1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีปริมาณการผลิตรวม 74.40 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ
9.78 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลง
ทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยาย
การลงทุนในภาคเอกชน ทั้งโครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม โดยเป็นการผลิตปูน
เม็ด 36.11 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 38.29 ล้านตัน
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปูนเม็ด 38.03 33.19 36.11
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -12.73 8.8
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 33.5 34.58 38.29
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 3.22 10.73
รวม 71.53 67.77 74.4
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -5.26 9.78
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2547 อยู่ที่ระดับร้อยละ 62.75 เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 8.94 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตยังเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของตลาดในประเทศจึงไม่มีบริษัทผู้ผลิตลง
ทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม
ตารางที่ 2 : อัตราการใช้กำลังการผลิต หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปูนซีเมนต์ 56.9 57.6 62.75
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.23 8.94
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีปริมาณ 30.10 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.20
เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน ไม่ว่า
จะเป็นโครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยเป็น
การจำหน่ายปูนเม็ด 0.10 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 30.00 ล้านตัน
ตารางที่ 3 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปูนเม็ด 0.36 0.2 0.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -44.44 -50
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 24.83 26.39 30
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 6.28 13.68
รวม 25.19 26.59 30.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.56 13.2
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 12.07 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 12,617.53 ล้าน
บาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 1.15 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 สาเหตุที่
การส่งออกลดลงเนื่องจากตลาดภายในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ผู้ผลิตลดสัดส่วนการส่งออกลง หันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเป็นการส่งออก
ปูนเม็ด จำนวน 7.23 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6,103.03 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 4.84
ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6,514.50 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว และบังคลา
เทศ ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และมีการขยายตัวในตลาดใหม่คือ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์
แต่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญอันดับหนึ่งของไทยลดลงอย่างต่อ
เนื่อง เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ค่าขนส่งสูงทำให้ผลตอบแทนในตลาดส่งออกต่ำ โดยเฉพาะประเทศ
ที่มีระยะทางไกลมาก
ตารางที่ 4 : ปริมาณและมูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 9.27 7,005.21 7.22 6,127.24 7.23 6,103.03
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -22.11 -12.53 0.14 0.4
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 6.97 7,736.93 4.99 6,459.44 4.84 6,514.50
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -28.41 -16.51 -3.01 0.85
รวม 16.24 14,742.14 12.21 12,586.68 12.07 12,617.53
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -24.82 -14.62 -1.15 0.25
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีจำนวน
13,349.83 ตัน คิดเป็นมูลค่า 125.56 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 เท่า
และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.19 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 79.58 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.55
ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 13,270.25 ตัน คิดเป็นมูลค่า 124.01 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้า
ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
ตารางที่ 5 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 3,029.35 9.26 29.66 0.39 79.58 1.55
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -99.02 -95.79 168.31 297.44
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 3,456.86 67.97 4,028.79 75.16 13,270.25 124.01
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 16.54 10.58 229.39 64.99
รวม 6,486.21 77.23 4,058.45 75.55 13,349.83 125.56
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -37.43 -2.18 228.94 66.19
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ใน ปี 2547 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้าง
และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภค
ขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปี 2548 คาดว่า
จะขยายตัวได้ดี แต่อาจจะเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากปี 2547เนื่องจากการชะลอการลงทุนในภาคเอกชน โดยเฉพาะ
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่อาจจะชะลอตัวลง ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงเนื่องจากราคา
น้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นนอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น อีกทั้งสถาบันการเงินเข้มงวด
ต่อการให้สินเชื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ในส่วนของการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นแรงผลักดันที่
สำคัญ เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยในปี 2548 คาดว่าการลง
ทุนในด้านการก่อสร้างของภาครัฐน่าจะมีการขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปี 2547 เล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญที่มี
ผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปี 2548 คือ กรณีการเกิดภัยภิบัติในภาคใต้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ธุรกิจการท่องเที่ยวและที่อยู่อาศัยของประชาชนอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น เพื่อใช้ใน
การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและฟื้นฟูธุรกิจการท่องเที่ยว
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน และมีแนวโน้มชะลอ
ตัวลงในปี 2548 เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นการ
ขยายตลาดในประเทศมากขึ้น สำหรับการส่งออกยังคงเน้นไปที่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีน คือ ประเทศ
เวียดนาม กัมพูชา พม่า
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีปริมาณการผลิตรวม 74.40 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ
9.78 เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลง
ทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยาย
การลงทุนในภาคเอกชน ทั้งโครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม โดยเป็นการผลิตปูน
เม็ด 36.11 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 38.29 ล้านตัน
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปูนเม็ด 38.03 33.19 36.11
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -12.73 8.8
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 33.5 34.58 38.29
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 3.22 10.73
รวม 71.53 67.77 74.4
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -5.26 9.78
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2547 อยู่ที่ระดับร้อยละ 62.75 เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 8.94 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตยังเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของตลาดในประเทศจึงไม่มีบริษัทผู้ผลิตลง
ทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม
ตารางที่ 2 : อัตราการใช้กำลังการผลิต หน่วย : ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปูนซีเมนต์ 56.9 57.6 62.75
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.23 8.94
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีปริมาณ 30.10 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.20
เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน ไม่ว่า
จะเป็นโครงการที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยเป็น
การจำหน่ายปูนเม็ด 0.10 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 30.00 ล้านตัน
ตารางที่ 3 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปูนเม็ด 0.36 0.2 0.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -44.44 -50
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 24.83 26.39 30
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 6.28 13.68
รวม 25.19 26.59 30.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.56 13.2
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 12.07 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 12,617.53 ล้าน
บาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการส่งออกลดลง ร้อยละ 1.15 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 สาเหตุที่
การส่งออกลดลงเนื่องจากตลาดภายในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ผู้ผลิตลดสัดส่วนการส่งออกลง หันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเป็นการส่งออก
ปูนเม็ด จำนวน 7.23 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6,103.03 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 4.84
ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 6,514.50 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว และบังคลา
เทศ ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี และมีการขยายตัวในตลาดใหม่คือ สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์
แต่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญอันดับหนึ่งของไทยลดลงอย่างต่อ
เนื่อง เนื่องจากปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ค่าขนส่งสูงทำให้ผลตอบแทนในตลาดส่งออกต่ำ โดยเฉพาะประเทศ
ที่มีระยะทางไกลมาก
ตารางที่ 4 : ปริมาณและมูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท) (ล้านตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 9.27 7,005.21 7.22 6,127.24 7.23 6,103.03
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -22.11 -12.53 0.14 0.4
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 6.97 7,736.93 4.99 6,459.44 4.84 6,514.50
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -28.41 -16.51 -3.01 0.85
รวม 16.24 14,742.14 12.21 12,586.68 12.07 12,617.53
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -24.82 -14.62 -1.15 0.25
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.3 การนำเข้า
ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีปริมาณการนำเข้าไม่มากนัก การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2547 มีจำนวน
13,349.83 ตัน คิดเป็นมูลค่า 125.56 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 เท่า
และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.19 โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 79.58 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.55
ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 13,270.25 ตัน คิดเป็นมูลค่า 124.01 ล้านบาท ทั้งนี้การนำเข้า
ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
ตารางที่ 5 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
(ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท) (ตัน) (ล้านบาท)
ปูนเม็ด 3,029.35 9.26 29.66 0.39 79.58 1.55
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -99.02 -95.79 168.31 297.44
ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 3,456.86 67.97 4,028.79 75.16 13,270.25 124.01
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 16.54 10.58 229.39 64.99
รวม 6,486.21 77.23 4,058.45 75.55 13,349.83 125.56
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -37.43 -2.18 228.94 66.19
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2547 เป็นตัวเลขประมาณการ
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ใน ปี 2547 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้าง
และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภค
ขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนในภาคเอกชน สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปี 2548 คาดว่า
จะขยายตัวได้ดี แต่อาจจะเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากปี 2547เนื่องจากการชะลอการลงทุนในภาคเอกชน โดยเฉพาะ
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่อาจจะชะลอตัวลง ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงเนื่องจากราคา
น้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นนอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น อีกทั้งสถาบันการเงินเข้มงวด
ต่อการให้สินเชื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ในส่วนของการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะยังคงเป็นแรงผลักดันที่
สำคัญ เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยในปี 2548 คาดว่าการลง
ทุนในด้านการก่อสร้างของภาครัฐน่าจะมีการขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปี 2547 เล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญที่มี
ผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปี 2548 คือ กรณีการเกิดภัยภิบัติในภาคใต้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ
ธุรกิจการท่องเที่ยวและที่อยู่อาศัยของประชาชนอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น เพื่อใช้ใน
การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและฟื้นฟูธุรกิจการท่องเที่ยว
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในปี 2547 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน และมีแนวโน้มชะลอ
ตัวลงในปี 2548 เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นการ
ขยายตลาดในประเทศมากขึ้น สำหรับการส่งออกยังคงเน้นไปที่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีน คือ ประเทศ
เวียดนาม กัมพูชา พม่า
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-