะตอยน้ำมีสภาพเป็นกรด ก่อนการผสม ในสภาพเย็น จึงต้องปรับสภาพ น้ำยางพารา ให้มีสภาพเป็นกรด เช่นเดียวกับยางมะตอยน้ำเสียก่อน มิฉะนั้นจะจับตัวเป็นก้อนๆ ลักษณะคล้ายกับ การเติมกรด ลงไปในน้ำยางนั่นเอง เป็นผลให้น้ำยางไม่สามารถกระจายตัวในส่วนผสมได้ดี
ส่วนการผสม น้ำยางพาราผสมกับยางมะตอย ขณะร้อน 110-140 องศาเซลเซียส คุณภาพของส่วนผสม ไม่ดีไปกว่า คุณภาพของยางมะตอยล้วนๆ ทั้งนี้เพราะยางพารา ไม่สามารถกระจายตัว เข้าไปแทรก ในเนื้อยางมะตอย ได้อย่างสม่ำเสมอ นั่นเอง
จากการศึกษาทดลองของสถาบันวิจัยยาง ประสิทธิภาพของ เครื่องผสม เป็นปัจจัยสำคัญ ในการกระจายตัว ของยางพารา ในยางมะตอย และการผสมกำมะถันลงไปในยางแห้งที่บดให้นิ่ม (Masticated rubber) ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งบริษัทฯ จะทดลองผสมยางมะตอยร้อนกับยางพาราในสภาพของแข็งต่อไป โดยศึกษาเรื่อง ความหนืดของยาง และปริมาณกำมะถัน ที่เหมาะสมในการใช้เป็นส่วนผสม
จุดอ่อนของการใช้ยางมะตอยล้วนๆ ราดผิวถนน
โดยปกติถนนที่ราดผิวถนน ด้วยยางมะตอยล้วนๆ มีข้อจำกัด ตรงที่มีค่าความหนืดต่ำ จึงมีการเปลี่ยนแปลง ตามสภาพ อุณหภูมิ ที่รวดเร็วมาก อุณหภูมิที่สูงเมื่อได้รับความร้อนจ กแสงแดดจะทำให้ยางมะตอยอ่อนตัว ส่วนอุณหภูมิที่ต่ำหรือเย็น ยางมะตอยจะแตก เมื่อผิวถนนต้องรองรับปริมาณการจราจรที่หนาแน่น และน้ำหนักบรรทุกที่สูง เช่นภาวะปัจจุบัน จึงประสบปัญหาผิวทางชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ อันได้แก่
- ผิวทาง- เยิ้ม (Bleeding) เนื่อง- จากอุณหภูมิที่สูง- ขึ้นจากแสง- แดด เป็นเหตุให้ผิวจราจรลื่น
- ผิวเกิดร่อง- ล้อ (Rutting) เกิดขึ้นหลัง- จากผิวทาง- เยิ้ม ยาง- มะตอยขาดคุณสมบัติการยืดหยุ่น จึง- ยุบตัวเป็นร่อง-ตามแนวล้อที่แล่นทับ แล้วไม่กลับคืนสู่สภาพเดิม
- ผิวทางแตกร้าว (Crock) มาจากสาเหตุผิวถนนขาดความยืดหยุ่น มีสภาพแข็ง- เปราะ เมื่อมีน้ำหนักรถ กดทับซ้ำๆ ผิดทาง เกิดความล้า (Fatigue) จึง- เกิดรอยแตกร้าว
- ผิวหน้าหลุดร่อน (Reveling) เป็นปรากฎการณ์ที่ผิวถนนสึกกร่อน เนื่อง- จากส่วนผสมละเอียดที่ผิวหน้า ถูกแรง-เฉือนจากล้อรถตะกุยออก
ยางธรรมชาติช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ
การปรับปรุงคุณสมบัติยางมะตอย ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น รองรับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องเพิ่มความหนืด ลดการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดจากอุณหภูมิ เพิ่มจุดอ่อนตัว เพิ่มความยืดหยุ่น เพิ่มแรงยึดเหนี่ยว ด้วยวิธีการเพิ่มสารผสม และยางธรรมชาติ เป็นสารผสมชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ ซึ่งมีข้อดี คือ
- มีสมบัติเชิง- กลดี เมื่อเกิดการเปลี่ยนรูปอย่างรุนแรง
- มีความแข็ง- แรง- ทนทานต่อแรง- ดึง- สูง- (มากกว่า 20 Mpa)
- มีการยืดตัวก่อนขาดได้มาก (500-1,000 %)
- ทนทานต่อการฉีกขาด และสึกหรอได้ดี
- มีการคืนตัว และการกระดอนดี
- ใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำได้ดี
ต้นทุนการผลิตยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ
ขณะที่ยางมะตอย ชนิดแอสฟัลต์ ซีเมนต์ ล้วน มีต้นทุนการผลิตตันละ 6,000 บาท ยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ ซีเมนต์ผสม ยางธรรมชาติร้อยละ 5.5 จะมีค่าใช้จ่ายการผลิต เพิ่มขึ้นในส่วนของขบวนการผลิตอีกตันละ 2,000 บาท รวมเป็นต้นทุน การผลิตตันละ 8,000 บาท
หากนำไปเปรียบเทียบ ราคาค่าใช้จ่าย ในการทำถนนเป็นตารางเมตร ยางมะตอยชนิด แอสฟัลต์ซีเมนต์ ผสมยางธรรมชาติ จะมีราคาตารางเมตรละ 154.66 บาท สูงกว่ายางมะตอยล้วน ซึ่งมีราคาตารางเมตรละ 128.22 บาท อยู่ตารางเมตรละ 26.44 บาท
สำหรับยางมะตอย ชนิดน้ำมีต้นทุนการผลิตตันละ 8,500 บาท แต่เมื่อผสมยางธรรมชาติร้อยละ 5.5 ต้นทุนการผลิต จะเพิ่มเป็น 11,500 บาท หรือสูงกว่า ยางมะตอยชนิดน้ำล้วน ตันละ 3,000 บาท
การเปรียบเทียบ ราคาค่าใช้จ่าย ในการทำถนนระหว่างยางมะตอยชนิดน้ำ ซึ่งมีราคาตารางเมตรละ 27.18 บาท กับยางมะตอยชนิดน้ำผสมยางธรรมชาติร้อยละ 5.5 ซึ่งมีราคาตารางเมตร ละ 31.66 บาท ยางมะตอย ชนิดน้ำ ผสมยางธรรมชาติ จะมีราคาสูงกว่ายางมะตอยชนิดน้ำเพียงตารางเมตรละ 4.48 บาทเท่านั้น
ต้นทุนสูงกว่าแต่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
ถนนราดยางมะตอย ทั่วไปที่ฉาบผิวทางด้วยยางมะตอยน้ำ มีค่าใช้จ่าย ตารางเมตรละ 27.18 บาท สามารถใช้งาน ได้เพียง 3 ปี ก็ต้องเสริมผิวทาง ด้วยยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ซีเมนต์ ด้วยค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 128.22 บาท และต้องเสริมผิวทาง อีกครั้งหนึ่ง เมื่อถนนมีอายุ 7 ปี ด้วยยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ซีเมนต์ ในราคาค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 128.22 บาท รวมสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 10 ปี เป็นเงินตารางเมตรละ 283.62 บาท
ส่วนถนน ราดยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ ที่ฉาบผิวทาง ด้วยยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติ มีค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 31.66 บาท แต่สามารถใช้งานได้ถึง 7 ปี ก่อนที่จะซ่อมบำรุงฉาบผิวทางใหม่ ด้วยยางมะตอยน้ำผสมยางธรรมชาติ ในราคา ค่าใช้จ่ายตารางเมตรละ 31.66 บาท รวมค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 10 ปี เป็นเงินเพียงตารางเมตรละ 63.32 บาทเท่านั้น
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในระยะเวลา 10 ปี ถนนที่ราดด้วย ยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ สามารถ ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ถึงตารางเมตรละ 220.30 บาท หรือ 4.5 เท่า ของถนนราดยางทั่วไป
ประหยัดต้นทุน แล้วยังประหยัดพลังงาน อีกเพิ่มความปลอดภัย
ในการประชุมสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ครั้งที่ 33 ได้สรุป ข้อดี ในการใช้ยางธรรมชาติ ผสมยางมะตอย ราดผิวถนนไว้ 2 ประการ ได้แก่
ประการแรก ช่วยประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขับรถยนต์ ซึ่ง เป็นผลจากการศึกษา ของ สถาบันวิจัย ถนนส่วนกลางของอินเดีย (The Central Road Research Institute of India) ร่วมกับธนาคารโลก ที่สรุปผลไว้ว่า
- การขับขี่ยานพาหนะบนถนนที่ทำด้วยยาง- ผสม (Rubberised road) ใช้น้ำมันน้อยกว่าปกติ ร้อยละ 5-7
- มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า
- เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า เนื่อง- จากมีความยืดหยุ่นตัวดีกว่า
ประการที่สอง เพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศให้มากขึ้น อันเป็นผลจากการศึกษา ของ สถาบันวิจัยถนน ส่วนกลางของอินเดียเช่นกัน กล่าวคือ ถนน 2 ช่องทาง ความยาว 1 กิโลเมตร ต้องใช้ ยางธรรมชาติเป็นส่วนผสม ประมาณ 1 ตัน ดังนั้น หากสามารถพัฒนา การผสมยางมะตอย ด้วยยางธรรมชาติในการทำถนน ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ปริมาณการใช้ยางธรรมชาติ ในประเทศย่อมเพิ่มมากขึ้น ตามสัดส่วน ของการสร้างและบำรุง ซ่อมแซม ถนน
การสนับสนุนในภาครัฐ
จากสภาวะยาง ราคาตกต่ำในช่วงปี 2540 ต่อเนื่องถึงปี 2545 คณะกรรมการนโยบายธรรมชาติ จึงหาแนวทาง การแปรรูป ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า ยางธรรมชาติเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยาง อย่างเป็นระบบครบวงจร และแก้ไขปัญหาสภาวะยางราคาตกต่ำ ด้วยการ แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ พิจารณาหาแนวทาง การใช้ยางธรรมชาติ ผสมยางมะตอยราดถนน
ในเวลาต่อมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ พิจารณาหามาตรการ ใช้ยางธรรมชาติในงานทาง เพื่อจัดทำโครงการระยะเวลา 5 ปี (2545-2549) เสนอคณะรัฐมนตรี มีสาระสำคัญให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการสร้างทาง ใช้ยางมะตอยชนิดน้ำผสมยางธรรมชาติ ร้อยละ 5.5 และใช้ยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์ซีเมนต์ผสมยางธรรมชาติ ร้อยละ 5.5 ก่อสร้างผิวถนนในการก่อสร้างถนนใหม่ และฉาบผิวถนนในการซ่อมบำรุงถนน
ในที่สุดคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีมติเห็นชอบในหลักการ การใช้ยางธรรมชาติ ผสมยางมะตอยราดถนน และสมควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ในด้านเทคนิคความปลอดภัย ในการใช้ทาง ตลอดจน ผลตอบแทน ด้านเศรษฐกิจและการเงิน ในลักษณะโครงการนำร่อง ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2545 เรื่อง "การเร่งรัดนำยางธรรมชาติ เพื่อใช้ในงานด้าน การขนส่งของกระทรวงคมนาคม" และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 พฤษภาคม 2545 เรื่อง "การขออนุมัติใช้เงินกู้จากต่างประเทศสำหรับโครงการปรับปรุงและพัฒนาทางหลวง"
นับเป็นนิมิตหมายดี แห่งการพัฒนาวงการอุตสาหกรรมยางในประเทศ อีกก้าวหนึ่ง แม้หนทาง การพัฒนา ยังเดินทางไป ไม่ถึงจุดหมายปลายทางก็ตาม แต่แสงเรืองรองก็เริ่มฉายแสงความสำเร็จให้เห็นอยู่ไม่ไกลนัก มิใช่หรือ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-